ReadyPlanet.com


ขอสละอำนาจปกครองบุตร


หย่าแล้วบันทึกท้ายหย่าให้ปกครองร่วมกันทั้งพ่อแม่ แต่เมื่อหย่าแล้วพ่อกีดกันไม่ให้พาเที่ยว ไม่ให้คุยโทรศัพท์และสอนให้ลูกปฏิเสธการที่แม่จะพาไปเที่ยว. 

   1. จะฟ้องบังคับให้ทำตามบันทึกการหย่าได้มั้ยคะ

   2.หากได้ เมื่อศาลพิพากษาแล้วพ่อเด็กไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาจะทำอย่างไร

   3.หากเด็กปฏิเสธที่จะหาแม่ บังคับเด็กได้มั้ยคะ

   4.หากจะขอสละอำนาจปกครองบุตร ทำได้มั้ยคะ ต้องฟ้อง หรือร้องขอต่อศาลคะ

 



ผู้ตั้งกระทู้ เนย :: วันที่ลงประกาศ 2013-11-11 12:42:30


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2434058)

1. จะฟ้องบังคับให้ทำตามบันทึกการหย่าได้มั้ยคะ

ตอบ - ตามคำถามไม่ได้ระบุว่า มีข้อความในบันทึกท้ายทะเบียนหย่าเรื่องอะไรบ้างนอกจากให้บิดา มารดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองร่วมกัน เพราะบันทึกดังกล่าวก็มีความหมายอยู่แล้วว่า ใช้อำนาจปกครองร่วมกัน บิดา และมารดาจึงมีสิทธิในการดูแลบุตรเท่ากัน หากฝ่ายบิดากีดกันไม่ให้มารดาพบบุตรถือว่าเป็นการใช้อำนาจปกครองมิชอบ มารดาอาจใช้สิทธิถอนอำนาจปกครองของบิดาได้ (แต่ในทางปฏิบัติศาลจะไม่ถอนอำนาจปกครองแต่อาจเป็นเปลี่ยนอำนาจปกครองจากร่วมกันเป็นให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งใช้อำนาจปกครองแต่เพียงฝ่ายเดียวได้ครับ)

2.หากได้ เมื่อศาลพิพากษาแล้วพ่อเด็กไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาจะทำอย่างไร

ตอบ - เมื่อศาลมีคำพิพากษาแล้ว ไม่ปฏิบัติตามก็ต้องดำเนินการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งต่อไปครับ

3.หากเด็กปฏิเสธที่จะหาแม่ บังคับเด็กได้มั้ยคะ

ตอบ - คำถามนี้ตอบยากครับ หากเป็นเด็กเล็กคงไม่มีปัญหาครับ หากเด็กโตแล้วก็ควรจะพิจารณาตัวเองครับว่าสาเหตุเกิดจากอะไร ต้องคำนึงว่า บุตรไม่ใช่ทรัพย์สินที่จะแย่งการครอบครอง แต่ควรช่วยกันอุปการะเลี้ยงดูให้การศึกษาแก่บุตรให้ได้รับความเจริญก้าวหน้าเป็นผู้ใหญ่ที่ดีต่อไป และในเรื่องนี้เป็นวิธีบังคับคดี ซึ่งขึ้นอยู่กับพฤติการณ์แวดล้อมและปัจจัยอื่น ๆ ด้วย คงต้องแก้ไขปัญหาไปตามสถานการณ์เพื่อให้เป็นไปตามคำพิพากษาต่อไปครับ

4.หากจะขอสละอำนาจปกครองบุตร ทำได้มั้ยคะ ต้องฟ้อง หรือร้องขอต่อศาลคะ

ตอบ - อำนาจปกครองจะสละไม่ได้ครับ

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น admin วันที่ตอบ 2013-12-01 09:34:22


ความคิดเห็นที่ 2 (2434059)

การถอนอำนาจปกครองเป็นอำนาจของศาล

ผู้ร้องเป็นป้าขอตั้งผู้ปกครอง ผู้เยาว์เป็นบุตรของน้องชายซึ่งได้หย่ากับน้องสใภ้ โดยมีข้อตกลงเรื่องการใช้อำนาจปกครองว่าให้ผู้เยาว์อยู่ในความปกครองของน้องชาย และเป็นผู้มีสิทธิใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์เพียงผู้เดียวตามข้อสัญญา มิใช่เป็นกรณีที่น้องสใภ้หรือมารดาของผู้เยาว์ถูกถอนอำนาจปกครองเพราะการถอนอำนาจปกครองเป็นอำนาจของศาล และจะต้องมีเหตุตามกฎหมาย ดังนั้นเมื่อน้องชายถึงแก่ความตาย อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์จึงกลับมาเป็นของมารดาฝ่ายเดียว ป้าจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์  (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2960/2548)

 

ค่าอุปการะเลี้ยงดู,ค่าเลี้ยงชีพ,อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์

ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ เป็นหน้าที่ของบิดามารดาชอบด้วยกฎหมายจะต้องช่วยกันอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะหรืออายุยังไม่ครบ 20  ปีบริบูรณ์ ซึ่งกฎหมายเรียกว่า ผู้เยาว์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1564 ไม่ว่าสามีภริยาจะได้หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยาหรือไม่ก็ตาม หน้าที่ในการอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ก็ยังคงเป็นหน้าที่ของบิดามารดาจนกว่าบุตรจะได้พ้นจากภาวะผู้เยาว์เสียก่อน

 

อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์, ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
จำเลยสมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์จำเลยไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกิน 3 ปี โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องหย่าจำเลยได้และเมื่อจำเลยมีบุตรผู้เยาว์ด้วยกัน 1 คน ศาลก็มีอำนาจชี้ขาดให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองและให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่  6471/2548)

 

บันทึกหย่ามารดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง-มารดาตาย

ก่อนจดทะเบียนหย่า อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ อยู่กับบิดา มารดา แต่กฎหมายเปิดโอกาสให้บิดา มารดา ตกลงกันเป็นหนังสือว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรในกรณีที่จดทะเบียนหย่า คดีนี้บิดา มารดา ตกลงกันให้มารดา มีภาระหน้าที่ปกครองอุปการะเลี้ยงดูบุตร ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อตกลงยังไม่รวมถึงการใช้อำนาจปกครอง ดังนั้นอำนาจปกครองบุตรจึงยังอยู่กับบิดา มารดาเช่นเดิม การที่บิดา มายื่นคำร้องขอตั้งผู้ปกครองเนื่องจากมารดาตายนั้นเป็นการตั้งผู้ใช้อำนาจปกครองซ้ำอีก (คำพิพากษาศาลฎีกาที่  2460/2539)

 

ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว

คดีนี้ใครควรเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร, บิดาหรือมารดา?... จำเลย(สามี)ให้การว่า จำเลยไม่เคยทำร้ายร่างกายโจทก์ จำเลยยินดีหย่าขาดจากโจทก์แต่โจทก์ไม่เหมาะสมจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร เพราะโจทก์ไม่มีอาชีพและไม่มีรายได้พอจะเลี้ยงดูบุตรให้มีความสุขได้ ส่วนจำเลยมีอาชีพและรายได้เพียงพอ และเพื่อความสุขของบุตรที่จะมีทั้งบิดามารดา จึงสมควรให้จำเลยเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูบุตรและให้โจทก์กับจำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรร่วมกัน (คำพิพากษาศาลฎีกาที่  819/2546)

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น admin วันที่ตอบ 2013-12-01 09:39:44


ความคิดเห็นที่ 3 (4269476)

 ไม่มีกฎหมายให้สิทธิผู้ใช้อำนาจปกครองสละการใช้อำนาจปกครองให้ผู้อื่นได้)

ศาลชั้นต้นมีคำสั่งกำหนดให้ผู้เยาว์ไปอยู่กับปู่และย่าซึ่งเป็นบิดาของจำเลย ทั้งที่โจทก์ยังมีชีวิตและไม่ได้ถูกถอนอำนาจปกครองจึงเป็นการไม่ถูกต้องด้วยข้อกฎหมาย
ผู้แสดงความคิดเห็น admin วันที่ตอบ 2018-09-02 15:27:15



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล