ReadyPlanet.com


ศาลพิเศษ


ศาลพิเศษ  หมายความว่าอย่างไร??

ปัจจุบันมีกี่ศาลครับ มีศาลอะไรบ้างครับ



ผู้ตั้งกระทู้ อาระดีน :: วันที่ลงประกาศ 2009-11-24 16:41:28


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2009679)

ศาลพิเศษ  จัดตั้งขึ้นโดยมีข้อบังคับสำหรับศาลนั้นโดยเฉพาะ กล่าวคือจะต้องเป็นไปตามกฎหมายที่มีวิธีการพิจารณาของศาลนั้น และจะไม่นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้

ในปัจจุนมีศาลพิเศษ จัดตั้งขึ้น 5 ศาล คือ

1.  ศาลแรงงาน

ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 25522  ข้อพิพาทส่วนแพ่งที่เป็นคดีแรงงานต้องขึ้นศาลแรงงานและก็ใช้บทบัญญัติวิธีพิจารณาคดีแรงงาน จะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งไปใช้ไม่ได้  เว้นแต่ในระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน  ไม่มีกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้

2.  ศาลภาษีอากร

ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528  ข้อพิพาทส่วนแพ่งที่เป็นคดีภาษีอากร  ต้องขึ้นศาลภาษีอากรและใช้บทบัญญัติว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร  เว้นแต่กรณีที่พระตาชบัญญัติจัดตั้งภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ   ไม่มีบัญญัติไว้จึงจะนำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้โดยอนุโลมตามมาตรา 17 

3.  ศาลลเยาวชนและครอบครัว

ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครั พ.ศ.  2534  อย่างไรเป็นคดีเยาวชนและครอบครัวก็ต้องพิจารณาตามมาตรา 11 ของกฎหมายดังกล่าว ซึ่งการพิจารณาคดีประเภทนี้จะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้ก็ต่อเมื่อไม่เป็นการขัดกับพระราชบัญญัติดังกล่าวตามที่บัญัติไว้ในมตา 6

4.  ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ

ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539  คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ  ก็คือคดีตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 7  ของบทบัญญัติดังกล่าว  กระบวนพิจารณาในศาลทรัพย์สินทางปัญญา ฯ  จะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้ก็ต่อเมื่อเป็นไปตามมาตรา 26 ของบทกฎหมนดังกล่าว

5.  ศาลล้มละลาย

ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542  คดีที่อยู่ในอำนาจศาลล้มละลาย  หมายถึงคดีตามมาตรา 3 ของกฎหมายดังกล่าวคือคดีตามกฎหมายล้มละลายและให้รวมถึงคดีแพ่งที่เกี่ยวพันกับคดีดังกล่าวด้วย ซึ่งในคดีล้มละลายนั้นจะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้ก็ต่อเมื่อเป็นไปตามมาตรา 14 ของบทกฎหมายดังกล่าว

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น +++ วันที่ตอบ 2009-11-24 17:06:28



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล