ReadyPlanet.com


ขอยกเลิกสัญญาซื้อขายรถยนต์จากผู้ค้ำประกัน


จะขอยกเลิกจากจากเป็นผู้ค้ำประกันรถยนต์สามารถทำได้หรือเปล่าเพราะว่าตอนนี้ติดต่อผู้ซื้อไม่ได้เลยเขาหนีไปอยู่ที่อื่นแล้วจะมีทางใหนบ้างที่จะยกเลิกสัญญาได้ขอความกรุณาช่วยตอบด้วยนะค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ ยา :: วันที่ลงประกาศ 2009-11-20 07:18:57


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2008411)

สัญญาค้ำประกัน หมายความว่า เราขอยอมตนผูกพันต่อเจ้าหนี้ว่า ถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้เราขอชำระแทน ดังนั้นเมื่อทำสัญญาแล้วเจ้าหนี้ต้องเรียกให้เราชำระหนี้ทั้งหมดจึงสามารถเลิกจากเป็นผู้ค้ำประกันได้ครับ

มาตรา 680    อันว่าค้ำประกันนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่งเรียกว่าผู้ค้ำประกันผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่งเพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น
 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-11-20 14:31:17


ความคิดเห็นที่ 2 (2009370)

สัญญาค้ำประกันกับสัญญาจำนองเพื่อประกันหนี้

 


คำพิพากษาที่  1054/2526

 

 

สัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองต่างเป็นประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ในวงเงินสองแสนบาทรายเดียวกัน หาใช่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเป็นผู้ค้ำประกันฐานะหนึ่ง และต้องรับผิดตามสัญญาจำนองอีกฐานะหนึ่งไม่

 

 

          จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่1 ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้แก่โจทก์ในวงเงินสองแสนบาท ในสัญญาค้ำประกันข้อ 6 ระบุไว้ว่า จำเลยที่2 จะจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 94029 เป็นประกัน แล้วต่อมาจำเลยที่ 2 ก็ทำสัญญาจำนองที่ดินโฉนดดังกล่าวแก่โจทก์โดยระบุในสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองว่าเพื่อประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่เป็นหนี้โจทก์จำนวนเงินไม่เกินสองแสน บาท ดังนี้ทั้งสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองต่างเป็นประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ในวงเงินสองแสนบาทรายเดียวกัน หาใช่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเป็นผู้ค้ำประกันฐานะหนึ่ง และต้องรับผิดตามสัญญาจำนองอีกฐานะหนึ่งไม่

 

 
 โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์ในวงเงินไม่เกินสองแสนบาท โดยยอมเสียดอกเบี้ยทบต้น จำเลยที่ 2 เข้าค้ำประกันจำเลยที่ 1 และทำสัญญาจำนองที่ดินเพื่อเป็นประกันหนี้การเบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 เป็นเงินสองแสนบาท จำเลยที่ 1 ได้กู้เบิกเงินเกินบัญชีไปถึงวันฟ้องเป็นเงิน 322,940.03 บาท โจทก์ทวงถามแล้ว จำเลยทั้งสองไม่ชำระ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระเงินดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ ถ้าจำเลยไม่ชำระก็ขอบังคับจำนองโดยขายทอดตลาดที่ดินที่จำนอง
          จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา
          จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้หลายประการและต่อสู้ว่า โจทก์บอกเลิกสัญญาการกู้เงินแล้วจึงคิดดอกเบี้ยตามประเพณีของธนาคารไม่ได้ ขอให้ยกฟ้อง
          ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้เงิน304,579.81 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ เว้นแต่จำเลยที่ 2 ให้รับผิดในต้นเงิน200,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย
          โจทก์อุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
          โจทก์ฎีกา
          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ในปัญหาว่าโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 1 ได้ตลอดไปจนกว่าจำเลยที่ 1 จะชำระหนี้ให้โจทก์จนเสร็จได้หรือไม่ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์ให้จำเลยที่ 1 กู้เบิกเงินเกินบัญชีและจำเลยที่ 1 ได้นำเงินชำระหนี้ให้โจทก์หลายครั้งเพื่อหักทอนบัญชีหนี้ หักกลบลบกัน จึงมีลักษณะเป็นบัญชีเดินสะพัด เมื่อโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวลงวันที่ 24 กันยายน 2522 ไปยังจำเลยที่ 1 ว่าให้จำเลยที่ 1 นำเงินส่งเข้าบัญชีลดยอดเงินที่เบิกเกินบัญชีให้หมดสิ้นภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันรับหนังสือ มิฉะนั้นโจทก์จะดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 เช่นนี้เป็นการบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดแก่จำเลยที่ 1 มิใช่บัญชีเดินสะพัดยังไม่เลิกแล้วต่อกันดังโจทก์ฎีกา เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือบอกกล่าวเลิกสัญญาดังกล่าวของโจทก์ในวันที่ 28กันยายน 2522 จึงมีผลว่าสัญญาดังกล่าวเลิกกันตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2522เป็นต้นไป ดังนั้นโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 1 ถึงวันที่ 28ตุลาคม 2522 เท่านั้น และต่อจากนั้นไปโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ15 ต่อปีตามวิธีธรรมดาตลอดไปจนกว่าจำเลยที่ 1 จะชำระหนี้ให้โจทก์เสร็จ
          ส่วนปัญหาที่ว่า จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดชำระหนี้ให้โจทก์เต็มตามฟ้องของโจทก์หรือไม่ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันตามเอกสารหมาย จ.4 เพื่อประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ซึ่งทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจำนวนไม่เกิน 200,000 บาทตามเอกสารหมาย จ.3 และในสัญญาค้ำประกันข้อ 6 ระบุไว้ว่าจำเลยที่ 2 จำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 94029 เป็นประกัน แล้วต่อมาจำเลยที่ 2 ก็ไปจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 94029 ไว้แก่โจทก์ โดยระบุในสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองว่าเพื่อประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่เป็นหนี้โจทก์เป็นจำนวนเงินไม่เกิน 200,000 บาท ดังนี้จึงเห็นว่าจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองดังกล่าวข้างต้นรับผิดต่อโจทก์ในต้นเงินไม่เกินจำนวน 200,000บาท หาใช่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเป็นผู้ค้ำประกันฐานะหนึ่งและสัญญาจำนองอีกฐานะหนึ่งโดยจำเลยที่ 2 ต้องชำระหนี้ และดอกเบี้ยทบต้นเต็มตามฟ้องดังที่โจทก์ฎีกาไม่
          พิพากษายืน
 
 
( สุชาติ จิวะชาติ - พิศิษฏ์ เทศะบำรุง - วีระ ทรัพยไพศาล )

 

ผู้แสดงความคิดเห็น **** วันที่ตอบ 2009-11-23 18:57:02



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล