ReadyPlanet.com


การถอนหมั้นในกรณีที่ฝ่ายหญิงไม่ได้รัก


เรียนถามดังนี้

นส.ก. และ นาย ข. ต้องหมั้นกันเพราะแม่ทั้งสองฝ่ายอยากให้หมั้น

นส.ก. ไม่ได้รักนาย ข.

แต่ นส.ก. รักและคบกับ นาย ค. ตั้งแต่ก่อนหมั้น และหลังหมั้นก็ยังคบกันอยู่

ในวันหมั้นฝ่ายหญิงจัดงานหมั้นและออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด  ฝ่ายนาย ข. เป็นเพียงผู้ออกค่าขนมในงาน

ของหมั้น นาย ข. มอบแหวนเพชรมูลค่าประมาณ 20,000 บาท ให้ นส.ก. เป็นของหมั้น

หลังจากนั้น นส.ก. รู้สึกอึดอัดใจ  และไม่อยากแต่งงานกับ นาย ข.

จึงอยากถอนหมั้น โดยยึดเหตุผลว่าไม่ได้รัก นาย ข.  ต่อให้จะมีนาย ค. หรือไม่ก็ตาม  นส.ก. ก็อยากถอนหมั้นอยู่ดี

นาย ข. และครอบครั้วรู้ว่า นส.ก. คบหาอยู่กับใคร รู้สึกไม่พอใจ และแค้นใจ ทั้งๆ ที่ นส.ก. คบหากับ นาย ค. อยู่ก่อนที่จะหมั้น

นส.ก. และครอบครัว อยากเจรจาขอถอนหมั้น

แต่นาย ข. ประกอบอาชีพ รับราชการชั้นผู้น้อย  เกรงว่าจะเสียหน้า  จึงไม่ยอมเลิกหมั้น

....

ในกรณีนี้  หากฝ่ายหญิงต้องการถอนหมั้น  นอกจากฝ่ายหญิงคืนของหมั้นให้กับฝ่ายชาย (นาย ข.) แล้ว  หากฝ่ายชายต้องการเรียกค่าเสียหายเพิ่มเติม สามารถกระทำได้หรือไม่  และเรียกค่าเสียหายใดได้บ้าง  คุ้นกับการขึ้นโรงขึ้นศาลหรือไม่

 

ขอแสดงความนับถือ



ผู้ตั้งกระทู้ นิรนาม :: วันที่ลงประกาศ 2009-09-13 01:17:36


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1983595)

หากฝ่ายหญิงผิดสัญญาหมั้น ไม่ยินยอมสมรสด้วย ฝ่ายหญิงก็ต้องคืนของหมั้นให้แก่ฝ่ายชาย และฝ่ายชายมีสิทธิเรียกค่าทดแทนได้ครับ

มาตรา 1440 ค่าทดแทนนั้นอาจเรียกได้ ดังต่อไปนี้
(1) ทดแทนความเสียหายต่อกายหรือชื่อเสียงแห่งชายหรือหญิงนั้น
(2) ทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้น บิดามารดาหรือบุคคล ผู้กระทำการในฐานะเช่นบิดามารดาได้ใช้จ่ายหรือต้องตกเป็นลูกหนี้ เนื่อง ในการเตรียมการสมรสโดยสุจริตและตามสมควร
(3) ทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้นได้จัดการทรัพย์สิน หรือการอื่นอันเกี่ยวแก่อาชีพหรือทางทำมาหาได้ของตนไปโดยสมควร ด้วยการคาดหมายว่าจะได้มีการสมรส
 

ในกรณีที่หญิงเป็นผู้มีสิทธิได้ค่าทดแทน ศาลอาจชี้ขาดว่าของหมั้นที่ ตกเป็นสิทธิแก่หญิงนั้นเป็นค่าทดแทนทั้งหมด หรือเป็นส่วนหนึ่งของ ค่าทดแทนที่หญิงพึงได้รับ หรือศาลอาจให้ค่าทดแทนโดยไม่คำนึงถึง ของหมั้นที่ตกเป็นสิทธิแก่หญิงนั้นก็ได้

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-09-13 14:38:45


ความคิดเห็นที่ 2 (1983596)

อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง

 

http://www.peesirilaw.com/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=60

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-09-13 14:40:44



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล