ReadyPlanet.com


ปัญหาที่ดินครับ (สิทธิครอบครอง)


 ปัญหามีอยู่ว่า ยายผมได้ซื้อที่ดินจำนวน 2 งาน ประมาณปี 2525 โดยการทำสัญญาซื้อขายแบบไม่มีเลขโฉนด ต่อมายายและแม่ผมได้ปลูกบัานบนที่ดินดังกล่าวเรื่อยมา ผู้ขายได้ตายก่อน ลูกชายผู้ขายเป็นผู้รับมรดก และได้นำที่ดินไปจำนองกับธนาคาร ไม่นานลูกชายตาย หลานเป็นผู้รับมรดกต่ออีก และได้ขายที่ดินดังกล่าวไปให้กับคนอื่น โดยไม่มีใครรู้เรื่องเลยประมาณ2ปี เจ้าของคนใหม่ต้องการให้เราออกจากที่ดินดังกล่าว เราจะมีสิทธิที่ดินผืนนั้นไมครับ ต้องทำอย่างไรบ้างครับถึงจะได้ครอบครองที่ดินดังกล่าวได้



ผู้ตั้งกระทู้ เผด็จ :: วันที่ลงประกาศ 2014-01-12 00:55:05


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2449014)

ซื้อที่ดินตั้งแต่ปี 2525 เป็นการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ (ที่สำนักงานที่ดิน) ตกเป็นโมฆะ แต่การที่ได้ครอบครองที่ดินของผู้อื่นโดยสงบ เปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ เกิน 10 ปี ย่อมได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครอบปรปักษ์ เป็นการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยทางอืนนอกจากนิติกรรม เมื่อยังไม่ได้จดทะเบียนการได้มาจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ซื้อที่ดินแปลงนี้มาโดยเสียค่าตอบแทนและได้จดทะเบียนสิทธิ์ (กรรมสิทธิ์) โดยสุจริตแล้วไม่ได้ ดังนั้นที่ดินดังกล่าวตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ซื้อคนหลังสุดครับ

การครอบครองปรปักษ์ ได้กรรมสิทธิแล้วไม่ได้จดทะเบียนการได้มา

การครอบครองปรปักษ์ หากยังไม่ได้จดทะเบียนการได้มาโดยการครอบครองปรปักษ์ ผู้ได้มานั้นจะยกเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกไม่ได้ ถ้าบุคคลภายนอกได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและจดโอนทางทะเบียนโดยสุจริตแล้ว
แม้จำเลยจะครอบครองที่ดินส่วนพิพาทโดยทางปรปักษ์มาเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี แต่จำเลยยังไม่ได้จดทะเบียนการได้มาย่อมยกขึ้นต่อสู้ ส. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสอง เมื่อ ส. โอนขายที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ จำเลยจึงไม่อาจยกการครอบครองปรปักษ์ที่สิ้นผลไปแล้วมาใช้ยันโจทก์ได้

 

การครอบครองปรปักษ์ขาดตอนเมื่อเปลี่ยนเจ้าของ

การนับระยะเวลาครอบครองปรปักษ์ถือเอาระยะเวลาครอบครองของฝ่ายผู้ครอบครองที่ต้องครอบครองติดต่อกัน ไม่ต้องพิจารณาถึงตัวเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกครอบครองว่าจะได้โอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้อื่นหรือไม่ และไม่จำต้องถือเอาทางฝ่ายเจ้าของอสังหาริมทรัพย์แต่ละคนที่รับโอนกรรมสิทธิ์มาเป็นเกณฑ์ในการเริ่มนับระยะเวลาครอบครองใหม่ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนตัวเจ้าของหากบุคคลภายนอกรับโอนโดยสุจริต เสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริต ย่อมได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 1299 วรรคสอง มีผลทำให้การครอบครองปรปักษ์ก่อนหน้านั้นสิ้นไป

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.0859604258 วันที่ตอบ 2014-02-11 18:22:42



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล