ReadyPlanet.com


ความรู้เกี่ยวกับภารจำยอม


สวัสดีครับคุณศิริ     ผมมีปัญหาข้อข้องใจอยากจะเรียนถามเป็นข้อ ๆ  ดังนี้ครับ   

1. ภารจำยอมที่มีการเขียนสลักไว้ด้านหลังโฉนดถือว่าได้มาโดยวิธีใดครับ

     1.1 อายุความ    1.2  โดยนิติกรรม   1.3  ผลจากกฎหมาย

2.  แล้วจะดูหรือสังเกตได้ยังไงว่าได้มาด้วยวิธีใด  (พอดีที่ที่บ้านกำลังมีปัญหาเรื่องทางเข้าออกที่เป็นภารจำยอมครับ)

3. ภารจำยอม กับทางจำเป็นอันไหนมีประโยชน์ หรือมีความสำคัญมากกว่ากันครับ

4.  เจ้าของภารยทรัพย์จะยกเลิกภารจำยอมในพื้นที่ของตนเองได้ในกรณีใดบ้าง

5. ที่ดินแบ่งแยก ตามภาษากฎหมาย   หมายถึง ที่ดินแบบใดครับ

     4.1  แบ่งแยกให้โดยเสน่หา                  4.2 แบ่งแยกโดยการขาย      4.3 หมายถึงทั้งสองอย่าง

5. จะดูหรือสังเกตได้ยังไงว่าที่ดินแปลงไหนแบ่งแยกโดยการซื้อขาย  หรือการยกให้

6. การได้มาจากการครอบครองปรปักษ์  สามารถนับต่อจากที่ดินเดิมที่ยังไม่ได้แบ่งแยกได้หรือไม่

   เช่น  กรณี มีพื้นที่หนึ่งแปลงตอนยังไม่ได้แบ่งแยก  ผู้อาศัยอยู่ด้านในใช้พื้นที่บริเวณที่เป็นภารจำยอมในปัจจุบันเป็นทางเข้าออกไปสู่ทางสาธารณะเป็นประจำ  เป็นเเวลากว่า 25 ปี   ในปัจจุบันที่แปลงดังกล่าวได้แบ่งแยกออกเป็น 4 แปลง โดยด้านหลังโฉนดทั้ง 4 แปลงมีบันทึกไว้ว่า มีภารจำยอม สามารถให้สาธารุปโภคและใช้เป็นทางรถยนต์ เข้าออกได้โดยสะดวก

6.1 อยากถามว่า ภารจำยอมที่ได้มาได้มาจากสาเหตุใด

6.2 ถ้าจะนับการได้มาซึ่งภารจำยอม โดยการครอบครองปรปักษ์ เราสามารถนับรวมกับเวลาที่เราใช้ทางก่อนที่จะมีการแบ่งแยกที่ดินได้หรือไม่( คือนับต่อจากที่เราใช้มาแล้ว 25 ปีนะ)

และในปัจจุบันเจ้าของที่แปลงที่อยู่ด้านหน้าติดกับทางสาธารณะ ทำประตูเปิด - ปิด มาติดไว้ที่ทางภารจำยอม โดยบอกว่าใครเข้าออกให้เปิด - ปิดประตูด้วย  

  อยากถามว่า  เจ้าของที่สามารถทำได้หรือไม่  เพราะทำให้เราเขาออกไม่สะดวก ต้องคอยมาเปิด - ปิดประตู ถึงจะเข้าออกได้    ซึ่งตาม ปพพ. 1390 เขียนไว้ว่า   ท่านมิให้เจ้าของภารยทรัพย์ประกอบกรรมใด ๆ อันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก

ขอรบกวนช่วยต่อข้อสงสัยให้ด้วยครับ เพราะตอนนี้มีปัญหามาเลยเกี่ยวกับทางเข้าออก

                                                 ขอบพระคุณยิ่ง



ผู้ตั้งกระทู้ เด็ก ๆ :: วันที่ลงประกาศ 2009-08-15 10:58:53


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1974333)

1. - 2. เท่าที่ทราบนะครับ เขาก็จะระบุรายละเอียดสั้นไว้นะครับ หากไม่มีหมายเหตุอะไรไว้ก็คงเป็นการได้มาโดยนิติกรรมทั้งหมดครับ  เช่น ภาระจำยอมตาม คดีหมายเลขแดงที่...(ความเห็น)

3. ภารจำยอม กับทางจำเป็น มีความสำคัญและมีประโยชน์ทั้งคู่ ขึ้นอยู่กับคุณมีสิทธิจะได้มาโดยทางใด แต่ทางจำเป็นต้องเสียเงินค่าใช้ทางให้กับเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินนั้นครับ

4. (4.1) ได้มาโดยนิติกรรม ก็ตกลงจดทะเบียนเลิกได้ (4.2) ที่ดิน 2 แปลง โอนกรรมสิทธิ์มาเป็นเจ้าของเดียวกัน (4.3) เมื่อมีการแบ่งแยกที่ดินแล้วภาระจำยอมบางส่วนใช้ไม่ได้ (4.4) ไม่ได้ใช้ภายใน 10 ปี (4.5) ที่ดินแปลงใดแปลงหนึ่งสลายไป เช่น น้ำทะเลเซาะ (4.6) เมื่อหมดประโยชน์

5. ต้องเข้าไปดูในระบบ เอกสารที่สำนักงานที่ดินครับ

6. แปลงใดแบ่งแยกครับ ขอคำถามชัด ๆ อีกหน่อยครับ คือที่ดินที่แบ่งแยกเป็น 4 แปลงเป็นแปลงที่ได้ภาระจำยอม หรือเป็นแปลงที่รับกรรม (ภารยทรัพย์)

6.1 น่าจะเป็นโดยนิติกรรมนะครับ (ความเห็น)

6.2 

มาตรา 1394 ถ้ามีการแบ่งแยกภารยทรัพย์ ท่านว่าภารจำยอมยังคงมี อยู่ทุกส่วนที่แยกออก แต่ถ้าในส่วนใดภารจำยอมนั้นไม่ใช้และใช้ไม่ได้ตาม รูปการ ท่านว่าเจ้าของส่วนนั้นจะเรียกให้พ้นจากภารจำยอมก็ได้

 

มาตรา 1395 ถ้ามีการแบ่งแยกสามยทรัพย์ ท่านว่าภารจำยอมยังคงมี อยู่เพื่อประโยชน์แก่ทุกส่วนที่แยกออกนั้น แต่ถ้าภารจำยอมนั้นไม่ใช้และใช้ ไม่ได้ตามรูปการเพื่อประโยชน์แก่ส่วนใดไซร้ ท่านว่าเจ้าของภารยทรัพย์ จะเรียกให้พ้นจากภารจำยอมอันเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนนั้นก็ได้

มาตรา 1390 ที่คุณอ้างมานั้นเขากล่าวถึงเจ้าของภารยทรัพย์ไม่ใช่หรือครับ แล้วคำถามบอกว่า แปลงด้านนอกเป็นผู้ทำประตูไม่ใช่หรือครับ ลองถามใหม่นะครับ

 

 

6.

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-08-16 12:06:01


ความคิดเห็นที่ 2 (1974346)

จะไปทำวิทยานิพนธ์หรือเปล่าครับพี่น้อง

//ภาระจำยอมได้มาโดยสองทาง คือโดยนิติกรรมสมัครใจก็ไปจดทะเบียนที่สำนักงานที่ดินอย่างนึง กับหากว่าใช้ที่ดินของบุคคลอื่นเป็นระยะเวลากว่า 10 ปี ใช้อายุความเดียวกับการครอบครองปรปักษ์

//การสลักหลังโฉนดยังไม่ถือว่าเป็นการได้มาโดยชอบของภาระจำยอม เพราะภาระจำยอมจะได้มาก็ตามที่บอกข้างต้น หากว่ายังไม่ได้จดทะเบียนอยู่ตราบใด ก็จะเอาไปอ้างกับชาวบ้านชาวช่องเขาไม่ไม่ได้ แต่อ้างได้กับเจ้าของภาระยทรัพย์  แต่ทั้งนี้สุดท้ายควรจะต้องไปจดทะเบียนอยุ่ดี ถ้าเจ้าของภาระยทรัย์ไม่ยินยอม ก็ต้องไปดำเนินการทางศาล เพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของเจ้าของภาระยทรัพย์

//จะดูว่าได้มาโดยวิธีใด ก็เป็นเรื่องที่เราใช้ทางหรือใช้ที่โดยสงบและเปิดเผย และด้วยความจำเป็นต้องใช้ที่นี้โดยเจ้าของที่เขาไม่ได้มาว่ากล่าว หากยังทะเลาะกันอยู่ก็ยังไม่ถือว่าใช้ทางหรือใช้ที่โดยสงบครับ

//ทางจำเป็นกับภาระจำยอมเป็นคนละกรณีกันครับ  ทางจำเป็นคือเป็นเรื่องที่คุณมีที่ทางอยู่โดยไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ก็เป็นที่ตาบอดนั้นแหละครับ กรณีนี้ก็ฟ้องศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าของที่ดินข้างเคียงของเราที่ใกล้ทางสาธารณะที่สุดเปิดทางให้ ส่วนค่าใช้จ่ายว่าท่าไรนั้นเจ้าของที่เขาหากว่าไม่ต่อสู้เรื่องราคาเราก็ไม่ต้องจ่าย แต่หากว่าเจ้าของที่เขาเรียกร้องราคาก็ต้องจ่าย โดยศาลจะพิจารณาตามสมควร

//การแบ่งแยกนั้นที่คุณถามเป็นเรื่องของที่ดิน เป็นกรณีของการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม จะแบ่งแยกกันเองโดยต่างเข้าถือเป็นส่วนๆ แต่ถ้าหากว่าอยกได้เป็นโฉนดใครโฉนดมัน ก็ต้องไปยื่นคำร้องขอต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อมาทำการรังวัดแบ่งแยกเป็นส่วนๆ ของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม  หากตกลงกันไม่ได้ ขึ้นศาลครับพี่น้อง

//สมมุติว่าคุณมีที่ดินอยู่ 10 ไร่ (แอบไปมีลูกกับมีน้อย) ก็เกิดรักลูกอยากจะให้ทรัพย์สินกับลูก ให้ทั้งหมดก็ไม่ได้ ก็เลยต้องแบ่งเป็นบางส่วนให้ลูก ก็ต้องไปยื่นคำร้องขอให้เจ้าพนักงานที่ดินมาทำการรังวัดเหมือนการแบ่งกรรมสิทธิรวมนั้นแหละครับ

//คำถามของคุณมั่นใจและใช้คำว่าภาระจำยอม ที่ผมให้คำแนะนำไป กับที่ท่านลีนนท์ได้ให้คำแนะนำไปคุณได้สิทธินั้นหรือยังครับ

//หากว่ามีการแบ่งแยกแปลงใดจะรับกรรมมันก็ขึ้นอยู่ว่าการใช้ทางของคุณนั้นอยู่ที่แปลงใด แต่ถ้าเรื่องทางจำเป็นก็ตามที่ได้บอกข้างต้น

//หากมีข้อมูลเพิ่มเติมหรือท่านใดมีข้อปัญหาในลักษณะนี้หรือเป็นกรณีอื่น ท่านลีนนท์พร้อมให้คำปรึกษาน่ะครับ (คิดเอาเอง !!! )

ผู้แสดงความคิดเห็น คุณปู่ยังหนุ่ม วันที่ตอบ 2009-08-16 13:00:43


ความคิดเห็นที่ 3 (1974715)


ขอบคุณครับสำหรับคำตอบที่ให้ความกระจ่างมา   คำตอบข้อ 1  - 5  เข้าใจแล้วครับ  ยังสงสัยในข้อ 6 ครับ  เดี๋ยวจะรองลำดับคำถามใหม่อีกครั้งนะครับ   คือ แต่ก่อนแม่มีที่ดิน  1  แปลง  ยกให้เป็นของพี่สาวคนโต   ต่อมาพี่สาวคนโต เอาที่แปลงนั้นไปแบ่งแยกเป็น 4  แปลง   โดยแปลงที่ 1  อยู่ด้านหน้าติดกับทางสาธารณะ    ส่วนแปลงที่ 2 3  4   อยู่ถัดเข้าไปข้างใน   ไม่มีทางเข้าออก จะเข้าออกได้ต้องผ่านที่ดินแปลงที่ 1    หลังโฉนดแปลงที่ 1  มีบันทึกไว้ว่าให้เป็นทางภารจำยอมให้สาธาณูปโภค และรถยนต์เข้าออกได้โดยสะดวก แก่ที่ดินแปลงที่ 2 3 และ 4     แต่ปัจจุบันเจ้าของที่ดินแปลงที่ 1 ที่อยู่ติดกับถนน  ทำประตูเปิด-ปิดมาติดไว้บริเวณที่เป็นทางภารจำยอม แล้วบอกว่าใครเข้าออกให้ปิดประตูด้วย   ซึ่งทำให้ผมไม่สะดวกในการเข้า - ออก เพราะต้องใช้ทางนี้เข้าออกไปสู่บ้านของตนเองเป็นประจำ (บ้านผมอยู่ในพื้นที่แปลงที่ 2)   จึงอยากเรียนถามว่าเจ้าของที่ดินแปลงที่ 1  สามารถทำประตูมาปิดทางที่เราเข้าออกได้หรือไม่ เพราะบริเวณนั้นถือเป็นภารจำยอมไปแล้ว  

ซึ่งตาม ปพพ. 1390 เขียนไว้ว่า   ท่านมิให้เจ้าของภารยทรัพย์ประกอบกรรมใด ๆ อันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก

ขอถามคำถามต่อไปเลยนะครับ

1. เนื่องจากบ้านผม (อยู่ในที่ดินแปลงที่สอง) ไม่มีน้ำปะปาใช้ ต้องซี้อน้ำใช้ และรถที่มาส่งน้ำก็เป็นรถบันทุก 6 ล้อ ซึ่งวิ่งเข้าไปในพื้นที่บ้านผมไม่ได้   จึงเดินท่อเอสสะร่อนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 นิ้ว ผ่านไปบนที่ภารจำยอม และไม่ได้ฝังลงไปในดิน  วางไว้ติดกับกำแพงที่เจ้าของที่แปลงที่หนึ่งใช้ร่วมกับเจ้าของที่ดินแปลงอื่น   เจ้าของที่แปลงที่ 1 บอกว่าเกะกะให้ฝังลงไปในดิน  ผมอยากทราบว่า  ถ้าผมไม่ฝังท่อลงไปในดิน  แต่ทำการยึดท่อติดไว้กับกำแพง จะได้หรือไม่  (กำแพงที่ว่านี้เจ้าของที่แปลงที่ 1 ก็ไม่ได้เป็นคนสร้าง  แต่ใช้ร่วมกับที่แปลงอื่นที่เจ้าของเค้าสร้างไว้ก่อนแล้ว)

2. บริเวณที่ภารจำยอมเจ้าของที่ ทำป้ายขนาดกว้าง  1  ฟุต  ยาวประมาณ  1 ฟุตครึ่ง  ติดกับคานเหล็กมาติดขวางไว้  ป้ายมีข้อความว่า  เจ้าของให้ใช้เป็นทางผ่านเท่านั้น   ซึ่งป้ายสูงจากพื้นประมาณ 3 เมตร  อยากทราบว่า ถ้าเรามีความจำเป็นที่จะนำรถ เช่น รถตู้  หรือรถที่บรรทุกของที่มีความสูงกว่านั้นเข้ามา เราจะถอดคานเหล็กที่มีป้ายติดอยู่นั้นออกได้หรือไม่ (เจ้าของที่ทำไว้ลักษณะไม่ให้นำรถ หรือ สิ่งของที่มีความสูงมากกว่านั้นเข้าได้)   แล้วป้ายที่เขียนว่าเจ้าของให้ใช้เป็นทางผ่านเท่านั้น จำเป็นต้องนำมาติดไว้หรือไม่  ในเมื่อในโฉนดก็เขียนอยู่แล้วว่าเป็นภารจำยอม ใช้เป็นทางผ่าน

3. เจ้าของที่ดินแปลงที่ 1(ภารยทรัพย์)  สามารถไปฟ้องยกเลิกภารจำยอมกับเจ้าของที่ดินแปลงที่ 2 ได้หรือไม่ เพราะในตอนนี้ ที่ดินแปลงที่ 2 และ 3  เป็นชื่อเจ้าของคนเดียวกันแล้ว  ส่วนแปลงที่ 4  เจ้าของที่ดินมีทางเข้าออกแล้ว  โดยเข้าออกด้านหลังซึ่งไม่ต้องมาใช้ทางร่วมกับแปลงที่ 2และ3   โดยเจ้าของที่แปลงที่ 1 ที่เป็นภารยทรัพย์ พูดทำนองว่าจะฟ้องเอาภารจำยอมคืนจาก เจ้าของที่แปลงที่ 2 และ 3(สามยทรัพย์) และจะยกเลิกภารจำยอมกับแปลงที่  4   แล้วให้เจ้าของที่ดินแปลงที่ 2 และ 3 เข้าออกผ่านทางพื้นที่ของที่ดินแปลงที่ 4   (ลืมบอกไปเจ้าของที่แปลงที่ 1 ถึง 4 เป็นพื่น้องกันทั้งหมด) แต่เจ้าของที่แปลงที่ 1 เหมือนจะจงใจแกล้ง พี่น้องคนอื่น ๆ

4. เจ้าของที่แปลงที่ 2 (ตัวผมเอง) สามารถฟ้องร้องเจ้าของที่แปลงที่ 1 ซึ่งเป็นภารทรัพย์ ของผมได้หรือไม่   ในเรื่องทำประตูปิดเปิดบนทางภารจำยอมทำให้เราเข้าออกไม่สะดวก  และเรื่องการนำป้ายมาติดขวางซึ่งมีความสูงจากพื้นไม่เกิน 3 เมตร  ทำให้ไม่สะดวกในการนำสิ่งของหรือรถที่มีความมากกว่า 3 เมตร เข้าออก

5.ถ้าเราทำธุรกิจที่ต้องมีบุคคลอื่น ๆ เข้ามาติดต่อธุรกิจกับเราประจำ ๆ แล้วทำให้เค้าไม่สะดวกในการเข้าออก  จึงยกเลิกการทำธุรกิจกับเรา  เราสามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายจากเจ้าของที่ดินแปลงที่ 1 ได้หรือไม่  ในกรณีที่ทำเราเสียรายได้จากการทำธุรกิจ 

 

 

 ขอรบกวนช่วยตอบข้อสงสัยให้ด้วยครับ เพราะตอนนี้มีปัญหามากเลยเกี่ยวกับทางเข้าออก

ขอบคุณทุกท่านที่ช่วยแสดงความคิดเห็น

 

ผู้แสดงความคิดเห็น เด็ก ๆ วันที่ตอบ 2009-08-17 15:58:50


ความคิดเห็นที่ 4 (1974978)

1. แม้คุณจะมีสิทธิใช้ทางภาระจำยอมก็ต้องใช้ตามเงื่อนไขที่ได้สิทธิครับ และแม้จะทำได้ทุกอย่างแต่ต้องเท่าที่จำเป็นในการใช้ ดังนั้นเจ้าของกรรมสิทธิ์ (ภารยทรัพย์) เห็นว่าการเดินท่อติดกับกำแพงเป็นการเพิ่มภาระให้กับภารยทรัพย์ก็สามารถห้ามได้ครับ

2. ไม่สามารถนำป้ายมาติดได้ครับเพราะทำให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไป

3. ฟ้องยกเลิกไม่ได้ครับ แม้แปลง  2  กับ 3 จะเป็นเจ้าของเดียวกัน เพราะ ต่างก็เป็น สามยทรัพย์ด้วยกันครับ

4. ฟ้องได้ครับ

5. เป็นเรื่องที่เราคาดเอาเองครับฟ้องไปก็เสียเวลาและเงิน (ความเห็น)

หมายเหตุ

เป็นพี่น้องกันอย่าถึงโรงถึงศาลเลยครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-08-18 12:40:43


ความคิดเห็นที่ 5 (1975397)

 อยากจะขอคำแนะนำจากคุณลีนนท์ ครับ

ถ้าเราไม่ฟ้อง  จะมีวิธีไหนบางครับที่จะทำให้เจ้าของที่ดินแปลงที่ 1 ไม่มากลั่นแกล้งเรา   คือต่างคนต่างอยู่ ต่างทำมาหากินของตนเองไป  เพราะจริง ๆ แล้วผมก็ไม่ต้องการจะฟ้องร้องอะไร เพียงแต่ไม่อยากให้มายุ่งกับเรา และขอให้เราเข้าออกได้สะดวกก็พอแล้ว

แล้วถ้าผมจะฟ้อง ในกรณีเรื่องของประตูเปิด - ปิด   และป้ายที่นำมาติด   ทำให้เราไม่สะดวกในการเข้าออก จะมีโอกาสชนะมากน้อยแค่ไหนครับ

  ขอขอบพระคุณสำหรับคำแนะนำ

ผู้แสดงความคิดเห็น เด็ก ๆ วันที่ตอบ 2009-08-19 14:30:49


ความคิดเห็นที่ 6 (1975492)
ไม่ฟ้องก็ต้องเจรจา อาจให้พี่น้องคนอื่นเป็นคนกลางประสานให้ แต่หากฟ้องเรื่องประตูและป้าย มีโอกาสชนะคดี มากที่สุด หากไม่มีข้อตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญาอะไรก็ตาม
ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-08-19 19:19:01


ความคิดเห็นที่ 7 (1975764)

 

ขอบพระคุณมากครับ สำหรับคำแนะนำ

ผู้แสดงความคิดเห็น เด็ก ๆ วันที่ตอบ 2009-08-20 14:09:53



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล