ReadyPlanet.com


การพิจารณาคดีของศาลอุทธรณ์


ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการฟ้องไปยังศาลอุทธรณ์ การพิจารณาคดีของศาลอุทธรณ์จะพิจารณาอย่างไร เพราะว่าจำเลยมีประจักษ์พยานยืนยันว่าไม่ได้กระทำความผิด มีพยานบุคคลยืนยันได้ ส่วนผู้เสียหายมีพยานปากเดียว คือ ตัวผู้เสียหายเอง(อยู่ในที่เกิดเหตุ) นอกนั้นเป็นพยานบอกเล่า มิใช่ประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ การพิจารณาของศาลอุทธรณ์จะเรียกหลักฐานพยานเพิ่มเติมได้หรือไม่ หรือถ้ามีการเรียกพยานเพิ่มเติมศาลอุทธรณ์ต้องแจ้งให้ จำเลย ทราบด้วยหรือไม่ หรือว่าการพิจารณาจะใช้หลักฐานเดิมที่อ้างในศาลชั้นต้น เพราะถ้ามีการอ้างพยานเพิ่มเติมโดยที่จำเลยไม่รู้จะเป็นผลร้ายต่อตัวจำเลย ในกรณีนี้ผู้เสียหายให้การในชั้นศาลชั้นต้นไม่มีมูลของคดี แต่เป็นการให้ร้ายจำเลย อีกประการหนึ่งสถานที่เกิดเหตุก็มีพยานอื่นๆในที่เกิดเหตุด้วย การพิจารณาคดีของศาลอุทธรณ์จะพิจารณา ตามข้อเท็จจริง หรือข้อกฎหมาย คดีนี้ผู้เสียหายให้การว่าจำเลยทำอนาจาร แต่จำเลยมีพยานบุคคลที่น่าเชื่อถือได้เป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ โจทก์ร่วมฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยในทางแพ่งเป็นจำนวนเงิน ๑๐๐,๐๐๐ บาทด้วย เหตุผลนี้จึงทำให้โจทก์ร่วม และทนายโจทก์ร่วมยื่นอุทธรณ์ เพราะว่า ทนายโจทก์ร่วมยังไม่ได้รับค่าตอบแทนจากคดี...


ผู้ตั้งกระทู้ จำเลยของสังคม :: วันที่ลงประกาศ 2009-08-31 21:43:57


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1980092)
การพิจารณาคดีในศาลอุทธรณ์จะพิจารณาตามพยานหลักฐานที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณามา แต่เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะเรียกพยานหลักฐานเพิ่มเติมได้และหากจะมีการสืบพยานเพิ่มเติมศาลต้องแจ้งให้จำเลยทราบอยู่แล้วครับจะพิจารณาคดีลับหลังจำเลยไม่ได้ครับ มาตรา 203 ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาโดยเปิดเผยเฉพาะแต่ใน กรณีที่นัดหรืออนุญาตให้คู่ความมาพร้อมกัน หรือมีการสืบพยาน มาตรา 204 เมื่อจะพิจารณาในศาลโดยเปิดเผย ให้ศาลอุทธรณ์ ออกหมายนัดกำหนดวันพิจารณาไปยังคู่ความให้ทราบล่วงหน้า อย่างน้อยไม่ต่ำกว่าห้าวัน การฟังคำแถลงการณ์นั้นห้ามมิให้กำหนดช้ากว่าสิบ ห้าวันนับแต่ วันรับสำนวนถ้ามีเหตุพิเศษจะช้ากว่านั้นก็ได้แต่อย่าให้เกินสองเดือน เหตุที่ต้องช้าให้ศาลรายงานไว้ มาตรา 208 ในการพิจารณาคดีอุทธรณ์ตามหมวดนี้ (1) ถ้าศาลอุทธรณ์เห็นว่าควรสืบพยานเพิ่มเติม ให้มีอำนาจเรียก พยานสืบเอง หรือสั่งศาลชั้นต้นสืบให้ เมื่อศาลชั้นต้นสืบพยานแล้ว ให้ส่งสำนวนมายังศาลอุทธรณ์เพื่อวินิจฉัยต่อไป (2) ถ้าศาลอุทธรณ์เห็นเป็นการจำเป็น เนื่องจากศาลชั้นต้นมิได้ ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา ก็ให้พิพากษาสั่งให้ศาลชั้นต้น ทำการพิจารณาและพิพากษาหรือสั่งใหม่ตามรูปคดี
ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-09-02 17:52:51



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล