ReadyPlanet.com


การฟ้องเรียกคืนที่ดินที่ยกให้


แม่มีที่อยู่หนึ่งแปลง  มีลูก 5  คน   แม่ยกที่แปลงนี้ให้ลูกคนโต เพราะเห็นว่าเป็นพี่คนโต ที่ได้ส่งเสียให้เรียนจนจบ และมีความรู้  สามารถเลี้ยงดูน้อง ๆ แทนแม่ได้  และสามารถเลี้ยงแม่ได้  จึงยกที่ดินให้  พี่คนโตนำที่ดินไปจำนองกับธนาคาร  โดยบอกว่าเองเงินมาส่งเสียน้องเรียน และเลี้ยงดูแม่  ซึ่งเงินที่ได้จากการนำที่ดินไปจำนอง  พี่คนโตและน้องชาย(ซึ่งเป็นลูกคนที่ 3) เป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารเงินก้อนนี้   ซึ่งที่แปลงนี้ถ่ายถอนจากธนาคาร และก็นำเข้าจำนองในธนาคารอีกหลายครั้ง จนน้องที่ยังเรียนอยู่เรียนจบ  หลังจากทุกคนมีงานทำ ก็ได้ช่วยกันผ่อนชำระค่าที่ดินที่จำนองไว้กับธนาคารเลื่อยมา   จนประมาณ 10 กว่าปีที่ผ่านมา พี่คนโตแต่งงานไปอยู่เมืองนอก น้องคนเล็กก็รับภารเลี้ยงดูแม่มาจนถึงปัจจุบัน  โดยในระยะที่ผ่านมาพี่คนโตไม่เคยมาให้ความช่วยเหลือ  หรือเลี้ยงดูแม่เลย  อีกทั้งการผ่อนชำระเงินกู้ค่าที่ดินกับธนาคารเริ่มมีปัญหา  จนธนาคารจะมายึดที่ดิน  พี่คนโตจึงแกมบังคับขายที่ให้น้องคนเล็ก เพื่อเอาเงินไปถ่ายถอนที่ดินจากธนาคาร แล้วนำที่ดินมาแบ่งแยกเป็น 4 แปลง ที่แปลงหนึ่งขายให้น้องคนเล็ก  แปลงที่ 2 ขายให้น้องคนที่ 4   แปลงที่ 3 ยกให้แม่  ที่แปลงที่ 4 ยกให้น้อชายคนที่ 3   และที่สำคัญ ที่ดินแปลงที่กล่าวถึงข้างต้นกำลังมีปัญหาเรื่องทางเข้าออกที่เป็นภารจำยอม ซึ่งที่ดินที่มีปัญหาคือที่ดินที่เป็นของน้องชายคนที่ 3 ที่พี่คนโตยกให้ และเป็นผู้ร่วมกันบริหารหรือใช้เงินที่กู้จากธนาคารกับพี่คนโต  ซึ่งลูกชายคนที่ 3 นี้ ทำให้แม่เจ็บชำน้ำใจมากในเรื่องที่ดินภารจำยอมที่เป็นทางเข้าออก ซึ่งแม่ต้องใช้ในการเข้าออกอยู่เป็นประจำ เพราะแม่พักอาศัยอยู่กับน้องคนเล็กที่มีที่ดินติดกับพี่ชายคนที่ 3  ซึ่งกำลังเป็นกรณีพีพาษกันอยู่

อยากเรียนถามว่า

1. ในกรณีแบบนี้ ถ้าแม่ซึ่งเป็นเจ้าของที่แต่เดิมต้องการจะฟ้องเอาที่ดินคืนได้หรือไม่ เพราะพี่สาวคนโตในปัจจุบันไม่ได้เลี้ยงดูหรือส่งเสียแม่เลย  แต่มาเป็นภารของน้องคนเล็กซึ่งได้รับเลี้ยงดูแม่ตั้งแต่ 10 กว่าปีที่แล้วจนมาถึงปัจจุบัน  ซึ่งแม่ก็มีอายุมากแล้ว  และปัจจุบันพี่สาวคนโตก็ไม่เคยมาเยี่ยมเยี่ยนแม่ หรือให้ความช่วยเหลืออะไรแม่เลย แถมบางครั้งยังพูดจาหรือแสดงการกระที่ไม่ดี ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ทำให้แม่ต้องเจ็บช้ำน้ำใจอีก  (โดยบางครั้งก็สมรู้รวมคิดกับน้องชายคนที่ 3)  อยากถามว่า ถ้าแม่ต้องการฟ้องเรียกที่ดินคืน แล้วแจ้งความประสงค์ว่าจะนำมาแบ่งใหม่ให้กับลูกทุก ๆ คน เท่า ๆ กัน  หรือให้กับคนที่เลี้ยงดูเค้าในปัจจุบัน  (เพราะปัจจุบัน มีลูก 2 ใน 5 คนเท่านั้นที่ได้รับผลประโยชน์จากที่ดินที่เป็นมรดกแปลงนี้) ส่วนที่เหลืออีกสองคนต้องเสียงเงินซื้อที่ดิน  ส่วนอีกคน(คือผมไม่ได้อะไรเลยในที่ดินที่เป็นมรดกของแม่แปลงนี้) ทั้ง ๆ ที่ผมก็เป็นคนหนึ่งที่ได้ผ่อนชำระค่าที่ดินในขณะที่ที่ดินยังจำนองอยู่ในธนาคารเหมือนกัน  (ขอถามว่าแม่จะฟ้องเรียกที่ดินคืนได้หรือไม่) ใครที่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ช่วยแนะนำหน่อยครับ  จักขอบพระคุณเป็นอย่างสูง  เพราะตอนนี้แม่เสียใจมากเกี่ยวกับเรื่องนี้

2. แล้วถ้าฟ้องได้จะฟ้องในกรณีไหนได้ครับ    1. ไม่เลี้ยงดู    2. เนรคุณ   3. ทำให้เสียใจ

3. ถ้าจะฟ้องสามารถฟ้องเอาคืนได้ทั้งที่ดินที่พี่คนโตยกให้น้องชายคนที่ 3 ได้ด้วยหรือไม่ เพราะที่แปลงที่เหลืออีก 2 แปลง เป็นการขายให้น้องคนที่ 4  และน้องคนเล็ก ครับ

   ขอขอบพระคุณสำหรับผู้ที่แสดงความคิดเห็นทุกคน



ผู้ตั้งกระทู้ เด็ก ๆ (101107-at-windowslive-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2009-08-26 16:50:17


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1977755)

1. ในกรณีแบบนี้ ถ้าแม่ซึ่งเป็นเจ้าของที่แต่เดิมต้องการจะฟ้องเอาที่ดินคืนได้หรือไม่

---

มาตรา 531    อันผู้ให้จะเรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุผู้รับประพฤติเนรคุณนั้น ท่านว่าอาจจะเรียกได้แต่เพียงในกรณีดั่งจะกล่าวต่อไปนี้
(1) ถ้าผู้รับได้ประทุษร้ายต่อผู้ให้เป็นความผิดฐานอาญาอย่างร้ายแรง ตามประมวลกฎหมายลักษณะอาญา หรือ
(2) ถ้าผู้รับได้ทำให้ผู้ให้เสียชื่อเสียง หรือหมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้าย แรง หรือ
(3) ถ้าผู้รับได้บอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่ผู้ให้ในเวลา ที่ผู้ให้ยากไร้และผู้รับยังสามารถจะให้ได้

     ตามที่เล่ามานั้นไม่ข้อกฎหมายที่จะเรียกคืนที่ดินได้ครับ

 

2. แล้วถ้าฟ้องได้จะฟ้องในกรณีไหนได้ครับ    1. ไม่เลี้ยงดู    2. เนรคุณ   3. ทำให้เสียใจ

---ฟ้องไม่ได้ครับ

 

3. ดูข้อ 1 และ 2

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-08-26 20:45:34


ความคิดเห็นที่ 2 (1977848)

ขอขอบพระคุณ เกี่ยวกับคำตอบให้ความเห็นที่ผ่านมา   แต่อยากเรียนถามต่อว่า 

 แล้วจะมีวิธีไหนบ้างครับที่จะทำให้ลูกคนโต และคนที่ 3  มีความสำนึกในบุญคุณแม่ที่เลี้ยงดู แล้วเลิกกลั่นแกล้งน้องในเรื่องทางเข้าออก(ภารจำยอม) ที่แม่ก็ยังใช้ในการเข้าออกอยู่ทุกวัน  (อยากปรึกษาเกี่ยวกับข้อกฎหมาย ที่สามารถนำมาใช้ในการกำหลาบ บุคคลทั้ง 2 ครับ)

ขอพระคุณในความคิดเห็น

 

ผู้แสดงความคิดเห็น เด็ก ๆ วันที่ตอบ 2009-08-27 09:10:07


ความคิดเห็นที่ 3 (1978012)

 อยากเรียนถามว่า

1. ถ้าแม่ฟ้องเอาที่ดินคืนไม่ได้   แม่สามารถเรียกร้องค่าเลี้ยงดู หรือค่าที่ดินบางส่วนจาก ลูกคนโต หรือลูกชายคนที่สาม ได้หรือไม่ เพราะบุคคลทั้ง 2 ได้รับประโยชน์จากที่ดินแปลงนี้   และปัจจุบันแม่ก็อยู่ในการดูแลของน้องคนเล็ก ซึ่งคนทั้งสองก็มีกิจการ หรือมีความสามารถที่จะส่งเสียเลี้ยงดูแม่ได้ แต่ไม่เคยมาเหลียวแลหรือสอบถามถึงสาระทุกข์สุขดิบของแม่เลย  (ไม่ควรที่จะให้เป็นภารของลูก ๆ ที่เหลืออีก 3 คน ที่เป็นผู้ช่วยกันเลี้ยงดูแม่เท่านั้น)

2. จะมีข้อกฏหมายใดบ้างที่สามารถจะดำเนินการกับคนทั้งสองได้บ้าง (อย่างน้อยจะได้เกิดความสำนึกถึงบุญคุณของแม่บ้าง ที่ได้ส่งเสียเลี้ยงดูมาแต่เล็ก)

ผู้แสดงความคิดเห็น เด็ก ๆ วันที่ตอบ 2009-08-27 15:02:25


ความคิดเห็นที่ 4 (1978077)

ตามกฎหมายบุตรมีหน้าที่เลี้ยงดูบิดามารดา และบิดามารดามีหน้าที่เลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ ดังนั้นมารดาจึงสามารถฟ้องบุตรทุกคนให้จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูได้ แต่ศาลจะสั่งให้จ่ายมากน้อยเพียงใดก็ต้องดูความสามารถผู้ให้ด้วยครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-08-27 16:43:14


ความคิดเห็นที่ 5 (1978298)

 

ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงที่ช่วยแสดงความคิดเห็น    ไม่ทราบว่าที่คุณลีนนท์ แสดงความคิดเห็นมา

เป็นข้อกฎหมายมาตราได้ครับ  แล้วอยู่ในเรื่องหรือหมวดใดครับ  ขอความกรุณาช่วยแนะนำหน่อยครับ

(ตามกฎหมายบุตรมีหน้าที่เลี้ยงดูบิดามารดา และบิดามารดามีหน้าที่เลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ ดังนั้นมารดาจึงสามารถฟ้องบุตรทุกคนให้จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูได้ แต่ศาลจะสั่งให้จ่ายมากน้อยเพียงใดก็ต้องดูความสามารถผู้ให้ด้วยครับ)

 

 

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น เด็ก ๆ วันที่ตอบ 2009-08-28 11:22:12


ความคิดเห็นที่ 6 (1978488)

มาตรา 1563 บุตรจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา

 

มาตรา 1564 บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควร แก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตร ซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว แต่เฉพาะ ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองมิได้

 

มาตรา 1565 การร้องขอค่าอุปการะเลี้ยงบุตรหรือขอให้บุตรได้รับ การอุปการะเลี้ยงดูโดยประการอื่น นอกจากอัยการจะยกคดีขึ้นว่า กล่าวตาม มาตรา 1562 แล้ว บิดาหรือมารดาจะนำคดีขึ้นว่ากล่าวก็ได้

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-08-28 18:29:40



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล