ReadyPlanet.com


สิทธิในการดูแลบุตร (อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์)


ดิฉันกับสามีมีบุตรด้วยกันตอนดิฉันอายุ 21 คะ ส่วนสามีดิฉัน อายุ 18 ปีตามบัตรประชาชน แต่จริงๆแล้วอายุ 21 เท่ากันเนื่องจากทางสามีแจ้งเกิดช้าคะ ทางสามีไม่ได้สู่ขอดิฉันตามประเพณี ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ด้วยคะ เมื่อคลอดบุตร ทางฝ่ายสามีจึงรับเลี้ยง เพราะที่บ้านดิฉันไม่รับทราบคะ ตอนนี้ผ่านมา 5 ปี ดิฉันได้เลิกกับสามีและ บุตรยังอยู่ในความดูแลของญาติสามี เพราะต่างคนต่างทำงาน แต่หลังจากที่เลิกกัน สามีดิฉันจะฟ้องดิฉันเรื่อง สิทธิในการดูแลบุตรคะ ดิฉันระบุเงื่อนไขหากเขายอม ดิฉันก็จะเซ็นให้ ดิฉันขอแค่ 

1 ดิฉันขอคุยกับลูกและไปเยี่ยมลูกบ้าง

2 หากดิฉันจะขอพาลูกไปเที่ยวบ้าง

3 หากบุตรต้องการมาอยู่กับแม่ไม่ว่าเหตุผลใดก็ตามโดยเป็นการยินยอมของบุตรเอง ต้องให้มาอยู่กับแม่

แต่สามีดิฉันไม่ยอม ข้อ 3 คะ จึงบอกให้ฉันหาทนายเพื่อที่จะฟ้องเรียกร้องสิทธิ ในกรณีนี้ ดิฉันมีสิทธิที่จะชนะไหมคะ ดิฉันอยากทราบข้อกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิของบุตร ในกรณีแบบดิฉัน เพราะที่ผ่านมาทางฝ่ายชายพูดจาในเชิง กฎหมายตลอด ว่ายังไงเค้าก็ต้องชนะ ( ในระยะเวลา 5 ปีดิฉันไปเยี่ยมลูกตลอด ไปอยู่กับลูกช่วงปิดเทอมบ้าง ไม่เคยทำร้ายร่างกายอะไรลูกเลย แต่ติดตรงที่ตั้งแต่ลูกเกิดมา ญาติทางฝ่ายสามีเป็นคนเลี้ยงคะ ) 



ผู้ตั้งกระทู้ paveetida :: วันที่ลงประกาศ 2013-11-01 11:17:34


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2426818)

ตอบ - คุณกับสามีไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน บุตรที่เกิดมาจึงเป็นบุตรนอกสมรส สามีของคุณเป็นบิดานอกกฎหมาย คุณจึงยังคงเป็นมารดาชอบด้วยกฎหมายและเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรได้แต่เพียงผู้เดียว มีผลให้ผู้ใช้อำนาจปกครองมีสิทธิกำหนดที่อยู่ของบุตรได้ ตามคำถามคุณเพียงกังวลว่า อดีตสามีจะฟ้องขอจดทะเบียนรับรองบุตร และขอเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งในทางปฏิบัติก็เกิดขึ้นอยู่เป็นเรื่องปกติในการฟ้องร้องคดีทางศาล คำถามว่า

1 ดิฉันขอคุยกับลูกและไปเยี่ยมลูกบ้าง
ตอบ - คุณต้องได้สิทธินั้นอยู่แล้วครับ คุณควรไปศาลเมื่อได้รับคำฟ้องหรือติดต่อทนายความให้คำปรึกษาหรือดูแลคดีของคุณจะได้ไม่เสียเปรียบในทางคดีครับ

2 หากดิฉันจะขอพาลูกไปเที่ยวบ้าง
ตอบ - สามารถทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยมีเงื่อนไขตามที่ตกลงกันก็สามารถทำได้ครับ

3. หากบุตรต้องการมาอยู่กับแม่ไม่ว่าเหตุผลใดก็ตามโดยเป็นการยินยอมของบุตรเอง ต้องให้มาอยู่กับแม่
ตอบ - หากเงื่อนไขตามข้อ 2. สามารถครอบคลุมแล้วก็คงใช้บังคับได้ตามข้อ 2. ครับ ส่วนกรณีที่เด็กประสงค์ที่จะไปอยู่กับแม่ ถ้าไม่มีข้อตกลงกันไว้ก็คงยากครับ เพราะใครเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร ย่อมมีสิทธิกำหนดที่อยู่ของบุตรได้ครับ

 

บิดานอกกฎหมายไม่มีสิทธิกำหนดที่อยู่ของบุตร

 

ผู้แสดงความคิดเห็น admin วันที่ตอบ 2013-11-01 13:01:21


ความคิดเห็นที่ 2 (2426819)

ขอบคุณคะ

ตอนนี้ ยังไม่มีข้อตกลงใดๆ มีแต่ คำขู่ของฝ่ายชาย ที่ต้องการดูแลบุตรเพียงผู้เดียว และจะฟ้องร้องดิฉัน หากดิฉันไม่ให้สิทธิการดูแลบุตร แต่ถ้าหาก เกิดการฟ้องร้อง ดิฉันก็จะสู้เต็มที่ คะ แต่ก็สงสารลูกที่ต้องมารับรู้เรื่องราวของผู้ใหญ่ 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น paveetida วันที่ตอบ 2013-11-01 13:11:13



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล