ห้างหุ้นส่วนจำกัด
มาตรา 1012 อันว่าสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงเข้ากัน เพื่อกระทำกิจการร่วมกันด้วยประสงค์ จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำนั้น
ดังนั้น ตามหลักกฎหมายดังกล่าวจึงมีหลักเกณฑ์ในการทำสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน 4 ข้อ ดังนี้
1.มีสัญญาระหว่างบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป
คำอธิบาย เรื่องสัญญาเข้าเป็นหุ้นส่วนนี้ทำได้ทั้งการตกลงด้วยปากเปล่าและการทำสัญญาเป็นหนังสือเนื่องจากกฎหมายไม่ได้บังคับเพียงแต่การทำสัญญาเป็นหนังสือนั้นจะมี หลักฐานที่ชัดเจนกว่าเป็นสัญญาเข้าเป็นหุ้นส่วนด้วยปากเปล่า
2.มีการตกลงเข้าทุนกัน คำอธิบาย การตกลงนั้นจะต้องเป็นการตกลงด้วยเจตนาที่จะเป็นหุ้นส่วนกันโดยสมัครใจ มิใช่ตกลงกันโดยสำคัญผิด โดยการข่มขู่ โดยการฉ้อฉล หรือเป็นการตกลงเพราะเจตนาลวงหรือเจตนาอำพลาง
การเข้าทุนกัน หมายถึง ทุนที่หุ้นส่วนนำมาลง ได้แก่
1)เงินสด 2)ทรัพย์สิน ทั้งอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ 3)แรงงาน ทั้งกำลังกายและกำลังความคิด ความรู้เชี่ยวชาญและประสบการณ์ในด้านต่างๆ (ยกเว้นมีกฎหมายห้ามหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดลงทุนด้วยแรงงาน)
-------
3.มีการกระทำกิจการร่วมกัน คำอธิบาย กิจการที่กระทำต้องมีวัตถุประสงค์ไม่ต้องห้ามโดยกฎหมายหรือเป็นการพ้นวิสัย หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
กิจกรรมร่วมกันได้แก่
1)การจัดการและการดูแลการครองงำการจัดการ
การจัดการ หมายถึงการจัดการตามวัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วนการดูแลครอบงำกิจการ เป็นการดำเนินการควบคุมดูแลการจัดการของห้างหุ้นส่วนหรือริษัทอีกทีหนึ่ง (เป็นการจัดการทางอ้อม) เป็นการเปิดโอกาสให้หุ้นส่วนอื่นที่ไม่เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการการจัดการห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้น กรณีห้างหุ้นส่วนจำกัด ได้แก่หุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดนั่นเอง
2)การมีส่วนได้เสียร่วมกัน หมายถึง การร่วมกันในผลกำไรหรือขาดทุนของบริษัท ถ้าตกลงกันได้ โดยฝ่ายหนึ่งจะรับแต่ผลกำไรอย่างเดียวขาดทุนไม่ยอมออกด้วย ไม่เป็นสัญญาเข้าหุ้นส่วน
-----
4.ด้วยความประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงมีพึงได้ คำอธิบาย วัตถุประสงค์ที่ทำสัญญาของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทคือ การลงทุนเพื่อต้องการกำไรจากกิจการนั้น ถ้าเป็นกิจการที่ไม่ต้องการกำไร อาจเป็นสมาคมหรือมูลนิธิ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เป็นการกุศลหรือสาธารณะประโยชน์ต่างๆ
การเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น จะมีหุ้นส่วนอยู่สองจำพวกคือ
1)หุ้นส่วนจำกัดความรับผิด
ซึ่งต้องลงทุนด้วยเงินหรือทรัพย์สินเท่านั้นและจะจำกัดความรับผิดไม่เกินจำนวนเงินหรือมูลค่าทรัพย์ที่ตนเองลงไปถ้ากิจการเจ๊ง คุณก็รับผิดชอบเท่ากับจำนวนเงินหรือทรัพย์ ที่ได้ลงทุนเท่านั้น แต่คุณจะสามารถทำได้แค่บริหารงานทางอ้อมได้
2)หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด
สามารถลงทุนด้วยเงิน หรือทรัพย์สิน หรือแรงงานก็ได้ สามารถบริหารงานได้โดยตรง แต่ก็มีข้อเสียคือ ถ้ากิจการขาดทุนก็จะต้องรับผิดชอบหนี้ที่เกิดขึ้น โดยไม่จำกัดจำนวนเงิน หรือตามแต่มูลค่าความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
|