ReadyPlanet.com


จำเป็นหรือไม่ ผู้รับจำนองต้องทำสัญญาเงินกู้ด้วย (สัญญาประธาน)


จะผิดหรือไม่  เพราะเรื่องจริงผมคิดดอกเบี้ยเกินกฎหมายกำหนด คือร้อยละ 36 ต่อปี ( ร้อยละ 3 ต่อเดือน )

ทางผู้นำที่ดินมาจำนอง จะฟ้องศาลได้หรือไม่ ว่าคิดดอกเบี้ยเกินกฎหมายกำหนดและรับจำนองโดยไม่สุจริต ... 



ผู้ตั้งกระทู้ นาตาลี :: วันที่ลงประกาศ 2009-11-29 19:31:13


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2011507)

พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราพุทธศักราช 2475
-------–––––––
ประชาธิปก ป.ร.
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศ
ว่า
โดยที่สภาผู้แทนราษฎรถวายคำปรึกษาว่า การให้กู้ยืมเงินโดยอัตราดอกเบี้ยสูงเกินควรนั้น ย่อมเป็นทางเสื่อม
ประโยชน์ของบ้านเมือง สมควรจะป้องกันราษฎรมิให้ต้องเสียดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ด้วยความแนะนำยินยอมของสภาผู้แทนราษฎรโดยบท
มาตราต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้ให้เรียกว่า "พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พุทธศักราช 2475"
มาตรา 2(1) ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้เมื่อครบสามเดือน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา 3 บุคคลใด
(ก) ให้บุคคลอื่นยืมเงินโดยคิดดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ หรือ
(ข) เพื่อปิดบังการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราท่านบัญญัติไว้ในกฎหมายบังอาจกำหนดข้อความอันไม่จริงในเรื่องจำนวน
เงินกู้หรืออื่น ๆ ไว้ในหนังสือสัญญา หรือตราสารที่เปลี่ยนมือได้ หรือ
(ค) นอกจากดอกเบี้ย ยังบังอาจกำหนดจะเอา หรือรับเอา ซึ่งกำไรอื่นเป็นเงินหรือสิ่งของ หรือโดยวิธีเพิกถอน
หนี้ หรืออื่น ๆ จนเห็นได้ชัดว่าประโยชน์ที่ได้รับนั้นมากเกินส่วนอันสมควรตามเงื่อนไขแห่งการกู้ยืม
ท่านว่าบุคคลนั้นมีความผิดฐานเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินพันบาท หรือ
ทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 4 บุคคลใดโดยรู้อยู่แล้ว ได้มา แม้จะได้เปล่าซึ่งสิทธิที่จะเรียกร้องจากบุคคลอื่นอันผิดบัญญัติที่กล่าวไว้ใน
มาตราก่อน และใช้สิทธินั้น หรือพยายามถือเอาประโยชน์แห่งสิทธินั้น ท่านว่าบุคคลนั้นมีความผิดต้องระวางโทษดังที่
บัญญัติไว้ในมาตราก่อนนั้น
ประกาศมา ณ วันที่ 26 ตุลาคม พุทธศักราช 2475 เป็นปีที่ 8 ในรัชกาลปัจจุบัน
ผู้รับพระบรมราชโองการ
พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
ประธานคณะกรรมการราษฎร
 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-11-29 20:04:30


ความคิดเห็นที่ 2 (2011508)

ถามว่า

จำเป็นหรือไม่ ผู้รับจำนองต้องทำสัญญาเงินกู้ด้วย (สัญญาประธาน)

 

ตอบ  ไม่จำเป็นครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-11-29 20:05:35


ความคิดเห็นที่ 3 (2011786)

หากถูกร้องว่าคิดดอกเบี้ยเกินกำหนด ก็ไม่ต้องนำสัญญาไปแสดงได้ใช่หรือไม่ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น นาตาลี วันที่ตอบ 2009-11-30 15:32:49


ความคิดเห็นที่ 4 (2011823)

เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะพิสูจน์ว่าจำเลยได้กระทำความผิดหรือไม่ ดังนั้นหากคุณไม่แสดงและฝ่ายผู้เสียหายหรือฝ่ายโจทก์(แล้วแต่กรณีว่าพนักงานอัยการหรือผู้เสียหายเป็นโจทก์)ไม่มีหลักฐานมาแสดง ศาลก็ต้องยกฟ้องครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-11-30 16:59:55


ความคิดเห็นที่ 5 (2014075)

ผมเห็นแตกต่างครับ สัญญาจำนองเป็นสัญญาอุปกรณ์ สัญญากู้เป็นสัญญาประธาน ถ้าสัญญากู้เป็นโมฆะสัญญาอุปกรณ์เป็นโมฆะไปด้วย คำถามเหมือนมีนัยแอบแฝงถึงสัญญากู้ที่มีวัตถุประสงค์ที่ผิดกฏหมายหรือมีข้อสัญญาที่ผิดกฏหมาย แม้สัญญาจำนองไม่ได้บอกว่าต้องมีสัญญาเงินกู้ตอนทำสัญญาแต่ในความหมาย หมายถึงต้องมีเพราะการจำนองเป็นประกันการกู้ หมายถึงต้องมีการกู้กันแน่ ๆ และในทางปฏิบัติที่สำนักงานที่ดินจะเรียกสำเนาสัญญากู้ด้วยครับ  ถ้าคุณจะทำรับจำนองโดยต้องการจะเรียกอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าที่กฏหมายกำหนดผมว่าอย่าดีกว่าครับ อยากเป็นนายทุนเงินกู้  ออกทางขายฝากดีกว่าครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น c1 วันที่ตอบ 2009-12-08 17:22:47


ความคิดเห็นที่ 6 (2014099)

ขอบคุณครับ คุณ c1 ที่ได้ร่วมแสดงความเห็นนะครับ เป็นประโยชน์กับผู้อ่านทั่วไป

ขอเพิ่มเติมในประเด็นของคุณนะครับว่า การทำสัญญาจำนองแม้สัญญาจำนองจะเป็นสัญญาอุปกรณ์ตามที่คุณให้ความเห็นนั้นผมเห็นด้วยครับ แต่ในทางปฏิบัติแล้วแบบสำเร็จรูปของสัญญาจำนองก็จะข้อความในทำนองเป็นสัญญาเงินกู้อยู่ในตัวหรือให้ถือเอาสัญญาจำนองเป็นสัญญาเงินกู้ได้ด้วย และการกำหนดอัตราดอกเบี้ยในสัญญาจำนอง ทางเจ้าหน้าที่จะไม่ระบุอัตราดอกเบี้ยที่เกินที่กฎหมายกำหนดอยู่แล้ว

ได้สอบถามไปทางเจ้าหน้าที่ที่ดินบางท่านได้แจ้งว่า เจ้าหน้าที่จะไม่ขอดูสัญญาเงินกู้ยืม นอกจากคู่สัญญาประสงค์จะให้ดำเนินการเช่นนั้น

แม้สัญญาเงินกู้ยืมที่คิดดอกเบี้ยสูงกว่าที่กฎหมายกำหนดก็เป็นโมฆะเฉพาะดอกเบี้ยแต่ต้นเงินไม่เป็นโมฆะ จึงใช้บังคับได้ ส่วนจะพิสูจน์กันอย่างไรก็ต้องไปว่ากันเป็นเรื่อง ๆ ไปครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-12-08 19:05:06



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล