ReadyPlanet.com


ค้ำประกันรถยนต์ให้เพื่อน(ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน)


ค้ำประกันรถยนต์ให้เพื่อนแต่เพื่อนเอารถไปขายดาวน์ให้เพื่อนอีกคนแล้วเขาไม่ได้ส่งรถมา7งวดทางไฟแนนซ์ก็เลยโทรมาหาแล้วบอกให้รับผิดชอบไม่ทราบว่าต้องทำอย่างไรเราจะถอนประกันได้ไหมและถ้าเพื่อนไม่ยอมจ่ายเราฃื่อเราจะติดแบล็คลิสไหมคะ ต้องทำอย่างไรบ้าง เพราะยังติดต่อเพื่อนได้อยู่ ถ้าจะเอารถคืนมาได้ไหมคะ ในกรณีที่เพื่อนที่ซื้อคนแรกอยากจะเอารถคืน แล้วหนูต้องทำอย่างไรบ้างคะ ร้อนใจมากรอคำตอบอยู่นะคะ



ผู้ตั้งกระทู้ jusmine :: วันที่ลงประกาศ 2010-03-10 20:54:31


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2043937)

หากเข้าใจคำว่า "ค้ำประกัน"

แน่นอนว่าคุณต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ดังเช่นลูกหนี้ เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ เขาก็จะมาเรียกเอากับทางผู้ค้ำประกัน

เมื่อผู้ค้ำประกันได้ชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ไปแล้ว ผู้ค้ำประกันก็ใช้สิทธิฟ้องไล่เบี้ยเอากับลูกหนี้ได้ครับ

เพื่อนคุณไม่มีสิทธินำรถไปขาย อาจโดนข้อหายักยอกทรัพย์ได้ ผู้ซื้อไม่มีสิทธิในรถที่ซื้อไปเพราะผู้ขายไม่มีสิทธิขาย เข้าหลัก "ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน"

ในเบื้องต้นต้องให้เพื่อนคุณรับผิดชอบต่อหนี้ที่ก่อขึ้นเพื่อคุณจะได้ไม่ต้องมารับผิดในสิ่งที่คุณไม่ควรต้องรับผิดครับ หากยังคิดว่าเป็นเพื่อนกันอยู่ก็ต้องดำเนินการแก้ปัญหาให้กับทางคุณนะครับ

ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน

คำพิพากษาฎีกาที่ 814/2554
ช.ทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทแก่ อ. เมื่อ ช. ตายที่ดินพิพาทตกเป็นของ อ. ต่อมา อ.ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินของตนทั้งหมดแก่โจทก์ทั้งห้า เมื่อ อ.ตาย ที่ดินพิพาทตกเป็นของโจทก์ทั้งห้า แม้ศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของ ช. จำเลยที่ 1 ก็เพียงแต่มีอำนาจจัดการทรัพย์มรดกของ ช. แทนทายาททุกคนเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกแก่ทายาททุกคน ไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทที่ตกเป็นของโจทก์ทั้งห้าไปขายโดยทายาทผู้ได้รับมรดกไม่ยินยอม การที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาทไปขายให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ทั้งห้า แม้จำเลยที่ 2 แม้จะซื้อที่ดินโดยสุจริต เสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนแล้วก็ตาม จำเลยที่ 2 ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ตามหลักที่ว่าผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน โจทก์ทั้งห้าย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกเอาที่ดินพิพาทคืนอันเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินจากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 กรณีไม่ใช่เรื่องการเพิกถอนการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 เพราะการจะเป็นเรื่องเพิกถอนการฉ้อฉลได้ จำเลยที่ 1 ผู้โอนต้องมีสิทธิโอนอยู่แล้ว และการโอนทำให้โจทก์ทั้งห้าซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ


ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน(ซื้อรถยนต์จากผู้กระทำความผิด)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  1344/2535

          เมื่อจำเลยรับซื้อรถยนต์พิพาทจากบุคคลซึ่งฉ้อโกงรถยนต์พิพาทจากโจทก์ จำเลยย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาท เพราะผู้ขายรถยนต์พิพาทไม่มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์นั้น เข้าหลักผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน การที่จำเลยซื้อรถดังกล่าวจากผู้ที่ฉ้อโกงเอามาขายที่ร้านของจำเลยในบริเวณชุมนุมการค้ารถยนต์ไม่ใช่ซื้อจากร้านค้าใดร้านค้าหนึ่งที่อยู่ในชุมนุม การค้ารถยนต์นั้น จึงไม่ใช่เป็นการซื้อในท้องตลาด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1332 ดังนั้น จำเลยจะสุจริตหรือไม่ ก็ไม่เป็นเหตุให้ได้รับความคุ้มครองตามบทกฎหมายดังกล่าว จำเลยจึงต้องคืนรถยนต์พิพาทแก่โจทก์ แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยขายรถยนต์แก่บุคคลภายนอกไปแล้วไม่อาจคืนรถยนต์พิพาทแก่โจทก์ได้ จำเลยจึงต้องใช้ราคารถแก่โจทก์ตามราคาที่โจทก์ซื้อมาพร้อมด้วยค่าเสียหายที่โจทก์ไม่ได้ใช้รถและค่าเสื่อมสภาพรถคันพิพาท

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2010-03-10 21:31:04



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล