ReadyPlanet.com


มรดกของปู่ กับบุตรนอกกฎหมาย, รับมรดกแทนที่


บิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน แต่บิดาไม่ได้มีภริยาคนอื่นอีก  คือผัวเดียวเมียเดียว  แต่ไม่ได้จดทะเบียนกันเท่านั้น บิดาเสียเสียชีวิตก่อนปู่กับย่า อย่างนี้ลูกนอกกฎหมายของบิดาที่เสียชีวิต มีสิทธิรับมรดกของปู่กับย่าหรือไม่

 



ผู้ตั้งกระทู้ ปันย่า :: วันที่ลงประกาศ 2008-10-30 15:43:24


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1858159)

แม้บิดามารดาจะไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน และบุตรที่เกิดมาจากบิดาที่ไม่ได้สมรสกับมารดา แต่บิดาให้ใช้นามสกุลและเลี้ยงดูให้การศึกษาตลอดมา กฎหมายให้ถือว่าบุตรนอกกฎหมายดังกล่าวสามารถรับมรดกของบิดานอกกฎหมายได้ตาม

มาตรา 1627 บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรม นั้นให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความ หมายแห่งประมวลกฎหมายนี้

การที่กฎหมายให้เป็นผู้สืบสันดานย่อมมีผลให้บุตรนอกกฎหมายดังกล่าวเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิรับมรดกได้ตาม

มาตรา 1629 ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับ แห่ง มาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดั่ง ต่อไปนี้ คือ
(1) ผู้สืบสันดาน
(2) บิดามารดา
(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
(5) ปู่ ย่า ตา ยาย
(6) ลุง ป้า น้า อา
 

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของ บทบัญญัติพิเศษแห่ง มาตรา 1635

เมื่อเป็นทายาทโดยธรรมแล้วย่อมมีสิทธิรับมรดกแทนที่บิดา ผู้มีสิทธิรับมรดกของปู่  เมื่อบิดาของตนเองเสียชีวิตก่อนปู่ ดังนั้นคำตอบคือ สามารถรับมรดกของปู่ได้ครับ เรียกว่า การรับมรดกแทนที่

มาตรา 1639 ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตาม มาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ความตาย หรือถูกกำจัดมิให้รับมรดกก่อน เจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกำจัด มิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของผู้สืบสันดานนั้นรับ มรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคล เป็นราย ๆ สืบต่อกันเช่นนี้ไปจนหมดสาย

 

ผู้แสดงความคิดเห็น admin วันที่ตอบ 2008-10-31 17:52:50


ความคิดเห็นที่ 2 (1858599)

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้ฎีกาโต้แย้งกันรับฟังเป็นที่ยุติได้ว่า โจทก์ที่ 3 เป็นบุตรนอกกฎหมายที่นายพงษ์เทพ พัฒโนทัย ผู้เป็นบิดาได้รับรองแล้ว เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2542 ลูกจ้างของจำเลยขับรถยนต์บรรทุกหมายเลขทะเบียน 81 - 0304 นครสวรรค์ ไปในทางการที่จ้างของจำเลยด้วยความประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ชนกับรถยนต์กระบะหมายเลขทะเบียน บง-1797 อุทัยธานีซึ่งมีนายพงษ์เทพโดยสารมาและนายพงษ์เทพถึงแก่ความตาย อันเป็นการกระทำละเมิดต่อนายพงษ์เทพ คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ที่ 3 ว่า บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้ว ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิรับมรดกของผู้ตายได้ตามมาตรา 1629 (1) นั้นจะมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดเพราะเหตุที่การตายลงนั้นทำให้ตนต้องขาดไร้อุปการะหรือไม่ เห็นว่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 วรรคสาม นั้น กำหนดให้ผู้กระทำละเมิดในกรณีทำให้เขาถึงตายรับผิดต่อบุคคลที่ต้องขาดไร้อุปการะเฉพาะที่ผู้ตายมีหน้าที่อุปการะตามกฎหมายเท่านั้น แต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1563 และมาตรา 1564 บัญญัติให้บุตรและบิดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูกันนั้น หมายถึง บุตรและบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ไม่มีบทบัญญัติกำหนดสิทธิและหน้าที่ให้บิดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรนอกกฎหมายแต่ประการใด ดังนั้น แม้บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วจะเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิรับมรดกของบิดาได้ แต่ก็ไม่มีสิทธิเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดา บุตรนอกกฎหมายจึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าขาดไร้อุปการะจากผู้กระทำละเมิดให้บิดาตนถึงแก่ความตายได้ ปัญหาดังกล่าวเกี่ยวกับอำนาจฟ้องซึ่งเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้และมิได้ยกขึ้นอ้างในการยื่นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ก็เห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 6 ชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์ที่ 3 ฟังไม่ขึ้น"

พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1409/2548

 

ผู้แสดงความคิดเห็น admin วันที่ตอบ 2008-11-02 12:35:03


ความคิดเห็นที่ 3 (2427493)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 381/2538


ม. และโจทก์ที่ 1  ได้แสดงความเกี่ยวข้องฉันบิดากับบุตร โดยให้ความอุปการะเลี้ยงดู ให้ใช้นามสกุลเดียวกัน  เป็นพฤติการณ์ที่รู้กันโดยทั่วไปตลอดมาว่าโจทก์ ที่ 1  เป็นบุตร  โจทก์ที่ 1 จึงเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว ถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน เป็นทายาทโดยธรรม มีสิทธิรับมรดกของ ม. แต่เมื่อ ม. ซึ่งเป็นบุตรของเจ้ามรดกตายไปก่อนเจ้ามรดก  โจทก์ที่ 1 จึงมีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกแทนที่ ม. ได้

ผู้แสดงความคิดเห็น admin วันที่ตอบ 2013-11-04 17:22:22



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล