ReadyPlanet.com


พนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องนายเสือต่อศาลแขวงที่อยู่ในเขตอำนาจหรือไม่


นายเสือถูกผู้เสียหายกล่าวหาแจ้งความร้องทุกข์ว่ากล่าวถ้อยคำดูหมิ่นผู้เสียหาย ต่อมาวันที่ 27 กันยายน 2551 เวลา13 นาฬิกา นายเสือเข้ารับทราบข้อกล่าวหาต่อพนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหา นายเสือให้การปฏิเสธ แล้วให้นายเสือกลับไปโดยไม่ต้องประกันตัว  วันที่ 29 กันยายน เวลา 9 นาฬิกา พนักงานสอบสวนยื่นคำร้องต่อศาลแขวงที่อยู่ในเขตอำนาจขอผัดฟ้อง 6 วันศาลอนุญาตตามขอ เมื่อครบกำหนดผัดฟ้องพนักงานสอบสวนหลงลืมไม่ได้ผัดฟ้องต่อ แล้วส่งสำนวนให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาล

พนักงานอัยการจะมีอำนาจฟ้องนรายเสือต่อศาลแขวงที่อยู่ในเขตอำนาจหรือไม่ เพราะเหตุใด

 



ผู้ตั้งกระทู้ นิติราชภัฎ :: วันที่ลงประกาศ 2009-11-20 11:50:20


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2008617)

ข้อเท็จจริงที่ผู้ถามให้มานั้นได้ความว่า ผู้ต้องหาเข้าไปรับทราบข้อกล่าวหาต่อพนักงานสอบสวนเอง พนักงานสอบสวนอนุญาตให้ผู้ต้องหากลับไปโดยไม่ต้องประกันตัว

กรณีจึงไม่มีการจับ ดังนั้นเมื่อไม่มีการจับกรณีไม่ต้องด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 8 วรรคสอง....

วรรคสอง *ถ้าผู้ต้องหาอยู่ในความควบคุมของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ แล้วแต่กรณี นำตัวผู้ต้องหามาส่งศาลพร้อมกับการยื่นคำขอผัดฟ้อง และขอให้ศาลออกหมายขังผู้ต้องหาไว้

ดังนั้นเมื่อผู้ต้องหาไม่ได้ถูกจับ ผู้ต้องจึงยังไม่อยู่ในความควบคุมของพนักงานสอบสวน จึงไม่มีเหตุที่จะต้องยื่นคำขอผัดฟ้อง

เมื่อพนักงานสอบสวนส่งสำนวนให้พนักงานอับการ พนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องผู้ต้องหาต่อศาลแขวงที่อยู่ในเขตอำนาจได้

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-11-21 09:56:01


ความคิดเห็นที่ 2 (2008619)

มาตรา 134 เมื่อผู้ต้องหาถูกเรียก หรือส่งตัวมา หรือเข้าหาพนักงานสอบสวนเอง หรือปรากฏว่าผู้ใดซึ่งมาอยู่ต่อหน้าพนักงานสอบสวนเป็นผู้ต้องหา ให้ถามชื่อตัว ชื่อรอง ชื่อสกุล สัญชาติ บิดามารดา อายุ อาชีพ ที่อยู่ ที่เกิด และแจ้งให้ทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำที่กล่าวหาว่าผู้ต้องหาได้กระทำผิด แล้วจึงแจ้งข้อหาให้ทราบ


การแจ้งข้อหาตามวรรคหนึ่ง จะต้องมีหลักฐานตามสมควรว่าผู้นั้นน่าจะได้กระทำผิดตามข้อหานั้น ผู้ต้องหามีสิทธิได้รับการสอบสวนด้วยความรวดเร็ว ต่อเนื่อง และเป็นธรรม พนักงานสอบสวนต้องให้โอกาสผู้ต้องหาที่จะแก้ข้อหาและที่จะแสดงข้อเท็จจริง อันเป็นประโยชน์แก่ตนได้


เมื่อได้มีการแจ้งข้อกล่าวหาแล้ว ถ้าผู้ต้องหาไม่ใช่ผู้ถูกจับและยังไม่ได้มีการออกหมายจับ แต่พนักงานสอบสวนเห็นว่ามีเหตุที่จะออกหมายขังผู้นั้นได้ตาม มาตรา 71  พนักงานสอบสวนมีอำนาจสั่งให้ผู้ต้องหาไปศาลเพื่อขอออกหมายขังโดยทันที แต่ถ้าขณะนั้นเป็นเวลาที่ศาลปิดหรือใกล้จะปิดทำการ ให้พนักงานสอบสวนสั่งให้ผู้ต้องหาไปศาลในโอกาสแรกที่ศาลเปิดทำการ กรณีเช่นว่านี้ให้นำ มาตรา 87 มาใช้บังคับแก่การพิจารณาออกหมายขังโดยอนุโลม หากผู้ต้องหาไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานสอบสวนดังกล่าว ให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจจับผู้ต้องหานั้นได้ โดยถือว่าเป็นกรณีจำเป็นเร่งด่วนที่จะจับผู้ต้องหาได้โดยไม่มีหมายจับ และมีอำนาจปล่อยชั่วคราวหรือควบคุมตัวผู้ต้องหานั้นไว้

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-11-21 09:58:32



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล