ReadyPlanet.com


ผมถูกสะใภ้โกง


นายเขียว  (เจ้าของที่ดินมีเนื้อที่  3  งาน  พร้อมบ้านไม้  2  ชั้น  1  หลัง)  อายุ  82  ปี  สภาพบุคคลนั่ง-นอนเวลาเดินต้องมีเครื่องช่วยพยุงเดิน  มีบุตรทั้งหมด  4  คน  แต่นายเขียวได้แบ่งที่บางส่วนให้กับบุตรคนที่  4  ซึ่งมีอาชีพรับราชการ(แต่งงานไม่มีบุตร) ได้ทำการปลูกบ้านในที่ดินนี้(พี่อีก  2  คนอาศัยอยู่ในที่ดินนี้ด้วย) โดยนายเขียวได้นำวัสดุเก่าจากบ้านเดิมของตนมาเป็นวัสดุบางส่วนในการปลูกบ้านหลังนี้ด้วย(นายเขียวอาศัยอยู่ในบ้านหลังนี้จนถึงปัจจุบัน) ต่อมาในปี พ.ศ. 2544  บุตรชายได้เสียชีวิตและเนื่องจากลูกชายมีหนี้สินจากการกู้เงินมาสร้างบ้านหลังดังกล่าวจำนวนหนึ่ง  นายเขียวจึงได้นำเงินส่วนที่ตนเองจะได้รับจากฌาปนกิจของครูเนื่องจากบุตรชายเสียชีวิต ไปใช้หนี้ให้กับบุตรซึ่งเสียชีวิตแล้ว  และหลังจากบุตรชายได้เสียชีวิตเป็นระยะเวลาประมาณ  1  เดือน  ภรรยาของบุตรที่เสียชีวิตได้(หลอก)พานายเขียวไปโอนที่ดินส่วนที่นายเขียว(ขณะอายุได้ 72 ปี)จะได้รับให้กับตนเองเสีย  โดยที่บุตรที่เหลืออีก  3  คนไม่ทราบเรื่องนี้เลย 

                หลังจากนั้นในปี  พ.ศ.  2551  ลูกสะใภ้คนดังกล่าวได้ย้ายที่อยู่และที่ทำงานไปอยู่ที่ต่างจังหวัดโดยที่ไม่เคยส่งเสียค่าเลี้ยงดูให้กับนายเขียวอีกเลย  (ต้องเป็นภาระหน้าที่การเลี้ยงดูนายเขียวให้กับบุตรคนที่ 1 และคนที่ 3 คอยดูแล)

                ต่อมาอีกประมาณ  8  ปี  ในปีพ.ศ.  2552  ประมาณเดือนมกราคม  ลูกสะใภ้คนดังกล่าวได้ทำเรื่องที่จะขายบ้านพร้อมที่ดินนี้ให้กับหลานชายของสามีที่เสียชีวิต  เป็นจำนวนเงินประมาณ  4  แสนบาท  ขณะเดียวกันบุตรที่เหลือของนายเขียวได้สืบทราบจากที่ดินมาว่าในโฉนดที่ดินนายเขียวได้เขียนและลงลายมือชื่อไว้ว่า  “ตนเองไม่ขอรับมรดกส่วนที่ตนจะได้รับ ลงวันที่ 23 มีนาคม 2544 ”

แต่หลานชายยังไม่ตกลงที่จะซื้อเนื่องจากยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการโอนทรัพย์สินดังกล่าว

                อยากทราบว่า

                1. นายเขียว (พ่อ)   ยังมีสิทธิ์ในการเรียกมรดกคืนหรือไม่  ( นายเขียวได้เขียนในโฉนดว่า “ไม่ขอรับมรดก”)

                2. ลูกสะใภ้จะมีสิทธิ์ขับไล่นายเขียวออกจากบ้านหรือไม่

                3. ถ้าต่อมานายเขียวได้เสียชีวิตลง  บุตรของนายเขียวอีก  3  คนจะมีสิทธิ์ในการเรียกมรดกดังกล่าวคืนหรือไม่



ผู้ตั้งกระทู้ เจนจิรา โสสุด :: วันที่ลงประกาศ 2009-07-31 22:14:54


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1970178)

1. ต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมว่า ที่ดินดังกล่าวในเวลาที่ บุตรคนที่ 4 ตาย ใครเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน หากบุตรเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ย่อมเป็นทรัพย์ของบุตรไปแล้ว ดังนั้นเมื่อบุตรคนที่ 4 ตาย จึงเป็นทรัพย์มรดกของบุตรคนที่ 4 ตกได้แก่ ภริยาและบิดา(นายเขียว) แต่ข้อเท็จจริงแจ้งว่า นายเขียวสละมรดกไปแล้ว ทรัพย์มรดกดังกล่าวจึงตกเป็นของภริยาของบุตรคนที่ 4 แต่เพียงผู้เดียว และไม่มีเหตุตามกฎหมายที่จะเรียกคืนได้

2. เมื่อลูกสะใภ้ เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินย่อมมีสิทธิใช้สอย จำหน่าย จ่ายโอนตามกรรมสิทธิ์ ย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่บุคคลอื่นที่ไม่มีสิทธิตามกฎหมายออกจากทรัพย์ที่ดินของตนได้ครับ

3. เมื่อไม่ใช่มรดกของนายเขียว บุตรอีก 3 คน จึงไม่มีส่วนได้เสียในที่ดินดังกล่าว แม้ตัวนายเขียวเองก็เอาตัวไม่รอดแล้ว เพราะอาจโดนลูกสะใภ้ฟ้องขับไล่ก่อนนายเขียวเสียชีวิตก็เป็นได้ครับ

น่าเห็นใจ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-08-01 10:46:04



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล