ReadyPlanet.com


ถูกให้ออกจากงาน (เลิกจ้างไม่เป็นธรรม)


น้องที่ทำงานโพสต์ข้อความในเฟสบุ๊คของตนเอง ระบายความอึดอัดในการทำงาน ด้วยถ้อยคำที่ไม่สุภาพประมาณว่า กรู  หรือ อย่างนี้ต้องลากมาตบ แล้วกระทีบซ้ำ เป็นต้น แต่ไม่ได้ระบุชื่อใคร เจ้านายไปอ่านเจอ เรียกไปทำภาคทัณท์ ตามระเบียบ ผ่านไปประมาณ เดือนหนึ่ง น้องคนเดิมโพสต์ข้อความประมาณเดิม ๆ อีก เจ้านายเลยประชุมและลงมติให้ออกข้อหา จงใจทำให้เกิดความเสียหาย และ เกิดความแตกแยกความสามัคคีในหน่วยงานโดยจ่ายเงินชดเชยตามกฎหมายให้ อยากถามว่าข้อหาหรือความผิดแบบนี้ได้รับโทษให้ออก เกินไปหรือเปล่าค่ะ  แล้วน้องที่ทำงานสามารถต่อสู้ตามกฎหมายได้หรือเปล่าค่ะ  เพราะน้องเขาต้องการกลับเข้ามาทำงานเหมือนเดิม อีกอย่างที่ทำงานเขาจัดให้มีบำเหน็จสำหรับพนักงานด้วย ไม่ทราบว่า หากต้องออกจากงานจริง ๆ สามารถขอเงินชดเชยและค่าบำเหน็จทั้ง 2 อย่างได้ไหมค่ะ (ตามกฎหมาย) เพระาน้องเขาอายุประมาณ 38-39 ปี จะหางานทำคงยาก เพราะที่ทำงานบอกว่าจ่ายชดเชยให้อย่างเดียว ถ้าอยากได้บำเหน็จให้ไปฟ้องเอาเอง รบกวนตอบด้วยนะคะ สงสารน้องเขาค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ แสงสุ :: วันที่ลงประกาศ 2013-12-11 20:32:39


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2443312)

เป็นสัญญาจ้างแรงงาน เมื่อเป็นสัญญา คู่สัญญามีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ ดังนั้นแม้ว่าลูกจ้างจะไม่มีความผิดเลย นายจ้างก็สามารถบอกเลิกสัญญาจ้างได้ แต่หากการบอกเลิกสัญญาจ้างเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ลูกจ้างมีสิทธิที่จะฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานได้ครับ แต่จะทำด้วยกันได้ต่อไปหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ส่วนใหญ่จะเป็นการจ่ายค่าเสียหายเลิกจ้างไม่เป็นธรรมครับ เพราะถ้าให้เข้าไปทำงานก็ทำต่ออีกไม่นานก็โดนบีบให้ออกอีกคราวหน้าเขาจะไล่ออกโดยหาเหตุให้ออกโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยครับ

มาตรา 49 การพิจารณาคดีในกรณีนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าการเลิกจ้างลูกจ้างผู้นั้นไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง ศาลแรงงานอาจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างผู้นั้นเข้าทำงานต่อไปในอัตราค่าจ้าง ที่ได้รับในขณะที่เลิกจ้าง ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าลูกจ้างกับนายจ้างไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ ให้ศาลแรงงานกำหนดจำนวนค่าเสียหายให้นายจ้างชดใช้ให้แทนโดยให้ศาลคำนึงถึงอายุของลูกจ้าง ระยะเวลาการทำงานของลูกจ้าง ความเดือดร้อนของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้าง มูลเหตุแห่งการเลิกจ้างและเงินค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ ประกอบการพิจารณา

 

เรียกค่าเสียหายเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ในคดีเกี่ยวกับแรงงานข้อหานายจ้างเลิกจ้างไม่เป็นธรรม นั้น เมื่อศาลแรงงานพิจารณาได้ความว่า นายจ้างเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ศาลอาจกำหนดให้นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานต่อไปในกรณีที่เห็นว่านายจ้างกับลูกจ้างมีความเข้าใจอันดีต่อกันแล้วและสามารถร่วมงานกันได้ต่อไป แต่หากศาลเห็นว่าไม่อาจทำงานร่วมกันได้อีกต่อไป ศาลจะกำหนดค่าเสียหายเพราะเหตุนายจ้างเลิกจ้างไม่เป็นธรรมให้แก่ลูกจ้างได้ แม้นายจ้างจะเปิดโอกาสให้ลูกจ้างเข้าทำงานได้ก็ตามแต่การกลับเข้าไปทำงานอาจไม่เป็นผลดีและอาจเกิดปัญหากับลูกจ้างในอนาคต

 

แม่บ้านทำงานบ้านฟ้องเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจำนนวน 8,330 บาท และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจำนวน 56,100 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ กับค่าจ้างค้างจ่ายจำนวน 2,210 บาท และค่าชดเชยจำนวน 51,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

 


สิทธิของลูกจ้างกับการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม      
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม หมายถึง  การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่มีเหตุอันสมควร รวมตลอดถึงเลิกจ้างโดยไม่มีกฎหมายกำหนดให้เลิกจ้างได้
การเลิกจ้าง-นายจ้างมีหน้าที่ดังต่อไปนี้...
 


 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร. 085-9604258 วันที่ตอบ 2014-01-17 16:54:05



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล