ReadyPlanet.com


ซื้อขายที่ดินปรปักษ์


พ่อเป็นผู้ครอบครองที่ดิน แต่เป็นชื่อของลูก พ่อทำมาหากินในที่ดินนี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2509 จนถึงปัจจุบัน โดยเข้าใจผิดคิดว่าที่ดินนี้เป็นชื่อของพ่อ เมื่อปี 2552 ที่ดินได้ออกรังวัด ปรากฎว่าเป็นชื่อของลูกชาย แล้วต่อมาลูกชายได้ขายที่ดินผืนนี้ ขอเรียนถามว่าพ่อสามารถคัดค้านการซื้อขายได้หรือไม่ (ที่ดินผืนนี้พ่อเป็นคนซื้อแต่ใส่ชื่อเป็นของลูกชาย โดยระบุท้ายโฉนดว่า ซื้อจากนายศิริ พ.ศ.2509 โดยตอนนั้น ลูกชายเพิ่งอายุได้ 12 ปี แต่สมัยนั้นที่ดินบอกว่าใส่ชื่อเป็นของลูกชายก่อน เพราะเขามีหลักเกณฑ์การครอบครองที่ดิน และพ่อสามารถฟ้องเอาที่ดินคืนได้หรือไม่



ผู้ตั้งกระทู้ ภาวิณ๊ :: วันที่ลงประกาศ 2013-12-26 11:02:46


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2444707)

การซื้อที่ดินโดยใส่ชื่อบุตรถือกรรมสิทธิ์ เท่ากับบุตรเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทน บุตรจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงดังกล่าว เมื่อบุตรไม่มีกรรมสิทธิ์นำที่ดินไปขายโดยไม่มีสิทธิ บิดาเจ้าของที่ดินที่แท้จริงมีสิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์ของตน และผู้ซื้อที่ดินจากบุตรไม่ได้ไปซึ่งกรรมสิทธิ์ ตามหลัก "ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน" แต่คำตอบข้างต้นบิดาต้องสืบให้ศาลเชื่อว่าใส่ชื่อบุตรเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนเท่านั้นไม่ใช่ซื้อให้บุตรโดยเสน่หาไปแล้วเป็นคนละเหตุผลกัน ดังนั้นบิดาฟ้องเพิกถอนการซื้อขายที่ดินคืนได้ และผู้ซื้อฟ้องผู้ขายเรียกเงินคืนได้ (จะมีคืนหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง)

กรณีที่ใส่ชื่อบุตรถือกรรมสิทธิ์แทนข้างต้นไม่อาจอ้างครอบครองปรปักษ์ได้เพราะ การครอบครองปรปักษ์นั้นต้องเป็นการครอบครองที่ดินของผู้อื่นโดยความสงบเปิด ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของครบ 10 ปี ไม่ใช่ครอบครองปรปักษ์ที่ดินของตนเอง

ครอบครองปรปักษ์ที่ดินของตนเองไม่ได้
การครอบครองอสังหาริมทรัพย์ อันจะทำให้ผู้ครอบครองได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 นั้น นอกจากจะต้องเป็นการครอบครองโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลา10 ปีแล้ว ยังจะต้องเป็นการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นของบุคคลอื่นด้วย หากเป็นการครอบครองทรัพย์สินของตนเองแล้ว ก็หามีผลที่จะทำให้ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองไม่
 

ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน สัญญาซื้อขาย
แม้กฎหมายมิได้บัญญัติว่าผู้ขายจะต้องมีกรรมสิทธิ์ แต่ผู้ขายก็จะต้องอยู่ในฐานะที่จะโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อได้ ในกรณีที่ผู้ขายไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ หรือไม่มีอำนาจที่จะนำทรัพย์สินไปขายได้ ย่อมไม่มีอำนาจที่จะนำทรัพย์สินนั้นไปทำสัญญาซื้อขาย แม้ผู้ซื้อได้รับโอนกรรมสิทธิ์หรือจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์หรือจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นไปแล้วก็ไม่ทำให้ผู้ซื้อได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นแต่ประการใด เพราะผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร. 0859604258 วันที่ตอบ 2014-01-22 21:37:25



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล