ReadyPlanet.com


กรรมสิทธิ์บ้าน สามีจะยกให้ไปผ่อนต่อ บันทึกหลังทะเบียนหย่า


 กรณีดิฉันและสามี ได้กู้ซื้อบ้านไว้ แต่สัญญากู้เป็นชื่อของสามีคนเดียว  จะมีการส่งมอบโอนบ้านกันในเดือนธันวาคมนี้ค่ะ  แต่ดิฉันกับสามีมีเหตุที่จะต้องแยกทางกัน เราตกลงกันว่า บ้านที่กำลังจะได้  สามีจะยกให้ฉันไปผ่อนต่อเอาเอง และจะไม่เข้ามายุ่งเกี่ยว  แต่ดิฉันกลัวเรื่องของอนาคตว่าถ้าผ่อนไป แล้วทางสามีมาเรียกร้องคืนคงจะแย่  ตอนนี้ดิฉันยังไม่ได้หย่า  แต่ถ้าโอนบ้านเสร็จเราจะหย่ากัน และในการหย่าจะบันทึกหลังทะเบียนหย่า ว่ายกทรัพย์สินส่วนนี้ให้ดิฉันมันจะเป็นผลตามกฏหมายหรือเปล่าค่ะ หมายความว่าสามีจะไม่มีสิทธิืมาเรียกร้องบ้านหลังนี้คืนนะค่ะ เรามีลูกด้วยกัน 1 คนค่ะ  และดิฉันจะทำสัญญาให้สังหาริมทรัพย์ไว้ด้วยจะดีไหมค่ะ รบกวนด้วยค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ วารุ :: วันที่ลงประกาศ 2013-12-10 11:38:18


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2443289)

การที่คุณและสามีได้ทรัพย์สินเป็นบ้านและที่ดินมาในระหว่างสมรส ไม่ว่าจะมีชื่อฝ่ายใดเป็นผู้กู้ หรือเป็นผู้มีชื่อในโฉนดที่ดิน แต่กฎหมายให้ถือว่าเป็นสินสมรสหรือเป็นเจ้าของรวมกันมีส่วนแบ่งกันคนละครึ่ง ในกรณีที่คุณจะมีข้อตกลงให้ฝ่ายคุณเป็นผู้ผ่อนต่อและฝ่ายชายจะยกให้นั้น หากการผ่อนดังกล่าวยังมีสภานภาพเป็นคู่สมรสกันอยู่ตราบใดทรัพย์สินนั้นก็ยังเป็นสินสมรสอยู่ต่อไปไม่ว่าใครจะเป็นผู้ออกเงินผ่อนชำระหนี้ก็ตาม

ในกรณีที่คุณจะไปจดทะเบียนหย่าแล้วทำบันทึกข้อตกหลังทะเบียนหย่าว่าจะจะยกให้กับคุณนั้นจะมีผลตามกฎหมายหรือไม่ ผมเห็นว่า การให้อสังหาริมทรัพย์จะต้องทำเป็นหนังสือ (สัญญาให้)และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ (ทำที่สำนักงานที่ดินและเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนหรือเปลี่ยนชื่อในโฉนดที่ดิน) มิฉะนั้นตกเป็นโมฆะ ดังนั้นผลจะเป็นว่าในทางทะเบียนหรือในโฉนดที่ดินเขายังเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อยู่ หากเขานำไปทำนิติกรรมขายก็อาจมีปัญหาตามมาอยู่ดี การป้องกันปัญหาคือต้องหาแหล่งเงินมาปิดและเปลี่ยนตัวผู้กู้หรือลูกหนี้และโอนกรรมสิทธิ์มาเป็นของเราจะดีกว่าครับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง

ข้อตกลงหลังทะเบียนหย่าเรื่องยกทรัพย์สินให้ฝ่ายหญิง(ภรรยา)

ข้อตกลงระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลยซึ่งเป็นสามีภริยาที่ว่าเรื่องทรัพย์สินที่ดิน 21 ตารางวา พร้อมบ้าน ซึ่งอยู่ระหว่างผ่อนส่ง-หากผ่อนส่งชำระเสร็จสิ้นแล้วจะยกกรรมสิทธิ์ให้ฝ่ายหญิง เมื่อไม่มีข้อตกลงแบ่งแยกสินสมรสกันไว้ การแบ่งสินสมรสต้องเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1533 โจทก์ร่วมนำที่ดินไปขายโดยมิได้รับความยินยอมจากจำเลย จึงผูกพันแต่เฉพาะส่วนกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วม ผลตามกฎหมายจึงมีว่าโจทก์และจำเลยต่างเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์คนละเท่าๆ กันในทุกส่วนของทรัพย์
 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น admin วันที่ตอบ 2014-01-17 14:09:50



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล