ReadyPlanet.com


ผู้จัดการมรดกไม่ยอมจัดการแบ่งมรดก


อยากทราบว่า ผู้จัดการมรดก มีหน้าที่แบ่งทรัพย์มรดก มีระยะเวลาในการจัดการแบ่งสมบัตินานเท่าไรครับ



ผู้ตั้งกระทู้ สุทธิพันธ์ :: วันที่ลงประกาศ 2011-09-02 14:16:25


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2223562)

ในเรื่องการจัดการมรดก กับคดีมรดกไม่เหมือนกัน ถ้าทายาทฟ้องเรียกมรดกกันเองต้องใช้อายุความตามมาตรา 1754 แต่ถ้าฟ้องผู้จัดการมรดกในเรื่องการจัดการมรดกต้องฟ้องตาม มาตรา 1733 วรรคสอง

ตามคำถามว่ามีระยะเวลาในการจัดการแบ่งมรดกนานเท่าไร ต้องขึ้นอยู่กับว่า มรดกได้แบ่งเสร็จสิ้นแล้วหรือยัง?  ถ้าแบ่งเสร็จแล้วต้องฟ้องภายใน 5 ปี ถ้ายังไม่ได้แบ่งถือว่าผู้จัดการมรดกถือครองทรัพย์มรดกแทนทายาท สามารถฟ้องผู้จัดการมรดกได้ แม้ว่าจะล่วงพ้น 10 ปี แล้วก็ตาม

มาตรา 1733 วรรคสอง

คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกนั้น มิให้ทายาทฟ้องเกินกว่าห้าปี นับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง

มาตรา 1754 ห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย หรือนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก
 

คดีฟ้องเรียกตามข้อกำหนดพินัยกรรม มิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อผู้รับพินัยกรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงสิทธิซึ่งตนมีอยู่ตามพินัยกรรม
 

ภายใต้บังคับแห่ง มาตรา 193/27 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าสิทธิเรียก ร้องของเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดกมีกำหนดอายุความยาวกว่าหนึ่งปี มิให้เจ้าหนี้ นั้นฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก
 

ถึงอย่างไรก็ดี สิทธิเรียกร้องตามที่ว่ามาในวรรคก่อน ๆ นั้น มิให้ฟ้อง ร้องเมื่อพ้นกำหนดสิบปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย

  ผู้จัดการมรดกไม่แบ่งทรัพย์มรดก เป็นการกระทำผิดหน้าที่

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-10-07 20:51:20


ความคิดเห็นที่ 2 (2223576)

คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกอายุความ 5 ปี

ที่ดิน 14 แปลง กับสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินผู้จัดการมรดกได้ทำการโอนทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทไปหมดแล้วถือว่าการจัดการมรดกสิ้นสุดลงแล้ว ดังนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อเกินกว่า 5 ปี นับแต่การจัดการมรดกเสร็จซึ่งตามฟ้องเป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก โจทก์ทั้งสามต่างก็เป็นทายาทสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1733

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  1410/2529

ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2011-10-07 22:05:37


ความคิดเห็นที่ 3 (2223577)

ไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะทำหน้าที่ผู้จัดการมรดก

ผู้จัดการมรดกยังไม่ได้จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย และมีทรัพย์มรดกที่ยังมิได้แบ่งปันอยู่ อ้างว่าเจ้ามรดกถึงแก่กรรมแล้วได้ประชุมทายาท มีการทำบันทึกข้อตกลงกันไว้ ทายาททุกคนต่างก็ทราบถึงทรัพย์มรดกที่ตนจะได้รับ จึงไม่จำต้องจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกนั้นไม่ถูกต้องเพราะ กฎหมายได้กำหนดหน้าที่ของผู้จัดการมรดกไว้ว่า ผู้จัดการมรดกต้องลงมือจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่เป็นผู้จัดการมรดก และต้องจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งเดือน การที่ผู้จัดการมรดกยังมิได้แบ่งปันที่ดินอีกแปลงให้แก่ทายาท โดยอ้างว่าไม่สามารถแบ่งได้เพราะสภาพที่ดินไม่สามารถแบ่งกันได้ว่าจะให้ทายาทได้รับกันคนละเท่าใดนั้นไม่มีเหตุผลให้รับฟัง แสดงว่าไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะทำหน้าที่ผู้จัดการมรดกต่อไปได้ ประกอบกับผู้จัดการมรดกได้ทำการโอนที่ดินอีกแปลงหนึ่ง พร้อมตึกแถว อันเป็นทรัพย์มรดกใส่เป็นชื่อของตนเองทางทะเบียน แล้วนำไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่ธนาคารเป็นประกันหนี้ของตนเองและผู้อื่น ในวงเงินสูงถึงสิบล้านบาทเศษ ผู้จัดการมรดกอ้างว่าจะนำเงินมาดำเนินการปลูกสร้างแฟลตเพื่อหาผลประโยชน์ให้แก่ทายาท พฤติการณ์ในการจัดการมรดกส่อแสดงไปในทางไม่สุจริต เป็นการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว หากจะให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกต่อไป การจัดการมรดกย่อมจะล่าช่า ก่อให้เกิดความเสียหายแก่กองมรดกและทายาทได้ สมควรที่จะถอนผู้จัดการมรดกรายนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5229/2534

 

ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2011-10-07 22:08:03


ความคิดเห็นที่ 4 (2223588)

การจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลงอายุความ 5 ปียังไม่เริ่มนับ

คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก อายุความที่มิให้ทายาทฟ้องผู้จัดการมรดกเกินกว่า 5 ปี นับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงนั้น เมื่อปรากฏว่าการจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลง จึงยังไม่อาจเริ่มนับอายุความตามบทกฎหมายดังกล่าว และโดยเหตุที่จำเลยเป็นผู้จัดการมรดก ต้องรับผิดต่อทายาทในลักษณะตัวการตัวแทน การที่ผู้จัดการมรดกครอบครองที่ดินสองแปลง ซึ่งมีส่วนเป็นทรัพย์มรดกกึ่งหนึ่ง ถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาท ตัวผู้จัดการมรดกจะยกอายุความขึ้นต่อสู้ทายาทหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่  4116/2550

 

ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2011-10-07 22:57:22


ความคิดเห็นที่ 5 (2225889)

ดีมากอ่านเข้าใจง่ายเป็นประโยชน์กับประชาชน

ผู้แสดงความคิดเห็น arun วันที่ตอบ 2011-10-17 14:27:36


ความคิดเห็นที่ 6 (2306528)

ผู้จัดการมรดกต้องการครอบครองทรัพย์มรดกไว้เพียงผู้เดียวโดยบ่ายเบียงเรื่องการแบ่งปันทัรพย์มรดกแก่ทายาท ซึ่งหลังจากได้รับคำสั่งศาลแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดก ตามหนังสือยินยอมที่ลงนามโดยทายาทผู้มีสิทธิ ให้ร้องขอต่อศาล แต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกได้   ผู้จัดการมรดกได้ใช้คำสั่งแต่งผู้จากการมรดกของศาลไปทำการโอนชื่อ โฉนดที่ดิน บัญชีธนาคาร และทะเบียนรถยนต์ จากชื่อของผู้ตายเป็นของตนเอง (ซึ่งเป็นทรัพย์มรดก)  และเมื่อทรัพย์มรดกเป็นชื่อของตนแล้วก็ไม่มีความจำเป็นต้องแ่บ่งปันให้ทายาทอีกต่อไป

คำถาม

1. เมื่อทรัพย์มรดกตามบัญชีที่แจ้งไว้ที่ศาลขณะร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดก แล้วผู้จัดการมรดกได้โอนชื่อเป็นของตนเองแล้ว  ทายาทมีสิทธิิที่จะเรียกขอให้ปันทรัพย์มรดกได้อีกหรือไม่ 

2.เมื่อศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดกมาเกือบ 1 ปีแล้วผู้จัดการมรดกบ่ายเบียงที่จะแบ่งบันทรัพย์มรดกแก่ทายาท  ถามว่าระยะเวลาของการมีสิทธิได้นับแบ่งปันมรดกของทายาทมีเท่าใด

3.หากตามกฏหมายมีกำหนดระยะเวลาการใช้สิทธิเรียกร้องให้แบ่งปันทรัพย์มรดกของทายาทไว้  แล้วเมื่ิอใกล้เวลาที่จะขาดสิทธิของทายาท  ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกจะขอสงวนความมีสิทธิของทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกได้ด้วยวิธีใด
 

 

1. เมื่อทรัพย์มรดกตามบัญชีที่แจ้งไว้ที่ศาลขณะร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดก แล้วผู้จัดการมรดกได้โอนชื่อเป็นของตนเองแล้ว  ทายาทมีสิทธิที่จะเรียกขอให้ปันทรัพย์มรดกได้อีกหรือไม่ 

ตอบ- ในคดีอาญา ฟ้องผู้จัดการมรดกยักยอกทรัพย์มรดกได้ (ต้องแจ้งความภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่รู้ถึงความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด)

    ในคดีมรดก ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินให้ตนเองได้ครับ ต้องฟ้องภายใน 5 ปีนับแต่การจัดการมรดกเสร็จสิ้น หรือหากฟ้องคดีอาญาไว้แล้วคดีย่อมสะดุดหยุดลง และเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา อายุความถือเอาตามอายุความคดีอาญา คือ 10  ปี)

 

2.เมื่อศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดกมาเกือบ 1 ปีแล้วผู้จัดการมรดกบ่ายเบียงที่จะแบ่งบันทรัพย์มรดกแก่ทายาท  ถามว่าระยะเวลาของการมีสิทธิได้นับแบ่งปันมรดกของทายาทมีเท่าใด

ตอบ- กรณีไม่แบ่ง มีข้อพิจารณาว่าทรัพย์ยังเป็นชื่อของผู้ตายหรือเป็นของผู้จัดการมรดกแล้ว หากยังเป็นของผู้ตายก็ฟ้องได้ควรภายใน 10 ปี ครับ รีบดำเนินการเลยนะครับ

 

3.หากตามกฏหมายมีกำหนดระยะเวลาการใช้สิทธิเรียกร้องให้แบ่งปันทรัพย์มรดกของทายาทไว้  แล้วเมื่ิอใกล้เวลาที่จะขาดสิทธิของทายาท  ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกจะขอสงวนความมีสิทธิของทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกได้ด้วยวิธีใด

ตอบ- ไม่ควรปล่อยเวลาให้เนินนานไปควรรีบฟ้องครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น บรรยง วันที่ตอบ 2012-10-09 10:36:03


ความคิดเห็นที่ 7 (3988498)

คุณพ่อเสียชีวิตไป มีลูก 4 คน  ให้พี่สาวคนโตเป็นผู้จัดการมรดก ถึงแม้จะมีข้อกังขาสำหรับบางคน แต่ก็ไม่มีใครคัดค้าน ปัญหาคือที่ดิน น้องสุดท้องอ้างว่าคุณพ่อมีหนังสือ มอบที่ดินทั้งหมดให้กับเขาคนเดียว โดยหนังสือนั้นเขียนในสมุดโน๊ตเล็ก ตลอดเวลาที่ทำหนังสือ บรรดาลูกทั้ง 3 ไม่มีใครรับรู้ นอกจากน้องคนสุดท้องคนเดียว พี่สาวจะแบ่งเขาก็ยังไม่ยอม แล้วจะทำอย่างไรต่อคะ

ผู้แสดงความคิดเห็น น้อง วันที่ตอบ 2016-04-24 19:02:39


ความคิดเห็นที่ 8 (4214344)

 ถ้าผู้จัดการมรดกมีความผิดฐานยักยอกทรัพย์ แล้วยังมี่สิทธิ์เป็นผู้จัดการมรดกอีกมั้ยคะ และถ้าเรามีคดีความสิ้นสุดแล้วเขามีความผิดจะเปลี่ยนผู้จัดการมรดได้มั้ยคะ

ตอบ- ควรฟ้องถอนผู้จัดการมรดกครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น Sasinapa วันที่ตอบ 2017-09-24 21:51:53



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล