ReadyPlanet.com


ช่วยด้วยค่ะ


ข้าพเจ้านําสค1ไปออกโฉนด (เนื้อที่ในสค1)

     ในสค1 ทิศเหนือจด ที่ดินว่างเปล่า

     ทิศใต้จด ที่ดินว่างเปล่า

     ทฺศตะวันออกจดนาย ไข่ ก

      ทิศตะวันตกจด ที่ดินว่างเปล่า

ปัจุบันตาม (ข้อเท็จจริง) ช่างรังวัดได้รังวัดโดยเจ้าของที่ดินเเละเจ้าของที่ดินข้างเคียงบันทึกใน      ทด16 บันทึกข้างเคียงเปลี่ยนเเปลง

     ทิศเหนือจด นส3ก เ

     ทิศใต้จด ที่มีการครอบครอง นายก ไม่มีเอกสารสิทธิ์

     ทิศตะวันออกจด โฉนดเลขที่46888

     ทิศตะวันตกจด  ที่มีการครอบครอง นาย คไม่มีเอกสารสิทธิ์

 มีการรับรองเเนวเขตทุกด้านเนื้อที่ในสค1มีเนื้อที่  7 ไร่   ช่างรังวัดใหม่ได้ 12ไร่ 1งาน22ตารางวา ตามที่ได้ครอบครองเเละทําประโยชน์อยู่จริง

สํานักงานที่ดินได้ออกประกาศครบ30วันไม่มีผู้ใดโต้เเย้งคัดค้านสิทธิในที่ดินเเต่อย่างใด

เเละ คณะกรรมการตามกฏกระทรวง43(พศ2537) ได้ออกพิสูจน์เเล้ว สภาพที่ดินเป็นควนเขา ท๋าสวนผสม ปลูกทุเรียน สะตอ เดิมที่ดินเป็นสวนยางพารา ที่ดินอยู่นอกเขตป่าถาวร อยู่คาบเกี่ยวป่าสงวนเเห่งชาติ ป่าเขานาคเกิด ตณะกรรมการมีความเห็นว่าควรออกโฉนดให้ผู้ขอได้ทั้งเเปลง

ต่อมามีหนังสือจากที่ดินจังหวัด

มีความเห็นว่า ระเบียบคณะกรรมการจัดที่ดินเเห่งชาติฉบับที่ 12 ข้อ 10 กําหนดให้ที่ดินด้านหนึ่งด้านใดจดที่ป่าหรือที่รกร้างว่าเปล่าเเละระยะที่วัดได้เกินกว่าระยะที่ปรากฎในหลักฐานเเจ้งการตรอบครองให้ถือระยะที่ปรากฎในหลักฐานการเเจ้งการครอบครองเป็นหลักในการออกโฉนด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกโฉนดที่ดินรายนี้ผู้ขอได้นําการรังวัดเกินระยะในสคมากเเละเดิมสคเเจ้งจดที่รกร้างว่างเปล่าถึงด้านตือด้านทิศเหนือ ทิศใต้ เเละทฺศตะวันตก จึงเป็นเหตุให้เนื้อที่เกินหลักฐานสค1เดิมมากด้วยเเละผู้ขอไม่ยินยอมให้เจ้าหน้าที่รังวัดกันระยะตามสค1 ฉะนั้น เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการจัดที่ดินเเห่งชาติฉบับที่พศจึงเห็นควรกันระยะตามสค1 เเละเเจ้งให้ผู้ขอทราบ เพื่อให้โอกาศอุธรณ์คําสั่งต่อไป จึงเกิดคําถามว่าเเนวทางปฏิบัติว่าการออกโฉนดว่าจะ

ขอถามความรู้ทางกฎหมายด้วยครับ

ยึดเนื้อที่ตามสค1 หรือ ข้อเท็จจริง เพื่อเป็นเเนวทางในการปฏิบัติ ถ้ายึดตามสค1 ข้าพเจ้าได้เนื้อที่7ไร่ ถ้ายึดตามข้อเท็จจริงข้าพเจ้าได้12ไร่1งาน22ตารางวา



ผู้ตั้งกระทู้ ปราณี :: วันที่ลงประกาศ 2009-12-23 06:11:55


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2018749)

1. หากทุกด้านมีเขตติดต่อกับที่ดินแปลงอื่นและเจ้าของที่ดินทุกด้านรับรองแนวเขตให้ก็สามารถออกโฉนดได้ตามความเป็นจริง

2. แต่ตามหนังสือของที่ดินจังหวัดได้แจ้งว่าจะออกให้ตาม ส.ค. 1 นั้น ก็เป็นไปตามระเบียบ ซึ่งตามเหตุผลแล้วก็ถูกต้องครับ

ดังนั้นหากเราไม่เห็นด้วยกับที่ดินจังหวัดก็ต้องอุทธรณ์คำสั่งต่อไปครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-12-23 16:43:13


ความคิดเห็นที่ 2 (2018786)

 ฟ้องศาลอาญาหรือมีทางอึ่นช่วยเเนะนําด้วยค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ปรานี วันที่ตอบ 2009-12-23 19:50:20


ความคิดเห็นที่ 3 (2018789)

 ขอรบกวนค่ะ มีขอ้กฎหมายมาฟ้องค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ปรานี วันที่ตอบ 2009-12-23 20:07:08


ความคิดเห็นที่ 4 (2018863)

ต้องอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดผู้ทำคำสั่งต่อผู้ว่าราชการจังหวัดครับ

ลองอ่านคำวินิจฉัยดูครับเป็นเรื่องคล้าย ๆ กัน

เลขเสร็จ
๖๗๒/๒๕๔๔
เรื่อง
บันทึกคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
เรื่อง กรมที่ดินขอหารือว่าการจำหน่าย ส.ค.๑ เป็นคำสั่งทางปกครองหรือไม่
เนื้อหา
กรมที่ดินได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ มท ๐๗๒๘/๒๖๒๔๒ ลงวันที่ ๑๖
ตุลาคม ๒๕๔๔ ถึงสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ขอหารือปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับ
วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง สรุปความได้ว่า
๑. นายสุข นาคำรอด ได้นำหลักฐาน ส.ค.๑ เลขที่ ๕๐ หมู่ที่ ๗ ตำบลเมืองเดช
อำเภอเดชอุดม จำนวนเนื้อที่ ๕๖-๐-๐๐ ไร่ มาขอออกโฉนดที่ดิน ณ สำนักงานที่ดินจังหวัด
อุบลราชธานี สาขาเดชอุดม โดยอ้างว่าได้ครอบครองและทำประโยชน์ต่อเนื่องจากนายฟอง
พรมวงษ์ ซึ่งเป็นผู้แจ้งการครอบครองที่ดินเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๘ พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำการรังวัด
แล้วปรากฏว่าที่ดินมีอาณาเขต ระยะของแนวเขตแตกต่างไปจากเดิมได้เนื้อที่ ๔๙-๑-๖๑ ไร่
น้อยกว่าเนื้อที่เดิม ๖-๒-๒๙ ไร่ ข้างเคียงรับรองแนวเขตครบ
๒. สำนักงานที่ดินจังหวัดอุบลราชธานี และสำนักงานที่ดินจังหวัดอุบลราชธานี
สาขาเดชอุดม พิจารณาแล้วเห็นว่า ส.ค.๑ เลขที่ ๕๐ หมู่ที่ ๗ ตำบลเมืองเดช ที่ผู้ขอนำมาเป็น
หลักฐานในการออกโฉนดที่ดิน น่าจะเป็นการแจ้งการครอบครองที่ดินไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เนื่องจากได้นำที่สาธารณประโยชน์ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนการครอบครองไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๒ มาแจ้ง
การครอบครองที่ดิน ย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิขึ้นใหม่แก่ผู้แจ้งแต่ประการใดตามมาตรา ๕ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ เห็นควรจำหน่าย ส.ค.๑ ออกจาก
ทะเบียนการครอบครองที่ดินต่อไป แต่เนื่องจากผู้ขอได้นำพยานบุคคลซึ่งเป็นผู้สูงอายุ โดยอ้างว่า
รู้เห็นในการทำประโยชน์ในที่ดินแปลงดังกล่าวมาให้ถ้อยคำยืนยันว่าผู้แจ้งการครอบครองที่ดิน
ได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๕ ก่อนที่ทางราชการได้ประกาศ
ขึ้นทะเบียนที่สาธารณประโยชน์ ประกอบกับสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจังหวัด
อุบลราชธานีก็ไม่คัดค้านการออกโฉนดที่ดิน และอำเภอเดชอุดมแจ้งว่าที่ดินไม่ทับที่สาธารณ
ประโยชน์ ดังนั้น เพื่อความถูกต้องและเป็นธรรมแก่นายสุขฯ จึงเห็นควรนำเรื่องดังกล่าวเสนอต่อ
คณะกรรมการประสานการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐส่วนจังหวัด (กบร.จังหวัด) พิจารณา
๓. คณะกรรมการประสานการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินส่วนจังหวัด
อุบลราชธานีพิจารณาแล้วมีมติว่า ส.ค.๑ เลขที่ ๕๐ หมู่ที่ ๗ ตำบลเมืองเดช เป็นที่ทำเลเลี้ยงสัตว์
บ้านเมืองเก่า ซึ่งทางราชการได้สงวนหวงห้ามโดยขึ้นทะเบียนที่สาธารณประโยชน์ไว้เมื่อ
พ.ศ. ๒๔๗๒ ก่อนวันแจ้งการครอบครองที่ดิน จึงให้เพิกถอน ส.ค.๑ แปลงดังกล่าว
๔. ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีได้อาศัยอำนาจตามคำสั่งกรมที่ดิน
ที่ ๒๓/๒๕๑๓ ลงวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๑๓ มีคำสั่งให้จำหน่าย ส.ค.๑ เลขที่ ๕๐ หมู่ที่ ๗
ตำบลเมืองเดช อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งมีชื่อนายฟอง พรมวงษ์ ออกจากทะเบียน
การครอบครองที่ดินตามมติที่ประชุมของคณะกรรมการประสานการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดิน
ของรัฐส่วนจังหวัดอุบลราชธานี พร้อมทั้งแจ้งให้นายสุขฯ ทราบและให้ยื่นอุทธรณ์ภายใน ๑๕ วัน
นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
๕. นายสุขฯได้ยื่นหนังสือลงวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๔๔ อุทธรณ์คำสั่งทาง
ปกครองของผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี โดยให้เหตุผลสรุปได้ว่า คำสั่งของผู้ว่าราชการ
จังหวัดที่ให้จำหน่าย ส.ค.๑ เลขที่ ๕๐ หมู่ที่ ๗ ตำบลเมืองเดช อำเภอเดชอุดม จังหวัด
อุบลราชธานี ตามมติของคณะกรรมการประสานการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐส่วนจังหวัด
อุบลราชธานีนั้น ขัดกับข้อเท็จจริงที่อดีตผู้ปกครองท้องที่ (นายนิยม ถิ่นขาน และนายสิงห์
บุญธรรม) ได้ให้ถ้อยคำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่า ที่ดินแปลงดังกล่าวนายฟองฯ ได้ครอบครอง
และทำประโยชน์มาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๕ ต่อเนื่องมาจนถึง พ.ศ. ๒๔๙๘ จึงได้นำที่ดินแปลง
ดังกล่าวมาแจ้งการครอบครองและขายให้ตนซึ่งครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่อง
จนถึงปัจจุบัน ตนจึงได้สิทธิครอบครองมาก่อน พ.ศ. ๒๔๗๒ ก่อนที่ทางราชการประกาศสงวน
หวงห้ามขึ้นทะเบียนที่สาธารณประโยชน์ทำเลเลี้ยงสัตว์บ้านเมืองเก่า
๖. จังหวัดอุบลราชธานีได้พิจารณาคำอุทธรณ์แล้ว เห็นว่า นายสุขฯผู้อุทธรณ์
ไม่สามารถนำพยานหลักฐานที่เป็นพยานเอกสารมาพิสูจน์หักล้างเอกสารของทางราชการ การอ้าง
พยานบุคคลไม่เพียงพอที่จะรับฟังได้ ต้องจำหน่าย ส.ค.๑ ออกจากทะเบียนการครอบครองที่ดิน
จึงไม่เห็นด้วยกับคำอุทธรณ์ดังกล่าว และได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ อบ ๐๐๒๒/๑๐๗๖๙
ลงวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๔๔ รายงานความเห็นพร้อมเหตุผลเพื่อให้ผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์
พิจารณาตามนัยมาตรา ๔๕ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
พ.ศ. ๒๕๓๙
๗. กรมที่ดินได้พิจารณาแล้วเห็นว่า การที่นายสุขฯอุทธรณ์ว่า คำสั่งจำหน่าย
ส.ค.๑ เลขที่ ๕๐ หมู่ที่ ๗ ตำบลเมืองเดช อำเภอเดชอุดม ของผู้ว่าราชการจังหวัดตามมติของ
คณะกรรมการประสานการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐส่วนจังหวัดอุบลราชธานี ขัดกับ
ข้อเท็จจริงที่นายนิยม ถิ่นขาม ผู้ปกครองท้องที่ และนายสิงห์ บุญธรรม ผู้สูงอายุ ให้ถ้อยคำว่า
ที่ดินแปลงดังกล่าว นายฟอง พรมวงษ์ ได้ครอบครองและทำประโยชน์มาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๕
เป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ปราศจากหลักฐานมาประกอบพิสูจน์หักล้างหลักฐานของทางราชการ
และก่อนที่ผู้ว่าราชการจังหวัดจะมีคำสั่งจำหน่าย ส.ค.๑ ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติแล้วว่า
ที่ดินแปลงดังกล่าวทับที่สาธารณประโยชน์ทำเลเลี้ยงสัตว์บ้านเมืองเก่า ดังนั้น คำสั่งจำหน่าย
ส.ค.๑ ของผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีเป็นคำสั่งทางปกครองโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
แต่โดยที่คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งทางปกครองที่อาจอุทธรณ์ต่อไปได้ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติ
ราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งในกรณีนี้ผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ คือ รัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงมหาดไทย ตามข้อ ๒ (๑๑) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๐) ออกตาม
ความในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ จึงเสนอปลัดกระทรวง
มหาดไทยเพื่อพิจารณาเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเพื่อสั่งการต่อไป
๘. กองนิติการ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย พิจารณาแล้วเห็นว่า การที่
เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดอุบลราชธานี สาขาเดชอุดม ใช้อำนาจตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติ
ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ ประกอบกับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยกเลิก
อำนาจหน้าที่ของนายอำเภอเกี่ยวกับการปฏิบัติการตามประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ ๑๑)
ลงวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๖ คำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ ๔๔๖/๒๕๒๒ ลงวันที่ ๖ มิถุนายน
๒๕๒๒ และคำสั่งกรมที่ดิน ที่ ๒๓/๒๕๑๓ ลงวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๑๓ สั่งจำหน่าย ส.ค.๑
เลขที่ ๕๐ หมู่ที่ ๗ ตำบลเมืองเดช อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี ของนายสุขฯ ออกจาก
ทะเบียนการครอบครองที่ดิน เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ (เจ้าพนักงานที่ดิน
จังหวัดอุบลราชธานี สาขาเดชอุดม) ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะ
ก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล
คำสั่งดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งทางปกครองตามนัยมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการ
ทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ส่วนกรณีที่สำนักงานที่ดินจังหวัดฯเสนอให้ผู้ว่าราชการจังหวัด
อุบลราชธานีให้ความเห็นชอบกับการจำหน่าย ส.ค.๑ ออกจากทะเบียนการครอบครอง นั้น
เป็นเพียงเงื่อนไขหรือกระบวนการพิจารณาภายในของฝ่ายปกครองเท่านั้น ผู้ทำคำสั่งทางปกครอง
ในกรณีนี้จึงเป็นเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดอุบลราชธานี สาขาเดชอุดม และผู้ว่าราชการจังหวัด
อุบลราชธานีเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ ตามข้อ ๒ (๘) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔
(พ.ศ. ๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙
เมื่อข้อเท็จจริงกรณีนี้ปรากฏว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีได้พิจารณาอุทธรณ์ของนายสุขฯ
แล้ว กระบวนการพิจารณาอุทธรณ์ของผู้อุทธรณ์รายนี้จึงเป็นอันยุติในชั้นการพิจารณาของ
ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ไม่ต้องเสนอเรื่องให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยพิจารณา
แต่อย่างใด เห็นควรส่งเรื่องนี้คืนให้กรมที่ดินพิจารณาดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป
๙. รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ปฏิบัติหน้าที่ผู้ช่วยปลัดกระทรวงมหาดไทย
(นายเอนก เกษมสุข) ได้พิจารณาความเห็นของกองนิติการฯแล้ว เห็นว่า การที่ผู้ว่าราชการ
จังหวัดอุบลราชธานีอนุมัติให้จำหน่าย ส.ค.๑ ออกจากทะเบียนการครอบครองที่ดิน เป็นการ
ดำเนินการเพื่อให้บังเกิดผลตามมาตรา ๕ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมาย
ที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ และเมื่อคำสั่งกรมที่ดิน ที่ ๒๓/๒๕๑๓ ลงวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๑๓ ข้อ ๒
ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้อนุมัติ ดังนั้น จึงน่าจะถือได้ว่าผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีเป็น
ผู้ทำคำสั่งทางปกครอง ส่วนเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดอุบลราชธานี สาขาเดชอุดม เป็นเพียง
ผู้ดำเนินการทางธุรการให้ปรากฏการจำหน่าย ส.ค.๑ ตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดอนุมัติ ในทะเบียน
การครอบครองที่ดินเท่านั้น เพราะหากผู้ว่าราชการจังหวัดไม่อนุมัติเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด
อุบลราชธานี สาขาเดชอุดม ก็ไม่มีหน้าที่จำหน่าย การดำเนินการของเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด
อุบลราชธานี สาขาเดชอุดม จึงเป็นขั้นตอนหนึ่งในกระบวนการของการมีคำสั่งทางปกครอง
ดังนั้น เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีเป็นผู้ทำคำสั่งทางปกครอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
มหาดไทยจึงเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ ตามข้อ ๒ (๑๑) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔
(พ.ศ. ๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙
และเสนอให้กองนิติการ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ทบทวนอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งต่อมา
รองปลัดกระทรวง ปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงมหาดไทย (นายวรวิทย์ เลิศลักษณา) ได้มี
คำสั่งให้ดำเนินการตามความเห็นดังกล่าว
๑๐. กองนิติการ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย พิจารณาทบทวนแล้ว
ยังคงมีความเห็นเช่นเดิมและเห็นว่า เนื่องจากผลการวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวอาจเป็นบรรทัดฐาน
ที่มีผลในการปฏิบัติราชการต่อไปในภายหน้า ดังนั้น เพื่อให้การพิจารณาเรื่องนี้ได้เป็นไปด้วย
ความละเอียดรอบคอบ จึงเห็นควรให้กรมที่ดินเสนอเรื่องนี้ให้คณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการ
ทางปกครองพิจารณาว่า การดำเนินการจำหน่าย ส.ค.๑ ในกรณีดังกล่าวเป็นคำสั่งทางปกครอง
หรือไม่ และหากการดำเนินการจำหน่าย ส.ค.๑ ในกรณีดังกล่าวเป็นคำสั่งทางปกครอง ผู้ทำคำสั่ง
ทางปกครองในกรณีดังกล่าวได้แก่ผู้ใด กรมที่ดินจึงขอหารือประเด็นดังกล่าวมายังสำนักงาน
คณะกรรมการกฤษฎีกา
คณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองได้รับฟังคำชี้แจงของผู้แทน
กระทรวงมหาดไทย (สำนักงานปลัดกระทรวงและกรมที่ดิน) แล้วเห็นว่า มีประเด็นที่ต้องพิจารณา
๒ ประเด็น โดยมีความเห็นในแต่ละประเด็นดังนี้
ประเด็นที่หนึ่ง การจำหน่าย ส.ค.๑ ออกจากทะเบียนการครอบครองที่ดินเป็น
คำสั่งทางปกครองหรือไม่นั้น เห็นว่า การจำหน่าย ส.ค.๑ ออกจากทะเบียนการครอบครองที่ดิน
เป็นการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดและเจ้าพนักงานที่ดิน ตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทย
ที่ ๑๒๔๔/๒๔๙๗ เรื่อง ระเบียบการแจ้งและรับแจ้งที่ดินที่มีผู้ครอบครองอยู่ก่อนวันที่ประมวล
กฎหมายที่ดินใช้บังคับ ประกอบกับคำสั่งกรมที่ดิน ที่ ๒๓/๒๕๑๓ เรื่อง จำหน่าย ส.ค.๑
ออกจากทะเบียนการครอบครองที่ดิน ซึ่งมีผลเป็นการทำให้ผู้แจ้งการครอบครองที่ดินที่ถูก
จำหน่ายการครอบครองดังกล่าวไม่สามารถนำ ส.ค.๑ ซึ่งเป็นหลักฐานการแจ้งการครอบครอง
ที่ดินไปขอออกโฉนดที่ดินได้ตามมาตรา ๕๘ ทวิ*[๑] แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ดังนั้น จึงเป็น
การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลกระทบต่อสิทธิของบุคคล อันเป็น "คำสั่ง
ทางปกครอง" ตามบทนิยามในมาตรา ๕*[๒] แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
พ.ศ. ๒๕๓๙
ประเด็นที่สอง การจำหน่าย ส.ค.๑ ออกจากทะเบียนการครอบครองที่ดิน
เป็นการออกคำสั่งทางปกครองของผู้ใดและใครเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว
วิธีการจำหน่าย ส.ค.๑ ออกจากทะเบียนการครอบครองที่ดินกำหนดไว้
โดยข้อ ๙*[๓] ของคำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ ๑๒๔๔/๒๔๙๗ เรื่อง ระเบียบการแจ้งและ
รับแจ้งที่ดินที่มีผู้ครอบครองอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ ที่ให้นายอำเภอสอบสวน
เสนอผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาสั่งการในกรณีที่ปรากฏว่าการแจ้งการครอบครองที่ดินมีการ
ผิดพลาดคลาดเคลื่อน และตามคำสั่งกรมที่ดิน ที่ ๒๓/๒๕๑๓ ซึ่งกำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่
สอบสวนแล้วขออนุมัติผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งจำหน่าย โดยให้ขีดเส้นขนานคู่ที่ด้านหน้าส.ค.๑ ทั้ง
สองตอนและที่เอกสารอื่นของที่ดินแปลงนั้นในสารบบ และหมายเหตุว่า "ผู้ว่าราชการจังหวัดได้
อนุมัติให้จำหน่ายแล้ว..." แล้วให้พนักงานเจ้าหน้าที่ลงนาม และวัน เดือน ปี กำกับไว้
คณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองเห็นว่า ข้อกำหนดดังกล่าวให้
อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดในการออกคำสั่งจำหน่าย ส.ค.๑ ออกจากทะเบียนการครอบครองที่ดิน
ส่วนการดำเนินการของเจ้าพนักงานที่ดินเป็นเพียงวิธีการดำเนินการจำหน่าย ส.ค.๑ ให้เป็นไป
ตามคำสั่งหรือการอนุมัติของผู้ว่าราชการจังหวัดเท่านั้น ดังนั้น การจำหน่าย ส.ค.๑ ออกจาก
ทะเบียนการครอบครองที่ดินจึงเป็นคำสั่งทางปกครองของผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งในกรณีนี้ตาม
ข้อ ๒ (๑๑)*[๔] ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติ
วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
เป็นผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์
(ลงชื่อ) ชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์
(ศาสตราจารย์พิเศษ ชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์)
เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
พฤศจิกายน ๒๕๔๔

*[๑] มาตรา ๕๘ ทวิ เมื่อได้สำรวจรังวัดทำแผนที่หรือพิสูจน์สอบสวนการทำประโยชน์ใน
ที่ดินตามมาตรา ๕๘ แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์
แล้วแต่กรณีให้แก่บุคคลตามที่ระบุไว้ในวรรคสอง เมื่อปรากฏว่าที่ดินที่บุคคลนั้นครอบครองเป็น
ที่ดินที่อาจออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้ตามประมวลกฎหมายนี้
บุคคลซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่อาจออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำ
ประโยชน์ตามวรรคหนึ่งให้ได้ คือ
(๑) ผู้ซึ่งมีหลักฐานการแจ้งการครอบครองที่ดิน มีใบจอง ใบเหยียบย่ำ หนังสือ
รับรองการทำประโยชน์ โฉนดตราจอง ตราจองที่ตราว่า "ได้ทำประโยชน์แล้ว" หรือเป็นผู้มีสิทธิตาม
กฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ
(๒) ผู้ซึ่งได้ปฏิบัติตามมาตรา ๒๗ ตรี
(๓) ผู้ซึ่งครอบครองที่ดินและทำประโยชน์ในที่ดินภายหลังวันที่ประมวล
กฎหมายนี้ใช้บังคับ และไม่มีใบจอง ใบเหยียบย่ำ หรือไม่มีหลักฐานว่าเป็นผู้มีสิทธิตามกฎหมาย
ว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ
เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ผู้ซึ่งมีหลักฐานการแจ้งการครอบครองที่ดินตาม
วรรคสอง (๑) ให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องมาจาก
บุคคลดังกล่าวด้วย
สำหรับบุคคลตามวรรคสอง (๒) และ (๓) ให้ออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรอง
การทำประโยชน์แล้วแต่กรณีได้ไม่เกินห้าสิบไร่ ถ้าเกินห้าสิบไร่จะต้องได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการ
จังหวัดเป็นการเฉพาะราย ทั้งนี้ ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
ภายในสิบปีนับแต่วันที่ได้รับโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตาม
วรรคหนึ่ง ห้ามมิให้บุคคลตามวรรคสอง (๓) ผู้ได้มาซึ่งสิทธิในที่ดินดังกล่าวโอนที่ดินนั้นให้แก่ผู้อื่น
เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดก หรือโอนให้แก่ทบวงการเมือง องค์การของรัฐบาลตามกฎหมาย
ว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ หรือโอนให้แก่
สหกรณ์เพื่อชำระหนี้โดยได้รับอนุมัติจากนายทะเบียนสหกรณ์
ภายในกำหนดระยะเวลาห้ามโอนตามวรรคห้า ที่ดินนั้นไม่อยู่ในข่ายแห่งการ
บังคับคดี
*[๒] มาตรา ๕ ในพระราชบัญญัตินี้
ฯลฯ ฯลฯ
"คำสั่งทางปกครอง" หมายความว่า
(๑) การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้น
ระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิ
หรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ
การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ
(๒) การอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง
ฯลฯ ฯลฯ
*[๓] ข้อ ๙ ในกรณีที่ปรากฏหลักฐานว่าหลักฐานการแจ้งการครอบครองที่ดิน
ดังกล่าวนั้น มีการผิดพลาดคลาดเคลื่อน ให้นายอำเภอสอบสวนเสนอผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณา
สั่งการเช่นกัน แล้วให้แก้ไขทะเบียนการครอบครองที่ดินตามกรณี
*[๔] ข้อ ๒ การพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองในกรณีที่เจ้าหน้าที่ผู้ทำ
คำสั่งไม่เห็นด้วยกับคำอุทธรณ์ให้เป็นอำนาจของเจ้าหน้าที่ ดังต่อไปนี้
ฯลฯ ฯลฯ
(๑๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในกรณีที่ผู้ทำคำสั่งทางปกครองเป็น
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัด
หรือในฐานะราชการในส่วนภูมิภาค

ผู้แสดงความคิดเห็น admin วันที่ตอบ 2009-12-24 00:36:38


ความคิดเห็นที่ 5 (2018872)

หลักในการปฏิบัติมีเเนวทางปฎิบัติที่คุณลีนนท์ชี้ให้เห็นว่าอํานาจที่สุดคือผู้ว่า คําสั่งทางปกครองถ้านอกกรอบก็มีกฏหมายรองรับทั้งวินัย อาญาเเต่ก็ขึ้นกับข้อเท็จจริง ถ้ากรณีที่คุณปราณีเล่ามานั้นเเนวทางปฎิบัติของกรมที่ดินมีเเนวทาง กรณีข้างเคียงเปลี่ยนเเปลง เพราะในสค1จะเขียนไว้เป็นการประมาณการ ต้องมาดูข้อเท็จจริง เเละ  ข้อมูลข้างต้น สมบูรณ์เเล้ว ทั้งการรับรองเเนวเขตรอบด้าน คณะกรรมการตามกฎ43ซึ้งเป็นคณะกรรมการร่วม    ประกาศครบ30วันไม่มีผู้โต้เเย้ง  ที่ดินมีหน้าที่สรุปความเห็นของคณะกรรมการตามกฎ43เสนอผู้ว่า

งานเเผ่นดินมีขั้นตอนที่มีเเนวทางปฏิบัติมีหลายคดีที่เจ้าหน้าที่อาจเจอมาตรา157  อดบํานาญก็เห็นมา

ฟ้องศาลปกครองหรือ ศาลอาญา ไม่ต้องดูอะไรไห้วุ่นวาย มีเอกสารสารเป็นหลักฐานโต้ตอบ ความผิดสําเร็จเเล้ว ลองไปยื่นให้ชมรมผู้สือข่าวที่รัฐสภา คงเห็นกระจ่างขึ้น จะได้เปิดเผยข้อมูลเพื่อเป็นเเนวทางให้ประชาชนทั้งประเทศไดรู้ถึงสิทธิตามกฎหมายหลังจากนั้นค่อยคิดจะฟ้องศาลใหน

ขอให้ได้สิทธิอันพึงได้ครับ
 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนสันจร วันที่ตอบ 2009-12-24 02:24:50


ความคิดเห็นที่ 6 (2019733)

 ส่งสําเนาให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น มทเก่า วันที่ตอบ 2009-12-26 21:45:37


ความคิดเห็นที่ 7 (2019830)

 การยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองจะต้องยื่นฟ้องภายในระยะเวลาเท่าไร  

การยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองจะต้องยื่นฟ้องภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
เอาไว้ คือ
1. การฟ้องคดีปกครองทั่วไป
     1.1 คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำ
การโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วยการออกกฎ คำสั่ง หรือการกระทำอื่นใด จะต้องยื่นฟ้องภายใน
90 วัน นับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุที่สามารถจะฟ้องคดีได้ เช่น นาย ก. ได้รับคำสั่งไม่อนุญาต
ให้ครอบครองอาวุธปืน และนาย ก. ได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวแล้ว ผลการพิจารณาอุทธรณ์ ปรากฏ
ว่าเจ้าหน้าที่ไม่อนุญาตให้ ครอบครองอาวุธปืน นาย ก. จะต้องยื่นฟ้องภายใน 90 วันนับแต่วันที่
ทราบผลการวินิจฉัย อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว

ในกรณีที่เป็นคำสั่งที่อาจฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้ ผู้ออกคำสั่งจะต้องระบุระยะ
เวลาในการฟ้องคดีและวิธีการยื่นคำฟ้อง ไว้ในคำสั่งนั้นๆ ด้วยหากผู้ออกคำสั่งไม่ได้ระบุระยะ
เวลาในการฟ้องคดีและวิธีการยื่นคำฟ้องคดีเอาไว้ ผู้ออกคำสั่งต้องแจ้งข้อความดังกล่าวให้ผู้รับ
คำสั่งทราบโดยไม่ชักช้า ในกรณีนี้กฎหมายกำหนดให้ระยะเวลาในการฟ้องคดีเริ่มนับใหม่ตั้งแต่
วันที่ผู้รับคำสั่งได้รับแจ้งข้อความดังกล่าว แต่ ถ้าไม่มีการแจ้งระยะเวลาและวิธีการยื่นคำฟ้องไว้
และระยะเวลาในการยื่นคำฟ้องมีกำหนดน้อยกว่า 1 ปี ระยะเวลาในการฟ้องคดีจะขยายเป็น 1 ปี
นับแต่วันที่ผู้ฟ้องคดีได้รับแจ้งคำสั่ง หรือนับแต่วันที่ผู้ฟ้องคดีได้รับแจ้งผล

การพิจารณาอุทธรณ์
     1.2 คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า
เกินสมควร ผู้ฟ้องคดีจะต้องยื่นฟ้อง ภายใน 90 วันนับแต่วันที่พ้นกำหนด 90 วันนับจากวันที่ผู้
ฟ้องคดีมีหนังสือร้องขอให้หน่วยงานทางปกครองหรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎ
หมายกำหนดและไม่ได้รับหนังสือ ชี้แจง หรือได้รับหนังสือชี้แจงแต่เป็นคำชี้แจงที่ไม่มีเหตุผล
เช่น นาย ก.ยื่นคำขออนุญาตเปิดสถานบริการต่อเจ้าหน้าที่ ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ไม่ได้ดำเนิน
การใดๆ เกี่ยวกับคำขอของนาย ก. จนพ้นระยะเวลา 90 วัน นาย ก. จะต้องนำคดีมาฟ้องศาล
ภายใน 90 วันนับแต่วันพ้นระยะเวลาดังกล่าว

2. การฟ้องคดีเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง หรือการกระทำละเมิดทางปกครอง
หรือความรับผิดอย่างอื่น ต้องยื่นฟ้อง ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุที่สามารถจะ
ฟ้องคดีได้ แต่ไม่เกิน 10 ปีนับแต่วันที่มีเหตุแห่งการฟ้องคดี เช่น นาย ก. ทำสัญญารับจ้างกับ
กรมทางหลวงในการก่อสร้างสะพานลอยคนข้าม ต่อมานาย ก. ถูกปรับเนื่องจากทำการก่อสร้าง
ล่าช้า นาย ก. จะต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาลภายใน 1 ปีนับแต่วันที่รู้ถึงการปรับดังกล่าว
3. หากเรื่องใดมีกฎหมายอื่นกำหนดให้ยื่น ฟ้องคดีต่อศาลปกครองภายในระยะ
เวลาตามที่กฎหมายนั้นกำหนด ระยะเวลาในการฟ้องคดีใน เรื่องนั้นก็ย่อมจะต้องเป็นไปตามที่
กฎหมายนั้นกำหนดเอาไว้ เช่น กฎหมายกำหนดให้ฟ้องโต้แย้ง คำสั่งทางปกครองเรื่องใดไว้โดย
เฉพาะเช่น กำหนดให้ฟ้องภายใน 15 วัน ผู้ฟ้องคดีก็ต้อง ยื่นฟ้อง ภายในระยะเวลาดังกล่าว

ทั้งนี้ หากเป็นการยื่นฟ้องคดีปกครองเมื่อพ้นกำหนดเวลาการฟ้องคดีดังกล่าว
ข้างต้นแล้ว ถ้าศาลปกครองเห็นว่าคดีที่ยื่นฟ้อง จะเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม เช่น การฟ้องคดีว่า
การดำเนินการคัดเลือก บุคคล เข้ารับราชการไม่ถูกต้องซึ่งการพิจารณาคดีจะ นำมาสู่การแก้ไข
ปรับปรุงขั้นตอน ในการคัด เลือกบุคคลที่จะมาเป็น ข้าราชการให้ถูกต้องและได้คนที่มีคุณภาพ
ตามที่ต้องการ หรือ มีเหตุจำเป็นอื่น เช่นการที่ผู้ฟ้องคดีไม่สามารถยื่นฟ้องคดีต่อ ศาลปกครอง
ได้ตามกำหนดระยะ เวลา เพราะ ว่าป่วยหนัก จนไม่สามารถดำเนินการใดๆ ได้ หรือเกิดน้ำท่วม
หรือแผ่นดินไหว อย่างรุนแรง เป็นต้น ทั้งนี้โดยศาลเห็นเองหรือคู่กรณีมี คำขอศาลปกครองจะรับ
คดีนั้นไว้พิจารณาก็ได้

แต่ถ้าเป็นการฟ้องคดีที่เกี่ยวกับการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ เช่น การฟ้อง
คดีว่าเจ้าหน้าที่กรมที่ดิน ออกโฉนดทับที่ดิน สาธารณะหรือการฟ้องคดีว่าเจ้าหน้าที่ละเลยต่อ
หน้าที่ปล่อยให้โรงงานปล่อยน้ำเสีย ลงแม่น้ำ เป็นต้น หรือการฟ้องคดีเกี่ยว กับสถานะของบุคคล
เช่น การฟ้องคดีเกี่ยวกับการให้สัญชาติหรือ การเพิกถอนสัญชาติ จะยื่นฟ้องคดีเมื่อใดก็ได้

ผู้แสดงความคิดเห็น admin วันที่ตอบ 2009-12-27 13:48:50


ความคิดเห็นที่ 8 (2019843)

 การฟ้องศาลปกครองเจ้าหน้าที่พันผิดเสมอตัว ฟ้องสื่อมวลชน ให้ฝ่ายค้านซักถามในสภา หาข้อมูลที่เเปลงอึ่นดูครับผมว่าทําเพื่อคนทั้งประเทศ จะได้บุญ

ผู้แสดงความคิดเห็น ตนไทย วันที่ตอบ 2009-12-27 14:34:03


ความคิดเห็นที่ 9 (2019969)

ความเห็นที่ 4 (2018863)เรืองเเจ้งการครอบครองไม่ชอบ

ประเด็นผมว่าไม่คล้ายกันเลยครับ กรณีคุณปราณีที่ดินมีความเห็นให้กันระยะตามสค1 ประเด็นเรื่องมาตรา 59 ตรี ในการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ถ้าปรากฏว่าเนื้อที่ที่ทำการรังวัดใหม่แตกต่างไปจากเนื้อที่ตามใบแจ้งการครอบครองตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินให้ได้เท่าจำนวนเนื้อที่ที่ได้ทำประโยชน์ทั้งนี้ ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด

ดังนั้นการออกระเบียบวิธีปฏิบัติกรมควรคำนึงถึงหลักกฎหมายบังคับไว้แค่ใหนก็ควรวางไว้แค่นั้นไม่ควรจะขยายแนวทางปฏิบัติให้เกิดความสับสนในความสำคัญระหว่างระเบียบกับกฏหมาย

เลขเสร็จ


174/2534

เรื่อง

      บันทึก

        เรื่อง  หลักเกณฑ์การออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์

                 ตามมาตรา 59 ตรี แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน

เนื้อหา

    กรมที่ดินได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ มท 0711/19879 ลงวันที่ 27 กันยายน

2533 ถึงสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ความว่า ในการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือ

รับรองการทำประโยชน์ถ้าปรากฏว่า เนื้อที่ที่ทำการรังวัดใหม่แตกต่างไปจากเนื้อที่ตาม

ใบแจ้งการครอบครองตามมาตรา 5*(1) แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมาย

ที่ดิน พ.ศ. 2497 แล้ว ประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 59 ตรี*(2) ได้บัญญัติให้พนักงาน

เจ้าหน้าที่พิจารณาออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินให้ได้เท่าจำนวนเนื้อที่ที่ได้ทำประโยชน์

ทั้งนี้ ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด ซึ่งคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติได้กำหนด

ระเบียบไว้แล้วในฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2532) ว่าด้วยเงื่อนไขการออกโฉนดที่ดินหรือ

หนังสือรับรองการทำประโยชน์

     *(1) _พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497_

          มาตรา 5 ให้ผู้ที่ได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันที่

ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ โดยไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน แจ้งการ

ครอบครองที่ดินต่อนายอำเภอท้องที่ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้

ใช้บังคับ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

          การแจ้งการครอบครองตามความในมาตรานี้ไม่ก่อให้เกิดสิทธิขึ้นใหม่

แก่ผู้แจ้งแต่ประการใด

     *(2) _ประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ_

_ฉบับที่ 96 ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515_

          มาตรา 59 ตรี ในการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์

ถ้าปรากฏว่าเนื้อที่ที่ทำการรังวัดใหม่แตกต่างไปจากเนื้อที่ตามใบแจ้งการครอบครอง

ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ให้พนักงาน

เจ้าหน้าที่พิจารณาออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินให้ได้เท่าจำนวนเนื้อที่ที่ได้ทำประโยชน์

ทั้งนี้ ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด

 

          ในทางปฏิบัติตามนัยมาตราดังกล่าวเจ้าหน้าที่มีความเห็นเป็น 2 ฝ่าย ดังนี้

          ฝ่ายที่หนึ่งเห็นว่า

          (1) มาตรา 59 ตรี เป็นเรื่องการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการ

ทำประโยชน์เฉพาะรายตามมาตรา 59*(3) และมาตรา 59 ทวิ*(4) แห่งประมวล

     *(3) _ประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ _

_ฉบับที่ 96 ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515_

          มาตรา 59 ในกรณีที่ผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินมาขอออกโฉนดที่ดินหรือ

หนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นการเฉพาะรายไม่ว่าจะได้มีประกาศของรัฐมนตรี

ตามมาตรา 58 แล้วหรือไม่ก็ตาม เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาเห็นสมควร ให้

ดำเนินการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แล้วแต่กรณี ได้ตาม

หลักเกณฑ์และวิธีการที่ประมวลกฎหมายนี้กำหนด

          เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามวรรคหนึ่งให้

หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องมาจากผู้ซึ่งมี

หลักฐานการแจ้งการครอบครองด้วย

     *(4) _ประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ _

_ฉบับที่ 96 ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515_

          มาตรา 59 ทวิ ผู้ซึ่งครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประมวล

กฎหมายนี้ใช้บังคับโดยไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินและมิได้แจ้งการครอบครอง

ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 แต่ไม่รวมถึง

ผู้ซึ่งมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 27 ตรี ถ้ามีความจำเป็นจะขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือ

รับรองการทำประโยชน์เป็นการเฉพาะราย เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาเห็นสมควร

ให้ดำเนินการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แล้วแต่กรณีได้ตาม

หลักเกณฑ์และวิธีการที่ประมวลกฎหมายนี้กำหนด แต่ต้องไม่เกินห้าสิบไร่ ถ้าเกินห้าสิบไร่

จะต้องได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัด ทั้งนี้ ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด

          เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินตาม

วรรคหนึ่ง ให้ความหมายรวมถึงผู้ซึ่งได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องมา

จากบุคคลดังกล่าวด้วย

 

 

กฎหมายที่ดิน เพราะมาตรา 59 ตรี เป็นบทบัญญัติที่สืบเนื่องมาจากมาตรา 59 และ

มาตรา 59 ทวิ ดังนั้น จึงไม่อาจนำมาตรา 59 ตรี ไปใช้บังคับเกี่ยวกับการออกโฉนด

ที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามมาตรา 58*(5) และมาตรา 58 ทวิ*(6)

เรื่องการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้

     *(5) ประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไข

เพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2528

          มาตรา 58 เมื่อรัฐมนตรีเห็นสมควรจะให้มีการออกโฉนดที่ดินหรือ

หนังสือรับรองการทำประโยชน์ในจังหวัดใดในปีใด ให้รัฐมนตรีประกาศใน

ราชกิจจานุเบกษากำหนดจังหวัดที่จะทำการสำรวจรังวัดทำแผนที่หรือพิสูจน์สอบสวน

การทำประโยชน์สำหรับปีนั้น เขตจังหวัดที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดไม่รวมท้องที่

ที่ทางราชการได้จำแนกให้เป็นเขตป่าไม้ถาวร

          เมื่อได้มีประกาศของรัฐมนตรีตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด

กำหนดท้องที่และวันเริ่มต้นของการเดินสำรวจรังวัดในท้องที่นั้นโดยปิดประกาศไว้

ณ สำนักงานที่ดิน ที่ว่าการอำเภอ ที่ว่าการกิ่งอำเภอ ที่ทำการกำนัน และที่ทำการ

ผู้ใหญ่บ้านแห่งท้องที่ก่อนวันเริ่มต้นสำรวจไม่น้อยกว่าสามสิบวัน

          เมื่อได้มีประกาศของผู้ว่าราชการจังหวัดตามวรรคสอง ให้บุคคลตาม

มาตรา 58 ทวิ วรรคสอง หรือตัวแทนของบุคคลดังกล่าวนำพนักงานเจ้าหน้าที่หรือ

ผู้ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่มอบหมายเพื่อทำการสำรวจรังวัดทำแผนที่หรือพิสูจน์สอบสวน

การทำประโยชน์ในที่ดินของตนตามวันและเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้นัดหมาย

                    ฯลฯ            ฯลฯ

     *(6) _ประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม_

_ประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2528_

          มาตรา  58  ทวิ เมื่อได้สำรวจรังวัดทำแผนที่หรือพิสูจน์สอบสวนการทำ

ประโยชน์ในที่ดินตามมาตรา 58 แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือ

รับรองการทำประโยชน์ แล้วแต่กรณี ให้แก่บุคคลตามที่ระบุไว้ในวรรคสอง เมื่อปรากฏว่า

ที่ดินที่บุคคลนั้นครอบครองเป็นที่ดินที่อาจออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์

ได้ตามประมวลกฎหมายนี้

          (2) มาตรา 59 ตรี มิได้บัญญัติให้นำบทบัญญัติในมาตรา 58 และ

มาตรา 58 ทวิ มาใช้บังคับทำนองเดียวกับมาตรา 59 จัตวา*(7) และมาตรา 59

เบญจ*(8) กล่าวคือ ถ้ามาตรา 59 ตรี ประสงค์จะให้นำหลักเกณฑ์ตามมาตรา 59 ตรี

ไปใช้บังคับเกี่ยวกับการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์โดยวิธีเดิน

สำรวจตามมาตรา 58 และมาตรา 58 ทวิ ด้วยแล้ว ก็น่าจะได้บัญญัติไว้ให้ชัดแจ้ง

ทำนองเดียวกับมาตรา 59 จัตวา และมาตรา 59 เบญจ

          บุคคลซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่อาจออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำ

ประโยชน์ตามวรรคหนึ่งให้ได้ คือ

          (1) ผู้ซึ่งมีหลักฐานการแจ้งการครอบครองที่ดิน มีใบจอง ใบเหยียบย่ำ

หนังสือรับรองการทำประโยชน์ โฉนดตราจอง ตราจองที่ตราว่า "ได้ทำประโยชน์แล้ว"

หรือเป็นผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ

          (2) ผู้ซึ่งได้ปฏิบัติตามมาตรา 27 ตรี

          (3) ผู้ซึ่งครอบครองที่ดินและทำประโยชน์ในที่ดินภายหลังวันที่ประมวล

กฎหมายนี้ใช้บังคับ และไม่มีใบจอง ใบเหยียบย่ำ หรือไม่มีหลักฐานว่าเป็นผู้มีสิทธิตาม

กฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ

                         ฯลฯ            ฯลฯ

     *(7) ประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไข

เพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2528

          มาตรา 59 จัตวา การออกโฉนดที่ดินตามมาตรา 58 ทวิ

มาตรา 58 ตรี และมาตรา 59 ถ้าหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินเดิมมีรายการภาระ

ผูกพัน หรือมีรายการเปลี่ยนแปลงผู้มีสิทธิในที่ดินในระหว่างดำเนินการออกโฉนดที่ดิน

ให้ยกรายการดังกล่าวมาจดแจ้งไว้ในโฉนดที่ดินด้วย

     *(8) ประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม

ประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2528

          มาตรา 59 เบญจ การออกโฉนดที่ดินตามมาตรา 58 ทวิ และมาตรา 59

ให้ถือว่าหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินเดิมเป็นอันยกเลิก และให้ส่งหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน

ที่ยกเลิกแล้วนั้นคืนแก่เจ้าพนักงานที่ดิน เว้นแต่กรณีสูญหาย

          ฝ่ายที่สองเห็นว่า

          (1) หลักเกณฑ์การออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์

ตามมาตรา 59 ตรี จะต้องนำไปใช้บังคับเกี่ยวกับเรื่องการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือ

รับรองการทำประโยชน์ ทั้งวิธีการเดินสำรวจตามมาตรา 58 และมาตรา 58 ทวิ

และวิธีการออกเฉพาะรายตามมาตรา 59 และมาตรา 59 ทวิ เพราะความใน

มาตรา 59 ตรี มิได้บัญญัติแยกวิธีการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์

ไว้ว่าให้ใช้บังคับได้เฉพาะกรณีใดกรณีหนึ่งเท่านั้น ดังนั้น จึงต้องนำมาตรา 59 ตรี

ไปใช้บังคับกับการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้ทั้งสองวิธี

          (2) ถ้ามาตรา 59 ตรี ไม่ประสงค์จะให้ใช้บังคับแก่การออกโฉนดที่ดิน

วิธีใดวิธีหนึ่งโดยเฉพาะแล้ว ก็น่าจะบัญญัติยกเว้นไว้โดยชัดแจ้ง เมื่อมิได้บัญญัติยกเว้นไว้

ก็ต้องนำมาตรา 59 ตรี ไปใช้บังคับกับวิธีการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำ

ประโยชน์ทั้งสองวิธี ตามนัยดังกล่าวแล้วข้างต้น

          กรมที่ดินพิจารณาแล้วเห็นว่า ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมาย เพื่อ

ความถูกต้องในทางปฏิบัติจึงขอให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาวินิจฉัย

        คณะกรรมการกฤษฎีกา (กรรมการร่างกฎหมาย คณะที่ 7) ได้พิจารณา

ปัญหาดังกล่าวโดยรับฟังคำชี้แจงของผู้แทนกระทรวงมหาดไทย (กรมที่ดิน) แล้วเห็นว่า

หลักเกณฑ์ในการพิจารณากำหนดเนื้อที่เพื่อออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์

ในกรณีที่มีปัญหาว่าเนื้อที่ที่ทำการรังวัดใหม่แตกต่างไปจากเนื้อที่ตามใบแจ้งการครอบครอง

ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 นั้น มาตรา

59 ตรี บัญญัติให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินให้เท่าจำนวน

เนื้อที่ที่ได้ทำประโยชน์ ทั้งนี้ ตามระเบียบที่คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติกำหนด ซึ่งตาม

ระเบียบของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2532) ว่าด้วยเงื่อนไข

การออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ข้อ 8*(9) กำหนดว่า ถ้าที่ดิน

     *(9) ระเบียบของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2532)

  ว่าด้วยเงื่อนไขการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์

          ข้อ 8 ในการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ถ้าปรากฏ

ว่าที่ดินมีอาณาเขต ระยะของแนวเขตและที่ดินข้างเคียงทุกด้านถูกต้องตรงกับหลักฐาน

มีอาณาเขต ระยะของแนวเขตและที่ดินข้างเคียงทุกด้านถูกต้องตรงกับหลักฐานการ

แจ้งการครอบครอง เชื่อได้ว่าเป็นที่ดินแปลงเดียวกัน แต่เนื้อที่ที่คำนวณได้แตกต่างกัน

ให้ออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์เท่าจำนวนเนื้อที่ที่ได้ทำประโยชน์

แล้วแต่ไม่เกินเนื้อที่ที่คำนวณได้ ดังนั้น จึงเห็นได้ว่า กรณีที่จะใช้บังคับมาตรา 59 ตรี

ได้จะต้องปรากฏว่าผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินได้แจ้งการครอบครองที่ดินตามมาตรา 5

แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 และเนื้อที่ที่รังวัดใหม่แตกต่าง

ไปจากเนื้อที่ตามใบแจ้งการครอบครองดังกล่าว และเมื่อพิจารณาประมวลกฎหมายที่ดิน

มาตรา 59*(10) ซึ่งบัญญัติว่า ที่ดินที่ขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์

เป็นการเฉพาะรายนั้น แม้ว่าเป็นที่ดินที่อยู่ในเขตที่รัฐมนตรีประกาศเป็นเขตเดินสำรวจ

รังวัดตามมาตรา 58*(11) ผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินก็ยังขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือ

รับรองการทำประโยชน์เป็นการเฉพาะรายได้ ดังนั้น เมื่อนำมาตรา 59 ตรี*(12)

ซึ่งเป็นเรื่องการคำนวณเนื้อที่เพื่อออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์มา

ใช้บังคับกับที่ดินที่ขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นการเฉพาะราย

การแจ้งการครอบครองตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมาย

ที่ดิน พ.ศ. 2497 เชื่อได้ว่าเป็นที่ดินแปลงเดียวกัน แต่เนื้อที่ที่คำนวณได้แตกต่างไป

จากเนื้อที่ตามหลักฐานการแจ้งการครองครองดังกล่าว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออก

โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์เท่าจำนวนเนื้อที่ที่ได้ทำประโยชน์แล้ว

แต่ไม่เกินเนื้อที่ที่คำนวณได้

          ในกรณีที่ระยะของแนวเขตที่ดินผิดพลาดคลาดเคลื่อน ให้พนักงาน

เจ้าหน้าที่ออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์เท่าจำนวนเนื้อที่ที่ได้ทำ

ประโยชน์แล้วเมื่อผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงได้ลงชื่อรับรองแนวเขตไว้เป็นการถูกต้อง

ครบถ้วนทุกด้าน

     *(10) โปรดดูเชิงอรรถ (3)

     *(11) โปรดดูเชิงอรรถ (5)

     *(12) โปรดดูเชิงอรรถ (2)

ตามมาตรา 59 แล้ว หากไม่นำหลักเกณฑ์ตามมาตรา 59 ตรี มาใช้บังคับกับ

ที่ดินแปลงอื่น ๆ ที่รัฐมนตรีประกาศเป็นเขตเดินสำรวจรังวัดตามมาตรา 58 และ

มาตรา 58 ทวิ ซึ่งผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินมิได้ขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรอง

การทำประโยชน์เป็นการเฉพาะราย ผลที่เกิดขึ้นก็คือจะเป็นการใช้บังคับกฎหมาย

ไม่เหมือนกันทั้ง ๆ ที่เป็นที่ดินที่อยู่ในเขตที่รัฐมนตรีประกาศเป็นเขตเดินสำรวจ

รังวัดเหมือนกัน อีกทั้งเมื่อมีปัญหาในการคำนวณเนื้อที่ผิดไปจากเนื้อที่ตามใบแจ้ง

การครอบครองตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน

พ.ศ. 2497 ก็จะเกิดปัญหาในทางปฏิบัติกับเจ้าหน้าที่ว่าจะกำหนดเนื้อที่โดยใช้

หลักเกณฑ์อะไร

          อนึ่ง การออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์โดยวิธี

การเดินสำรวจรังวัดตามมาตรา 58 และมาตรา 58 ทวิ นั้น ถ้าผู้ซึ่งครอบครอง

ที่ดินอยู่ภายในจังหวัดที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดให้มีการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือ

รับรองการทำประโยชน์ ได้แจ้งการครอบครองไว้โดยชอบตามมาตรา 5 แห่ง

พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ดังที่บัญญัติไว้ตาม

มาตรา 58 ทวิ วรรคสอง (1)*(13) เมื่อทางราชการเดินสำรวจรังวัดเพื่อ

ออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ หากปรากฏว่าเนื้อที่ตามใบแจ้ง

การครอบครองไม่ตรงกับเนื้อที่ที่รังวัดใหม่ ย่อมต้องนำหลักเกณฑ์ในการคำนวณ

เนื้อที่ดินที่แตกต่างไปตามมาตรา 59 ตรี มาใช้บังคับ ส่วนกรณีการออกโฉนดที่ดิน

หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์โดยวิธีการออกเฉพาะรายตามมาตรา 59 ทวิ

นั้น เป็นกรณีที่ผู้ซึ่งครอบครองที่ดินมิได้แจ้งการครอบครองตามมาตรา 5 แห่ง

พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 จึงไม่มีกรณีที่จะใช้

มาตรา 59 ตรี บังคับได้

          ด้วยเหตุผลดังกล่าว คณะกรรมการกฤษฎีกา (กรรมการร่างกฎหมาย

คณะที่ 7) จึงเห็นว่า หลักเกณฑ์การกำหนดเนื้อที่เพื่อออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรอง

การทำประโยชน์ตามมาตรา 59 ตรี ใช้บังคับกับการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรอง

 การทำประโยชน์ ทั้งวิธีการเดินสำรวจรังวัดตามมาตรา 58 และมาตรา 58 ทวิ

และวิธีการขอออกเฉพาะรายตามมาตรา 59 หาใช่บัญญัติไว้เพื่อใช้กับกรณีตาม

มาตรา 59 และมาตรา 59 ทวิ โดยเฉพาะไม่

                                           (ลงชื่อ) ม. ตันเต็มทรัพย์

                                                (นายไมตรี ตันเต็มทรัพย์)

                                                      รองเลขาธิการฯ

                               ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา

สำนักงานคณะกรรมการ

       มีนาคม 2534.

_ไพบูลย์ - คัด/ทาน__

 ผมว่ายกข้อต่อสู้ที่กฤษฎีกามีความเห็นข้างต้น ซึ่งต้องปฏิบัติตาม มิฉะนั้นละเว้นมาตรา157 ครับ
 

ผู้แสดงความคิดเห็น ตนไทย วันที่ตอบ 2009-12-28 05:53:30



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล