ReadyPlanet.com


ปรึกษาเรื่องครอบครองปรปักษ์ครับ


คือ คุณพ่อของผมได้เดินทางมาจากบ้านนอก เข้ามาทำงานในกทม จนเริ่มเบื่อหน่ายกับการงาน ปีกตัวเข้าถางพงหญ้าริมทางรถไฟ สร้างกระท่อมเล็กๆอยู่ คนบริเวณนั้นเห็นว่าคุณพ่อผมเข้ามาอยู่ก็มิได้ท้วงติงอะไร และเป็นเพื่อนบ้านที่ดีต่อกันพ่อ ใช้จอบ คุณทำบ่อเลี้ยงปลา และปลุกผักขาย ไปวันๆ ผ่านไปหลายปี ประมาณ สิบห้าถึงสิบเจ็ดปี ต่อมาได้มีเจ้าของที่ดินเดินทางมา ดูที่ ก็เข้ามาพูดคุย แล้วนำเอกสาร หนึ่งมาให้คุณพ่อผมเซ็นต์รับทราบ พร้อม คุณแม่ผม แต่คุณพ่อคุณแม่ผม อ่านหนังสือพอได้ ก็ไม่รุ้ว่าอะไร จึงตกลงเซ็นต์ชื่อไปทั้งสองท่านครับ เนื่องจากความไม่รุ้ และ ไม่ได้คิดอะไรครับ ต่อมาทางบ้านอยู่มาอีกประมาณ หก ถึง เจ็ดปี เจ้าของก็ไม่เข้ามาดูอีกเลย จนน้องสาวมีหลาน จึงอยากขอบ้านเลขที่เพื่อที่ให้ หลานได้มีที่เรียนมีบ้านเลขที่ และทำนิติกรรม อื่นๆได้ครับ เพราะชื่อหลาน ถูกแขวนไว้ในทะเบียนบ้านรวม ของสำนักงานเขต จึงอยากจะขอเลขที่บ้าน จึงแจ้งแก่เจ้าของที่ดิน ว่าอยากได้เลขที่บ้าน และเล่าเหตุผลให้ฟัง ทางเจ้าที่ไม่ขอให้ จึงอยู่อย่างลอยๆ มานาน จนแถวนั้นเริ่มมีหมู่บ้านมาซื้อที่ดิน และ สร้างสิ่งปลูกสร้าง สร้างกำแพงปิดกั้นทางเข้าออกหมดทุกทาง ทางบ้านจึงอยากขอบ้านเลขที่อีกครั้ง เพื่อร้องขอ ทางเข้าบ้าน ตามกฏหมาย แต่ติดที่ว่า ทางเราไม่ใช่เจ้าของที่ ทำอะไรก็ต้องมีโฉนดที่ดิน และ เลขที่บ้าน จึงแจ้งแก่เจ้าที่อีกครั้งเจ้าที่เพิกเฉย ไม่สนใจที่จะรับฟังปัญหา ไม่ยอมพูดคุย จึงอยากจะปรึกษา คุณทนายว่า 1 ทางบ้านของผมนั้นสามารถยื่นฟ้องครอบครองปรปักษ์ได้หรือไม่ 2 ทางบ้านผมมีสิทธิในการขอเลขที่บ้านหรือไม่ สงสารหลานๆครับ 3 ทางบ้านผม มีสิทธิเรียกร้องให้เจ้าที่ ที่อยู่ด้านหน้า เปิดทางเข้าให้ตามกฏหมายได้หรือไม่ เพราะตอนนี้ต้องเดินตามทางรถไฟเป็นระยะเวลากว่ากิโลเมตร สงสารเด็ก ต้องเดินไปโรงเรียน และอันตราย หากมีรถไฟมาก็ต้องหลบ ข้างทาง ขอกราบรบกวนปรึกษาหน่อยได้ไหมครับ ขอบพระคุณมากครับ


ผู้ตั้งกระทู้ สุชาติ จันทระลักษ์ (suchatjsp-at-gmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2009-07-24 21:24:00


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1967811)

1. ฟ้องครอบครองปรปักษ์  การจะได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ต้องได้ความว่า ครอบครองที่ดินของผู้อื่นโดยความสงบเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของและได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี แต่การที่เจ้าของนำเอกสารมาให้ลงชื่อแสดงว่าการครองครองนั้นไม่สงบ และข้อความในเอกสารนั้นน่าจะมีระบุไว้ในทำนองการครอบครองแทนเจ้าของที่ดินจึงไม่น่าจะฟ้องได้นะครับ

2. การจะขอบ้านเลขที่นั้นคงไม่จำเป็นว่าต้องเป็นเจ้าของที่ดินนะครับ หากมีบ้านที่มีลักษณะถาวรทางเจ้าหน้าที่ก็น่าจะออกให้ได้เพราะเห็นมีชาวบ้านที่บุกรุกที่สาธารณะอยู่บริเวณริมครองตามถนนต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ มีบ้านเลขที่กันทั้งนั้น ลองไปติดต่อดูนะครับที่สำนักงานเขต

3. การที่จะฟ้องขอให้เปิดทางจำเป็นได้นั้น กฎหมายกำหนดให้ผู้ฟ้องขอเปิดทางจำเป็นต้องเป็นเจ้าของที่ดินครับ

*

มาตรา 1349 ที่ดินแปลงใดมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทาง สาธารณะได้ไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินแปลงนั้นจะผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ ทางสาธารณะได้


ที่ดินแปลงใดมีทางออกได้แต่เมื่อต้องข้ามสระ บึง หรือทะเลหรือมีที่ชัน อันระดับที่ดินกับทางสาธารณะสูงกว่ากันมากไซร้ ท่านว่าให้ใช้ความในวรรค ต้นบังคับ


ที่และวิธีทำทางผ่านนั้นต้องเลือกให้พอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะ ผ่าน กับทั้งให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นได้ ถ้าจำเป็นผู้มีสิทธิจะผ่านจะสร้างถนนเป็นทางผ่านก็ได้


ผู้มีสิทธิจะผ่านต้องใช้ค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่ เพื่อความ เสียหายอันเกิดแต่เหตุที่มีทางผ่านนั้น ค่าทดแทนนั้นนอกจากค่าเสียหาย เพราะสร้างถนน ท่านว่าจะกำหนดเป็นเงินรายปีก็ได้

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-07-25 09:19:24


ความคิดเห็นที่ 2 (1967815)

ขอให้เปิดทางจำเป็น

หากการที่จำเลยเปิดทางจำเป็นให้แก่โจทก์ดังกล่าวทำให้จำเลยต้องเสียหาย จำเลยย่อมมีสิทธิเรียกค่าทดแทนเพื่อความเสียหายจากโจทก์ได้ เมื่อทางพิพาทเป็นทางจำเป็นแล้ว โจทก์ก็มีสิทธิใช้ทางดังกล่าวได้โดยอำนาจของกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 จึงไม่ต้องให้จำเลยไปจดทะเบียนทางจำเป็นตามคำขอของโจทก์”

 

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้ฎีกาโต้แย้งกันรับฟังเป็นยุติว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 7850 และ 7851 เลขที่ดิน 433 และ 434 ตำบลบางระมาด (ตลิ่งชัน) อำเภอตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 1431 เลขที่ดิน 62 และที่ดินโฉนดเลขที่ 1490 เลขที่ดิน 150 ตำบลฉิมพลี (ตลิ่งชัน) อำเภอตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร โดยจำเลยจัดสรรที่ดินทั้งสองแปลงและปลูกสร้างบ้านบนที่ดินจัดสรรขายต่อบุคคลอื่นโดยใช้ชื่อหมู่บ้านว่า “มัณฑนา” ที่ดินของโจทก์ถูกปิดล้อมโดยที่ดินแปลงอื่นรวมทั้งที่ดินจัดสรรของจำเลยจนไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะได้โดยภายในที่ดินของจำเลยโฉนดเลขที่ 1431 มีสภาพเป็นถนนเพื่อให้ผู้อยู่อาศัยในหมู่บ้านมัณฑนาผ่านออกสู่ถนนสาธารณะสายฉิมพลี ? ตลิ่งชัน และจำเลยได้ก่อสร้างรั้วกำแพงปิดกั้นระหว่างที่ดินของโจทก์กับถนนในหมู่บ้านมัณฑนาทางด้านทิศใต้ไว้ คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า โจทก์มีสิทธิขอให้เปิดทางพิพาทตามแผนที่เอกสารหมาย จ.7 รูปแผนที่ตามสำเนาโฉนดเอกสารหมาย จ.8 และแผนที่สังเขปเอกสารหมาย ล.1 ซึ่งจำเลยสร้างรั้วกำแพงปิดกั้นไว้หรือไม่ เห็นว่าคดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่าที่ดินของโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ เว้นเสียแต่จะผ่านไปตามทางพิพาทอันเป็นถนนภายในหมู่บ้านของจำเลยออกไปสู่ถนนสายฉิมพลี ? ตลิ่งชัน ซึ่งเป็นทางสาธารณะเพียงทางเดียวจำเลยให้การต่อสู้ในปัญหาข้อกฎหมายว่า การที่โจทก์ขอให้จำเลยเปิดทางพิพาทในที่ดินจัดสรรของจำเลยขัดต่อมาตรา 43 วรรคหนึ่ง แห่งราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 ที่ให้ผู้จัดสรรที่ดินมีหน้าที่บำรุงรักษาสาธารณูปโภคภายในที่ดินจัดสรรให้คงสภาพดังเช่นที่ได้จัดทำขึ้นนั้นต่อไป และจะกระทำการใดอันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเลื่อมความสะดวกไม่ได้เท่านั้น โดยจำเลยมิได้ให้การว่า ที่ดินของโจทก์ทางด้านข้างยังมีที่ดินแปลงอื่นซึ่งมีสภาพเป็นที่ดินว่างเปล่าที่โจทก์จะใช้เป็นทางเดินสู่ทางรถไฟอันเป็นทางสาธารณะได้แต่อย่างใด ซึ่งเท่ากับจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงตามฟ้องว่า ถนนภายในหมู่บ้านจัดสรรของจำเลยเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะสำหรับที่ดินของโจทก์ได้เพียงเส้นทางเดียว อีกทั้งนายอำนวยวินารักษ์วงศ์ ผู้รับมอบอำนาจจำเลยก็ยังเบิกความตอบคำถามค้านของทนายโจทก์ว่าที่ดินของโจทก์ด้านที่ติดทางรถไฟไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ว่ายังมีที่ดินแปลงอื่นที่โจทก์สามารถใช้เป็นทางออกไปสู่ทางสาธารณะได้ดีกว่าถนนพิพาทภายในหมู่บ้านจัดสรรของจำเลย ยังไม่สมควรเปิดถนนในหมู่บ้านจัดสรรของจำเลยให้เป็นทางจำเป็นตามที่โจทก์ฟ้องนั้น เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิจารณานอกฟ้องนอกประเด็น มิใช่ข้อเท็จจริงที่คู่ความต่อสู้กันไว้แต่ประการใด จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา คดีคงมีประเด็นข้อกฎหมายเพียงว่า การที่โจทก์ขอใช้ทางจำเป็นผ่านถนนในที่ดินจัดสรรของจำเลยเป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 มาตรา 43 วรรคหนึ่ง หรือไม่ เห็นว่าแม้ทางจำเป็นที่โจทก์ขอผ่านที่ดินจัดสรรของจำเลยเป็นถนนซึ่งเป็นสาธารณูปโภคที่ผู้จัดสรรได้จัดให้มีขึ้นและตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรร ซึ่งมีกฎหมายบัญญัติห้ามมิให้ผู้จัดสรรที่ดินกระทำการใดอันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกก็ตาม แต่เมื่อจำเลยรับแล้วว่าถนนดังกล่าวตกอยู่ภายใต้สิทธิที่โจทก์จะขอเปิดทางจำเป็นได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นไปโดยผลของกฎหมาย มิใช่เป็นเรื่องที่ผู้จัดสรรที่ดินทำนิติกรรมอันก่อให้เกิดภาระแก่ที่ดินที่ตกเป็นสาธารณูปโภค จึงหาได้ขัดต่อพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 มาตรา 43 วรรคหนึ่ง ไม่ และหากการที่จำเลยเปิดทางจำเป็นให้แก่โจทก์ดังกล่าวทำให้จำเลยต้องเสียหาย จำเลยย่อมมีสิทธิเรียกค่าทดแทนเพื่อความเสียหายจากโจทก์ได้ เมื่อข้อกำหนดตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่ขัดต่อสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรคหนึ่ง เช่นนี้แล้ว โจทก์จึงมีสิทธิขอให้เปิดทางพิพาทที่จำเลยสร้างรั้วกำแพงปิดกั้นเพื่อใช้เป็นทางเข้าออกและจัดวางท่อระบายน้ำ สายไฟฟ้า สายโทรศัพท์สู่ทางสาธารณะได้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์มานั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น แต่ที่โจทก์ขอให้พิพากษาให้จำเลยไปดำเนินการจดทะเบียนทางจำเป็นแก่โจทก์ หากไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยนั้น เห็นว่า เมื่อทางพิพาทเป็นทางจำเป็นแล้ว โจทก์ก็มีสิทธิใช้ทางดังกล่าวได้โดยอำนาจของกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 จึงไม่ต้องให้จำเลยไปจดทะเบียนทางจำเป็นตามคำขอของโจทก์”

พิพากษากลับเป็นว่า ให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เว้นแต่คำขอให้จำเลยไปจดทะเบียนทางจำเป็นให้ยก ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ

( สดศรี สัตยธรรม - สุมิตร สุภาดุลย์ - นันทชัย เพียรสนอง )

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3892/2549

 

http://www.deka2007.supremecourt.or.th/deka/web/docdetail.jsp

 

ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2009-07-25 09:34:45


ความคิดเห็นที่ 3 (1968439)
ขอบพระคุณมากครับ
ผู้แสดงความคิดเห็น สุชาติ (suchatjsp-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2009-07-27 12:07:19


ความคิดเห็นที่ 4 (1968769)
ผมไปที่เขตฯ แล้วครับเค้าบอกว่า ขอ บ้านเลขที่ไม่ได้ครับ นอกจากเจ้าของที่ยินยอมซะก่อน
ผู้แสดงความคิดเห็น suchat (suchatjsp-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2009-07-28 10:38:05


ความคิดเห็นที่ 5 (1968844)
ก็ขอขอบคุณที่กลับมาแจ้งข่าวครับ ถ้าเจ้าหน้าที่เขามีเหตุปฏิเสธก็คงบังคับเขาไม่ได้ครับ น่าเห็นใจครับ
ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-07-28 13:32:25



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล