ReadyPlanet.com


การยอมความ


เรียน คุณ ลีนนท์

ผมมีข้อสงสัยเกี่ยวกับคดีที่ยอมความกันได้กับไม่ได้ครับ

เช่นมีนายตำรวจท่านหนึ่งให้สำภาษว่าคดีนี้ถึงเจ้าทุกข์จะไม่ติดใจเอาความแต่ในแง่ของกฎหมายไม่สามารถยอมความได้

1. คดีอาญามีความผิดขนาดไหนจึงจะเรียกว่ายอมความได้-ไม่ได้ หรือว่าคดีอาญาทุกคดีไม่สามารถยอมความได้

2. คดีแพ่งมีกรณีแบบข้อ 1.หรือไม่

ยกตัวอย่างง่ายๆนะครับนายแดงถูกนายดำทำร้ายร่างกายจนบาดเจ็บสาหัสต้องเข้าโรงพยาบาลรักษาตัวอยู่ประมาณ 1 เดือนทางญาติแจ้งความเพื่อที่จะดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและอาญาโดยทางแพ่งเรียกค่าเสียหายในกรณีที่ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติและอาจถึงขั้นพิการทุพลภาพส่วนฟ้องอาญาก็คงจะเป็นทำร้ายร่างกายจนทำให้บาดเจ็บสาหัส

ต่อมาญาติฝ่ายจำเลยติดต่อชดใช้ค่าเสียหายเป็นจำนวนที่พอใจของให้กับโจทย์โดยมีข้อแม้ต้องไปถอนแจ้งความทั้งหมด

ผมเลยมีความเข้าใจว่าคดีแพ่งอาจจะเป็นไปได้แต่อาญาไม่ค่อยแน่ใจเลยอยากขอคำอธิบายหน่อยครับ

 



ผู้ตั้งกระทู้ ประธานแผน :: วันที่ลงประกาศ 2010-01-27 09:05:32


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2028898)

1. คดีอาญามีความผิดขนาดไหนจึงจะเรียกว่ายอมความได้-ไม่ได้ หรือว่าคดีอาญาทุกคดีไม่สามารถยอมความได้

---ในประมวลกฎหมายอาญาจะบัญญัติไว้ว่าคดีประเภทใดสามารถยอมความกันได้ ส่วนที่ไม่ได้ระบุไว้ก็คือไม่สามารถยอมความได้เรียกว่า คดีความผิดต่อแผ่นดิน  

2. คดีแพ่งมีกรณีแบบข้อ 1.หรือไม่

--ไม่มีครับ

สำหรับข้อสงสัยอื่นนั้นขออธิบายดังนี้คือ

ในคดีทำร้ายร่างกายหรือความผิดต่อร่างกายเป็นความผิดต่อแผ่นดิน หากจำเลยบรรเทาความเสียหายให้ผู้เสียหายจนเป็นที่พอใจแล้ว ยอมแถลงว่าไม่ติดใจดำเนินคดีกับจำเลยทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา

เมื่อศาลเห็นว่าผู้เสียหายได้รับการเยียวยาแล้ว ก็มีเหตุบรรเทาโทษแก่จำเลย โดยอาจลงโทษจำเลยสถานเบาหรือรอการลงโทษไว้ตามที่ศาลจะเห็นสมควร แต่ไม่อาจถอนคำร้องทุกข์ได้เหมือนคดียอมความได้

ในคดีความผิดอันยอมความได้เมื่อผู้เสียหายไม่ติดใจก็สามารถถอนคำร้องทุกข์ได้ทำให้คดีอาญาระงับตาม ป.วิอาญา

มาตรา 39 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปดั่งต่อไปนี้
(1) โดยความตายของผู้กระทำผิด
(2) ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อได้ถอนคำร้องทุกข์ถอนฟ้อง หรือยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย
(3) เมื่อคดีเลิกกันตาม มาตรา 37
(4) เมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง
(5) เมื่อมีกฎหมายออกใช้ภายหลังการกระทำผิดยกเลิกความผิด เช่นนั้น
(6) เมื่อคดีขาดอายุความ
(7) เมื่อมีกฎหมายยกเว้นโทษ

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2010-01-27 10:41:15


ความคิดเห็นที่ 2 (2028908)

ในคดีทำร้ายร่างกายหรือความผิดต่อร่างกายเป็นความผิดต่อแผ่นดิน หากจำเลยบรรเทาความเสียหายให้ผู้เสียหายจนเป็นที่พอใจแล้ว ยอมแถลงว่าไม่ติดใจดำเนินคดีกับจำเลยทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา

เมื่อศาลเห็นว่าผู้เสียหายได้รับการเยียวยาแล้ว ก็มีเหตุบรรเทาโทษแก่จำเลย โดยอาจลงโทษจำเลยสถานเบาหรือรอการลงโทษไว้ตามที่ศาลจะเห็นสมควร แต่ไม่อาจถอนคำร้องทุกข์ได้เหมือนคดียอมความได้

จากคำอธิบายด้านบนผมเข้าใจว่า"ผู้เสียหายยอมแถลงว่าไม่ติดใจดำเนินคดี" อยากทราบว่าผู้เสียหายแถลงที่ศาลใช่ไหมครับแสดงว่าอัยการได้สั่งฟ้องแล้วส่งสำนวนให้ศาลพิจารณาคำฟ้อง

คือที่ถามเพิ่มเติมขึ้นมาเพราะเห็นส่วนใหญ่จะจบที่สถานีตำรวจโดยมีตำรวจจะเรียกผู้ก่อเหตุและผู้เสียหายมาตกลงกันเลยจะถามว่าเราจะทำอย่างไรกับบรรทึกที่ทางตำรวจได้รับแจ้งเหตุที่ทางผู้เสียหายได้แจ้งตำรวจไว้เกรงว่าจะมีปัญหาในอนาคตกับผู้ถูกแจ้งเนื่องจากนายตำรวจคนที่ทำเรื่องย้ายออกไปหรือผู้เสียหายอาจกลับลำมาดำเนินคดีทำอย่างไรถึงจะเรียกว่าจบโดยสมบูรณ์แบบครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ประธานแผน วันที่ตอบ 2010-01-27 11:45:28


ความคิดเห็นที่ 3 (2029051)

จบโดยสมบูรณ์ก็ต้องมีคำพิพากษาของศาลครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2010-01-27 17:23:38



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล