ReadyPlanet.com


ฟ้องค่าขาดไร้อุปการะ


ขอสอบถามดิฉันกับสามีอยู่กินกันไม่ได้จดทะเบียนสมรส ต่อมาสามีโดนรถชนตาย ขณะตายดิฉันมีลูก 1 คน อายุ 5 เดือน สามีไม่ได้จดทะเบียนรับรองบุตร แต่เป็นผู้ไปแจ้งเกิดที่ทะเบียนจังหวัด และให้บุตรใช้นามสกุลสามี ในสูติบัตร พอสามีเสียรีบดำเนินการให้ศาลสั่งเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดา ซึ่งศาลสั่งเรียบร้อยแล้ว ว่าเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ดิฉันจะฟ้องทางแพ่งกับบริษัทที่เป็นเจ้าของรถที่มาชนสามีดิฉันแทนลูก ขาดไร้อุปการะได้หรือไม่ มีสิทธิชนะคดีรึเปล่า 



ผู้ตั้งกระทู้ ฤดี :: วันที่ลงประกาศ 2014-02-19 14:45:38


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2450275)

ดิฉันจะฟ้องทางแพ่งกับบริษัทที่เป็นเจ้าของรถที่มาชนสามีดิฉันแทนลูก ขาดไร้อุปการะได้หรือไม่ มีสิทธิชนะคดีรึเปล่า

ตอบ -  เมื่อศาลมีคำสั่งให้เด็กเป็นบุตรของผู้ตาย กฎหมายให้มีผลย้อนหลังไปถึงเวลาที่เด็กเกิด ดังนั้นจึงเด็กมีสิทธิฟ้องเรียกค่าขาดไร้อุปการะจากผู้ทำละเมิดได้ ส่วนผลของคดีจะแพ้ชนะคดีคงตอบไม่ได้ครับเป็นเรื่องรายละเอียดในทางคดี ผมไม่ทราบข้อเท็จจริงครับ

มาตรา 1557  การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1547 ให้มีผลนับแต่วันที่เด็กเกิด แต่ทั้งนี้จะอ้างเป็นเหตุเสื่อมสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตในระหว่างเวลาตั้งแต่เด็กเกิดจนถึงเวลาที่บิดามารดาได้สมรสกันหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็น

มาตรา 1547  เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลังหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร. 0859604258 วันที่ตอบ 2014-02-20 08:44:17


ความคิดเห็นที่ 2 (2450286)

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

จดทะเบียนรับรองบุตร
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องจดทะเบียนรับรองบุตร (เด็กหญิง ป.) ผู้เยาว์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ร้อง (มารดา)ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่า ผู้ร้องไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตรต่อศาล เพราะไม่ได้ไปยื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตรผู้เยาว์ต่อนายทะเบียนเพื่อให้นายทะเบียนแจ้งการขอจดทะเบียนรับรองบุตรเป็นหนังสือไปยังผู้คัดค้านและผู้เยาว์ เมื่อผู้คัดค้านคลอดบุตรผู้เยาว์ ผู้ร้องไม่ช่วยอุปการะเลี้ยงดูให้การศึกษาแก่บุตร ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้คัดค้านแต่เพียงผู้เดียว ผู้คัดค้านเลี้ยงดูผู้เยาว์มาโดยตลอด ไม่มีความจำเป็นที่ผู้ร้องจะจดทะเบียนรับรองบุตรอีก ขอให้ยกคำร้อง
 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร. 0859604258 วันที่ตอบ 2014-02-20 09:06:20



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล