
ผู้จัดการมรดก | |
หญิงที่เป็นมารดาไม่ไ้ด้จดทะเบียน สามารถร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก แทนบุตรทีเกิดจากชาย เจ้ามรดกได้หรือไม่
หรือ จะต้องร้องขอให้ศาลสั่งให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายเสียก่อน
หรือ ให้พนักงานอัยการเป็นผู้ร้องขอแทนบุตรคะ
หากมีมาตรากฎหมายเกี่ยวข้อง รบกวนแจ้งให้ด้วยค่ะ | |
ผู้ตั้งกระทู้ นักศึกษากฎหมายรุ่นน้อง :: วันที่ลงประกาศ 2009-04-18 15:48:54 |
[1] |
ความคิดเห็นที่ 1 (1927069) | |
มาตรา 1713 ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการจะร้อง ต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกก็ได้ ในกรณีดั่งต่อไปนี้ การตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ถ้ามีข้อกำหนดพินัยกรรม ก็ให้ศาลตั้งตาม ข้อกำหนดพินัยกรรม และถ้าไม่ข้อกำหนดพินัยกรรม ก็ให้ศาลตั้งเพื่อ ประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์ และโดยคำนึงถึงเจตนาของ เจ้ามรดกแล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร
มาตรา 1718 บุคคลต่อไปนี้จะเป็นผู้จัดการมรดกไม่ได้
มาตรา 1627 บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรม นั้นให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความ หมายแห่งประมวลกฎหมายนี้
ในกรณีของคุณถ้าระหว่างที่เจ้ามรดกมีชีวิตได้เลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรอย่างเปิดเผยหรือยอมให้ใช้นามสกุล หรือเป็นผู้แจ้งเกิดด้วยตนเอง ย่อมถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายโดยไม่ต้องร้องขอให้ศาลสั่งให้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายก็มีสิทธิรับมรดกของบิดาได้ครับ สำหรับการร้องขอต่อศาลให้ตั้งเป็นผู้จัดการมรดกนั้น กฎหมายห้ามผู้เยาว์เป็นผู้จัดการมรดก ดังนั้นจึงไม่มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด ส่วนมารดาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับบิดาของเด็กนั้น หากได้ร่วมอยู่กินฉันสามีภริยากันก็ถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะเป็นผู้จัดการมรดกได้ หากไม่มีผู้ใดเต็มใจจะเป็นผู้จัดการมรดกจะร้องขอให้พนักงานอัยการเป็นผู้จัดการมรดกก็ได้ การเป็นผู้จัดการมรดกไม่ใช่ว่าจะดำเนินการอย่างไรก็ได้ ผู้จัดการมรดกต้องมีหน้าที่แบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทโดยธรรมตามสิทธิของแต่ละคน
| |
ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-04-19 10:04:57 |
ความคิดเห็นที่ 2 (1927188) | |
มีปัญญาหาเรื่องผู้จัดการมรดกแม่เสียชีวิตแล้วพ่อได้จดทะเบียนสมรสกับแม่แต่ไม่ค่อยได้มาอยู่ด้วยกันเพราะสาเหตุทางพ่อเค้ามีครอบครัวอยู่อีกทางนึงแล้วบังเอิญว่าตอนเสียชีวิตเงินที่พ่อได้ชาปานะกิตไม่ได้แบ่งลูกเลยแพ่อเค้าจามาเอาเงินส่วนนี้ แม่มีเงินในบัญชีธนาคาร2บัญชี มีลูกสาวเพียงคนเดียวแต่อายุยังไม่ถึง20ปีบริบูรณ์ได้ถามรายละเอียดกับทนายความมาว่าพ่อจะมีสิทธิ์มากกว่าลูกเนื่องจาเค้าจดทะเบียนสมรสกันแล้วพ่อมีสิทธิ์ในเงินตรงนี้มากกว่าลูก ลูกจาได้เงินตรงนี้ใน1ส่วน4 บังเอิญว่าลูกไม่อยากให้พ่อได้เงินในส่วนตรงนี้ของแม่เลย เราสามารถแย้งศาลได้ไหมว่าพ่อก็มีครอบครัวใหม่แต่พ่อกับแม่ก้ไม่ได้อย่าร้างกันแต่พ่อกับแม่ก็ไม่ได้อยู่ด้วยกันแล้ว เราสามารถแย้งศาลได้ไหมว่าเงินส่วนนี้พ่อไม่ควรได้รีบสักบาทเดียวหรืออาจจาได้ส่วนที่น้อยกว่า เพราะว่าตอนนี้พ่อรู้แค่เงินในบัญชีเดียวอีกบัญชีพ่อไม่รู้พ่อรู้บัญชีที่มีเงินน้อยกว่าถ้าเราจาไม่ให้ทางพ่อรู้อีกบัญชีนึงจาทามได้ไหม | |
ผู้แสดงความคิดเห็น 087-6711329 วันที่ตอบ 2009-04-19 19:48:29 |
ความคิดเห็นที่ 3 (1927196) | |
ตอบความเห็นที่ 2
มาตรา 1599 "เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท" ทายาทตามกฎหมายคือใคร มาตรา 1629 ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับ แห่ง มาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดั่ง ต่อไปนี้ คือ คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของ บทบัญญัติพิเศษแห่ง มาตรา 1635 ----------- ทายาทอันดับที่ 1 คือผู้สืบสันดาน หรือเข้าใจง่าย ๆ ว่า บุตรผู้ตายนั่นเอง รวมถึงคู่สมรสด้วย มรดกของผู้ตายมีอะไรบ้าง
มาตรา 1471 สินส่วนตัวได้แก่ทรัพย์สิน (1) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส
มาตรา 1472 สินส่วนตัวนั้น ถ้าได้แลกเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินอื่นก็ดี ซื้อ ทรัพย์สินอื่นมาก็ดี หรือขายได้เป็นเงินมาก็ดี ทรัพย์สินอื่นหรือเงินที่ได้มา นั้นเป็นสินส่วนตัว สินส่วนตัวที่ถูกทำลายไปทั้งหมดหรือแต่บางส่วน แต่ได้ทรัพย์สินอื่นหรือ เงินมาทดแทน ทรัพย์สินอื่นหรือเงินที่ได้มานั้นเป็นสินส่วนตัว ---------- ทรัพย์สินที่ได้มาภายหลังสมรส (จดทะเบียนสมรส) ให้สันนิษฐานว่าเป็นสินสมรส คู่สมรสมีสิทธิในสินสมรสคนละส่วนเท่า ๆ กัน ดังนั้นในกรณีของคุณเมื่อแม่เสียชีวิตทรัพย์สินที่ได้มาภายหลังจดทะเบียนสมรสต้องแบ่งเป็นสองส่วนก่อน และส่วนหนึ่งเป็นมรดกของผู้ตาย ผู้จัดการมรดกมีหน้าที่แบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาท นั่นก็คือบุตร และบิดา (คู่สมรส) คนละส่วนเท่า ๆ กัน ดังนั้นข้อเท็จจริงที่คุณได้สอบถามทนายความมาว่าบุตรจะได้ 1 ใน 4 นั้น ถูกต้องแล้ว เมื่อสินสมรสถูกแบ่งไป 2 ใน 4 ส่วนที่เหลือ 2 ส่วน แบ่งให้บุตร 1 ส่วน เงินในบัญชีธนาคาร หากไม่มีผู้จัดการมรดกไปดำเนินการให้ทางธนาคารก็จะไม่อนุญาตให้ถอนออกไปได้ หรือสรุปว่า ต้องนำมาแบ่งกันให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด แม้ว่า บิดาจะไปมีภริยาใหม่ก็ตาม ในสายตากฎหมายไม่รับรู้ ถ้ายังไม่ได้หย่ากันทางทะเบียน ตามปัญหาของคุณน่าจะได้พูดคุยกับพ่อขอให้ยกให้ลูกน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดครับ
| |
ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-04-19 20:32:09 |
[1] |