ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ฟ้องเรียกให้ชำระหนี้เงินกู้อย่างเจ้าหนี้สามัญ

ฟ้องเรียกให้ชำระหนี้เงินกู้อย่างเจ้าหนี้สามัญ-มิใช่ฟ้องบังคับจำนอง อายุความ 1 ปี

ห้ามมิให้เจ้าหนี้ฟ้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดกเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี คดีนี้โจทก์ใช้สิทธิฟ้องเรียกให้ชำระหนี้เงินกู้อย่างเจ้าหนี้สามัญ มิใช่ฟ้องบังคับจำนอง จึงต้องนำอายุความ 1 ปี มาใช้บังคับแก่คดี เมื่อโจทก์ได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกแต่โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ทายาทโดยธรรม เมื่อพ้นกำหนด 1 ปี สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในหนี้เงินกู้อันเป็นหนี้ประธานจึงขาดอายุความ ดอกเบี้ยซึ่งเป็นสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นอุปกรณ์ย่อมเป็นอันขาดอายุความด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2474/2552
 
          ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสามอยู่ใต้บังคับมาตรา 193/27 เป็นผลให้เจ้าหนี้จำนองยังคงมีสิทธิฟ้องบังคับชำระหนี้ แม้ว่าสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นประธานจะขาดอายุความแล้ว แต่ก็ต้องเป็นกรณีที่เจ้าหนี้จำนองฟ้องบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนอง อันเป็นการบังคับตามทรัพยสิทธิเหนือทรัพย์สินนั้น แม้โจทก์กล่าวอ้างมาในคำฟ้องว่า บ. ร่วมกับจำเลยที่ 1 จำนองที่ดินเพื่อเป็นประกันหนี้เงินกู้ แต่โจทก์เพียงแต่ขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ในฐานะทายาทโดยธรรมของ บ. ชำระหนี้อันเป็นตัวเงินคืนต้นเงินและดอกเบี้ย มิได้ขอให้บังคับชำระหนี้จากที่ดินที่จำนองจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องเรียกให้ชำระหนี้เงินกู้อย่างเจ้าหนี้สามัญ มิใช่ฟ้องบังคับจำนอง กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 193/27 จึงต้องนำอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 1754 วรรคสาม มาใช้บังคับแก่คดี

   โจทก์ได้รู้ถึงความตายของ บ. ตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2548 แต่โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2550 ซึ่งพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่โจทก์ได้รู้ถึงความตายของ บ. สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในหนี้เงินกู้อันเป็นหนี้ประธานจึงขาดอายุความ ดอกเบี้ยซึ่งเป็นสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นอุปกรณ์ย่อมเป็นอันขาดอายุความด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/26
          ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (1) บัญญัติให้สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยค้างชำระ มีกำหนดอายุความ 5 ปี สิทธิเรียกร้องในดอกเบี้ยค้างชำระที่พ้นกำหนดอายุความ 5 ปี นับย้อนหลังตั้งแต่วันฟ้องขึ้นไปจึงเป็นอันขาดอายุความ
 
 โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2539 จำเลยที่ 1 และนายบุญมี ทำสัญญาจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 28778 ตำบลบุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ไว้แก่โจทก์เพื่อเป็นประกันหนี้เงินกู้จำนวน 100,000 บาท ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ชำระดอกเบี้ยเดือนละครั้ง โดยให้ถือสัญญาจำนองเป็นสัญญากู้เงิน จำเลยที่ 1 และนายบุญมีได้รับเงินจากโจทก์ไปครบถ้วนแล้ว แต่ชำระหนี้คืนแก่โจทก์เพียงบางส่วนโดยชำระครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2540 เป็นเงิน 3,000 บาท ต่อมาเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2548 โจทก์ตรวจสอบพบว่านายบุญมีถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นผู้มีสิทธิรับมรดกของนายบุญมีในฐานะทายาทโดยธรรม จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยทั้งสี่ชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองแล้ว จำเลยทั้งสี่เพิกเฉย จำเลยทั้งสี่ยังค้างชำระเงินต้น 91,111.03 บาท กับดอกเบี้ยนับแต่วันทำสัญญาจำนองเป็นเวลา 5 ปี เป็นเงิน 68,333.25 ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ชำระเงิน 159,444.28 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงิน 91,111.03 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

          จำเลยทั้งสี่ให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง จำเลยที่ 1 และนายบุญมี ไม่ได้กู้เงินโจทก์ โจทก์เป็นผู้รับจำนองที่ดินไว้แทนบริษัทสยามนิสสันอุบลราชธานี จำกัด ซึ่งให้นายบุญมีเช่าซื้อรถยนต์ โดยมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้ค้ำประกัน นายบุญมี และจำเลยที่ 1 ไม่มีเงินสดชำระเงินดาวน์ จึงได้จำนองที่ดิน สัญญาจำนองไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2  ถึงที่ 4 ให้รับผิดในฐานะทายาทโดยธรรมของนายบุญมี แต่ฟ้องเกิน 1 ปี นับแต่โจทก์ทราบว่านายบุญมีถึงแก่ความตาย คดีในส่วนของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงขาดอายุความอีกทั้งดอกเบี้ยเป็นเวลา 5 ปี นับแต่วันทำสัญญาจำนองที่โจทก์เรียกร้องตามฟ้องก็ขาดอายุความแล้ว เพราะมิใช่ดอกเบี้ยนับจากวันฟ้องย้อนหลังขึ้นไปเป็นเวลา 5 ปี ขอให้ยกฟ้อง

          ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ชำระเงิน 159,444.28 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับถัดจากวันฟ้อง จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ เฉพาะจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ให้รับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกของนายบุญมี ผู้ตาย ที่ตกทอดได้แก่จำเลยแต่ละคน ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ

         จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 233 ทวิ วรรคหนึ่ง

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “คดีนี้ จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายพร้อมกับยื่นคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาแม้ศาลชั้นต้นมิได้สั่งอนุญาต แต่การที่โจทก์ได้รับสำเนาคำร้องแล้วไม่คัดค้าน และศาลชั้นต้นสั่งให้ส่งสำนวนไปศาลฎีกา พอแปลได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 233 ทวิ วรรคหนึ่ง แล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2539 จำเลยที่ 1 และนายบุญมี ได้ทำสัญญาจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 28778 ตำบลบุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ไว้แก่โจทก์เพื่อเป็นประกันหนี้เงินกู้จำนวน 100,000 บาท ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตกลงชำระดอกเบี้ยเดือนละครั้ง โดยให้ถือสัญญาจำนองเป็นสัญญากู้เงิน ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเอกสารหมาย จ.2 หลังจากทำสัญญาจำเลยที่ 1 และนายบุญมีชำระหนี้ให้แก่โจทก์บางส่วน โดยชำระครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2540 และยังคงค้างชำระหนี้ต้นเงิน 91,111.03 บาท กับดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันดังกล่าว ต่อมาวันที่ 22 สิงหาคม 2548 โจทก์ตรวจสอบพบว่านายบุญมีถึงแก่ความตายจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นผู้มีสิทธิรับมรดกของนายบุญมีในฐานะทายาทโดยธรรม

          มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสี่ว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ ซึ่งศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยในส่วนของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ก่อน เห็นว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม บัญญัติห้ามมิให้เจ้าหนี้ฟ้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดกเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก แม้บทกฎหมายนี้จะอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 193/27 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นผลให้เจ้าหนี้จำนองยังคงมีสิทธิฟ้องบังคับชำระหนี้ แม้ว่าสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นประธานจะขาดอายุความแล้วก็ตาม แต่ก็ต้องเป็นกรณีที่เจ้าหนี้จำนองฟ้องบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนอง อันเป็นการบังคับตามทรัพย์สิทธิเหนือทรัพย์สินนั้น กล่าวอีกนัยหนึ่งคือต้องเป็นการฟ้องบังคับจำนองเท่านั้น คดีนี้แม้โจทก์กล่าวอ้างมาในคำฟ้องว่า นายบุญมีร่วมกับจำเลยที่ 1 จำนองที่ดินเพื่อเป็นประกันหนี้เงินกู้ แต่โจทก์เพียงแต่ขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ในฐานะทายาทโดยธรรมของนายบุญมีชำระหนี้อันเป็นตัวเงินคือต้นเงินและดอกเบี้ย มิได้ขอให้บังคับชำระหนี้จากที่ดินที่จำนองแต่อย่างใด สภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับตามคำฟ้องของโจทก์ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องเรียกให้ชำระหนี้เงินกู้อย่างเจ้าหนี้สามัญ มิใช่ฟ้องบังคับจำนอง กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 193/27 จึงต้องนำอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 1754 วรรคสาม มาใช้บังคับแก่คดี เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์ได้รู้ถึงความตายของนายบุญมีมาตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2548 แต่โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2550 ซึ่งพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่โจทก์ได้รู้ถึงความตายของนายบุญมี สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในหนี้เงินกู้อันเป็นหนี้ประธานจึงขาดอายุความ ดอกเบี้ยซึ่งเป็นสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นอุปกรณ์ย่อมเป็นอันขาดอายุความด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/26 ฟ้องโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงขาดอายุความแล้ว ปัญหานี้เป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นปรับบทกฎหมายไม่ถูกต้องตามสภาพแห่งคำฟ้องของโจทก์ และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ได้ให้การต่อสู้เรื่องอายุความเป็นประเด็นไว้แล้ว จึงย่อมมีสิทธิยกขึ้นอุทธรณ์ หาใช่เป็นการยกข้ออ้างหรือข้อเท็จจริงขึ้นใหม่อันจะเป็นการต้องห้ามอุทธรณ์ดังที่โจทก์โต้แย้งมาในคำแก้อุทธรณ์ไม่ อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ข้อนี้ฟังขึ้น เมื่อวินิจฉัยดังนี้แล้ว อุทธรณ์ข้ออื่นเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย เพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป

          สำหรับปัญหาในส่วนของจำเลยที่ 1 ซึ่งอุทธรณ์ว่า ดอกเบี้ยก่อนฟ้องที่โจทก์ขอมาตามฟ้องขาดอายุความนั้น เห็นว่า การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า นับถึงวันฟ้องจำเลยทั้งสี่ยังมีหนี้ค้างชำระแก่โจทก์เป็นต้นเงิน 91,111.03 บาท กับดอกเบี้ยนับแต่วันทำสัญญาจำนอง 5 ปี เป็นเงิน 68,333.25 บาท นั้น ยังไม่อาจแปลความหมายได้ว่าเป็นคำฟ้องที่เรียกดอกเบี้ยในช่วงเวลา 5 ปีแรก นับแต่วันทำสัญญาจำนอง เพราะเห็นได้จากคำบรรยายฟ้องของโจทก์ประกอบบันทึกรายละเอียดหนี้เอกสารหมาย จ.8 ว่า ในวันที่ 13 มีนาคม 2540 ซึ่งมีการชำระเงิน 3,000 บาท แก่โจทก์ครั้งสุดท้ายนั้น เมื่อหักชำระแล้วคงมีหนี้ค้างชำระต้นเงินซึ่งยังเหลืออยู่จำนวน 91,111.03 บาท ส่วนดอกเบี้ยนับแต่วันทำสัญญาจนถึงวันดังกล่าวไม่มีค้างชำระ แต่โจทก์คำนวณดอกเบี้ยค้างชำระตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2541 ถึง 8 กุมภาพันธ์ 2546 เป็นเวลา 5 ปี ได้จำนวน 68,333.25 บาท ตามคำฟ้อง แสดงว่าโจทก์ประสงค์จะเรียกร้องดอกเบี้ยที่ค้างชำระ 5 ปี นับแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2541 ถึง 8 กุมภาพันธ์ 2546 มิใช่นับแต่วันทำสัญญาจำนอง 5 ปี ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33 (1) บัญญัติให้สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยค้างชำระ มีกำหนดอายุความ 5 ปี สิทธิเรียกร้องในดอกเบี้ยค้างชำระที่พ้นกำหนดอายุความ 5 ปี นับย้อนหลังตั้งแต่วันฟ้องขึ้นไปจึงเป็นอันขาดอายุความ ดังนั้น ดอกเบี้ยที่โจทก์ประสงค์จะเรียกร้องตั้งแต่วันที่ 26 มกราคม 2545 ถึง 8 กุมภาพันธ์ 2546 จึงยังไม่ขาดอายุความ ส่วนดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2541 ถึง 25 มกราคม 2545 ขาดอายุความแล้ว อุทธรณ์ข้อนี้ของจำเลยที่ 1 ฟังขึ้นบางส่วน จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์สำหรับดอกเบี้ยก่อนฟ้องที่โจทก์ขอมาเป็นจำนวน 14,153.40 บาท
          อนึ่ง ดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกร้องนับถัดจากวันฟ้องเป็นดอกผลนิตินัยซึ่งโจทก์ชอบที่จะได้รับตามสัญญา มิใช่เบี้ยปรับซึ่งศาลมีอำนาจลดลงได้หากเห็นว่าสูงเกินส่วน การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลดดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้องจากอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ลงเหลืออัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จึงไม่ถูกต้อง แต่เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์และกรณีมิใช่เป็นการผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อย จึงไม่มีเหตุที่จะแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนนี้”

          พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 1 ชำระเงิน 105,265.43 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นนี้ให้เป็นพับ
 
 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 193/33 สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ให้มีกำหนดอายุความห้าปี
(1) ดอกเบี้ยค้างชำระ
(2) เงินที่ต้องชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ
(3) ค่าเช่าทรัพย์สินค้าชำระ เว้นแต่ค่าเช่าสังหาริมทรัพย์ตาม มาตรา 193/34 (6)
(4) เงินค้างจ่ายคือ เงินเดือน เงินปี เงินบำนาญ ค่าอุปการะเลี้ยงดู และเงินอื่น ๆ ในลักษณะทำนองเดียวกับที่มีการกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลา
(5) สิทธิเรียกร้องตาม มาตรา 193/34 (1) (2) และ (5) ที่ไม่อยู่ ในบังคับอายุความสองปี

มาตรา 193/26 เมื่อสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นประธานขาด อายุความให้สิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นอุปกรณ์นั้นขาดอายุความด้วย แม้ว่าอายุความของสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นอุปกรณ์นั้นจะยังไม่ครบ กำหนดก็ตาม

มาตรา 193/27 ผู้รับจำนอง ผู้รับจำนำ ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วง หรือ ผู้ทรงบุริมะสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ อันตนได้ยึดถือไว้ยังคงมี สิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนอง จำนำ หรือที่ได้ยึดถือไว้ แม้ว่าสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นประธานจะขาดอายุความแล้วก็ตาม แต่จะใช้สิทธินั้นบังคับให้ชำระดอกเบี้ยที่ค้างย้อนหลังเกินห้าปีขึ้นไป ไม่ได้

มาตรา 1754 ห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย หรือนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก
คดีฟ้องเรียกตามข้อกำหนดพินัยกรรม มิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อผู้รับพินัยกรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงสิทธิซึ่งตนมีอยู่ตามพินัยกรรม
ภายใต้บังคับแห่ง มาตรา 193/27 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าสิทธิเรียก ร้องของเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดกมีกำหนดอายุความยาวกว่าหนึ่งปี มิให้เจ้าหนี้ นั้นฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก
ถึงอย่างไรก็ดี สิทธิเรียกร้องตามที่ว่ามาในวรรคก่อน ๆ นั้น มิให้ฟ้อง ร้องเมื่อพ้นกำหนดสิบปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย




อายุความฟ้องร้องคดี

ฟ้องผิดตัวอายุความไม่เคยสะดุดหยุดลง-อำนาจฟ้อง
อายุความรับผิดในฐานะตัวแทนไม่มีกฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะ
อายุความตามสัญญาให้บริการทางการแพทย์อันเป็นเอกเทศสัญญา
อายุความคดีความผิดฐานฉ้อโกง ร้องทุกข์เกิน 3 เดือน
วันวินาศภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 วรรคหนึ่ง
อายุความสะดุดหยุดลงย่อมเป็นคุณเฉพาะแก่ฝ่ายโจทก์
รับสภาพความรับผิดโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือ
ผู้ค้ำประกันยกข้อต่อสู้เรื่องขาดอายุความ
ไม่ได้แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความ
การชำระหนี้ซึ่งขาดอายุความแล้วจะเรียกคืนไม่ได้
ความรับผิดของผู้เป็นหุ้นส่วนในหนี้ที่ห้างได้ก่อให้เกิดขึ้น
สิทธิฟ้องเรียกเงินคืนผิดสัญญาจะซื้อขาย
กำหนดหนึ่งเดือนในการเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ไม่ใช่อายุความ
อายุความสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าหน้าที่
สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
การฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครอง