ReadyPlanet.com


หลักเกณฑ์การขอพระราชทานอภัยโทษ


ผมอยากทราบว่าคดีพิพากษาถึงที่สุดแล้ว(ศาลฏีกา)ข้อหาพยายามฆ่า ศาลสั่งจำคุก1ปีถ้าต้องการขอพระราชทานอภัยโทษมีวิธีการดำเนินการตามขั้นตอนอย่างไรบ้างคับ



ผู้ตั้งกระทู้ ศักดิ์ (tomteem9-at-hotmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2009-11-15 20:34:21


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2006838)

บทความ ขอพระราชทานอภัยโทษ
ข้อมูลจาก http://forum.serithai.net/viewtopic.php?f=2&t=6150&start=0

 


ประเภทของการพระราชทานอภัยโทษ

1. การพระราชทานอภัยโทษเป็นการทั่วไป
2. การพระราชทานอภัยโทษเฉพาะราย

การพระราชทานอภัยโทษเป็นการทั่วไป

คือ การพระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องราชทัณฑ์หรือผู้ต้องโทษ โดยการตราพระราชกฤษฎีกาตามการถวายคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีต่อพระมหากษัตริย์ ตามมาตรา 261 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ในกรณีนี้ ทางราชการจะดำเนินการให้แก่ผู้ต้องราชทัณฑ์ในทุกขั้นตอน โดยที่ผู้ต้องราชทัณฑ์มิต้องดำเนินการใด ๆ

การพระราชทานอภัยโทษเป็นการทั่วไป มักจะมีขึ้นในวโรกาสมหามงคลต่าง ๆ เกี่ยวกับสถานบันพระมหากษัตริย์ เช่น เนื่องในโอกาสพระราชพิธีกาญจนาภิเษก รัชมังคลาภิเษก เป็นต้น

การพระราชทานอภัยโทษเฉพาะราย

คือ การพระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องราชทัณฑ์หรือผู้ต้องโทษเป็นรายบุคคล โดยการทูลเกล้า ฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ ตามการถวายคำแนะนำของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ส่วนจะได้รับพระราชทานอภัยโทษหรือไม่เพียงใดขึ้นอยู่กับพระบรมราชวินิจฉัยขององค์พระมหากษัตริย์

ผู้มีสิทธิยื่นเรื่องทูลเกล้า ฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษเฉพาะราย

ได้แก่

- ผู้ต้องโทษที่คดีถึงที่สุด
- ผู้ที่มีประโยชน์เกี่ยวข้อง อาทิเช่น บิดามารดา บุตร คู่สมรส
- สถานทูต (ในกรณีที่เป็นนักโทษชาวต่างประเทศ)
หมายเหตุ ทนายความไม่ถือว่าเป็นผู้ที่มีประโยชน์เกี่ยวข้อง

ระยะเวลาการยื่นฎีกาทูลเกล้า ฯ ขอพระราชทานอภัยโทษเฉพาะราย

1. ผู้ต้องโทษกรณีทั่วไป ยื่นได้ทันทีที่คดีถึงที่สุด
2. ผู้ต้องโทษประหารชีวิต ต้องยื่นภายใน 60 วัน นับแต่คดีถึงที่สุด

ขั้นตอนการขอพระราชทานอภัยโทษเฉพาะราย

ผู้ต้องโทษ (โทษประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน) ที่คดีถึงที่สุดแล้ว และผู้ที่มีประโยชน์เกี่ยวข้องสามารถยื่นเรื่องราวทูลเกล้าถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษผ่านเรือนจำ/ทัณฑสถาน หรือกระทรวงมหาดไทย หรือสำนักราชเลขาธิการ หรือกระทรวงการต่างประเทศ หรือสถานทูต หลังจากรับเรื่องแล้ว กรมราชทัณฑ์จะส่งไปสอบสวนเรื่องราวยังเรือนจำ/ทัณฑสถานที่ควบคุมผู้ต้องโทษ จากนั้นจะเสนอความเห็นให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ลงนาม เพื่อนำความขึ้นกราบบังคมทูล ฯ ผ่านสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และสำนักราชเลขาธิการ เมื่อทรงมีพระรบรมราชวินิจฉัยเช่นไร ก็จะส่งผลฎีกาดังกล่าวให้กรมราชทัณฑ์ทราบและดำเนินการพร้อมทั้งแจ้งผลให้ผู้ยื่นเรื่องราวทูลเกล้า ฯ ทราบ ตามแผนผังขั้นตอนการขอพระราชทานอภัยโทษนี้


อ่านต่อได้ที่

http://forum.serithai.net/viewtopic.php?f=2&t=6150&start=0
 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2009-11-15 20:53:43


ความคิดเห็นที่ 2 (2006843)

ข้อมูลจาก  http://www.moj.go.th/th/cms/detail.php?id=8157

 

 


วิธีการดำเนินการในขั้นตอนของกรมราชทัณฑ์

 

เมื่อกรมราชทัณฑ์ได้รับเรื่องราวขอพระราชทานอภัยโทษจากเรือนจำ/ทัณฑสถานแล้วจะดำเนินการดังนี้

๑.ตรวจสอบเรื่องราวโดยละเอียดเกี่ยวกับฎีกา คำพิพากษา หมายจำคุก หมายลดโทษ เอกสารประกอบ เรื่องราวว่าถูกต้องตามระเบียบหรือไม่ หากไม่ถูกต้องจะจัดส่งกลับไปเรือนจำและทัณฑสถานเพื่อแก้ไขให้ถูกต้อง

๒.ในกรณีมีปัญหาที่จะต้องขอทราบข้อเท็จจริง ประวัติการกระทำผิดหรือรายละเอียดบางประการเกี่ยวกับ นักโทษ จะต้องประสานงานไปยังเรือนจำ หรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สถานีตำรวจภูธร ท้องที่ หรือศาล เป็นต้น

๓.ในรายที่เป็นนักโทษความผิดคดียาเสพติดให้โทษ ต้องขอทราบข้อมูลประวัติการกระทำผิดไปยัง สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาทุกราย

๔. สรุปย่อฎีกาทูลเกล้าฯ และคำพิพากษาในคดีของนักโทษเด็ดขาดรายนั้น ๆ

๕.ประมวลเรื่องราว ข้อเท็จจริง ข้อกฎหมายและเหตุผลที่จะถวายความเห็นขึ้นไปตามลำดับชั้น จนถึง กระทรวงยุติธรรม เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมพิจารณาให้ความเห็นแล้ว จะเสนอเรื่องเพื่อให้นายกรัฐมนตรีนำความ ขึ้นกราบบังคมทูลฯ ต่อไป

๖. เมื่อมีพระบรมราชวินิจฉัยในเรื่องราวทูลเกล้าฯ ถวายฎีกานั้นเป็นประการใด กรมราชทัณฑ์จะแจ้งให้ เรือนจำหรือทัณฑสถานทราบเพื่อแจ้งผู้ถวายฎีกา และบันทึกรับทราบไว้เป็นหลักฐานต่อไป


๗.กรณีนักโทษซึ่งต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ประหารชีวิตก็จะต้องดำเนินการโดยนัยเดียวกันกับการขอ พระราชทานอภัยโทษเป็นรายบุคคลดังกล่าวมาแล้ว หากมีพระราชกระแสให้ยกฎีกา คือไม่พระราชทานอภัยโทษให้ กรมราชทัณฑ์จะแจ้งเรือนจำให้บังคับโทษประหารชีวิตกับนักโทษรายนั้นโดยไม่ชักช้า

 

ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2009-11-15 20:59:22



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล