ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ไม่ได้แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความ

   -ปรึกษากฎหมาย นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

     โทร.085-9604258

   -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์   

   (1) @leenont 

   (2) @peesirilaw  

   (3) 0859604258 เพิ่มด้วยหมายเลขโทรศัพท์

  -Line Official Account : เพิ่มเพื่อน QR CODE

QR CODE 

ไม่ได้แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความจึงไม่มีประเด็น

ให้การว่าคดีขาดอายุความเนื่องจำเลยได้รับโอนที่ดินเป็นเวลาเกิน 10 ปี  ได้ทำประโยชน์ในที่ดินโดยสงบเปิดเผยและเจตนาเป็นเจ้าของตลอดมา ไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้าน คำให้การไม่ได้แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความให้ชัดแจ้งว่า คดีขาดอายุความเรื่องฟ้องคดีมรดกอย่างไร โจทก์มีสิทธิเรียกร้องตั้งแต่เมื่อใด นับแต่วันใดถึงวันฟ้องคดีจึงขาดอายุความไปแล้ว คำให้การจึงไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความฟ้องมรดก จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  5691/2554
 
          จำเลยทั้งสองให้การเพียงว่า คดีขาดอายุความเนื่องจากจำเลยทั้งสองได้รับโอนที่ดินพิพาทเป็นเวลาเกิน 10 ปี ได้ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยสงบเปิดเผยและเจตนาเป็นเจ้าของตลอดมา ไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้าน คำให้การของ

จำเลยทั้งสองดังกล่าวไม่ได้แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความให้ชัดแจ้งว่า คดีขาดอายุความเรื่องฟ้องคดีมรดกและโจทก์ที่ 1 มีสิทธิเรียกร้องตั้งแต่เมื่อใด นับแต่วันใดถึงวันฟ้องคดีจึงขาดอายุความไปแล้ว คำให้การของจำเลยทั้งสองใน

ส่วนนี้จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง คดีไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความฟ้องมรดก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคท้าย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.

มาตรา 142 วรรคหนึ่ง และเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
          เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ทรัพย์มรดกตกทอดแก่ทายาทได้แก่ ภริยาและบุตรทั้งเจ็ดโดยภริยามีสิทธิได้รับส่วนแบ่งในการรับมรดกเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตร ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1635 (1) ภริยาขอรับโอนที่ดิน

พิพาทแทนทายาทและยกที่ดินให้แก่จำเลยทั้งสอง จึงต้องถือว่าจำเลยทั้งสองถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งด้วยเพราะจำเลยทั้งสองเป็นผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทดีไปกว่าภริยาเจ้ามรดกผู้โอน

โจทก์ที่ 1 จึงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทหนึ่งในแปดส่วนและชอบที่จะฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นตัวแทนจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ที่ 1 ลงในโฉนดที่ดินพิพาทได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 810 วรรคหนึ่ง
 
          โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ทั้งสองถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าวคนละ 2 ไร่ 2 ตารางวา มิฉะนั้นให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสอง

          จำเลยทั้งสองให้การขอให้ยกฟ้อง
          ระหว่างพิจารณาโจทก์ที่ 2 ขอถอนฟ้อง ศาลชั้นต้นอนุญาตและจำหน่ายคดีเฉพาะโจทก์ที่ 2 ออกจากสารบบความ

          ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
          โจทก์ที่ 1 อุทธรณ์

          ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

          โจทก์ที่ 1 ฎีกา

 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์ที่ 1 ฎีกาว่า คดีของโจทก์ที่ 1 ไม่ขาดอายุความนั้น เห็นว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง กำหนดให้จำเลยแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่า จำเลยยอมรับหรือปฏิเสธ

ข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการปฏิเสธนั้นด้วย จำเลยทั้งสองให้การเพียงว่า คดีขาดอายุความ เนื่องจากจำเลยทั้งสองได้รับโอนที่ดินพิพาทมาเป็นเวลาเกิน 10 ปี ได้ทำประโยชน์ในที่ดินโดยสงบเปิดเผยและ

เจตนาเป็นเจ้าของตลอดมา ไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้าน ซึ่งคำให้การของจำเลยทั้งสองดังกล่าว ไม่ได้แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความให้ชัดแจ้งว่า คดีขาดอายุความเรื่องฟ้องคดีมรดก และโจทก์ที่ 1 มีสิทธิเรียกร้องตั้งแต่เมื่อใด นับแต่วันใด

ถึงวันฟ้อง คดีจึงขาดอายุความไปแล้ว คำให้การของจำเลยทั้งสองในส่วนนี้จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง คดีไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ ที่ศาลล่างทั้งสองวินิฉัยว่า คดีโจทก์ขาดอายุความ

ฟ้องคดีมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคท้าย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยว

ด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5)
          โจทก์ที่ 1 มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทหรือไม่เพียงใด ซึ่งศาลล่างทั้งสองยังไม่ได้วินิจฉัยมานั้น เมื่อคู่ความต่างนำพยานหลักฐานของตนเข้าสืบจนเสร็จสิ้นกระแสความแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวไปเสียทีเดียว

โดยไม่ย้อนสำนวน พิจารณาแล้ว ข้อเท็จจริงเป็นอันยุติตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น โดยโจทก์ที่ 1 มิได้อุทธรณ์คัดค้านและจำเลยทั้งสองมิได้แก้อุทธรณ์โต้เถียงเป็นอย่างอื่นว่า ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของนายอยู่ ตกทอดแก่ทายาท

คือ นางทิ้งภริยาและบุตรทั้งเจ็ด โดยนางทิ้งไปขอรับโอนมรดกที่ดินพิพาทแทนทายาท ดังนี้ เมื่อนางทิ้งยกที่ดินพิพาทให้จำเลยทั้งสอง จึงต้องถือว่าจำเลยทั้งสองถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนโจทก์ที่ 1 และทายาทคนอื่นด้วย เพราะ

จำเลยทั้งสองเป็นผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทดีไปกว่านางทิ้งผู้โอน นางทิ้งเป็นภริยาของนายอยู่เจ้ามรดก มีสิทธิได้ส่วนแบ่งในการรับมรดกเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา

1635 (1) โจทก์ที่ 1 จึงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทหนึ่งในแปดส่วน และชอบที่จะฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นตัวแทนจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ที่ 1 ลงในโฉนดที่ดินพิพาทได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 810 วรรคหนึ่ง

          พิพากษากลับ ให้จำเลยทั้งสองจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ที่ 1 เข้าถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 2326 ตำบลเขาพระ อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวนหนึ่งในแปดส่วน แต่ทั้งนี้ไม่ให้เกิน 2 ไร่ 2 ตารางวา ตามที่

โจทก์ที่ 1 ขอ หากไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ
 
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 

มาตรา 810 เงินและทรัพย์สินอย่างอื่นบรรดาที่ตัวแทนได้รับไว้ เกี่ยวด้วยการเป็นตัวแทนนั้น ท่านว่าตัวแทนต้องส่งให้แก่ตัวการจงสิ้น
อนึ่ง สิทธิทั้งหลายซึ่งตัวแทนขวนขวายได้มาในนามของตนเอง แต่โดยฐานที่ทำการแทนตัวการนั้น ตัวแทนก็ต้องโอนให้แก่ตัวการจงสิ้น

มาตรา 1635 ลำดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการ รับมรดกของผู้ตายนั้น ให้เป็นไปดั่งต่อไปนี้
(1) ถ้ามีทายาทตาม มาตรา 1629 (1) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับ มรดกแทนที่แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้ส่วนแบ่ง เสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร
(2) ถ้ามีทายาทตาม มาตรา 1629 (3) และทายาทนั้นยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ หรือถ้าไม่มีทายาทตาม มาตรา 1629 (1) แต่มี ทายาทตาม มาตรา 1629 (2) แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น มีสิทธิได้รับมรดกกึ่งหนึ่ง
(3) ถ้ามีทายาทตาม มาตรา 1629 (4) หรือ (6) และทายาทนั้น ยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ หรือมีทายาทตาม มาตรา 1629 (5) แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ มีสิทธิได้มรดกสองส่วนในสาม
(4) ถ้าไม่มีทายาทดั่งที่ระบุไว้ใน มาตรา 1629 คู่สมรสที่ยังมี ชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้รับมรดกทั้งหมด

มาตรา 1754 ห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย หรือนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก
คดีฟ้องเรียกตามข้อกำหนดพินัยกรรม มิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อผู้รับพินัยกรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงสิทธิซึ่งตนมีอยู่ตามพินัยกรรม
ภายใต้บังคับแห่ง มาตรา 193/27 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าสิทธิเรียก ร้องของเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดกมีกำหนดอายุความยาวกว่าหนึ่งปี มิให้เจ้าหนี้ นั้นฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก
ถึงอย่างไรก็ดี สิทธิเรียกร้องตามที่ว่ามาในวรรคก่อน ๆ นั้น มิให้ฟ้อง ร้องเมื่อพ้นกำหนดสิบปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย

 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 142 คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลที่ชี้ขาดคดีต้องตัดสิน ตามข้อหาในคำฟ้องทุกข้อ แต่ห้ามมิให้พิพากษาหรือคำสั่งให้สิ่งใด ๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง เว้นแต่
(1) ในคดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ ให้พึงเข้าใจว่าเป็นประเภท เดียวกับฟ้องขอให้ขับไล่จำเลย ถ้าศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีเมื่อ ศาลเห็นสมควรศาลจะมีคำสั่งให้ขับไล่จำเลยก็ได้ คำสั่งเช่นว่านี้ให้ใช้ บังคับตลอดถึงวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของจำเลยที่อยู่บน อสังหาริมทรัพย์นั้น ซึ่งไม่สามารถแสดงอำนาจพิเศษให้ศาลเห็นได้
(2) ในคดีที่โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์ใด ๆ เป็นของตนทั้งหมด แต่ พิจารณาได้ความว่าโจทก์ควรได้แต่ส่วนแบ่ง เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ได้รับแต่ส่วนแบ่งนั้นก็ได้
(3) ในคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ชำระเงิน พร้อมด้วยดอกเบี้ยจนถึง วันฟ้อง เมื่อศาลเห็นสมควรศาลจะพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ย จนถึงวันที่ได้ชำระเสร็จตามคำพิพากษาก็ได้
(4) ในคดีที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเช่าหรือค่าเสียหายอันต่อเนื่อง คำนวณถึงวันฟ้อง เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลจะพิพากษาให้ชำระค่า เช่าและค่าเสียหายเช่นว่านี้ จนถึงวันที่ได้ชำระเสร็จตามคำพิพากษา ก็ได้
(5) ในคดีที่อาจยกข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ของประชาชนขึ้นอ้างได้นั้นเมื่อศาลเห็นสมควรศาลจะยกข้อเหล่านั้น ขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปก็ได้
(6) ในคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ชำระเงินพร้อมด้วยดอกเบี้ย ซึ่งมิได้มี ข้อตกลงกำหนดอัตราดอกเบี้ยกันไว้ เมื่อศาลเห็นสมควรโดยคำนึง ถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดี ศาล จะพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราที่สูงขึ้นกว่าที่โจทก์มีสิทธิ ได้รับตามกฎหมาย แต่ไม่เกินร้อยละสิบห้าต่อปีนับตั้งแต่วันฟ้อง หรือวันอื่นหลังจากนั้นก็ได้        

มาตรา 177 เมื่อได้ส่งหมายเรียกและคำฟ้องให้จำเลยแล้ว ให้จำเลย ทำคำให้การเป็นหนังสือยื่นต่อศาลภายในสิบห้าวัน
ให้จำเลยแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่า จำเลยยอมรับหรือปฏิเสธ ข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น
จำเลยจะฟ้องแย้งมาในคำให้การก็ได้ แต่ถ้าฟ้องแย้งนั้นเป็นเรื่อง อื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมแล้ว ให้ศาลสั่งให้จำเลยฟ้องเป็นคดีต่างหาก
ให้ศาลตรวจดูคำให้การนั้นแล้วสั่งให้รับไว้ หรือให้คืนไป หรือสั่ง ไม่รับตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 18
บทบัญญัติแห่ง มาตรานี้ ให้ใช้บังคับแก่บุคคลภายนอกที่ถูกเรียก เข้ามาเป็นผู้ร้องสอดตาม มาตรา 57 (3) โดยอนุโลม

 




อายุความฟ้องร้องคดี

ฟ้องผิดตัวอายุความไม่เคยสะดุดหยุดลง-อำนาจฟ้อง
อายุความรับผิดในฐานะตัวแทนไม่มีกฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะ
อายุความตามสัญญาให้บริการทางการแพทย์อันเป็นเอกเทศสัญญา
อายุความคดีความผิดฐานฉ้อโกง ร้องทุกข์เกิน 3 เดือน
วันวินาศภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 วรรคหนึ่ง
อายุความสะดุดหยุดลงย่อมเป็นคุณเฉพาะแก่ฝ่ายโจทก์
รับสภาพความรับผิดโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือ
ผู้ค้ำประกันยกข้อต่อสู้เรื่องขาดอายุความ
ฟ้องเรียกให้ชำระหนี้เงินกู้อย่างเจ้าหนี้สามัญ
การชำระหนี้ซึ่งขาดอายุความแล้วจะเรียกคืนไม่ได้
ความรับผิดของผู้เป็นหุ้นส่วนในหนี้ที่ห้างได้ก่อให้เกิดขึ้น
สิทธิฟ้องเรียกเงินคืนผิดสัญญาจะซื้อขาย
กำหนดหนึ่งเดือนในการเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ไม่ใช่อายุความ
อายุความสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าหน้าที่
สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
การฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครอง