ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




คำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกปิดบังทรัพย์มรดกมีผลอย่างไร

บิดา มารดา และบุตร ทนาย อาสา ปรึกษา เรื่อง อำนาจปกครองบุตร ฟรี

 

เพิ่มเพื่อนไลน์แชทกับทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

คำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกปิดบังทรัพย์มรดกมีผลอย่างไร

ตามที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยปิดบังทรัพย์สินที่ดิน 5 แปลงซึ่งจำเลยไม่ระบุไว้ในบัญชีทรัพย์มรดกในคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกและไม่แสดงต่อทายาทคนอื่น ๆ และโจทก์ จำเลยต้องถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดกของผู้ตาย ศาลฎีกาเห็นว่าไม่มีกฎหมายใดที่บัญญัติให้คำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกจะต้องระบุถึงทรัพย์มรดกของผู้ตายทั้งหมดไว้ในบัญชีทรัพย์มรดก การที่จำเลยไม่ได้ระบุทรัพย์สินที่ดิน 5 แปลง ไว้ในบัญชีทรัพย์มรดก จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการปิดบังทรัพย์มรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1776/2558

การนำสืบพยานบุคคลถึงความเป็นมาอันแท้จริงของสัญญาซื้อขายที่ดินว่าเพราะเหตุใดจึงมีชื่อจำเลยเป็นผู้รับโอน ไม่ใช่การนำสืบเพื่อบังคับตามสัญญาซื้อขายระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ไม่เป็นการนำสืบเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสาร จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94

การที่ผู้ตายกับจำเลยร่วมกันกู้เงินซื้อที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ ก่อนจดทะเบียนสมรสและช่วยกันผ่อนชำระหนี้ธนาคารเข้าลักษณะเป็นหุ้นส่วนกันมาแต่เดิม แต่การถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ไม่ปรากฏว่ามีการตกลงกันเป็นอย่างอื่น จึงเป็นการถือกรรมสิทธิ์รวมของผู้ตายกับจำเลยคนละครึ่ง ดังนั้น เมื่อที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่ผู้ตายกับจำเลยมีอยู่ก่อนสมรส จึงเป็นสินส่วนตัวของผู้ตายกับจำเลยฝ่ายละครึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1471 (1) ส่วนการที่ผู้ตายกับจำเลยร่วมกันกู้ยืมเงินในการซื้อตอนแรกก่อนสมรส โดยนำที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ไปจำนองเป็นประกันหนี้ แล้วมีการผ่อนชำระหนี้เรื่อยมาจนมีการจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองมาเป็นชื่อผู้ตายกับจำเลยภายหลังจดทะเบียนสมรสนั้น เป็นเพียงขั้นตอนการชำระหนี้ของผู้ตายกับจำเลยเท่านั้น ไม่อาจทำให้ที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ซึ่งเป็นสินส่วนตัวของผู้ตายกับจำเลยมาก่อนสมรสต้องกลายเป็นสินสมรส ที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์จึงเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายครึ่งหนึ่ง

ไม่มีบทบัญญัติตามกฎหมายใดบัญญัติให้คำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกจะต้องระบุถึงทรัพย์มรดกของผู้ตายทั้งหมด การที่จำเลยยื่นคำร้องขอโดยไม่ได้ระบุที่ดินอีก 5 แปลง ไว้ในบัญชีทรัพย์มรดก ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการปิดบังทรัพย์มรดก อันเป็นเหตุให้จำเลยต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกของผู้ตาย

 

ถูกกำจัดมิให้รับมรดก คำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ปิดบังทรัพย์มรดก

 

โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้อง ขอให้บังคับจำเลยแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 88465 ที่ดินโฉนดเลขที่ 140868 ที่ดินโฉนดเลขที่ 134895 ที่ดินโฉนดเลขที่ 19465 และที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) เลขที่ 757 แต่ละรายการออกครึ่งหนึ่ง และกำจัดจำเลยมิให้ได้มรดก โดยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวให้โจทก์โดยปลอดภาระติดพัน หากจำเลยไม่แบ่งแยก หรือแบ่งไม่ได้ หรือไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้ ให้นำที่ดินทั้งหมดออกขายทอดตลาดนำเงินครึ่งหนึ่งมาแบ่งให้แก่โจทก์ หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย

จำเลยให้การและแก้ไขคำให้การขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยแบ่งที่ดินโฉนดเลขที่ 88465 ตำบลบางแคเหนือ (หลักสอง) อำเภอภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร พร้อมทาวน์เฮ้าส์สองชั้นเลขที่ 604/211 หมู่ที่ 3 แขวงบางแคเหนือ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร และที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) เลขที่ 757 ตำบลเกาะลันตาน้อย อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ ให้แก่โจทก์หนึ่งในสี่ส่วนโดยปลอดภาระติดพัน หากจำเลยไม่ไปทำการแบ่งหรือแบ่งไม่ได้ หรือไม่สามารถโอนได้ให้นำที่ดินออกขายนำเงินมาแบ่งให้แก่โจทก์หนึ่งในสี่ส่วน หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์เท่าที่โจทก์ชนะคดี โดยกำหนดค่าทนายความ 10,000 บาท คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก

โจทก์และจำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยแบ่งที่ดินโฉนดเลขที่ 88465 ตำบลบางแคเหนือ (หลักสอง) อำเภอภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร พร้อมทาวน์เฮาส์เลขที่ 604/211 หมู่ที่ 3 แขวงบางแคเหนือ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ให้แก่โจทก์หนึ่งในแปดส่วนโดยปลอดภาระติดพัน ส่วนวิธีการแบ่งให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนโจทก์ตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีในชั้นอุทธรณ์ โดยกำหนดค่าทนายความ 10,000 บาท คำขออื่นให้ยก คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เสียเกินในศาลชั้นต้น 19,896 บาท และชั้นอุทธรณ์ 24,718 บาท แก่โจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์นอกจากที่ศาลสั่งคืนให้เป็นพับ

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงในเบื้องต้นฟังเป็นยุติได้ว่า นางขนิษฐา โจทก์ และนายสุรเดช เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับนางสาวอรนุช ผู้ตาย นายสุรเดชและบิดามารดาของผู้ตายถึงแก่ความตายไปก่อนแล้ว ผู้ตายและจำเลยรับราชการเป็นอาจารย์ที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ผู้ตายได้รับอนุญาตให้ลาไปศึกษาระดับปริญญาเอกที่ประเทศฝรั่งเศส ระหว่างศึกษาอยู่นั้นผู้ตายเดินทางกลับมาประเทศไทยและจดทะเบียนสมรสกับจำเลยเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2535 ตามสำเนาใบสำคัญการสมรสแล้วกลับไปศึกษาต่อ ผู้ตายเดินทางกลับมาประเทศไทยและพักอาศัยอยู่กับจำเลยตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2537 ไม่มีบุตรด้วยกัน ผู้ตายถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2547 ตามสำเนามรณบัตร จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลแพ่งธนบุรีตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย โดยระบุในคำร้องขอว่าผู้ตายมีทรัพย์มรดกรวม 7 รายการ ศาลแพ่งธนบุรีมีคำสั่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ต่อมาเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2548 โจทก์ได้รับแบ่งมรดกของผู้ตายจากจำเลยเป็นเงิน 210,547 บาท ตามสำเนาสัญญาการรับทรัพย์สินจากกองมรดกผู้ตาย นอกจากทรัพย์สินตามสำเนารายการทรัพย์สินของผู้ตาย ผู้ตายกับจำเลยยังมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินโฉนดเลขที่ 88465 ตำบลบางแคเหนือ (หลักสอง) อำเภอภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 18 ตารางวา พร้อมทาวน์เฮาส์ เลขที่ 604/211 หมู่ที่ 3 แขวงบางแคเหนือ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร โดยร่วมกันซื้อมาก่อนสมรส ส่วนจำเลยมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 140868 ตำบลบางแคเหนือ อำเภอภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 1 ไร่ ที่ดินโฉนดเลขที่ 134895 ตำบลบางแคเหนือ อำเภอบางแค (ภาษีเจริญ) กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 198 ตารางวา ที่ดินโฉนดเลขที่ 19465 ตำบลบ้านช้าง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เนื้อที่ 10 ไร่ 3 งาน 57 ตารางวา และที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) เลขที่ 757 ตำบลเกาะลันตาน้อย อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ เนื้อที่ 5 ไร่ 80 ตารางวา ที่ดินทั้งสี่แปลงนี้จดทะเบียนโอนเป็นชื่อจำเลยในระหว่างสมรสกับผู้ตาย

คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยข้อแรกตามฎีกาของโจทก์ว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 140868, 134895 และ 19465 เป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายครึ่งหนึ่งหรือไม่ เห็นว่า การที่จำเลยนำสืบพยานจำเลยปากนายชุ่มและพยาน ดังกล่าวไม่เป็นการนำสืบเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญาซื้อขายที่ดิน ด้วยเหตุผลเช่นเดียวกับที่ได้วินิจฉัยในฎีกาตอนแรกแล้ว จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94

มีปัญหาต้องวินิจฉัยข้อต่อไปตามฎีกาของโจทก์ว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 88465 พร้อมทาวน์เฮาส์เลขที่ 604/211 และที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) เลขที่ 757 เป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายครึ่งหนึ่งหรือไม่ เห็นว่า การที่ผู้ตายและจำเลยร่วมกันกู้เงินซื้อที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ดังกล่าว ก่อนจดทะเบียนสมรสและช่วยกันผ่อนชำระหนี้แก่ธนาคารเข้าลักษณะเป็นหุ้นส่วนกันมาแต่เดิมดังที่โจทก์ฎีกานั้น แต่การถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ซึ่งไม่ปรากฏว่าได้มีการตกลงกันเป็นอย่างอื่น จึงต้องเป็นการถือกรรมสิทธิ์รวมของผู้ตายและจำเลยคนละครึ่ง ดังนั้นเมื่อที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่ผู้ตายและจำเลยมีอยู่ก่อนสมรสจึงเป็นสินส่วนตัวของผู้ตายและจำเลยฝ่ายละครึ่ง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471 (1) ส่วนการที่ผู้ตายและจำเลยร่วมกันกู้เงินในการซื้อตอนแรกก่อนการสมรส โดยนำที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ไปจำนองเป็นประกันหนี้ แล้วมีการผ่อนชำระหนี้เรื่อยมาจนมีการจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองมาเป็นชื่อผู้ตายกับจำเลยภายหลังจดทะเบียนสมรสนั้น เห็นว่า เป็นเพียงขั้นตอนการชำระหนี้ของผู้ตายและจำเลยเท่านั้น ไม่อาจทำให้ที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ซึ่งเป็นสินส่วนตัวของผู้ตายและจำเลยมาก่อนสมรสต้องกลายเป็นสินสมรสดังที่โจทก์ฎีกามาแต่อย่างใด ดังนั้นจึงรับฟังได้ว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 88465 พร้อมทาวน์เฮาส์เลขที่ 604/211 เป็นสินส่วนตัวโดยเป็นกรรมสิทธิ์รวมของผู้ตายและจำเลยจึงเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายครึ่งหนึ่ง และที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) เลขที่ 757 เป็นสินส่วนตัวของจำเลย ดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมา ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

มีปัญหาต้องวินิจฉัยข้อต่อไปตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยต้องถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดกของผู้ตายหรือไม่ โจทก์ฎีกาว่า จำเลยปิดบังทรัพย์สินที่ดิน 5 แปลง โดยไม่ระบุไว้ในบัญชีทรัพย์มรดก แสดงต่อศาลประกอบคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกและไม่แสดงต่อทายาทอื่นรวมทั้งโจทก์ จำเลยจึงสมควรถูกกำจัดมิให้รับมรดกทรัพย์ที่ปิดบังไว้ดังกล่าวนั้น เห็นว่า ไม่มีบทบัญญัติตามกฎหมายใดที่บัญญัติให้คำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกจะต้องระบุถึงทรัพย์มรดกของผู้ตายทั้งหมด การที่จำเลยไม่ได้ระบุทรัพย์สินที่ดิน 5 แปลง ไว้ในบัญชีทรัพย์มรดก ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการปิดบังทรัพย์มรดก

พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ




คดีมรดก ร้องศาลตั้งผู้จัดการมรดก

ทายาทฟ้องทายาทให้แบ่งทรัพย์มรดก article
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนมรดก
การจัดการทรัพย์มรดกในฐานะผู้จัดการมรดกตามหน้าที่ที่จำเป็น
ทายาทมิได้ฟ้องเรียกร้องมรดกภายใน 1 ปี
ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน ผู้มีส่วนได้เสีย
สามีไม่ได้จดทะเบียนเป็นผู้มีส่วนได้เสียเป็นผู้จัดการมรดกได้
ทรัพย์มรดกยังไม่ได้แบ่งให้แก่ทายาททุกคน-การจัดการทรัพย์มรดกยังไม่เสร็จสิ้น
บุคคลผู้ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกของผู้ตาย
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มีผลอย่างไร?
ฟ้องผู้จัดการมรดกนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงเกินห้าปีขาดอายุความ
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกยื่นต่อศาลถูกเพิกถอนได้
อายุความคดีมรดก เจ้าหนี้ฟ้องคดีมรดกเกินหนึ่งปี
คดีของโจทก์ขาดอายุความการจัดการมรดก
บุตรบุญธรรมเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรชอบด้วยกฎหมาย
บุตรนอกกฎหมายซึ่งผู้ตายรับรองแล้วเป็นผู้สืบสันดาน
มารดาขายที่ดินซึ่งผู้เยาว์มีส่วนแบ่งไม่ต้องขอศาล
นายอำเภอคือผู้มีอำนาจจัดทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
ความรับผิดของผู้จัดการมดกภายหลังการเสียชีวิต
ผู้จัดการมรดกร่วมนำทรัพย์มรดกหาประโยชน์แก่ตน
ผู้จัดการมรดกปฏิบัติผิดหน้าที่-ทายาทผู้มีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกได้
ผู้สืบสันดาน คือใคร? ต่างกับทายาท อย่างไร?
คู่สมรสและการแบ่งมรดกของคู่สมรส | การสมรสเป็นโมฆะ
อายุความคดีมรดก และอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดก
เหตุอันจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก
การปันมรดกเสร็จสิ้นลงแล้วการถอนผู้จัดการมรดกย่อมพ้นกำหนดเวลา
สามีมิได้จดทะเบียนสมรสไม่ถือเป็นทายาทของภริยาผู้ตาย
อำนาจหน้าที่จัดการศพพระภิกษุผู้มรณภาพไม่มีทรัพย์สิน
สามีไม่จดทะเบียนสมรสขอถอนผู้จัดการมรดก มีกรรมสิทธิ์รวม
ไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะทำหน้าที่ผู้จัดการมรดก
อำนาจฟ้องขอแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตาย
ทายาททุกคนมอบหมายให้ครอบครองที่ดินแทนทายาททุกคนเพื่อประโยชน์ร่วม
ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามมาตรา 1300
ทายาทโดยธรรมย่อมมีสิทธิเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์มรดกตามส่วนที่จะพึงได้
ทายาทสละมรดกโดยที่รู้อยู่ว่าการสละมรดกทำให้เจ้าหนี้ของตนเสียประโยชน์
สิทธิรับมรดกที่ยังไม่ได้จดทะเบียนการได้มาห้ามยกเป็นข้อต่อสู้ผู้รับโอนโดยสุจริต
ตามกฎหมายลักษณะผัวเมียมิได้บัญญัติให้ใช้บังคับเฉพาะแก่บุคคลผู้มีสัญชาติไทย
ผู้จัดการมรดกทำนิติกรรมซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก
ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์มรดกเมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความแล้ว
ผู้คัดค้านไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในการขอจัดการมรดก
ทายาทมีส่วนเท่ากันออกค่าใช้จ่ายจัดการทำศพ
ความเหมาะสมในการเป็นผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่น
สิทธิของบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายในการรับมรดกของบุตรนอกกฎหมาย
หนังสือสัญญาแบ่งมรดกตกเป็นโมฆะหรือไม่?
อำนาจและหน้าที่ในการจัดการทำศพและลำดับก่อนหลัง
พินัยกรรมมีเงื่อนไขบังคับก่อน
ผู้จัดการมรดกฟ้องแทนทายาทโดยธรรมอื่น
คู่สมรสที่จดทะเบียนหย่าแล้วเป็นผู้จัดการมรดกได้หรือไม่
การสละมรดกมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาเจ้ามรดกตายจึงขาดความเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
แม้กองมรดกมีผู้จัดการมรดกแล้วทายาทก็ยังมีสิทธิฟ้อง
พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองไม่ได้ทำต่อหน้าพยานตกเป็นโมฆะ
บุตรนอกสมรสและบิดานอกกฎหมายมีสิทธิรับมรดกต่อกันอย่างไร
ผู้จัดการมรดก | ทายาทผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก
ผู้จัดการมรดกเรียกให้เจ้าของรวมส่งมอบโฉนดที่ดิน
การจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลงอายุความ 5 ปียังไม่เริ่มนับ
สิทธิรับมรดกก่อนหลัง
คำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ
อายุความฟ้องคดีแพ่งอันเนื่องจากคดียักยอกทรัพย์มรดก
เมื่อแบ่งมรดกเสร็จแล้วความเป็นทายาทสิ้นสุดลง-อายุความมรดก
การแบ่งมรดกที่ดินมือเปล่าไม่มีเอกสารสิทธิ
คดีมรดกต้องเป็นคดีที่ทายาทด้วยกันพิพาทกันเรื่องสิทธิในส่วนแบ่งมรดก
ขอให้ศาลสั่งถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก
ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ความรับผิดของผู้ตาย
แสดงบัญชีเครือญาติเป็นเท็จปิดบังจำนวนทายาท
อายุความคดีมรดกสะดุดหยุดลง การแบ่งทรัพย์มรดกไม่ชอบ
ไม่มีกฎหมายบังคับให้ฟ้องเอาทรัพย์มรดกจากทายาทอื่นที่ครอบครองแทนใน 1 ปี
สัญญาว่าจ้างติดตามทรัพย์กองมรดกเรียกส่วนแบ่งเป็นโมฆะ
คดีฟ้องขอให้เพิกถอนพินัยกรรมปลอมและถูกกำจัดมิให้รับมรดก
ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่เพียงทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไป
โจทก์ฟ้องให้แบ่งทรัพย์มรดกได้แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความหนึ่งปี
ผู้จัดการมรดกแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันฟังคำสั่งศาล
คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกอายุความ 5 ปี
การแจ้งการเกิดของเด็กในทะเบียนคนเกิดเองว่าเป็นบุตรของตน
ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด
โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
การที่จะเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกไว้แทนทายาทอื่น
พินัยกรรมเอกสารลับทำผิดแบบเป็นโมฆะ
การจัดการมรดกไม่ชอบไม่อาจถือว่าการจัดการมรดกสิ้นลงแล้ว