ReadyPlanet.com


รบกวนถามเรืองเกี่ยวกับสินสมรสด้วยค่ะ


ขอสอบถามหน่อยนะค่ะ

คือคุณพ่อดิชั้นจดทำเบียนสมรสกับคุณแม่ วันหนึ่งคุณพ่อลงทุนทำธุรกิจอย่างหนึ่งในรูปบริษัทจำกัดมีหุ้นส่วนใหญ่อยู่ 5 คน ซึ่งบริษัทต้องกู้เงินจากแบงค์นะค่ะ แล้วตอนที่บริษัทกู้เงิน แบงค์ให้หุ้นส่วนทั้ง 5 คนเซ็นชื่อเป็นบุคคลค้ำประกัน และหุ้นส่วนทุกคนก็ได้นำบ้าน และที่ดินมาค้ำประกันด้วย ในกรณีของบ้านดิชั้น คุณพ่อได้นำบ้านและที่ดินซึ่งเป็นชื่อของคุณพ่อไปค้ำประกัน โดยคุณแม่ได้เซ็นยินยอมกับทางแบงค์ นอกจากนั้นคุณพ่อยังได้นำที่ดินที่เป็นชื่อคุณแม่คนเดียวไปค้ำประกันด้วย ต่อมาเศรษฐกิจไม่ดี ทางบริษัทไม่สามารถชำระหนี้ให้กับแบงค์ได้ ดิชั้นเลยอยากรบกวนถามดังนี้ค่ะ

1. การที่คุณแม่เซ็นยินยอมให้คุณพ่อเอาบ้านและที่ดินซึ่งเป็นชื่อของคุณพ่อไปค้ำประกันกับทางแบงค์ ถ้าแบงค์ฟ้องร้องบริษัทแล้ว บริษัทไม่มีเงินจ่ายจนโดนฟ้องล้มละลาย ขายของทอดตลาดจนหมดแล้วก็ยังไม่สามารถใช้นี้ได้นั้น ดิชั้นเข้าใจว่าแบงค์คงมาเรียกเอากับคุณพ่อซึ่งเป็นคนค้ำประกัน ถ้าถึงท้ายที่สุดคุณพ่อก็ไม่มีเงินจ่าย ถ้าแบงค์ฟ้องคุณพ่อ คุณแม่จะถือเป็นลูกหนี้ร่วมกับหนี้ก้อนนี้ด้วยเพราะได้เซ็นยินยอมกับทางแบงค์หรือไม่ค่ะ

2. ถ้าถือเป็นลูกหนี้ร่วมหมายความว่า คุณแม่จะต้องรับผิดในหนี้จำนวนนี้เท่ากับบุคคลค้ำประกันเลยหรือไม่ค่ะ หรือว่ารับผิดเฉพาะบ้านและที่ดินที่คุณแม่ได้เซ็นยินยอมไป ถ้าคุณแม่ต้องรับผิดในหนี้จำนวนนั้นแล้วทรัพย์สินอย่างอื่นที่เป็นชื่อคุณแม่จะโดนด้วยเพราะถือเป็นสินสมรสใช่หรือไม่ค่ะ

3. ที่ดินที่เป็นชื่อของคุณแม่ที่คุณพ่อเอาไปค้ำประกันนี้จะโดนยึดด้วยใช่หรือไม่ค่ะ

4. ทรัพย์สินที่คุณพ่อคุณแม่ได้มาหลังการสมรสถือเป็นสินสมรสทั้งหมด ถึงแม้ว่าทรัพย์นั้นจะเป็นชื่อของบุคคลใดบุคคลหนึ่งก็ตามใช่หรือไม่ค่ะ

5. ในสัญญาบางตัวคุณแม่ได้ลงชื่อเป็นพยานด้วย ไม่ทราบว่าการเป็นพยานของคุณแม่จะมีผลอะไรหรือไม่ค่ะ เสมือนเป็นการรับรู้หรือยินยอมของการทำนิติกรรมของคุณสมรสด้วยหรือไม่ค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ เวด :: วันที่ลงประกาศ 2009-12-10 15:00:11


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2014727)

1. ต้องอ่านสัญญาให้ละเอียดก่อนครับว่าในสัญญาระบุเงื่อนไขไว้อย่างไรบ้าง ตามปกติการค้ำประกันดังกล่าวเป็นเรื่องธุรกิจ และคุณแม่ของคุณให้ความยินยอมไปในฐานะการจัดการสินสมรสจึงไม่น่าจะมีส่วนเป็นลูกหนี้ร่วมในกรณีนี้นะครับ แต่แปลงที่มีชื่อคุณแม่คนเดียวนั้นไม่แน่ใจนะครับเพราะน่าจะมีรายละเอียดปลีกย่อยมากกว่านี้เพราะจะทำนิติกรรมได้ต้องให้แม่ไปทำเอง ลำพังคุณพ่อจะนำไปดำเนินการเองคงไม่ได้

2.  การเป็นลูกหนี้ร่วมจะต้องมีระบุไว้ในสัญญาชัดเจนครับ ว่าใครต้องรับผิดชอบอย่างไร ซึ่งแต่ละคนไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบเท่า ๆ กันก็ได้

3. ถ้านำไปค้ำประกัน เจ้าหนี้ก็มีสิทธิอยู่แล้วครับ เพราะคำว่า"ค้ำประกัน" ชื่อก็สื่อความหมายอยู่แล้ว ไม่อย่างนั้นเจ้าหนี้ก็คงไม่เรียกเอา

4.  คุณเข้าใจถูกต้องแล้วครับ เว้นแต่ว่าความจริงมันไม่ใช่สินสมรสก็ต้องพิสูจน์กันไปครับ เช่น ระหว่างสมรส ได้มรดกมา หรือได้รับการให้โดยเสน่หา เป็นต้น ย่อมเป็นสินส่วนตัวได้

5. พยาน เป็นการรับรู้ว่าคู่สัญญาเขาทำนิติกรรมอะไรกัน แต่ก็มีสัญญาบางประเภทที่กฎหมายให้ถือเป็นหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา การเป็นพยานในสัญญาอาจถือว่ารับรู้และเป็นหนี้ร่วมกันก็ได้ครับ แต่จากข้อมูลที่เล่ามาการให้ความยินยอมในฐานะคู่สมรสไม่น่าจะถือว่าเป็นลูกหนี้ร่วมนะครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-12-10 16:24:08


ความคิดเห็นที่ 2 (2033696)

ดิฉันแต่งงานกับสามีและจดทะเบียนสมรสกันและดิฉันมีลูกกับสามี 1 คน สามีมีลูกติด 1 คน ทรัพย์สินที่ดิฉันและสามีซื้อนี้ถือว่าเป็นสินสมรสใช่ไหม ทรัพย์สินทุกอย่างที่ซื้อได้ทำเป็นชื่อของดิฉันและสามีคะ ถ้าสามีจะทำพินัยกรรมยกให้ลูกติดจะต้องได้รับความยินยอมของดิฉันก่อนไหมคะ และถ้าสามีดิฉันเกิดเสียชีวิตก่อน ลูกติดเค้าจะมีสิทธิ์ได้รับไหมอะไรบ้างคะ ทุกอย่างทำเป็นสองชื่อคะดิฉันกับสามี และเราก็กู้เงินมาซื้อกันคะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ดา วันที่ตอบ 2010-02-09 14:20:27



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล