ReadyPlanet.com


กรรมสิทธิรถ


ผมมีเรื่องเรียนถามดังนี้

ผมได้ซื้อรถยนต์คันหนึ่ง โดยใช้ชื่อผู้อื่นซื้อ สาเหตุไม่มีเครดิต แต่ผมได้เป็นผู้ส่งมีเอกสาร

การชื้อขายและใบส่งค่างวด มีชื่อผมกำกับ ผมส่งไป58งวด หลือเพียง2งวด ผู้ที่ผมใช้ชื่อซื้อ

เขาก็นำเงินไปปิดบัญชี และนำไปรีไฟแน้นท์ ใหม่ โดยที่ผมไม่ทราบ และทราบภายหลัง

ผมขอเรียนถามว่า ผมควรจะทำอย่างไร  เพื่อที่จะได้กรรมสิทธิ

กราบขอบพระคุณครับ



ผู้ตั้งกระทู้ กฤษดา ไชยขันธ์ :: วันที่ลงประกาศ 2009-12-04 17:50:13


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2013114)

อยากได้เป็นกรรมสิทธิ์ของเรา

1. ให้เพื่อนไปปิดบัญชี เพื่อโอนชื่อในสมุดคู่มือจดทะเบียนเป็นชื่อของเรา

2. ถ้าเขาไม่ยอมจ่ายเราก็ต้องเป็นผู้จ่ายแทนแล้วให้เพื่อนจดทะเบียนโอนให้เรา

3. ใช้รถไปตามปกติ หากเพื่อนยังคงส่งต่อไปก็ไม่มีปัญหาอะไร

เนื่องจากเรายินยอมให้เขาใช้ชื่อเป็นผู้ซื้อก็ต้องยอมรับผลดีและผลเสียที่เกิดขึ้นครับ เรื่องที่เกิดขึ้นก็เพราะเพื่อนเราไม่ทำอะไรให้ตรงไปตรงมา ตามปัญหาคงเป็นการยากที่จะเอาผิดกับเพื่อนได้ครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-12-04 18:23:47


ความคิดเห็นที่ 2 (2015223)

การใช้ชื่อผู้อื่นเช่าซื้อรถยนต์

การที่ผู้ร้องอ้างว่าซื้อรถยนต์คันพิพาทมาจากจำเลยที่ 2 โดยตกลงจะผ่อนชำระค่าเช่าซื้อที่เหลือให้บริษัทผู้ให้เช่าซื้อจนครบถ้วน แต่ปรากฏว่าผู้ที่ลงลายมือชื่อเป็นผู้ซื้อในหนังสือสัญญาซื้อรถยนต์ ไม่ใช่กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนผู้ร้อง ผู้ร้องมิได้แจ้งให้บริษัทผู้ให้เช่าซื้อทราบและดำเนินการเปลี่ยนให้ผู้ร้องเป็นผู้เช่าซื้อแทน ทั้งใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษีและหนังสือยืนยันการชำระเงินค่าเช่าซื้อครบถ้วนก็ปรากฏว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้ชำระค่าเช่าซื้อหาใช่ผู้ร้องชำระไม่ จึงฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นคู่สัญญาเช่าซื้อนำรถยนต์คันพิพาทมาขายแก่ผู้ร้อง และผู้ร้องชำระค่าเช่าซื้อจนครบถ้วนดังที่กล่าวอ้าง ดังนั้น รถยนต์คันพิพาทยังไม่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสีย เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งระงับการทำนิติกรรมทางทะเบียนของรถยนต์คันพิพาท ไม่ถือว่าผู้ร้องถูกโต้แย้งสิทธิในทรัพย์ที่มีการบังคับคดี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247

 


คำพิพากษาที่  6925/2551

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ***** วันที่ตอบ 2009-12-12 11:30:35



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล