ReadyPlanet.com


อายุความสะดุดหยุดลง


ผมขอถามว่า (เรื่องของบริษัท ของเพื่อน) เรื่องการกล่าวหาผู้สอบบัญชี

ข้อเท็จจริง มีว่า บริษัทเพื่อนของผม ได้ใช้ให้นาย ก. ทนายความ เป็นผู้ยื่นคำกล่าวหาผู้สอบบัญชี ต่อสภาวิชาชีพบัญชี  ปัญหาที่เกิดขึ้น คือ

1. ทนายความไม่ได้ทำตามแบบคำกล่าวหา ที่สภาบัญชี กำหนดไว้ ทำเพียงหนังสือและลงนามโดยทนายความ และมีการอ้างว่าได้รับมอบอำนาจให้ยื่นคำกล่าวหา

2. บริษัทเพื่อนผมไม่ได้มอบอำนาจให้ทนายไปยื่น (คือไม่ได้ทำหนังสือมอบอำนาจไปยื่นคำกล่าวหา)

3. วันที่ยื่น เป็นวันก่อนครบกำหนดระยะเวลาอายุความ  ในการยื่นคำกล่าวหาเพียง  5 วัน

คำถาม

1. กรณีดังกล่าวทำให้อายุความสะดุดหยุดลง หรือไม่

2. ต่อมาบริษัทเพื่อนผม ได้ดำเนินการถูกต้องตามแบบคำกล่าวหา และทำหนังสือมอบอำนาจ ให้ทนายความยื่นใหม่ แต่ได้ยื่นหลังจากยื่นครั้งแรกไปแล้ว 15 วัน ถือว่ามีผลทางกฎหมายหรือไม่ครบ ตามคำตอบข้อ 1.

ขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ครับ

 



ผู้ตั้งกระทู้ ณัฐ (puwanat101-at-hotmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2010-02-09 15:41:13


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2033851)

1. กรณีดังกล่าวทำให้อายุความสะดุดหยุดลง หรือไม่

--ไม่ใช่กรณีที่กฎหมายกำหนดรับรองไว้

มาตรา 193/14   อายุความย่อมสะดุดหยุดลงในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องโดยทำเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ให้ชำระหนี้ให้บางส่วน ชำระดอกเบี้ยให้ประกันหรือกระทำการใดๆ อันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยาย ว่ายอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้อง
(2) เจ้าหนี้ได้ฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องหรือเพื่อให้ชำระหนี้
(3) เจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
(4) เจ้าหนี้ได้มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการพิจารณา
(5) เจ้าหนี้ได้กระทำการอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดี

 

2. ต่อมาบริษัทเพื่อนผม ได้ดำเนินการถูกต้องตามแบบคำกล่าวหา และทำหนังสือมอบอำนาจ ให้ทนายความยื่นใหม่ แต่ได้ยื่นหลังจากยื่นครั้งแรกไปแล้ว 15 วัน ถือว่ามีผลทางกฎหมายหรือไม่ครบ ตามคำตอบข้อ 1.

--ถือว่าการมอบอำนาจสมบูรณ์แล้ว

--จ้างทนายความแล้วทำไมไม่ไว้วางใจเขาเลย

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2010-02-09 22:34:25


ความคิดเห็นที่ 2 (2034028)

 

3. วันที่ยื่น เป็นวันก่อนครบกำหนดระยะเวลาอายุความ  ในการยื่นคำกล่าวหาเพียง 5 วัน

ดังนั้น การยื่นครั้งหลังตามข้อ 2.  ถือว่าขาดอายุความแล้ว ใช่หรือเปล่าครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ณัฐ (puwanat101-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-02-10 13:16:43


ความคิดเห็นที่ 3 (2034055)

ในกรณีดังกล่าวเป็นเรื่องตัวแทน ตัวการ ดังนั้นเมื่อได้ทำภายในอายุความแล้วจึงไม่ขาดอายุความ แต่ในเรื่องความสามารถของตัวแทนนั้นไม่สมบูรณ์ เมื่อตัวการให้สัตยาบันในภายหลังทำให้ความสามารถของตัวแทนสมบูรณ์ จึงไม่ต้องคำนึงถึงเรื่องอายุความ (ความเห็น)

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2010-02-10 14:39:22



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล