ReadyPlanet.com


ปรึกษาเรื่อง ที่ดิน


คือว่า ก๋งมีที่ดินอยู่ 23 ไร่ แล้วนำไปจำนองไว้กับ นาย ก แต่ไม่มีเงินไปถ่ายคืน ต่อมาได้โอนชำระหนี้จำนองให้กับนาย ก และนาย ก ได้นำไปขายต่อ ให้นาย ข แล้วนาย ข ก็นำไปขายต่อให้ นาย ค ซึ่งตั้งแต่ซื้อขายกัน นาย ค ไม่เคยเข้ามาดูที่ดิน ที่ตัวเองซื้อเลยสักครั้งเดียว ตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 อยากถามว่าก๋งยังมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินอยู่หรือไม่ ซึ่งตอนไปโอนก๋งยินยองเพียงผู้เดียว ย่าซึ่งจดทะเบียนสมรส ไม่ได้ยินยอมสามารถแย้งได้หรือไม่



ผู้ตั้งกระทู้ Yim :: วันที่ลงประกาศ 2014-03-29 14:39:00


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3604538)

จากข้อเท็จจริงมีว่า ก๋ง ได้ทำนิติกรรมถึง 2 ครั้งคือ 1. จำนองเป็นประกันหนี้  2. โอนกรรมสิทธิ์ให้นาย ก. ตีใช้หนี้ (ซึ่งคงทำแบบซื้อขาย) และจากนั้น นาย ก. ก็ทำนิติกรรมโอนต่อไปให้นาย ข. และนาย ค. ต่อไป โดยไม่มีผู้ใดที่เป็นเจ้าของใหม่มาดูแลที่ดินเลยนับแต่ปี 2549 คำถามว่า

1. ก๋งยังมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินอยู่หรือไม่

ตอบ - การโอนที่ดินเป็นการแสดงเจตนาสละสิทธิครอบครอง รวมตลอดถึงกรรมสิทธิ์ การถือครองที่ดินต่อมาเป็นการครอบครองแทนเจ้าของที่แท้จริง ก๋งไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่่ดินนั้นแล้ว

 

2.  ตอนไปโอนก๋งยินยองเพียงผู้เดียว ย่าซึ่งจดทะเบียนสมรส ไม่ได้ยินยอมสามารถแย้งได้หรือไม่

ตอบ - เบื้องต้นควรไปตรวจสอบเอกสารในสารบบของโฉนดที่ดินแปลงนี้ว่าได้ทำหนังสือให้ความยินยอมในการจัดการสินสมรสหรือไม่ หากไม่มีก็อาจฟ้องเพิกถอนถอนได้ แต่หากปรากฏข้อเท็จจริงว่า ผู้รับโอนรับโอนสไปโดยสุจริต เสียค่าตอบแทน และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วก็จะได้รับความคุ้มครอบจากกฎหมาย ซึ่งคำตอบก็คงจะต้องพิจารณาข้อมูลจากหลักฐานอื่น ๆ ประกอบด้วย

มาตรา 1476  สามีและภริยาต้องจัดการสินสมรสร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือโอนสิทธิจำนอง ซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้
(2) ก่อตั้งหรือกระทำให้สุดสิ้นลงทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน หรือภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์
(3) ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินสามปี
(4) ให้กู้ยืมเงิน
(5) ให้โดยเสน่หา เว้นแต่การให้ที่พอควรแก่ฐานานุรูปของครอบครัวเพื่อการกุศล เพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา
(6) ประนีประนอมยอมความ
(7) มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย
(8) นำทรัพย์สินไปเป็นประกันหรือหลักประกันต่อเจ้าพนักงานหรือศาล
การจัดการสินสมรสนอกจากกรณีที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง สามีหรือภริยาจัดการได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง

มาตรา 1480  การจัดการสินสมรสซึ่งต้องจัดการร่วมกันหรือต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งตามมาตรา 1476 ถ้าคู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้ทำนิติกรรมไปแต่เพียงฝ่ายเดียวหรือโดยปราศจากความยินยอมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งอาจฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ เว้นแต่คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบันแก่นิติกรรมนั้นแล้ว หรือในขณะที่ทำนิติกรรมนั้นบุคคลภายนอกได้กระทำโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน
การฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมตามวรรคหนึ่งห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นหนึ่งปี นับแต่วันที่ได้รู้เหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันที่ได้ทำนิติกรรมนั้น

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร. 0859604258 วันที่ตอบ 2014-04-02 08:30:02



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล