ReadyPlanet.com


เหตุหย่า


หญิงทำงานอยู่ปทุมธานีตั้งแต่ปี 2540 ชายรับราชการที่ชลบุรี ต่อมาจดทะเบียนสมรสกันปี 2543 ต่างฝ่ายต่างทำงานที่เดิม ทั้งสองคนต่างก็เข้าใจกันและยอมรับกันต่อมา ต่อมาสามีฟ้องหย่าเหตุว่าภรรยาจงใจละท้งร้าง เหตุเพราะสามีต้องการจะไปแต่งงานใหม่ ถ้าภรรยาต่อสู้คดีว่าไม่ได้จงใจละทิ้งร้างหากภรรยายอมหย่าให้จะเรียกค่าเลี้ยงดูได้หรือไม่รบกวนด้วย



ผู้ตั้งกระทู้ พิมพร :: วันที่ลงประกาศ 2009-11-09 20:40:58


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2004860)

ช่วยตอบด้วยนะค่ะรอคำตอบอยู่ค่ะ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พิมพร วันที่ตอบ 2009-11-09 20:49:24


ความคิดเห็นที่ 2 (2004869)

หากภรรยายอมหย่าให้จะเรียกค่าเลี้ยงดูได้หรือไม่????

หากภรรยายินยอมหย่าให้ย่อมเป็นการสมัครใจที่จะหย่าขาดจากกัน เมื่อไม่ได้เป็นสามีภริยากันแล้วคงไม่มีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกันตามกฎหมายต่อไปครับ

มาตรา 1461 สามีภริยาต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา สามีภริยาต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและ ฐานะของตน

มีข้อสังเกตุว่า กฎหมายไม่ได้กำหนดให้สามีเป็นฝ่ายอุปการะเลี้ยงดูภริยานะครับ กฎหมายบัญญัติว่า สามีภริยาต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถคือช่วยกันทำมาหากินนั่นเอง

มาตรา 1522 ถ้าสามีภริยาหย่าโดยความยินยอม ให้ทำความตกลงกัน ไว้ในสัญญาหย่าว่าสามีภริยาทั้งสองฝ่ายหรือสามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะ ออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นจำนวนเงินเท่าใด
 

ถ้าหย่าโดยคำพิพากษาของศาลหรือในกรณีที่สัญญาหย่ามิได้กำหนดเรื่อง ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรไว้ ให้ศาลเป็นผู้กำหนด

เรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูนั้น หากว่าคู่สมรสมีบุตร กฎหมายรับรองไว้ให้บิดามารดาที่ตกลงหย่ากัน ยังคงมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ต่อไปครับ และหากหย่าโดยคำพิพากษาของศาล ศาลก็จะกำหนดให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรได้

 

มาตรา 1526 ในคดีหย่า ถ้าเหตุแห่งการหย่าเป็นความผิดของคู่สมรส ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่ฝ่ายเดียว และการหย่านั้นจะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยากจนลง เพราะไม่มีรายได้พอจากทรัพย์สิน หรือจากการงานตามที่เคยทำอยู่ระหว่าง สมรส อีกฝ่ายหนึ่งนั้นจะขอให้ฝ่ายที่ต้องรับผิดจ่ายค่าเลี้ยงชีพให้ได้ ค่า เลี้ยงชีพนี้ศาลอาจให้เพียงใดหรือไม่ให้ก็ได้ โดยคำนึงถึงความสามารถของผู้ ให้และฐานะของผู้รับและให้นำบทบัญญัติ มาตรา 1598/39,มาตรา 1598/40 และ มาตรา 1598/41 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
 

สิทธิเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพเป็นอันสิ้นสุด ถ้ามิได้ฟ้องหรือฟ้องแย้งในคดี หย่านั้น

**ตามมาตรา1526 ข้างต้น ระบุไว้ให้สิทธิคู่สมรสที่ไม่มีความผิดเรียกค่าเลี้ยงชีพได้ แต่ศาลจะพิจารณาให้มากน้อยเพียงใด หรือไม่ให้ก็ได้ และการเรียกค่าเลี้ยงชีพต้องเรียกมาในคดีที่ฟ้องหย่า หรือฟ้องแย้งในคดีเดียวกันครับ

 

สำหรับข้อเท็จจริงที่คุณให้มานั้นเป็นข้อมูลฝ่ายเดียวที่ยังไม่ยุติ ซึ่งแต่ละฝ่ายต้องนำเสนอและหักล้างด้วยพยานหลักฐานกันต่อไป เพราะเมื่ออีกฝ่ายหนึ่งได้นำเสนอข้อเท็จจริง ก็คงมีข้อมูลอีกมุมหนึ่งซึ่งอาจมีข้อเท็จจริงที่ต่างกันได้ ก็ไปว่ากันในชั้นพิจารณาคดีครับ

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-11-09 21:13:43


ความคิดเห็นที่ 3 (2004917)

 ขอบคุณมากค่ะสำหรับคำตอบ    ถ้าเราต่อสู้ว่าไม่จงใจละทิ้งร้างหากศาลมองว่าภรรยาไม่ได้จงใจละทิ้งร้างตามคำให้การภรรยา ผลของคำพิพากษาจะเป็นอย่างไรต่อการที่ฝ่ายชายต้องการหย่า  หากภรรยาชนะคดี

ผู้แสดงความคิดเห็น พิมพร วันที่ตอบ 2009-11-09 21:57:30


ความคิดเห็นที่ 4 (2004961)

หากศาลเห็นว่า เหตุหย่าที่โจทก์ฟ้องมานั้นรับฟังไม่ได้ ศาลก็ต้องยกฟ้องโจทก์ครับ

สำหรับคดีครอบครัวนั้น ศาลจะพยายามรักษาสถาบันครอบครัวไว้ เว้นแต่จะเห็นว่าอย่างไรเสียก็ไม่สามารถไปด้วยกันได้จึงจะอนุญาตให้หย่ากันได้ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-11-09 23:02:46



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล