ReadyPlanet.com


ขอคำปรึกษาเรื่องสินสอดค่ะ


สินสอดที่ฝ่ายชายให้พ่อแม่ฝ่ายหญิงไปในวันที่จัดพิธีแต่งงาน และในวันแต่งงานนั้นพ่อแม่ฝ่ายหญิงยกสินสอดดังกล่าวให้เป็นทุนตั้งตัวของคู่ สมรส  แต่สินสอดดังกล่าวที่เป็นเงินถูกเก็บไว้โดยตัวดิฉันเอง  ส่วนที่เป็นทองฝากเก็บไว้ในตู้เซฟของแม่ที่เช่าธนาคารไว้  ซึ่งดิฉันและสามีได้จดทะเบียนกันหลังจากแต่งงานไปแล้วประมาณ 1 ปีเศษ  ต่อมาภายหลังดิฉันอยากจะขออย่า  อยากทราบว่าสินสอดและดอกผลจากสินสอดดังกล่าวถือเป็นสินสมรสที่ต้องนำมาแบ่ง ครึ่งหรือไม่คะ   สามารถถือเป็นสินส่วนตัวของฝ่ายหญิงได้มั้ยคะ  เพราะพ่อแม่ของดิฉันให้ดิฉันเก็บไว้ก่อนที่ ดิฉันและสามีจะไปจดทะเบียนสมรสกัน



ผู้ตั้งกระทู้ ปรึกษา :: วันที่ลงประกาศ 2009-10-22 16:56:28


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1997791)

ขอตอบคุณปรึกษาดังนี้ครับ

การที่บิดามารดาของคุณปรึกษาเป็นเจ้าของสินสอด เมื่อมีเจตนาที่จะยกให้กับคู่บ่าวสาว และได้ส่งมอบให้กับคุณปรึกษาแล้ว ดังนี้ กรรมสิทธิ์จึงโอนไปที่คุณปรึกษาและสามีแล้ว แม้ว่าคุณปรึกษาจะเป็นฝ่ายเก็บทรัพย์สินนั้นไว้ก็ตาม ทรัพย์สินดังกล่าวเป็นสินส่วนตัวของแต่ละฝ่ายคนละกึ่งหนึ่ง เพราะยังไม่ใช่สามีภริยากันตามกฎหมาย

จึงเป็นทรัพย์สินที่มีกรรมสิทธิ์ร่วมกัน

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-10-22 17:20:22


ความคิดเห็นที่ 2 (1997827)

มาตรา 1474 สินสมรสได้แก่ทรัพย์สิน
(1) ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส
(2) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดย การให้เป็นหนังสือเมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส
(3) ที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว

 

ดังนั้นจากคำถาม  ดอกผลจากสินสอดดังกล่าวถือเป็นสินสมรสที่ต้องนำมาแบ่ง ครึ่ง

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-10-22 20:22:12


ความคิดเห็นที่ 3 (1997838)

สินสอด พ่อแม่ได้มา แต่ได้ยกให้เป็นทุนตั้งตัวของคู่สมรสแล้ว


เงินฝ่ายหญิงเก็บไว้ ส่วนทองนำมาเก็บฝากในตู้เซฟของแม่ เมื่อจดทะเบียนสมรสกัน กรรมสิทธิ์ตกเป็นของคู่สมรสทั้งสองฝ่ายแล้ว ทั้งหญิงและแม่ ถือว่า ยึดถือไว้แทนเท่านั้น

ทั้งฝ่ายหญิงและชายจึงมีกรรมสิทธิ์คนละครึ่ง เมื่อหย่ากันจึงต้องแบ่งครึ่ง
 

ผู้แสดงความคิดเห็น อนัตตา วันที่ตอบ 2009-10-22 21:20:30


ความคิดเห็นที่ 4 (1997846)

ขอขอบพระคุณคุณลีนนท์มากค่ะ 

ขอปรึกษาเพิ่มเติมอีกนิดค่ะ   คือสินสอดดังกล่าว ดิฉันได้นำไปร่วมหุ้นกับบิดาของดิฉันเอง โดยนำไปปลูกเป็นตึกแถวให้เช่า  ซึ่งมีแต่ชื่อของบิดาและคุณอาของดิฉันเป็นเจ้าของ มิได้มีชื่อของดิฉันอยู่ในโฉนดหรือสิ่งปลูกสร้างเลย  แต่ที่ผ่านมาตัวดิฉันจะได้รับส่วนแบ่งจากค่าเช่าทุกปีซึ่งดิฉันจะฝากเข้าบัญชีของดิฉันเองทั้งหมด   ซึ่งสามีดิฉันรับรู้การกระทำดังกล่าวมาโดยตลอดแต่มิได้คัดค้านใดๆ

กรณีเช่นนี้ถ้าดิฉันจะขออย่ากับสามี  สามีดิฉันจะมีสิทธิ์ในการขอแบ่งตึกแถวและส่วนแบ่งค่าเช่าที่ดิฉันได้รับมาหรือไม่คะ   และถ้าหากสามีดิฉันมีสิทธิที่จะได้รับส่วนแบ่งดังกล่าวได้  เค้าจะสามารถใช้สิทธิหรือหลักฐานอันใดมาฟ้องหรือแสดงต่อศาลว่าตึกแถวและส่วนแบ่งค่าเช่านี้เป็นเงินจากสินสอดได้บ้างมั้ยคะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ผุสดี (ปรึกษา) วันที่ตอบ 2009-10-22 21:45:19


ความคิดเห็นที่ 5 (1997871)

ขอขอบพระคุณคุณอนัตตาด้วยอีกท่านค่ะ  ที่กรุณาให้คำปรึกษา    ดิฉันขอรบกวนปรึกษาเพิ่มอีกนิดนะคะ

พ่อแม่ของดิฉันได้ยกสินสอดให้เป็นทุนตั้งตัวของคู่สมรส  โดยมิได้ทำหนังสือใดๆ เป็นลายลักษณ์อักษรไว้  มีแต่เพียงญาติๆ ของทั้ง 2 ฝ่ายที่อยู่ในพิธีเท่านั้นที่รับรู้  ถ้าหากดิฉันจะอ้างว่าพ่อแม่ดิฉันมิได้ยกให้แก่คู่สมรส  เป็นเพียงแค่การฝากไว้กับดิฉันเท่านั้น  จะสามารถอ้างได้หรือไม่คะ   สามีของดิฉันจะสามารถหาเหตุผลใดมาแย้งได้หรือไม่คะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ผุสดี วันที่ตอบ 2009-10-22 22:37:22


ความคิดเห็นที่ 6 (1997873)

คงเป็นหน้าที่ของทนายความของฝ่ายสามีคุณที่จะต้องวางแผนคดีกันว่าจะทำอย่างไรให้คุณยอมรับ ความจริงครับ เพราะความจริงก็คือความจริง ดังนั้นจะให้ผมตอบจากข้อเท็จจริงเท่าที่ให้มาคงไม่ได้ครับเพราะเป็นการดำเนินการในชั้นพิจารณาคดีที่ทนายความ กับลูกความต้องปรึกษาหารือกันครับ

ถ้าเขาไม่มีหลักฐานเพียงพอ และศาลไม่เชื่อ ศาลก็ต้องยกฟ้องไปครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-10-22 22:40:35


ความคิดเห็นที่ 7 (1998183)

ขอขอบพระคุณคุณลีนนท์มากๆ ค่ะ  แต่ยังสงสัยว่าคำตอบล่าสุดของคุณลีนนท์ นั้นครอบคลุมถึงคำถามที่ดิฉันถามคุณอนัตตาเพิ่มเติมไว้ด้วยหรือเปล่าคะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ผุสดี วันที่ตอบ 2009-10-23 20:55:02


ความคิดเห็นที่ 8 (1998206)

หากมีคำถามเพิ่มเติม หรือมีข้อสงสัยที่ยังรอคำตอบก็ถามเข้ามาใหม่นะครับ เพราะเท่าที่อ่านคำถามที่ถามคุณอนัตตา ก็ไม่ได้ถามอะไรพราะตามที่บอกไว้แล้วคือเป็นเรื่องการพิจารณาคดีในศาล เรื่องจะหาเหตุผลใดมาแย้ง ถ้าผมเป็นทนายความสามีคุณผมก็คงต้องหาจนได้ เป็นเทคนิคของการดำเนินกระบวนพิจารณา

รอถ้าถูกฟ้องจริง ๆ ค่อยวางแผนอีกทีครับ อย่าไปคิดอะไรล่วงหน้าเลยครับ เขาอาจไม่อยากเสียเวลาฟ้องก็ได้ครับ

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-10-23 22:33:39



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล