ReadyPlanet.com


สงสัยเรื่องภารยทรัพย์ และ สามยทรัพย์


ขอเรียนถามว่า

1.  ภารยทรัพย์ และสามยทรัพย์  คือที่ดิน  ที่เป็นแปลงเดียวกัน    แล้วได้ทำการแบ่งแยกใช้หรือไม่  เช่น มีที่ 1 แปลง แล้วแบ่งแยกออกเป็น 4 แปลง   ในที่ดิน 4  แปลงนี้  แปลงนึงจะต้องเป็นที่ภารยทรัพย์  และอีก 3 แปลงเป็นสามยทรัพย์ของแปลงที่เป็นภารยทรัพย์ใช้มั้ยครับ 

2. ถ้านาย ก. มีที่ดิน 1 แปลงมีโฉนดเป็นของตนเอง   ต่อมาได้ซื้อที่ดินแปลงที่อยู่ติดกันเพิ่มขึ้น  จะถือว่าที่ดินที่ซื่อเพิ่มมานี้เป็นสามยทรัพย์ของที่ดินแปลงแรกที่มีอยู่ก่อนหรือเปล่าครับ     

  คือผมสงสัยว่า  ความหมายของคำว่าภารยทรัพย์ และสามยทรัพย์  ต้องเป็นที่ดินแปลงเดียวกันแล้วแบ่งแยก     หรือเป็นที่ดินคนละแปลงแต่อยู่ติดกัน  ซึ่งเป็นเจ้าของเดียวกัน

ขอขอบพระคุณทุกท่านที่แสดงความคิดเห็น



ผู้ตั้งกระทู้ เด็กเล็ก ๆ :: วันที่ลงประกาศ 2009-08-28 13:32:06


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1978503)

1.  ภารยทรัพย์ และสามยทรัพย์  คือที่ดิน  ที่เป็นแปลงเดียวกัน    แล้วได้ทำการแบ่งแยกใช้หรือไม่

-----ไม่จำเป็นต้องเป็นที่ดินที่แบ่งแยกมาครับ เจ้าของต่างกรรมสิทธิ์และไม่จำเป็นต้องมีที่ดินติดต่อกันก็ได้ครับ

 

2. ถ้านาย ก. มีที่ดิน 1 แปลงมีโฉนดเป็นของตนเอง   ต่อมาได้ซื้อที่ดินแปลงที่อยู่ติดกันเพิ่มขึ้น  จะถือว่าที่ดินที่ซื่อเพิ่มมานี้เป็นสามยทรัพย์ของที่ดินแปลงแรกที่มีอยู่ก่อนหรือเปล่าครับ     

-ภารจำยอม เป็นทรัพยสิทธิที่ตัดทอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ของบุคคลอื่น

-มีการจำแนกประเภทของทรัพย์ที่เกี่ยวข้องเป็น

- สามยทรัพย์ คืออสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับประโยชน์

- ภารยทรัพย์ คืออสังหาริมทรัพย์ที่ต้องรับกรรมบางอย่าง

 

อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่

http://www.geocities.com/cmulaw105/Servitudes.htm

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-08-28 19:59:55


ความคิดเห็นที่ 2 (1978504)

ทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโจทก์โดยอายุความหรือไม่ โจทก์และจำเลยนำสืบรับกันว่า ตามปกติประเพณีของท้องถิ่นสามารถใช้นาเป็นทางเดินได้ทั่วถึงกันโดยไม่มีการหวงห้ามเห็นว่า การได้ภาระจำยอมโดยอายุความนั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยอายุความได้สิทธิดังกล่าวไว้ในลักษณะ 3 แห่งบรรพ 4 มาใช้บังคับโดยอนุโลม กล่าวคือจะต้องเป็นกรณีที่เจ้าของสามยทรัพย์ได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินภารยทรัพย์นั้นโดยความสงบและโดยเปิดเผย และด้วยเจตนาจะได้สิทธิภาระจำยอมในที่ดิน

อ่านเพิ่มเติมได้ที่

http://www.peesirilaw.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538638162&Ntype=9

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-08-28 20:06:40



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล