ReadyPlanet.com


ถามการตั้งหมู่บ้านในรูปบริษัทและการเรียกเก็บค่าบำรุง



สอบถามเกี่ยวกับการตั้งบริษัทของทางกรรมการหมู่บ้านครับ

เรื่องนี้มากจากหมู่บ้านสินทวีนะครับ แล้วค่อยๆลามมาที่หมู่บ้านผม ผมไม่แน่ใจว่าถูกต้องหรือไม่เกี่ยวกับคนกลุ่มนี้ เพราะบางหมู่บ้านก็ทราบว่าทำสำเร็จ บางหมู่บ้านก็ไม่ยอมขับไล่ จนตอนนี้มาถึงหมู่บ้านผม ซึ่งดูเหมือนว่าจะสำเร็จครับ
คือกรรมการหมู่บ้านปัจจุบันจัดหมู่บ้านเป็นรูปบริษัทในการประชุมหมู่ บ้านก็มีใบมาให้เซ็นว่าเข้าประชุมกับมีใบมอบอำนาจอีกใบซึ่งคนที่มาเข้าร่วม ส่วนมากก็คิดว่าแค่ใบเช็คชื่อว่าใช้สิทธิเข้าร่วมฟังครับก็เซ็นๆไป ทั้งที่คนส่วนมากก็ไม่พอใจ ที นี้ก็ไปจดเป็นบริษัทแล้ว ก็ตามเก็บเงินส่วนกลางบ้านไหนจ่ายช้า หรือยังไม่ จ่าย จะมีการขู่ หรือปฏิบัติไม่เหมาะสมจากยาม ลูกหลานเดินผ่านตอนค่ำๆก็กลัว ว่าจะไม่ดี ถ้าไม่จ่ายก็จะมีผลทางกฏหมาย และฟ้อง ให้ทนายมาคุยด้วย เดิมที ซื้อบ้านนี้ก็ไม่มีพวกนี้อยู่แล้วถนนก็ส่วนกลาง จะมาห้ามใช้ห้ามจอดรถ เก็บค่าจอดก็ใช่ที่ จึง รบกวนถามด้วยครับว่า
-การตั้งเป็นรูปบริษัทนี้ทำได้หรือครับ และสามารถบังคับใช้เก็บค่าส่วนกลางหรือครับ
-กรณีที่ไม่จ่ายจะได้รึเปล่าครับ จะมีผลทางกฏหมายดังเค้าว่ามั้ยครับ
 เพราะเห็นว่านำไปใช้เกินจริง (จากใบแจ้งค่าใช้จ่าย จะติดลบทุก เดือน เก็บกระทั่งค่าปะยางรถจักรยาน 300 บาท ตัดหญ้าสนามเด็ก เล่น 7000 บาท สนามแค่ 4x5เมตรเอง ค่ากระติกน้ำยาม ป้ายชื่อยาม บัตรผ่าน ยามฯลฯ)สรุปเก็บ 2แสน ติดลบทุกเดือน 
-เห็นว่าพอตั้งบริษัทแล้วทางรัฐให้มาอีก 2 ล้าน แต่พอถามดูบอกว่าหมดแล้วเอาไปชดกับที่ออกไปก่อนที่ทำสนามเด็กเล่น 4x5เมตรนั่นแหละ
อยากรู้จริงๆ รบกวนตอบทีครับ
ขอบคุณครับ



ผู้ตั้งกระทู้ ลาภวัต :: วันที่ลงประกาศ 2009-12-02 11:23:03


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2012396)

ผมได้คัดลอกข้อมูลที่น่าสนใจและเกี่ยวข้องกับคำถามของคุณมาให้อ่านครับ หากอ่านอย่างครบถ้วนจะได้คำตอบตามที่ถามมาโดยเฉพาะช่วงท้าย ๆ และหากมีคำถามที่ยังไม่ได้ตอบหรือจะสอบถามเพิ่มเติมก็สอบถามเข้ามาใหม่นะครับ

 

เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะในโครงการหมู่บ้านจัดสรรผู้ซื้อที่ดินที่จัดสรรมักจะร้องขอให้เทศบาลเข้าไปแก้ไขปัญหาให้ โดยขอให้ทำถนน วางท่อระบายน้ำหรือจัดให้มีสวนสาธารณะ แต่เมื่อพิจารณาถึงข้อกฎหมายอื่นเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของเทศบาลแล้วจะพบว่า เทศบาลจะต้องจัดทำสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะสำหรับให้ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันเท่านั้น ดังนั้นตราบใดที่จัดสรรที่ดินซึ่งมิได้จดทะเบียนโอนทรัพย์สิน ที่เป็นสาธารณูปโภคให้เป็นสาธารณประโยชน์ เทศบาลก็ยังไม่สามารถเข้าไปดำเนินการได้ เพราะสาธารณูปโภคเหล่านั้นเป็นทรัพย์สินของโครงการ ซึ่งผู้ซื้อที่ดินที่จัดสรรได้รับประโยชน์เป็นส่วนตัวมิใช่ส่วนรวม ดังนั้นผู้จัดสรรที่ดินควรจะจดทะเบียนโอนทรัพย์สินที่เป็นสาธารณูปโภคในโครงการให้เป็นสาธารณประโยชน์ หรือผู้ซื้อที่ดินจัดสรรทำการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรขึ้น เพื่อจัดการดูแลบำรุงรักษาสาธารณูปโภคในหมู่บ้านของตนเอง เพื่อคงความเป็นส่วนตัวไว้ ซึ่งก็แล้วแต่ว่าแต่ละหมู่บ้านจะดำเนินการหรืออยู่ภายใต้เงื่อนไขใด ซึ่งในส่วนการเข้าไปดูแลของเทศบาลนึ้น เทศบาลต้องดูความเหมาะสม ตามกำลังงบประมาณและสภาพปัญหาประกอบด้วย คงไม่สามารถเข้าไปให้บริการได้ทันที ถึงแม้จะยกเป็นสาธารณประโยชน์ แต่ก็ต้องมีการใช้ประโยชน์ร่วมกัน หมู่บ้านคงไม่สามารถสงวนสิทธิ์การใช้สาธารณูปโภค สำหรับผู้ซื้อที่ดินจัดสรรในโครงการเท่านั้น

http://www.pakkretcity.go.th/village_law.asp

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-12-02 13:05:25


ความคิดเห็นที่ 2 (2012397)


ขั้นตอนการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร

 

(ตามมาตรา 70 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543) 

ก. ด้านผู้จัดสรรที่ดิน

        โครงการจัดสรรที่ดินที่ผู้ได้รับใบอนุญาต หรือผู้รับโอนใบอนุญาตตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน   พ.ศ.2515 หรือผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภค มิได้ปฏิบัติหน้าที่ในการบำรุงรักษากิจการอันเป็นสาธารณูปโภค 

ข. ด้านผู้ซื้อที่ดินจัดสรร

        ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนที่ดินแปลงย่อยตามแผนผังโครงการอาจยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขา เพื่อจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรโดยดำเนินการดังนี้

        1. จัดให้มีการประชุมผู้ซื้อที่ดินจัดสรร เพื่อมีมติจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรและแต่งตั้งตัวแทนยื่นคำขอจดทะเบียนนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรพร้อมด้วยข้อบังคับนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร (มติดังกล่าวต้องมีผู้ซื้อที่ดินจัดสรรจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนแปลงย่อยที่จัดจำหน่ายตามแผนผังและโครงการที่ได้รับอนุญาตลงคะแนนเสียงให้จัดตั้ง และในการลงคะแนนเสียง ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรแต่ละแปลงมีเสียงเท่ากับหนึ่งคะแนนเสียงและหากได้แบ่งแยกที่ดินแปลงย่อยตามแผนผังโครงการที่ได้รับอนุญาตออกไปอีกให้ถือว่าผู้ถือกรรมสิทธิ์แปลงคงเหลือและแปลงที่ได้แบ่งแยกออกไปมีเสียงรวมกันเท่ากับหนึ่งคะแนนเสียงเช่นเดียวกับเจ้าของรวม)

        2. จัดทำข้อบังคับที่มีรายการตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ว่าด้วยการจัดตั้งการบริหาร การควบ และการยกเลิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร พ.ศ.2545 ข้อ 3 ซึ่งผู้ซื้อที่ดินจัดสรรมีมติให้ความเห็นชอบในที่ประชุมด้วย

        3. จัดทำรายงานการประชุมทุกครั้งที่มีการประชุม

        4. ตัวแทนผู้ได้รับแต่งตั้ง ยื่นคำขอจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาแห่งท้องที่ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่พร้อมด้วยเอกสารหลักฐาน ดังนี้

              - รายงานการประชุมของผู้ซื้อที่ดินจัดสรร (จำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนแปลงย่อยตามแผนผังโครงการ) ที่มีมติให้จัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร เห็นชอบข้อบังคับ และแต่งตั้งตัวแทนในการยื่นคำขอจดทะเบียน

              - สำเนาข้อบังคับ (ตามข้อ 2) ซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายการดังนี้

                 1. ชื่อนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร

                 2. วัตถุประสงค์

                 3. ที่ตั้งสำนักงาน

                 4. ข้อกำหนดเกี่ยวกับจำนวนกรรมการ การเลือกตั้ง วาระการดำรงตำแหน่ง การเริ่มดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง และการประชุมของคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรซึ่งต้องประชุมอย่างน้อยปีละสองครั้ง

                 5. ข้อกำหนดเกี่ยวกับการดำเนินงาน การบัญชี และการเงิน

                 6. ข้อกำหนดเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของสมาชิก

                 7. ข้อกำหนดเกี่ยวกับการประชุมใหญ่

                 8. ข้อกำหนดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงข้อบังคับ

                 9. ข้อกำหนดเกี่ยวกับการยกเลิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร

5. เมื่อจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรได้แล้ว ให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรทุกรายเป็นสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร กรณีที่ดินแปลงย่อยที่ยังไม่มีผู้ใดซื้อ หรือได้โอนกลับมาเป็นของผู้จัดสรรที่ดิน ให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรเป็นสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และแสดงหนังสือสำคัญการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ สำนักงานนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร

ค.ด้านพนักงานเจ้าหน้าที่

             เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาได้รับคำขอจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแล้ว ให้ดำเนินการดังนี้

             1. ปิดประกาศคำขอไว้ในที่เปิดเผย ณ สำนักงานที่ดิน เขตหรือที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอ ที่ทำการแขวงหรือที่ทำการกำนันแห่งท้องที่ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่ และบริเวณที่ดินที่ทำการจัดสรรมีกำหนดสามสิบวัน

             2. แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้รับโอนใบอนุญาตตามประกาศของคณะปฏิวัติ  ฉบับที่ 286 (พ.ศ.2515) หรือผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคทราบตามที่อยู่ที่ได้ให้ไว้กับพนักงานเจ้าหน้าที่

                  - กรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาต หรือผู้รับโอนใบอนุญาต หรือผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคดังกล่าวข้างต้น คัดค้านการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ให้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการพิจารณา หากคณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่าบุคคลดังกล่าวข้างต้นมิได้ปฏิบัติหน้าที่ในการบำรุงรักษากิจการอันเป็นสาธารณูปโภคจริง ให้นำความในมาตรา 43 วรรคสอง และมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่หากคณะกรรมการเห็นว่าผู้คัดค้านได้ปฏิบัติหน้าที่ในการบำรุงรักษากิจการอันเป็นสาธารณูปโภค ให้ยกเลิกการดำเนินการจดทะเบียนนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร                                                            

                 - กรณีผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้รับโอนใบอนุญาต หรือผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคไม่คัดค้านหรือไม่ปฏิบัติตามมติของคณะกรรมการโดยไม่ดำเนินการตามมาตรา 43 วรรคสอง และมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 ให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และให้มีอำนาจจดทะเบียนโอนทรัพย์สินที่เป็นสาธารณูปโภคให้แก่ นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร    

  ง. การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม

                การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับการโอนทรัพย์สินที่เป็นสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะให้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมและภาษีอากร


http://www.dol.go.th/dol/index.php?option=com_content&task=view&id=812

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-12-02 13:06:35


ความคิดเห็นที่ 3 (2012398)

ข้อดีในการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร

 

นิติบุคคลบ้านจัดสรร คำนี้อาจไม่เป็นที่คุ้นเคยสำหรับคนที่สร้างบ้านอยู่เอง แต่กับชมรมคนรักบ้านที่เป็นลูกค้าบ้านจัดสรร เมื่อโครงการปิดการขายได้หมดทุกยูนิตแล้วแน่นอนว่าปฏิบัติการต่อจากนั้นคือการผลักดันเพื่อจัดตั้ง "นิติบุคคลบ้านจัดสรร" เป็นทั้งภาคบังคับของกฎหมาย และเป็นภาคสมัครใจของผู้พัฒนาที่ดิน ตลอดจนลูกบ้าน

วันนี้ ประมวลข้อดีและข้อเสียมาให้พิจารณาดังนี้


ข้อดีในการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร

1.รับโอนทรัพย์สินและสาธารณูปโภคในโครงการจากผู้จัดสรรที่ดินมาเป็นของผู้ซื้อบ้านทุกๆ คน อาทิ โฉนดที่ดินแปลงที่เป็นถนน ทางเท้า สวนพักผ่อน สนามเด็กเล่น เป็นต้น

2.ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการโอนทรัพย์สินและภาษีอากรจากรัฐ ไม่ว่าในส่วนที่กรมที่ดินเรียกเก็บขณะทำนิติกรรมหรือภาษีบำรุงท้องที่ประจำปี รวมทั้งภาษีมูลค่าเพิ่มจากกรมสรรพากร

3.เจ้าของกรรมสิทธิ์ทุกรายในโครงการมีส่วนร่วม ในการบริหารงานหมู่บ้าน ตั้งแต่ออกกฎระเบียบที่ใช้ในชุมชนการออกสิทธิ ออกเสียงคัดค้าน หรือให้ความเห็นชอบในที่ประชุมใหญ่ รวมทั้งการแต่งตั้งสมาชิกคนหนึ่งคนใดเป็นคณะกรรมการบริหารงานนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร

4.ปัญหาความเดือดร้อนรำคาญจะได้รับการแก้ไขให้ลดน้อยลงไป ไม่ว่าจะเป็นการตั้งอุปกรณ์หาบเร่แผงลอยที่วางระเกะระกะบนถนนทางเท้า เป็นต้น เนื่องจากคณะกรรมการหมู่บ้านมีอำนาจหน้าที่ถูกต้องตามกฎหมาย

5.ถนนหนทาง ไฟฟ้า ประปา อีกทั้งบริการสาธารณะที่ชำรุดทรุดโทรม จะมีงบประมาณในการปรับปรุงซ่อมแซม

6.มีกฎหมายจัดระเบียบชุมชนเป็นของตนเอง ซึ่งเรียกว่าข้อบังคับของหมู่บ้าน

7.สร้างความเป็นธรรมและพิทักษ์ความสะอาด ความปลอดภัยให้กับชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

8.มูลค่าทรัพย์สินจะทวีเพิ่มขึ้นในระยะยาว ภายหลังจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแล้ว

9.คุณภาพชีวิตจะสดใส คือประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับภายหลังจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแล้ว

 


 ข้อเสียในการไม่จัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร

 

1.คณะกรรมการหมู่บ้านไม่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ในการจัดระเบียบชุมชนของตนเอง เนื่องจากไม่ได้จัดตั้งเป็นนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร

2.คณะกรรมการหมู่บ้านไม่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ในการยื่นคำร้องทุกข์หรือเป็นโจทย์ฟ้องร้องแทนสมาชิกในกรณีที่มีผลกระทบสิทธิหรือประโยชน์ของสมาชิกภายในหมู่บ้าน

3.การเรียกเก็บค่าบำรุงรักษาสาธารณูปโภค ค่าใช้จ่ายส่วนกลางจากท่านสมาชิก ไม่ได้รับความร่วมมือชำระค่าใช้จ่าย ทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนงบประมาณในการบริหารงานหมู่บ้าน

4.ไม่มีงบประมาณในการซ่อมแซม/บำรุงรักษา ถนนหนทาง ไฟฟ้า ประปา อีกทั้งการบริการสาธารณะที่ชำรุดทรุดโทรม

5.มูลค่าทรัพย์สินภายในหมู่บ้านจะลดลง จากที่เคยซื้อมาราคาแพง เวลาขายจะไม่ค่อยได้ราคา เนื่องจากสภาพแวดล้อมภายในหมู่บ้านไม่ได้รับการดูแลรักษา

6.ผู้จัดสรรที่ดิน โอนทรัพย์สินที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคให้กับหน่วยงานราชการ เพื่อให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ทำให้ไม่สามารถควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยภายในหมู่บ้านไว้ได้ เนื่องจากเป็นพื้นที่สาธารณะ บุคคลภายนอกสามารถผ่านเข้าออกได้ หรือใช้เป็นทางสัญจรได้ ทำให้ถนนหนทางชำรุดทรุดโทรม

7.ปัญหาความเดือดร้อนของท่านสมาชิกไม่ได้รับการแก้ไข เนื่องจากคณะกรรมการหมู่บ้านไม่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ไม่สามารถแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของท่านสมาชิกได้

8.พื้นที่ส่วนกลางสกปรกเลอะเทอะ ไม่มี ผู้ควบคุมดูแล รวมทั้งไม่มีงบประมาณในการ จัดจ้างพนักงานรักษาความสะอาด

9.เกิดปัญหาการบุกรุกพื้นที่ส่วนกลางมาเป็นพื้นที่ส่วนตัว หาบเร่ แผงลอย ของระเกะระกะไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย ปัญหาสุนัขที่มีเจ้าของและสุนัขจรจัดภายในหมู่บ้านถ่ายมูลเลอะเทอะ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ทั้งหมดหลายๆ หมู่บ้านไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ เนื่องจากไม่มีระเบียบควบคุมไว้อย่างชัดเจน


http://www.hometophit.com/hometh/interresting.php?news

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-12-02 13:08:28


ความคิดเห็นที่ 4 (2012399)

ข้อดีในการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร

 

นิติบุคคลบ้านจัดสรร คำนี้อาจไม่เป็นที่คุ้นเคยสำหรับคนที่สร้างบ้านอยู่เอง แต่กับชมรมคนรักบ้านที่เป็นลูกค้าบ้านจัดสรร เมื่อโครงการปิดการขายได้หมดทุกยูนิตแล้วแน่นอนว่าปฏิบัติการต่อจากนั้นคือการผลักดันเพื่อจัดตั้ง "นิติบุคคลบ้านจัดสรร" เป็นทั้งภาคบังคับของกฎหมาย และเป็นภาคสมัครใจของผู้พัฒนาที่ดิน ตลอดจนลูกบ้าน

วันนี้ ประมวลข้อดีและข้อเสียมาให้พิจารณาดังนี้


ข้อดีในการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร

1.รับโอนทรัพย์สินและสาธารณูปโภคในโครงการจากผู้จัดสรรที่ดินมาเป็นของผู้ซื้อบ้านทุกๆ คน อาทิ โฉนดที่ดินแปลงที่เป็นถนน ทางเท้า สวนพักผ่อน สนามเด็กเล่น เป็นต้น

2.ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการโอนทรัพย์สินและภาษีอากรจากรัฐ ไม่ว่าในส่วนที่กรมที่ดินเรียกเก็บขณะทำนิติกรรมหรือภาษีบำรุงท้องที่ประจำปี รวมทั้งภาษีมูลค่าเพิ่มจากกรมสรรพากร

3.เจ้าของกรรมสิทธิ์ทุกรายในโครงการมีส่วนร่วม ในการบริหารงานหมู่บ้าน ตั้งแต่ออกกฎระเบียบที่ใช้ในชุมชนการออกสิทธิ ออกเสียงคัดค้าน หรือให้ความเห็นชอบในที่ประชุมใหญ่ รวมทั้งการแต่งตั้งสมาชิกคนหนึ่งคนใดเป็นคณะกรรมการบริหารงานนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร

4.ปัญหาความเดือดร้อนรำคาญจะได้รับการแก้ไขให้ลดน้อยลงไป ไม่ว่าจะเป็นการตั้งอุปกรณ์หาบเร่แผงลอยที่วางระเกะระกะบนถนนทางเท้า เป็นต้น เนื่องจากคณะกรรมการหมู่บ้านมีอำนาจหน้าที่ถูกต้องตามกฎหมาย

5.ถนนหนทาง ไฟฟ้า ประปา อีกทั้งบริการสาธารณะที่ชำรุดทรุดโทรม จะมีงบประมาณในการปรับปรุงซ่อมแซม

6.มีกฎหมายจัดระเบียบชุมชนเป็นของตนเอง ซึ่งเรียกว่าข้อบังคับของหมู่บ้าน

7.สร้างความเป็นธรรมและพิทักษ์ความสะอาด ความปลอดภัยให้กับชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

8.มูลค่าทรัพย์สินจะทวีเพิ่มขึ้นในระยะยาว ภายหลังจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแล้ว

9.คุณภาพชีวิตจะสดใส คือประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับภายหลังจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแล้ว

 


 ข้อเสียในการไม่จัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร

 

1.คณะกรรมการหมู่บ้านไม่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ในการจัดระเบียบชุมชนของตนเอง เนื่องจากไม่ได้จัดตั้งเป็นนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร

2.คณะกรรมการหมู่บ้านไม่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ในการยื่นคำร้องทุกข์หรือเป็นโจทย์ฟ้องร้องแทนสมาชิกในกรณีที่มีผลกระทบสิทธิหรือประโยชน์ของสมาชิกภายในหมู่บ้าน

3.การเรียกเก็บค่าบำรุงรักษาสาธารณูปโภค ค่าใช้จ่ายส่วนกลางจากท่านสมาชิก ไม่ได้รับความร่วมมือชำระค่าใช้จ่าย ทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนงบประมาณในการบริหารงานหมู่บ้าน

4.ไม่มีงบประมาณในการซ่อมแซม/บำรุงรักษา ถนนหนทาง ไฟฟ้า ประปา อีกทั้งการบริการสาธารณะที่ชำรุดทรุดโทรม

5.มูลค่าทรัพย์สินภายในหมู่บ้านจะลดลง จากที่เคยซื้อมาราคาแพง เวลาขายจะไม่ค่อยได้ราคา เนื่องจากสภาพแวดล้อมภายในหมู่บ้านไม่ได้รับการดูแลรักษา

6.ผู้จัดสรรที่ดิน โอนทรัพย์สินที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคให้กับหน่วยงานราชการ เพื่อให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ทำให้ไม่สามารถควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยภายในหมู่บ้านไว้ได้ เนื่องจากเป็นพื้นที่สาธารณะ บุคคลภายนอกสามารถผ่านเข้าออกได้ หรือใช้เป็นทางสัญจรได้ ทำให้ถนนหนทางชำรุดทรุดโทรม

7.ปัญหาความเดือดร้อนของท่านสมาชิกไม่ได้รับการแก้ไข เนื่องจากคณะกรรมการหมู่บ้านไม่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ไม่สามารถแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของท่านสมาชิกได้

8.พื้นที่ส่วนกลางสกปรกเลอะเทอะ ไม่มี ผู้ควบคุมดูแล รวมทั้งไม่มีงบประมาณในการ จัดจ้างพนักงานรักษาความสะอาด

9.เกิดปัญหาการบุกรุกพื้นที่ส่วนกลางมาเป็นพื้นที่ส่วนตัว หาบเร่ แผงลอย ของระเกะระกะไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย ปัญหาสุนัขที่มีเจ้าของและสุนัขจรจัดภายในหมู่บ้านถ่ายมูลเลอะเทอะ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ทั้งหมดหลายๆ หมู่บ้านไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ เนื่องจากไม่มีระเบียบควบคุมไว้อย่างชัดเจน


http://www.hometophit.com/hometh/interresting.php?news

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-12-02 13:08:29


ความคิดเห็นที่ 5 (2012401)

สิทธิและหน้าที่ของสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร

 


 หลักสำคัญที่กฎหมายต้องการให้มีการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้จัดสรรที่ดินสามารถ โอนสาธารณูปโภคในโครงการจัดสรรที่ดิน ให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรที่มีจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนแปลงย่อยรวมตัวกัน จัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรขึ้น เพื่อรับโอนสาธารณูปโภคในโครงการจัดสรรที่ดินมาดูแลบำรุงรักษาจัดการกันเอง

ซึ่งผลจากการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรเรียบร้อยแล้วมีผลดังนี้

1. ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้จัดสรรที่ดิน ผู้ซื้อที่ดินจัดสรร และนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร

 (1) ผู้จัดสรรที่ดิน - พ้นจากหน้าที่ในการบำรุงรักษาที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคโดยต้องมีการโอนทรัพย์สินและส่งมอบเงินบำรุงรักษาสาธารณูปโภคที่ผู้จัดสรรต้องรับผิดชอบแล้ว - เป็นสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ในส่วนที่ดินที่ยังไม่จำหน่าย

(2) ผู้ซื้อที่ดินจัดสรร ทั้งในส่วนที่ลงคะแนนเสียงเห็นชอบและไม่เห็นชอบให้จัด ตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร เป็นสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร

(3) นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร - มีฐานะเป็นนิติบุคคล - มีคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรร เป็นผู้ดำเนินกิจการของนิติบุคคลหมู่บ้าน จัดสรรตามกฎหมาย ตามข้อบังคับ โดยอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของที่ประชุมใหญ่สมาชิก - คณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรเป็นผู้แทนของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก


2. สิทธิพิเศษเกี่ยวกับค่าธรรมเนียม ภาษี และอากรแสตมป์ ภาษี และอากรแสตมป์


3. อำนาจหน้าที่ของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร

(1) จัดการและดูแลบำรุงรักษาทรัพย์สินที่รับโอนจากผู้จัดสรรที่ดิน

(2) กำหนดระเบียบการใช้ประโยชน์สาธารณูปโภค การอยู่อาศัยและการจราจร

(3) เรียกเก็บเงินค่าใช้จ่าย

(4) เป็นโจทก์แทนสมาชิก (ตังแต่ 10 รายขึ้นไป)

(5) จัดให้มีบริการสาธารณะ

(6) ดำเนินการอื่นตามกฎหมาย


4. สิทธิและหน้าที่ของสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร

(1) ชำระค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภค ทั้งนี้ การ กำหนดอัตราค่าใช้จ่าย ต้องได้รับความเห็นชอบจากมติที่ประชุมใหญ่ โดยอาจกำหนดค่าใช้จ่ายให้แตกต่างกันตามประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินหรือขนาดพื้นที่ก็ได้

(2) นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรมีหน้าที่จัดเก็บ โดยให้จัดเก็บเป็นรายเดือนจากสมาชิก

(3) สิทธิและหน้าที่ของสมาชิกนิติบุคคลอื่นตามที่กำหนดในข้อบังคับ


5. บทกำหนดโทษสำหรับสมาชิกที่ชำระเงินล่าช้า

(1) กรณีชำระค่าใช้จ่ายล่าช้ารายเดือน ต้องจ่ายค่าปรับตามอัตราที่คณะกรรม- การจัดสรรที่ดินจังหวัดกำหนด

(2) กรณีชำระค่าใช้จ่ายล่าช้าติดต่อกัน 3 เดือน ถูกระงับการให้บริการหรือการใช้สิทธิในสาธารณูปโภค

(3) กรณีชำระค่าใช้จ่ายล่าช้าติดต่อกัน 6 เดือน พนักงานเจ้าหน้าที่อำนาจระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่ดินแปลงดังกล่าวได้

(4) ให้ถือว่าหนี้ที่ค้างชำระเป็นหนี้บุริมสิทธิในมูลรักษาอสังหาริมทรัพย์


http://www.tanai-korat.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538610377&Ntype=8

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-12-02 13:10:18


ความคิดเห็นที่ 6 (2012612)

แต่ท่าน ลีนนท์ ครับ ผมไม่ได้เดือดร้อนเรื่องการเก็บค่าบำรุงหรอกนะครับ ยิ่งได้เห็นข้อดีที่ท่านลีนนท์ กล่าวข้างต้น แต่ที่ไม่ชอบคือพฤติกรรมมันเหมือนมัดมือชก กลายเป็นการเรียกเก็บค่าคุ้มครองซะมากกว่า ชาวบ้านก็มีแต่ป้าๆ หรือแม่บ้านที่ไม่รู้เรื่องนัก กลัวก็จ่ายไปตอนประชุมก็กลายเป็นเสียงส่วนใหญ่ซะงั้น  แต่ที่สำคัญ การบริการยังไม่ดีเหมือนเดิม ขยะหน้าบ้านยังอยู่ รถยังขวางทางเหลือเลนเดียวอยู่ พวกยามที่เค้าจ้างมาแพงๆแต่ทำตัว...ก็ยังอยู่ คนคัดค้านกลายเป็นคนกลุ่มน้อย ซึ่งต้องทำงานเวลาก็ไม่ค่อยมี นี่ก็ไม่รู้จะเอาไงแล้วครับท่าน ลีนนท์

ผู้แสดงความคิดเห็น ลาภวัต วันที่ตอบ 2009-12-03 09:25:39


ความคิดเห็นที่ 7 (2012818)

ขอบพระคุณท่านลีนนท์เป็นอย่างยิ่งที่ได้กรุณาขนขวายเผื่อแผ่ เผยแพร่ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ พอดีงานเข้าครับพี่น้อง แต่อยากจะบอกท่านว่าถ้าจะปรับปรุง (หากมีเวลาน่ะครับ)เพิ่ม edit ให้ใช้กับmicrosof ได้ จะเป็นดียิ่ง  ขอบคุณ ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

หากมีโอกาสจะไปกราบขอบคุณด้วยตนเองครับ
 

ผู้แสดงความคิดเห็น รอยเปลื้อน วันที่ตอบ 2009-12-03 19:58:26



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล