ReadyPlanet.com


หลังฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6


เรียน สนง.พีศิริ ทนายความ,

อยากสอบถามเกี่ยวกับคำพิพากษา ของศาลอุทธรณ์ภาค 6 ซึ่งจะตัดสินเป็นศาลสุดท้ายที่จำเลยอุทธรณ์ยอดเงินอุทธรณ์ไม่ถึงแสน.

1. หลังจากฟังคำพิพากษาแล้วและหากพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น โจทก์สามารถยื่นคำร้องต่อศาลได้หรือไม่ขอ

ให้พิเคราะห์เอกสารตามคำร้องแนบท้ายหมาย จ. (ใบระวางที่ดินที่สอบเขตมาก่อนหน้านั้น ที่กรมที่ดินออกให้) ให้เป็นไปตามคำพิพากษา ฯ ขอให้ศาลมีคำสั่งถึงกรมที่ดินให้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดิน น.ส.3ก ให้กับโจทก์ได้หรือไม่

2.หากพิพากษา ยกฟ้องโจทก์จะฏีกาได้หรือไม่

 



ผู้ตั้งกระทู้ Main :: วันที่ลงประกาศ 2010-01-08 12:34:01


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2022891)

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 248 ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาท กันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทหรือไม่เกินจำนวนที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง ....

มาตรา 249 ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในการยื่น ฎีกานั้นคู่ความจะต้องกล่าวไว้โดยชัดแจ้งในฎีกา และต้องเป็นข้อที่ ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้ง จะต้องเป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยด้วย.....

กรณีตามคำถามนั้นเห็นว่าปัญหาข้อเท็จจริงนั้นฎีกาไม่ได้เพราะเหตุทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท หากเมื่อพิจารณาว่าเป็นการฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย ก็ต้องเป็นข้อกฎหมายที่ได้ว่ากันไว้แล้วในศาลชั้นต้นและชั้นอุทธรณ์

สำหรับเรื่องที่จะขอให้ศาลมีคำสั่งถึงกรมที่ดินเห็นว่าคงไม่ได้เพราะโจทก์ต้องขอตั้งแต่ศาลชั้นต้นแล้ว หากยกขึ้นมาในชั้นฎีกา ก็เป็นเรื่องที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วในศาลล่างทั้งสองศาลมาก่อน

เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 249 วรรคสอง

"ถ้าคู่ความฝ่ายใดมิได้ยกปัญหาข้อใดอันเกี่ยวด้วยความสงบ เรียบร้อยของประชาชนขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ หรือคู่ความฝ่ายใดไม่สามารถยกปัญหาข้อกฎหมายใด ๆ ขึ้นกล่าว ในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์เพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ หรือเพราะเหตุเป็นเรื่องที่ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยกระบวน พิจารณาชั้นฎีกา คู่ความที่เกี่ยวข้องย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้าง ซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นได้"

สำหรับคำถามว่าหากศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องจะฎีกาได้หรือไม่ เห็นว่าจะฎีกาได้หรือไม่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการยกฟ้องหรือไม่ แต่อยู่ที่คดีต้องห้าฎีกาตามกฎหมายหรือไม่

แต่อย่างไรก็ตามก็ไม่ตัดสิทธิคู่ความที่จะขอให้ผู้พิพากษารับรองให้ฎีกาได้นะครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2010-01-08 13:35:28


ความคิดเห็นที่ 2 (2022917)

ขอบคุณอาจารย์ลีนนท์ มากครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น main วันที่ตอบ 2010-01-08 14:43:11


ความคิดเห็นที่ 3 (2022938)

เรียน อาจารย์ลีนนท์ ครับ

1.โจทก์เชื่อมั่นว่าศาลอุทธรณ์ต้องพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นครับ ถ้าด้วยเหตุนี้สามารถเอาคำพิพากษาไปให้เจ้าพนักงานกรมที่ดินได้หรือไม่

ให้ดำเนินการตามที่ออกรังวัดสอบเขตมาแล้ว และเจ้าพนักงานที่ดินก็ได้นำส่งศาลชั้นต้นไปแล้ว

2.โจทก์จะต้องยื่นคำร้องขอสอบเขตที่ดินใหม่อีกครั้งหรือไม่ และถ้าโจทก์ยื่นคำร้องขอรังวัดสอบเขตใหม่แล้ว จำเลยก็จะต้องมาคัดค้านก็จะทำให้ไม่จบกระบวนสักที 

3.กรมที่ดินเคยบอกว่าถ้าจะให้ดำเนินการได้นั้น ก็จะต้องมีคำสั่งศาลมาให้เจ้าพนักงานที่ดินครับตามเอกสารที่เจ้าพนักงานที่ดินส่งศาลไปแล้วนั้น 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น main วันที่ตอบ 2010-01-08 15:27:26


ความคิดเห็นที่ 4 (2022967)

1.โจทก์เชื่อมั่นว่าศาลอุทธรณ์ต้องพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นครับ ถ้าด้วยเหตุนี้สามารถเอาคำพิพากษาไปให้เจ้าพนักงานกรมที่ดินได้หรือไม่

---(ไม่ค่อยเข้าใจคำถามครับ)  คือทางสำนักงานที่ดิน หากเขาไม่ได้เป็นคู่ความ ดังนั้นคำพิพากษาก็คงไม่ผูกพันสำนักงานที่ดิน เอาคำพิพากษาไปให้เขาเขาอาจเพิกเฉยก็ได้ (ก็ลองดูนะครับ)

2.โจทก์จะต้องยื่นคำร้องขอสอบเขตที่ดินใหม่อีกครั้งหรือไม่ และถ้าโจทก์ยื่นคำร้องขอรังวัดสอบเขตใหม่แล้ว จำเลยก็จะต้องมาคัดค้านก็จะทำให้ไม่จบกระบวนสักที 

--แล้วคำพิพากษาเขามีคำสั่งเกี่ยวกับคดีว่าอย่างไรครับ (ผมไม่ทราบที่มาที่ไปครับ)

3.กรมที่ดินเคยบอกว่าถ้าจะให้ดำเนินการได้นั้น ก็จะต้องมีคำสั่งศาลมาให้เจ้าพนักงานที่ดินครับตามเอกสารที่เจ้าพนักงานที่ดินส่งศาลไปแล้วนั้น

---ก็ต้องเป็นอย่างนั้นอยู่แล้วครับเพราะเขาก็กลัวปัญหาจะตามมา จะทำอะไรก็ต้องถือเอาคำสั่งศาลเป็นที่ตั้งจะได้ไม่เจ็บตัวในภายหน้าครับ

 

ต้องขออภัยด้วยนะครับ คือผมไม่มีข้อมูลทั้งหมดมองไม่เห็นภาพเลยคำถามของคุณเป็นคำถามที่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงเฉพาะเรื่องไม่ใช่คำถามเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไปจึงอาจตอบไม่ตรงประเด็นนะครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2010-01-08 17:06:42



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล