ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ผู้พิพากษาคนเดียวลงโทษจำคุก 8 เดือนได้หรือไม่?

   -ปรึกษากฎหมาย นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

     โทร.085-9604258

   -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์   

   (1) @leenont 

   (2) @peesirilaw  

   (3) 0859604258 เพิ่มด้วยหมายเลขโทรศัพท์

  -Line Official Account : เพิ่มเพื่อน QR CODE

QR CODE 

 ผู้พิพากษาคนเดียวลงโทษจำคุก 8 เดือนได้หรือไม่?

โทษจำคุกไม่เกินหกเดือนที่ผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจลงแก่จำเลยตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (5) หมายถึงโทษที่วางก่อนลด??? หรือโทษสุทธิที่ศาลพิพากษาเมื่อลดโทษให้แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  1666/2550

 พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด      โจทก์

          โทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ที่ผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจลงแก่จำเลยตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (5) นั้น หมายถึง โทษจำคุกสุทธิที่จะลงแก่จำเลย โดยไม่ต้องคำนึงว่าก่อนลดโทษจะกำหนดโทษจำคุกไว้สูงกว่า 6 เดือน หรือไม่ คดีนี้ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงโดยผู้พิพากษาคนเดียวพิพากษาลงโทษจำเลยฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส จำคุก 8 เดือน เมื่อลดโทษให้หนึ่งในสามตาม ป.อ. มาตรา 78 แล้วคงจำคุก 5 เดือน 10 วัน เป็นการลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 6 เดือน จึงชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (5)

          โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 42, 43, 78, 139, 148, 154 (2), 157, 160 วรรคสอง พระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2535 มาตรา 27, 30 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300, 91 ข้อบังคับเจ้าพนักงานจราจรทั่วราชอาณาจักรว่าด้วย แก้ไขเปลี่ยนแปลงการห้ามรถยนต์บรรทุกตั้งแต่ 10 ล้อขึ้นไป และรถบางชนิดเดินในถนนบางสายในเขตกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2539 ลงวันที่ 18 มีนาคม 2539 ข้อ 3.

          จำเลยให้การปฏิเสธ

          ระหว่างพิจารณา นางวิไลหรือวิไลรัตน์ แก้วเงิน มารดาของนางสาวอรุณี แสงศิริรัตนา ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ โดยอ้างว่าผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้จึงขอจัดการแทน ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์เฉพาะความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300

          ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 42, 43, 78 วรรคแรก, 139, 148, 154 (2), 157, 160 วรรคสอง ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300, 91 ข้อบังคับเจ้าพนักงานจราจรทั่วราชอาณาจักรว่าด้วย แก้ไขเปลี่ยนแปลงการห้ามรถยนต์บรรทุกตั้งแต่ 10 ล้อขึ้นไปและรถบางชนิดเดินในถนนบางสายในเขตกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2539 ข้อ 3 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิด กระทงแรกฐานขับรถในช่องเดินรถด้านขวาย้อนเส้นทาง ปรับ 500 บาท กระทงที่สองฐานขับรถยนต์บรรทุกในเวลาห้าม ปรับ 1,000 บาท กระทงที่สามฐานขับรถโดยประมาทและฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส (เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท) ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด (ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90) จำคุก 8 เดือน กระทงที่สี่ฐานขับรถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแล้วไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที จำคุก 1 เดือน รวมโทษทุกกระทงเป็นจำคุก 9 เดือน และปรับ 1,500 บาท ทางนำสืบของจำเลยและคำให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวน มีประโยชน์ในการพิจารณาอยู่บ้าง ลดโทษให้แก่จำเลยหนึ่งในสาม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 6 เดือน และปรับ 1,000 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30

          จำเลยอุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

  จำเลยฎีกา
          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “คดีโจทก์สำหรับความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 42, 148, 43 (4), 157, 139 และ 154 (2) ขาดอายุความแล้วหรือไม่ เห็นว่า ความผิดตามมาตรา 42 มีระวางโทษตามมาตรา 148 ปรับไม่เกิน 500 บาท ความผิดตามมาตรา 43 (4) มีระวางโทษตามมาตรา 157 ปรับตั้งแต่ 400 บาท ถึง 1,000 บาท ส่วนความผิดตามมาตรา 139 มีระวางโทษตามมาตรา 154 (2) ปรับครั้งละไม่เกิน 1,000 บาท ความผิดทั้งสามฐานดังกล่าวจึงมีอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 (5) คดีนี้เหตุเกิดเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2543 แต่โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2544 เกินกว่า 1 ปีแล้ว คดีโจทก์สำหรับความผิดดังกล่าวจึงขาดอายุความแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในความผิดดังกล่าวย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (6) ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและยกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง, 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225

          คดีคงมีปัญหาข้อกฎหมายที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยต่อไปว่า ที่ผู้พิพากษาคนเดียวในศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัสก่อนลดโทษ ให้จำคุก 8 เดือน และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนมานั้น ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (5) หรือไม่ เห็นว่า โทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ที่ผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจลงแก่จำเลยตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (5) นั้น หมายถึงโทษจำคุกสุทธิที่จะลงแก่จำเลยโดยไม่ต้องคำนึงว่าก่อนลดโทษจะกำหนดโทษจำคุกไว้สูงกว่า 6 เดือน หรือไม่ คดีนี้ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงโดยผู้พิพากษาคนเดียวพิพากษาลงโทษจำเลยฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส จำคุก 8 เดือน เมื่อลดโทษให้หนึ่งสาม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 แล้วคงจำคุก 5 เดือน 10 วัน จึงเป็นการลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 6 เดือน ซึ่งชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (5) แล้ว ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คำพิพากษาศาลชั้นต้นส่วนนี้ชอบด้วยกฎหมาย จึงต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น ส่วนที่จำเลยฎีกาในตอนท้ายว่า ผู้เสียหายมีส่วนก่อให้เกิดเหตุคดีนี้ ขอให้ลงโทษสถานเบา เห็นว่า คดีนี้ในความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส และฐานขับรถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแล้วไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและให้ลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ฎีกาของจำเลยดังกล่าวเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษของศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

          อนึ่ง สำหรับความผิดฐานขับรถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแล้วไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาไม่ได้ความว่า หลังจากที่จำเลยขับรถเฉี่ยวชนกับรถยนต์ของผู้เสียหายแล้วหลบหนีไปนั้นเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาปรับบทลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 78 วรรคหนึ่ง, 160 วรรคสอง จึงเป็นการไม่ชอบ ความผิดในส่วนนี้ของจำเลยจึงเป็นเพียงความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 78 วรรคหนึ่ง, 160 วรรคหนึ่ง เท่านั้น แต่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้พิพากษาแก้ไขปรับบทให้ถูกต้อง เพียงแต่เขียนวงเล็บในส่วนที่กล่าวถึงคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า ที่ถูกควรเป็นวรรคใด แล้วพิพากษายืนนั้น จึงยังไม่ถูกต้อง ปัญหาการปรับบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้นเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225”

          พิพากษาแก้เป็นว่า สำหรับความผิดฐานขับรถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแล้วไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 78 วรรคหนึ่ง, 160 วรรคหนึ่ง ส่วนกำหนดโทษให้คงเดิม เมื่อรวมโทษฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสและโทษฐานขับรถในทางก่อให้เกิดความเสียหายแล้วหลบหนีไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันทีแล้ว เป็นจำคุก 6 เดือน ให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 42, 148, 43 (4), 157, 139 และ 154 (2) นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์


พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25(5)
มาตรา 25 ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอำนาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลนั้น ดังต่อไปนี้
(1) ไต่สวนและวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องหรือคำขอที่ยื่นต่อศาลในคดีทั้งปวง
(2) ไต่สวนและมีคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการเพื่อความปลอดภัย
(3) ไต่สวนมูลฟ้องและมีคำสั่งในคดีอาญา
(4) พิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจำนวนเงินที่ฟ้องไม่เกินสามแสนบาท ราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจำนวนเงินดังกล่าวอาจขยายได้โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
(5) พิจารณาพิพากษาคดีอาญา ซึ่งกฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างสูงไว้ให้จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่จะลงโทษจำคุกเกินหกเดือน หรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งโทษจำคุกหรือปรับอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราที่กล่าวแล้วไม่ได้

ผู้พิพากษาประจำศาลไม่มีอำนาจตาม (3) (4) หรือ (5)     




พระธรรมนูญศาลยุติธรรม

คดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์เป็นประเภทเดียวกับฟ้องขอให้ขับไล่
ศาลแขวงไม่รับโอนคดีจากศาลจังหวัดเป็นการไม่ชอบ
ศาลแขวงพิพากษาลงโทษปรับเกินหนึ่งหมื่นบาทไม่ได้
อำนาจฟ้องคดีนอกเขตศาล เพิกถอนการจดทะเบียนการโอนที่ดิน
พิพากษายกฟ้องโดยผู้พิพากษาคนเดียว
คดีทุนทรัพย์ไม่เกิน 300,000 บาท อยู่ในอำนาจศาลแขวง
ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะ
อำนาจพิจารณาคดีของผู้พิพากษาคนเดียว