ReadyPlanet.com


ขอถามครับ


คือว่าผมเปิดร้านขายโทรศัพย์มือถืออยู่ที่บ้านถ้ามีตำรวจกับพนักงานลิขสิทธิ์เข้ามาขอค้นร้านโดยสงสัยว่าจะมีสินค้าละเมิลลิขสิทธฺ์ด้วยไม่มีหมายศาล ตำรวจกับพนักงานลอขสิทธิ์จะมีอำนาจค้นได้หรือเปล่าครับ



ผู้ตั้งกระทู้ อั๋น :: วันที่ลงประกาศ 2009-11-28 15:14:08


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2011378)

ร้านขายสินค้า (มือถือ) ไม่ถือว่าเป็นที่รโหฐาน จึงเป็นที่สาธารณะที่ตำรวจเข้าไปในร้านได้ และพบความผิดซึ่งหน้าสามารถจับได้ แต่จะค้นในร้านโดยไม่มีหมายค้นไม่ได้ครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-11-29 11:11:01


ความคิดเห็นที่ 2 (2011390)

ความเห็นทั่วไปเกี่ยวกับเรื่องนี้
ข้อมูลจาก

http://www.ict.in.th/422

จับคดีลิขสิทธิ์ในร้านอินเทอร์เน็ต โดยเหตุผลว่าเพื่อปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา ดูจะเป็นข้ออ้างที่ดีมาก แต่จากที่ผ่านมาแท้จริงแล้วไม่ใช่เช่นนั้น แต่กลับเป็น เงินค่ายอมความมากกว่าการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา และก็เงินค่ายอมความนี้แหละครับ ที่ทำให้คนเราถึงทำได้ทุกสิ่งแม้ว่าเรื่องนั้นจะไม่ถูกกฎหมาย โดยอาศัย ตำรวจ เป็นเครื่องมือ ประกอบกับความไม่รู้กฎหมายของเจ้าของร้าน จากอดีตที่ผ่านมาข้ออ้างที่จะพบเสมอเมื่อมีการจับกุม คือ เป็นความผิดซึ่งหน้าไม่ต้องมีหมายค้น แล้วก็อาศัยตำรวจที่ตกเป็นทาสของพวกมิจฉาชีพ เขาดำเนินการจับกุม จนผมต้องออกมาปกป้องสิทธิอย่างต่อเนื่องว่า ร้านอินเทอร์เน็ตการจะค้นต้องมีหมายค้น เว้นแต่เป็นความผิดซึ่งหน้าจริงๆ คือ ตำรวจเดินเข้ามาในร้านแล้วพบว่ามีการใช้งานละเมิดลิขสิทธิ์อยู่ต่อหน้า กรณีอย่างนี้ถึอว่าเป็นความผิดซึ่งหน้า สามารถจับกุมได้โดยไม่ต้องมีหมายค้น แต่ถ้าเป็นกรณ๊ที่ตำรวจเข้ามาในร้านไม่เห็นงานอันละเมิดลิขสิทธิ์ และไม่มีหมายค้นมาด้วย แต่จะขอเปิดเครื่องเพื่อค้นหางานอันละเมิดลิขสิทธิ์ กรณีอย่างถือว่าไม่ถูกกฎหมาย จะต้องมีหมายค้นจากศาล เท่านั้น ซึ่งแนวทางนี้ผมใช้มาโดยตลอด ปรากฎว่าผู้รับมอบอำนาจได้วิวัฒนาการแนวความคิดใหม่ โดยเปลี่ยนประเด็นจากร้านเน็ตเป็นที่สาธารณะ เป็นว่า ตำรวจที่จับกุมเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ สามารถเข้าค้นได้โดยไม่มีหมายค้น ( มาตรา ๖๗ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ) ซึ่งประเด็นนี้ถ้านักกฎหมายที่ดูเรื่องลิขสิทธิ์อย่างต่อเนื่องและจริงจังก็จะทราบได้เลยว่า ไม่ถูกต้อง เพราะตามนิยาม ของคำว่า พนักงานเจ้าหน้าที่ คือ ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ( พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ) ฉะนั้นตำรวจที่จะเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่และสามารถเข้าค้น ในร้านอินเทอร์เน็ตได้โดยไม่ต้องมีหมายค้น จะต้องได้รับการแต่งตั้งจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ( ตามที่ผมแนบมาให้ดูเป็นตัวอย่าง )ฉะนั้นจึงขอสรุปว่า ถ้าตำรวจผู้นั้นไม่ใช่พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้งจาก รมว.พาณิชย์ การค้นต้องมีหมายค้น และร้านอินเทอร์เน็ตไม่ใช่ที่สาธารณะ ถ้าไม่ใช่ความผิดซึ่งหน้าการค้นต้องมีหมายค้น เสมอ และขอฝากผู้บังคับใช้กฎหมายทุกท่าน หากท่านเป็นข้าราชการ ไม่ใช่เป็นพวกของมิจฉาชีพ ขอให้รักษาความเป็นกลางและศึกษากฎหมายอย่างถ่องแท้ ก่อนที่จะดำเนินการจับกุมประชาชนที่สุจริต ขอบคุณครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2009-11-29 12:21:03


ความคิดเห็นที่ 3 (2011391)

ข้อมูลจาก
http://www.ict.in.th/2653


ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 93 ห้ามมิให้ทำการค้นบุคคลใดในที่สาธารณสถาน เว้นแต่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจเป็นผู้ค้นในเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลนั้นมีสิ่งของในความครอบครองเพื่อจะใช้ในการกระทำความผิด หรือซึ่งได้มาโดยการกระทำความผิดหรือซึ่งมีไว้เป็นความผิด

ร้านเนต หรือร้านค้าทั่วไป เป็นสถานที่ที่เชื้อเชิญให้ประชาชนทั่วไปสามารถเดินเข้าไปดู เล่นเกม หรือเลือกซื้อสินค้าได้ จึงเป็นสาธารณสถาน

เมื่อร้านเนติ หรือร้านค้าทั่วไป เป็นที่สาธารณสถานแล้ว ตำรวจ สามารถค้นโดยไม่มีหมายค้นได้ ถ้า มีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลนั้นมีสิ่งของในความครอบครองเพื่อจะใช้ในการกระทำความผิด หรือซึ่งได้มาโดยการกระทำความผิด หรือซึ่งมีไว้เป็นความผิด (เค้าก็สงสัยว่าคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นมีโปรแกรมละเมิดลิขสิทธิ์อยู่ในเครื่อง ซึ่งถือว่ามีไว้เป็นความผิด) เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงมีอำนาจค้นได้ ตาม ป.วิอาญา มาตรา 93 ด้วยประการฉะนี้

ผู้แสดงความคิดเห็น ** วันที่ตอบ 2009-11-29 12:21:49


ความคิดเห็นที่ 4 (2011392)

คัดลอกมาให้อ่านประกอบ

ข้อมูลจาก

http://ict.in.th/2907


ประกาศด่วน ! โปรดระวังแก๊งค์มิจฉาชีพจับลิขสิทธิ์สวมรอย เป็นเจ้าหน้าที่จับลิขสิทธิ์ Windows หากินทั่วประเทศ

เนื่องจาก โครงการ "ป้องปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ปีที่ 2" โดย กองบังคับการปราบปรามการ กระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก. ปอศ.) กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง สำนักงานตำรวจแห่ง ชาติ ได้ระดมกำลังเข้าตรวจค้นซอฟต์แวร์เถื่อนในองค์กรธุรกิจ ตั้งแต่วันที่ 26 ตุลาคม ที่ผ่านมา

ได้มีแก๊งค์มิจฉาชีพจับลิขสิทธิ์ ได้ทำการสวมรอย เป็นเจ้าหน้าที่เพื่อมาขอตรวจสอบลิขสิทธิ์ Windows ตามร้านค้าต่าง ๆ ร้านไหนตกเป็นเหยื่อ ไม่รู้เท่าทัน จะถูกยกเครื่อง และกรรโชกทรัพย์


วิธีตรวจสอบว่าเป็นเจ้าหน้าที่จริงหรือไม่

1. ต้องมีหมายค้น (หมายค้นนะครับ ไม่ใช่บันทึกประจำวัน)

   ตัวอย่างหมายค้น http://ict.in.th/26

   ตรวจดูความถูกต้องของหมายค้นให้ละเอียด ชื่อร้าน บ้านเลขที่ วันที่ ที่ศาลอนุญาตให้เข้าตรวจ เวลาที่กำหนดไว้ ว่า กี่โมง ถึงกี่โมง

     (1) ในกรณีที่ร้านไม่มีบ้านเลขที่ หรือไม่มีชื่อร้าน ในหมายจะต้องระบุอย่างละเอียดว่า เป็นบ้านไม่มีเลขที่ด้านซ้ายอยู่ติดกับร้านอะไร ด้านขวาอยู่ติดกับอะไร มีอะไรเป็นข้อสังเกตุ หรือชี้ชัดว่าเป็นร้านนี้

      (2) ถ้าพิมพ์ชื่อร้านผิด หรือ บ้านเลขที่ผิด เราปฎิเสธไม่ให้ตรวจค้นได้ทันที

      (3) ถึงมีหมายค้นมาแต่ถ้าเลยเวลาที่ศาลกำหนดไว้ หรือวันที่ไม่ตรง ก็เข้าตรวจค้นไม่ได้


2. มาพร้อมกับตำรวจชั้นสัญญาบัตร ที่มีชื่ออยู่ในหมายค้นด้วย

   2.1  วิธีดูง่าย ๆ ว่าตำรวจชั้นสัญญาบัตรหรือไม่ คือ ต้องมี ดาวบนบ่าอย่างน้อย 1 ดวง

   2.2 ขอดูบัตรตำรวจว่าชื่อตรงกับในหมายศาลไหม หมดอายุหรือยัง ถ้าหมดอายุแล้ว เราปฎิเสธไม่ให้ตรวจค้นได้ทันที


3. อนุญาตให้เฉพาะคนที่มีชื่อในหมายค้น อยู่ในร้าน คนที่ไม่มีชื่อบอกให้รอข้างนอกร้าน โดยให้เหตุผลว่าเราดูแลไม่ทั่วถึง


4. ต้องมีช่างเทคนิค ผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์มาด้วย


5. หากพบการกระทำความผิด ไม่มีการยกเครื่องใด ๆ ทั้งสิ้น แต่จะอายัดไว้ในที่เกิดเหตุ ตามแบบสากล


6. ไม่มีการเรียกร้องเงิน เพื่อให้ยอมความในชั้นตำรวจ


สำหรับแก๊งค์มิจฉาชีพจับลิขสิทธิ์ นั้น จะไม่มีหมายค้นจากศาลมา แต่มักจะเอาใบบันทึกประจำวันมาแอบอ้าง

ขอให้ทุกท่าน หนักแน่นเข้าไว้ " ไม่มีหมายศาล ไม่ให้ค้น "

ถ้าไม่มีหมายค้นมา ให้ไล่มิจฉาชีพเหล่านั้นออกไป ไล่ไม่ไป โทร 1195

กองบังคับการปราบปราม กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ได้ 24 ชม.


อาจารย์ แมว

 

ผู้แสดงความคิดเห็น *** วันที่ตอบ 2009-11-29 12:24:46


ความคิดเห็นที่ 5 (2011393)

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑ (๓) ได้วางหลักไว้ว่า
“ ที่สาธารณสถาน หมายความว่า สถานที่ใดๆที่ประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้ “
นั่นหมายความว่า ที่สาธารณสถานนั้น ใครก็เข้าไปได้ ภายใต้เงื่อนไขของสถานที่นั้น รวมทั้งเจ้าพนักงานด้วย ดังนั้นการที่จะเข้าไปจึงไม่จำเป็นต้องมีหมาย แต่การที่มีความชอบธรรมที่จะเข้าไป ไม่ใช่หมายความว่าจะมีความชอบธรรมที่จะค้นด้วย เพราะคำว่า “เข้าไป” กับคำว่า “ค้น” มันเป็นคนละความหมายกัน
“ ห้ามมิให้ค้นในที่รโหฐาน โดยไม่มีหมายค้นหรือคำสั่งของศาล....”
นั่นหมายความว่า การที่จะค้นที่รโหฐานนั้น ต้องมีหมายค้น ซึ่งการที่จะค้นได้นั้นก็ต้องมีการ “เข้าไป”ในที่รโหฐานนั้น และทำการ”ค้น”
ดังนั้น จึงเห็นว่าการเข้าไปในสาธารณสถานนั้นไม่จำเป็นต้องมีหมาย แต่การค้นที่สาธารณสถานที่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครอง ต้องมีหมายค้นจึงจะสามารถค้นได้ เพราะเป็นเรื่องของการละเมิดสิทธิของผู้อื่นโดยแท้

ความผิดทางลิขสิทธิ์เป็นความผิดซึ่งหน้าหรือไม่

ตอบ

คำถามนี้เคยเกิดขึ้นบ่อยครั้งในช่วงแรกที่มีการจับกุมเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ในราวเดือน มิ.ย.-ก.ค. และแม้ว่าจะเบาบางลงไปแล้ว หากก็ยังปรากฏให้เห็นอยู่เป็นระยะ ผู้บัญชาการสำนักคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ ดีเอสไอ บอกว่า สำหรับความผิดในเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์นั้น จะถือเป็นความผิดซึ่งหน้าไม่ได้ เพราะหากจะดำเนินการจับกุมได้ต้องมีคนมาแจ้ง เนื่องจากเป็นความผิดต่อส่วนตัว และคนมาแจ้งก็ต้องแสดงตัวก่อนว่ามีสิทธิอย่างไร รับช่วงอำนาจมาอย่างไร แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ ตำรวจบางกลุ่มก็หวังกับเศษเนื้อเล็กๆ น้อยๆ ที่เขาโยนให้กิน

 ทนายแหลม

 

ผู้แสดงความคิดเห็น **** วันที่ตอบ 2009-11-29 12:25:51


ความคิดเห็นที่ 6 (2011395)

สถานการค้าประเวณีหรือซ่องโสเภณีเป็นสาธารณสถาน

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  883/2520

 


สถานที่ใดจะเป็นสาธารณสถานหรือไม่ ไม่ต้องคำนึงว่าสถานที่นั้นจะเป็นสถานที่ผิดกฎหมาย เช่นสถานการค้าประเวณีหรือไม่เพียงแต่พิจารณาว่าสถานที่นั้นประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้หรือไม่และต้องพิจารณาข้อเท็จจริงเป็นราย ๆ ไป ถ้าประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้ สถานที่นั้นก็เป็นสาธารณสถานไม่ใช่ที่รโหฐาน

           ได้ความว่าเจ้าของสถานการค้าประเวณีหรือซ่องโสเภณีมิได้หวงห้ามผู้หนึ่งผู้ใดที่จะไปหาความสุขกับหญิงโสเภณี หรือไปธุระอื่นที่จะเข้าไปในห้องโถงซึ่งใช้เป็นที่รับแขกในสถานการค้าประเวณีหรือซ่องโสเภณีนั้นห้องโถงจึงเป็นสถานที่ซึ่งประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้เป็นสาธารณสถานไม่ใช่ที่รโหฐาน พนักงานตำรวจมีอำนาจค้นและจับได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 93,78(3) จำเลยมีและใช้อาวุธปืนยิงต่อสู้ขัดขวางมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 140, 289(2),80,52(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 12/2519)

 

โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2517 เวลากลางคืนหลังเที่ยงจำเลยมีอาวุธปืนและกระสุนปืนโดยมิได้รับอนุญาตไว้ในครอบครอง เจ้าพนักงานตำรวจพบการกระทำผิดจึงเข้าทำการจับกุม จำเลยได้ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน และมีเจตนาฆ่าโดยใช้อาวุธปืนยิงถูกเจ้าพนักงานตำรวจจำเลยกระทำไปตลอดแล้ว แต่กระสุนปืนไม่ถูกอวัยวะสำคัญ เจ้าพนักงานตำรวจจึงไม่ถึงแก่ความตายสมเจตนาของจำเลย เหตุเกิดที่ตำบลคลองขลุงอำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 138, 140, 278, 289(2), 80, 91 ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2514 ข้อ 2, 3 พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 มาตรา 7, 72 พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2510 มาตรา 3 และขอให้ริบของกลาง


          จำเลยให้การรับสารภาพ


          ศาลชั้นต้นฟังว่า จำเลยมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเจ้าพนักงานไม่มีอำนาจจะค้นในเคหสถานได้โดยไม่มีหมายค้น จำเลยมีสิทธิต่อสู้ป้องกันตัวได้แต่เป็นการเกินสมควรแก่เหตุ พิพากษาลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ พ.ศ. 2490 มาตรา 7, 72 พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2510 มาตรา 3 จำคุก 6 เดือน และตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 80, 69 ให้จำคุก 6 ปี รวมจำคุก 6 ปี 6 เดือน จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 3 ปี 3 เดือน ของกลางริบ


          โจทก์อุทธรณ์ว่า สถานการค้าประเวณีหรือซ่องโสเภณีที่เจ้าพนักงานตำรวจเข้าไปจับจำเลยไม่ใช่ที่รโหฐาน เจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจค้นและจับกุมจำเลยได้ ขอให้ลงโทษจำเลยตามฟ้อง


          ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน


          โจทก์ฎีกา


          ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่เห็นว่า สถานที่ใดจะเป็นสาธารณสถานหรือไม่นั้นไม่ต้องคำนึงว่าสถานที่นั้นจะเป็นสถานที่ผิดกฎหมายเช่นสถานการค้าประเวณีหรือซ่องโสเภณีอย่างคดีนี้หรือไม่ เพียงแต่พิจารณาว่าสถานที่นั้นประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้หรือไม่ และต้องพิจารณาข้อเท็จจริงเป็นราย ๆ ไป สำหรับซ่องโสเภณีในคดีนี้เป็นห้องแถวยาวมีทางเดินผ่านกลาง สองข้างทางเดินกั้นเป็นห้อง ๆ สำหรับคนมาเที่ยวเข้าไปหลับนอนกับหญิงโสเภณี ตอนหัวห้องแถวด้านหน้าเป็นห้องโถง ในห้องโถงมีโต๊ะ มีตะเกียงจุดอยู่ 1 ดวง มีม้ายาวตั้งสำหรับให้ผู้มาเที่ยวนั่งพักผ่อน ขณะเกิดเหตุเป็นเวลาประมาณ 21 นาฬิกา เป็นเวลาที่หญิงโสเภณีรอรับแขกที่มาเที่ยว ประตูห้องโถงเปิด เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจตามจำเลยไปที่ซ่องโสเภณีดังกล่าว พบจำเลยยืนอยู่ที่ประตูทางเข้าห้องโถง พอจำเลยเห็นเจ้าพนักงานก็หลบเข้าไปนั่งที่ม้ายาวในห้องโถง เจ้าพนักงานตำรวจตามจำเลยเข้าไป ไม่ปรากฏว่ามีผู้หนึ่งผู้ใดออกมาห้ามจำเลยและเจ้าพนักงานตำรวจไม่ให้เข้าไป เห็นได้ว่าเจ้าของสถานการค้าประเวณีหรือซ่องโสเภณีแห่งนี้มิได้หวงห้ามผู้หนึ่งผู้ใดที่จะไปหาความสุขกับหญิงโสเภณี หรือไปธุระอื่นที่จะเข้าไปในห้องโถงนั้น ห้องโถงซึ่งใช้เป็นที่รับแขกในขณะนั้นจึงเป็นสถานที่ซึ่งประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้ และเป็นสาธารณสถานไม่ใช่ที่รโหฐาน เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเจ้าพนักงานตำรวจจะทำการตัวจำเลยในห้องโถงของซ่องโสเภณีโดยมีผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านแจ้งว่าสงสัยจำเลยเป็นคนร้าย เจ้าพนักงานตำรวจจึงมีอำนาจค้นและจับจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 93 และ 78(3) และจำเลยย่อมมีความผิดฐานมีและใช้อาวุธปืนต่อสู้และขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่ และพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่


          ส่วนข้อหาตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ นั้น ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาได้มีพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2518 มาตรา 3, 4 ยกเว้นโทษจำเลยจึงไม่ต้องรับโทษ


          พิพากษาแก้ เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 140, 289(2), 80 ประกอบด้วยมาตรา 52 แต่การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จึงให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(2), 80 ประกอบด้วย มาตรา 52 ซึ่งเป็นบทหนัก ให้ลงโทษจำคุกตลอดชีวิต จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามมาตรา 78 ประกอบมาตรา 53 คงให้จำคุก 25 ปี ให้ยกฟ้องโจทก์ในข้อหาตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ นอกจากที่แก้ ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์

 

 

( ชลูตม์ สวัสดิทัต - ประภาศน์ อวยชัย - ยิ่งศักดิ์ กฤษณจินดา )


 

ผู้แสดงความคิดเห็น ***** วันที่ตอบ 2009-11-29 12:42:01


ความคิดเห็นที่ 7 (2011621)

**สารธาณะ เป็นที่ประชนเข้าไปได้โดยชอบธรรม แต่ร้านอินเตอร์เน็ต ถ้าเจ้าของร้านไม่อนุญาตให้เข้าผู้นั้นจะเข้าได้หรือเปล่า และหากเข้าไปแล้วไปรบกวนการครอบครองของเขาโดยปกติสุข  หรือเข้าไปแล้วผู้มีสิทธิจะห้ามไล่ให้ออก จะผิดตาม ป.อาญา มาตรา 362,364 หรือเปล่า

**ป.วิ.อาญามาตรา 93 ถ้าพิจารณาให้ดีจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญมาตรา 33 วรรคสาม ประกอบมาตรา 6 หรือเปล่าครับ และในทางปฏิบัติหากผมเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ถ้าไม่มีอคติใดๆ หรือไม่มีผลประโยชน์แอบแฝง หรือเพราะไม่รู้ ผมคงต้องคำนึงถึงเหตุผลตามนี้ด้วยแน่ๆ

ผู้แสดงความคิดเห็น รอยเปลื้อน วันที่ตอบ 2009-11-30 09:45:15


ความคิดเห็นที่ 8 (2011854)

สรุปค้นได้หรือไม่ได้ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ฟฟ วันที่ตอบ 2009-11-30 18:05:27


ความคิดเห็นที่ 9 (2011903)

ตอบความเห็นที่ 8

 

คุณน่าจะได้อ่านคำถามของผู้ถามแล้วนะครับ เขาถามว่า

"คือว่าผมเปิดร้านขายโทรศัพย์มือถืออยู่ที่บ้านถ้ามีตำรวจกับพนักงานลิขสิทธิ์เข้ามาขอค้นร้านโดยสงสัยว่าจะมีสินค้าละเมิลลิขสิทธฺ์ด้วยไม่มีหมายศาล ตำรวจกับพนักงานลอขสิทธิ์จะมีอำนาจค้นได้หรือเปล่าครับ"
 

ผมได้แสดงความเห็นในความเห็นที่ 1

"ร้านขายสินค้า (มือถือ) ไม่ถือว่าเป็นที่รโหฐาน จึงเป็นที่สาธารณะที่ตำรวจเข้าไปในร้านได้ และพบความผิดซึ่งหน้าสามารถจับได้ แต่จะค้นในร้านโดยไม่มีหมายค้นไม่ได้ครับ"

 

ดังนั้นคำตอบชัดเจนอยู่ในตัวอยู่แล้ว ส่วนความเห็นอื่นจะเห็นแตกต่างอย่างไรก็เป็นเรื่องของผู้นั้นครับ ไม่อาจก้าวล่วงได้

ศาลยุติธรรมมีศาลชั้นต้น ศาลชั้นอุทธรณ์ และศาลฎีกา ยังมีความเห็นแตกต่างกันได้ครับ ไม่แปลกอะไร โดยเฉพาะร้านค้าที่เป็นร้านอินเตอร์เน็ต ยังไม่มีคำพิพากษาฎีกาเป็นตัวอย่าง แต่ความเข้าใจของผมน่าจะเทียบเคียงกับคำพิพากษาศาลฎีกาที่คัดลอกมาให้อ่านในความเห็นที่ 6 เรื่องสถานการค้าประเวณีดังกล่าวข้างต้น

แม้จะเป็นสาธารณสถานหากจะค้นได้ก็ต้องมีหมายค้น เว้นแต่เข้าเหตุตามกฎหมายที่รับรองให้ค้นได้

แต่ตามคำถามนั้นไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีเหตุที่จะค้นโดยไม่มีหมายค้น แม้ร้านขายโทรศัพท์มือถือที่อนุญาตให้บุคคลเข้าไปดูสินค้าภายในได้โดยไม่มีการหวงห้ามแต่ก็มีอาณาบริเวณจำกัดซึ่งไม่ได้หมายความว่ามีความชอบธรรมที่จะเดินไปได้ทั้งร้าน พื้นที่ใดที่เจ้าของร้านจัดพื้นที่ไว้ใช้สอยส่วนตัวก็ไม่มีสิทธิที่เข้าไปและไม่ใช่สาธารณสถาน ความผิดเกี่ยวกับลิขสิทธิตามคำถามไม่ใช่ความผิดซึ่งหน้าที่จะจับจะค้นโดยไม่มีหมายค้น เมื่อไม่มีหมายค้นจึงค้นไม่ได้ครับ

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-11-30 21:13:25



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล