ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ทางจำเป็นเกิดขึ้นได้กี่วิธี -ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน

   -ปรึกษากฎหมาย นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

     โทร.085-9604258

   -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์   

   (1) @leenont 

   (2) @peesirilaw  

   (3) 0859604258 เพิ่มด้วยหมายเลขโทรศัพท์

  -Line Official Account : เพิ่มเพื่อน QR CODE

 ทางจำเป็นเกิดขึ้นได้กี่วิธี  | ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน

ทางจำเป็นเกิดขึ้นได้ทางใดบ้าง?    ทางจำเป็น ในทางกฎหมายต้องมีขนาดกว้างยาวเท่าใด?    เงินค่าทดแทนในการใช้ทางจำเป็น?    การใช้รถยนต์ผ่านทางเกินความจำเป็นหรือไม่?    ผู้มีสิทธิฟ้องศาลขอให้เปิดทางจำเป็นมีใครบ้าง?    สิทธิของผู้รับโอนกับทางจำเป็น?        ที่ดินคลองตื้นเขินไม่สามารถใช้เป็นทางสัญจรขอเปิดทางจำเป็นได้หรือไม่?        "ทางจำเป็น" ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานที่ดินหรือไม่ ?

ทางจำเป็นเกิดขึ้นได้ 3 วิธีคือ
1. โดยบทบัญญัติของกฎหมาย
2. โดยนิติกรรมสัญญา
3. โดยจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น
ทางจำเป็น เกิดมีขึ้นโดยบทบัญญัติของกฎหมาย

1. เกิดมีขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิขย์ (มาตรา 1349 )
2. เกดมีขึ้นตามกฎหมายอื่น ๆ
2.1 พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ดินเพื่อทำทางทำถนน
2.2 ประกาศคณะปฏิวัต ดู ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286
2.3  พระราชบัญญัติทางด่วนพิเศษ

ทางจำเป็นที่เกิดมีขึ้นโดยนิติกรรมสัญญา

ในการเดินสายไฟฟ้า หรือท่อระบายน้ำผ่านที่ดิน หรือในการขอผ่านทาง ซึ่งเจ้าของที่ดินที่ถูกล้อมอาจตกลงกับเจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่ขอเช่าเป็นทางผ่านก็ได้ เพื่อทำถนนเนื่องในการจัดสรรที่ดินซึ่งต้องทำถนนผ่านที่ดินหลาย ๆ เจ้าของผู้ทำทางผ่านอาจตกลงขอให้เจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่นั้นยอมจดทะเบียนภาระจำยอมให้โฉนดทุกแปลงที่จัดสรรผ่านทางถนนได้
การเช่าที่ดินเพื่อขอทำทางผ่านออกไปสู่ถนนสาธารณะ อาจมีได้โดยเจ้าของที่ดินที่ถูกปิดล้อมนั้นอาจตกลงขอเช่าที่ดินจากเจ้าของที่ดิน ซึ่งล้อมอยู่ได้โดยยอมชำระค่าเช่าหรือให้ค่าตอบแทนแล้วแต่แล้วแต่เจ้าของที่ดินทั้งสองฝ่ายจะตกลงกันหรือเจ้าของที่ดินที่แปลงที่ล้อมอยู่นั้นอาจให้ผู้ขอเปิดทางซื้อที่ดินเลยก็ได้
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เดินสายไฟฟ้าผ่านที่ดินก็ให้เงินค่าตอบแทนแก่เจ้าของที่ดินโดยเจ้าของที่ดินต้องจดทะเบียนภาระจำยอมให้สายไฟฟ้าผ่านไปในที่ดินตลอดไป จนกว่าจะเลิกใช้สายไฟฟ้าผ่าน เป็นต้น

ทางจำเป็นที่เกิดมีขึ้นโดยจารีตประเพณีของท้องถิ่น

การที่เจ้าของที่ดินไม่ห้าม บุคคลอาจเข้าไปในที่ป่า ที่ดง หรือในท่หญ้าเลี้ยงสัตว์เพื่อเก็บของป่า ผลไม้ป่า ผักทั่วไปตามป่า เห็ด เก็บฟืน ซึ่งในบางท้องที่เจ้าของที่ดินที่นายอมให้ยอมให้บุคคลภายนอกทั่วไปเข้าไปเก็บข้าวตกหลังฤดูเก็บเกี่ยวได้เพราะภายหลังฤดูเก็บเกี่ยวจะมีรวงข้าวที่ตกหล่นจากการเก็บเกี่ยวอย่างนี้เป็นต้น

ทางจำเป็น ในทางกฎหมายต้องมีขนาดกว้างยาวเท่าใด

สำหรับความยาวนั้น จะต้องยาวจนสามารถเดินทางออกไปสู่ถนนสาธารณะได้ ดังนั้นความยาวของทางจึงไม่อาจจำกัดได้ สำหรับความกว้างของทางนั้นตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 เปิดทางกว้าง 8เมตร แต่ตามหลักบทบัญญัติของกฎหมายนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 บัญญัติไว้ว่าในทำนองว่า ทางจำเป็นต้องเลือกทำพอสมควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่านที่ดินที่ล้อมอยู่น้อยที่สุด เปิดทางกว้าง 5 เมตร เหมาะสมแล้วจะนำประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 มาบังคับให้เปิดทางกว้าง 8 เมตร มาอ้างไม่ได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1370/2520)

ที่ดินที่ถูกล้อมอยู่อาจถูกล้อมอยู่ก่อนแล้วตั้งแต่ต้น หรืออาจถูกล้อมเพราะมีการแบ่งแยกในภายหลังก็ได้ ถ้าที่ดินถูกล้อมในภายหลัง เพราะมีกรแบ่งแยก จะมีสิทธิใช้ทางจากแปลงที่มีการแบ่งแยกเท่านั้น แต่ไม่มีสิทธิที่จะใช้ทางในที่ดินแปลงอื่นได้

สิทธิใช้ทางจำเป็นจากแปลงที่แบ่งแยก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  2439/2538

ที่ดินของโจทก์แยกออกมาจากที่ดินของจำเลยที่ 1 เมื่อไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะ โจทก์มีสิทธิใช้ทางจำเป็นในที่ดินของจำเลยที่ 1 โดยไม่ต้องใช้ค่าทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 ปัจจุบันรถยนต์ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นในความเป็นอยู่ของประชาชนโดยทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งโจทก์เป็นผู้ที่มีอาชีพหาซื้อสุกรมาชำระแหละเนื้อสุกรขาย การใช้รถยนต์ผ่านเข้าออกทางพิพาทมิได้เป็นเรื่องเกินความจำเป็น

  โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดตราจองที่ 6413ที่ดินดังกล่าวแบ่งแยกของที่ดินโฉนดตราจองที่ 4944 ของจำเลยที่ 1ทำให้ที่ดินโฉนดตราจองที่ 6413 ถูกที่ดินอื่นล้อมรอบจนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้เจ้าของที่ดินเดิมได้ใช้ที่ดินของจำเลยที่ 1เป็นทางออกสู่ทางสาธารณะกว้างประมาณ 2 เมตรครึ่ง โดยจำเป็นตลอดมาหลายสิบปี จนได้ภารจำยอม โจทก์ซื้อที่ดินดังกล่าวเมื่อปี 2527 แล้วใช้รถยนต์ปิกอัพผ่านทางดังกล่าวในการขนส่งสุกรเพื่อซื้อขายตลอดมา เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2532 จำเลยทั้งสองปลูกต้นไม้และปักหลักไม้เพื่อให้ทางดังกล่าวแคบเข้าเป็นแนวยาวประมาณ 6 เมตร ทำให้โจทก์ไม่สามารถนำรถยนต์ปิกอัพเข้าออกได้ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองรื้อถอนต้นไม้และหลักไม้ออกจากทางพิพาทให้ กว้างไม่น้อยกว่า 2 เมตรครึ่ง ตลอดแนวทาง

          จำเลยทั้งสองให้การว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดตราจองที่ 4944 จริง เจ้าของที่ดินติดต่อกันใช้ที่ดินของจำเลยที่ 1 เป็นทางเดินกว้างเพียงประมาณ 1 เมตรเศษ จำเลยทั้งสองไม่เคยปลูกต้นไม้และปักหลักไม้ตาม
โจทก์ฟ้อง โจทก์มิได้เสียหายขอให้ยกฟ้อง

          ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
          โจทก์อุทธรณ์

          ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษากลับ ให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนต้นไม้และหลักไม้ออกจากทางพิพาทให้กว้าง 2 เมตรครึ่งตลอดแนว
          จำเลยทั้งสองฎีกา

ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ถึงแก่กรรม นางมาลี หลวงฤทธิ์ภรรยาของโจทก์ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทน ศาลฎีกาอนุญาต

  ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์ซื้อที่ดินตามโฉนดตราจองที่ 6413 ตำบลแม่พูล (พันแหวน) อำเภอลับแลจังหวัดอุตรดิตถ์ ตามเอกสารหมาย จ.1 จากนายน้อย จันทร์ฟูตั้งแต่ปี 2527 แล้วปลูกบ้านอยู่อาศัยในที่ดินดังกล่าว ที่ดินที่โจทก์ซื้อเดิมเป็นที่ดินแปลงเดียวกับกับที่ดินโฉนดตราจองที่ 4944ตามเอกสารหมาย จ.2 ของจำเลยที่ 1 มีทางพิพาทจากที่ดินของโจทก์ผ่านที่ดินของจำเลยที่ 1 ออกไปสู่ถนนสาธารณะสายหัวดง-นานกกกมานาน 40กว่าปีแล้ว นอกจากนี้ทางเดินไปสู่ถนนซอย แต่ต้องผ่านที่ดินผู้อื่น โจทก์มีรถยนต์กระบะ 1 อัน เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม2532 โจทก์นำรถยนต์กระบะออกจากบ้านไม่ได้เพราะทางพิพาทมีหลักไม้ปักอยู่และมีต้นไม้ปลูกอยู่ตามแนวที่มีหลักปักอยู่ตลอดแนวยาวประมาณ 6 เมตร มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยข้อแรกว่า ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือไม่ เห็นว่า แม้จะปรากฏจากโฉนดตราจองเอกสารหมาย จ.1 ว่า ด้านทิศตะวันออกที่ดินโจทก์จดคลองแม่พร่องแต่โจทก์ก็นำสืบได้ว่าสภาพคลองตื้นเขินไม่มีน้ำหน้าน้ำก็มีน้ำบ้างแต่ไม่มีใครใช้เรือผ่านไปมาโดยจำเลยทั้งสองมิได้นำสืบหักล้าง จำเลยที่ 2 ยังตอบทนายโจทก์ถามค้านรับว่าคลองแม่พร่องมิใช่คลองที่ใช้สัญจรไปมาจึงฟังไม่ได้ว่าคลองแม่พร่องเป็นทางสาธารณะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 ส่วนที่จำเลยทั้งสองนำสืบว่าจากที่ดินของโจทก์มีทางออกไปสู่ถนนซอยตามภาพถ่ายหมาย ล.1 ซึ่งเป็นทางสาธารณะและถนนซอยดังกล่าวเป็นทางไปสู่ถนนสายหัวดง-นานกกกได้ก็ปรากฏว่าทางดังกล่าวเป็นทางคนเดินและจะต้องผ่านที่ดินของนางเจริญและนางใจ ซึ่งเจ้าของที่ดินจะปิดกั้นทางนั้นเมื่อใดก็ได้ เพราะมีประตูทางเข้าตามภาพถ่ายหมาย ล.2 นอกจากนี้หากเป็นการผ่านที่ดินของผู้อื่นโจทก์อาจจะต้องถูกเรียกให้ใช้ค่าทดแทนจากเจ้าของที่ดินได้ แต่ที่ดินของโจทก์แยกออกมาจากที่ดินของจำเลยที่ 1 เมื่อไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะโจทก์มีสิทธิใช้ทางจำเป็นในที่ดินของจำเลยที่ 1 โดยไม่ต้องใช้ค่าทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350

          ประเด็นที่ 2 จำเลยทั้งสองฎีกาว่า จำเลยทั้งสองมิใช่เป็นผู้ปักหลักไม้และปลูกต้นไม้ในทางพิพาทเพื่อใช้ทางพิพาทแคบกว่าเดิมนั้น เห็นว่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1349 วรรคสาม บัญญัติว่า "ที่และวิธีทำทางผ่านนั้นต้องเลือกให้พอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่าน กับทั้งให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นได้ถ้าจำเป็น ผู้มีสิทธิจะผ่านจะสร้างถนนเป็นทางผ่านก็ได้"ในเรื่องนี้โจทก์นำสืบว่า โจทก์นำรถยนต์กระบะเข้าออกทางพิพาทเพื่อประกอบการค้าเกี่ยวกับการซื้อสุกรมาฆ่า และนำสุกรชำแหละไปขายที่ตลาด ความจำเป็นของโจทก์ดังกล่าว ก่อนวันที่ 28 ตุลาคม2532 ไม่ทำให้ที่ดินของจำเลยที่ 1 เสียหายเพิ่มขึ้น หากแต่จำเลยทั้งสองนำหลักไม้มาปักขวางและนำต้นไม้มาปลูกทำให้ทางพิพาทแคบลงกว่าเดิม จึงต้องพิเคราะห์ว่า ฝ่ายใดเป็นผู้ทำให้ทางพิพาทแคบลงกว่าที่เคยเป็นอยู่ นอกจากนี้มีนายประวิทย์ ชูกำเหนิดรักษาการจ่าศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากศาลให้เป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีในชั้นโจทก์ขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา เบิกความประกอบรายงานเจ้าหน้าที่ฉบับลงวันที่8 มกราคม 2533 ว่า เมื่อไปยังบ้านโจทก์เห็นรถยนต์กระบะจอดอยู่ในบ้าน นำออกมาไม่ได้ต้องถอนหลักไม้ และต้นไม้ออกก่อนจึงจะนำรถยนต์ออกมาได้ ลักษณะของต้นไม้ดูแล้วเพิ่งปลูกไม่นานนัก และหากปลูกไว้นานจริงรถยนต์กระบะของโจทก์จะไม่สามารถเข้าสู่บ้านของโจทก์ได้ และเพียงแต่ถอนเสาหลักออกอย่างเดียวโดยไม่ถอนต้นไม้ หากขับรถยนต์กระบะออกมาก็จะทับต้นไม้ดังกล่าวนั้นน่าเชื่อว่าหลักไม้และต้นไม้นั้นปลูกปักเมื่อโจทก์นำรถยนต์กระบะเข้าไปในบ้านแล้ว ที่จำเลยที่ 2 เบิกความว่า คืนวันที่ 28 ตุลาคม2532 เห็นรถยนต์กระบะของโจทก์แล่นเข้าไปในบ้านโจทก์โดยมีชายคนหนึ่งถอนหลักไม้ออกแล้วปักไว้อย่างเดิมนั้น หากเป็นเช่นนั้นจริงรถยนต์กระบะก็จะต้องทับต้นไม้ด้วยที่จำเลยทั้งสองอ้างในฎีกาว่า รถยนต์กระบะแล่นคร่อมต้นไม้เหล่านั้น เมื่อพิเคราะห์ถึงความสูงของต้นไม้ตามภาพถ่ายหมาย ล.4 ไม่น่าจะลู่เอนแล้วตั้งตรงได้อย่างเดิม จนกระทั่งจำเลยทั้งสองไม่พบเห็นความเสียหายของการกระทำดังกล่าวได้ ตามภาพถ่ายหมาย ป.ล.1 และหมาย ล.7ที่แสดงให้เห็นถึงความชำรุดเสียหายของทางพิพาท เมื่อเปรียบเทียบกับภาพถ่ายหมาย ล.5 และ ล.6 ซึ่งไม่ปรากฏร่องรอยรถยนต์นั้นหากเป็นฤดูฝนย่อมจะทำให้ทางพิพาทชำรุดเสียหาย แต่หากเป็นฤดูแล้งก็จะไม่ปรากฏความเสียหายให้เห็นได้ ส่วน

รถยนต์ในภาพที่ 6และ 7 ตามภาพถ่ายหมาย ล.7 เป็นรถยนต์ที่มีหลังคาสูงซึ่งแตกต่างจากรถยนต์กระบะของโจทก์ในภาพที่ 4 และ 5 จึงน่าเชื่อว่าโจทก์นำรถยนต์ผ่านเข้าออกทางพิพาทในช่วงความกว้าง 2 เมตรครึ่งตามที่นายประวิทย์ไปรื้อถอนแล้ว ฝ่ายจำเลยปลูกต้นไม้ปักหลักไม้ทำให้ทางพิพาทแคบลงกว่าที่เคยเป็นอยู่ และปัจจุบันนี้รถยนต์ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นในความเป็นอยู่ของประชาชนโดยทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีอาชีพหาซื้อสุกรมาฆ่าชำแหละเนื้อสุกรขายการใช้รถยนต์ผ่านเข้าออกทางพิพาทมิได้เป็นเรื่องเกินความจำเป็นส่วนความเสียหายของจำเลยที่ 1 ก็มิได้เสียหายเพิ่มขึ้นหากมิได้นำสิ่งกีดขวางไปปลูกปักในทางพิพาทไว้ 2

          พิพากษายืน

ผู้มีสิทธิฟ้องศาลขอให้เปิดทางจำเป็นมีใครบ้าง

ผู้ที่จะเป็นผู้มีสิทธิฟ้องขอให้เปิดทางจำเป็นได้แก่บุคคลดังจะกล่าวต่อไปนี้
1. เจ้าของที่ดินที่ถูกปิดล้อม
2. บุคคลผู้มีสิทธิใช้ทางจำเป็น
3.  ผู้รับโอนที่ดินซึ่งไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะ
4. เจ้าของที่ดินจดคลองตื้นเขินประชาชนไม่สามารถใช้เป็นทางสัญจรไปมานานแล้วทางอื่นออกไม่ได้ จึงใช้ทางจำเป็นผ่านที่ล้อมได้

ผู้มีสิทธิในการใช้ทางจำเป็นมีขอบเขตอย่างไร

 ผู้มีสสิทธิใช้ทางจำเป็น มีสิทธิใช้ยานพาหนะ ผ่านทางจำเป็นในสภาพที่เป็นถนนได้

ไม่ถูกจำกัดให้ใช้เป็นทางเดินอย่างเดียว

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่  653/2516

 สภาพแห่งทางจำเป็นนั้น เมื่อที่ดินของโจทก์ตกอยู่ในที่ล้อม โจทก์ย่อมได้รับความคุ้มครองถึงการใช้ยานพาหนะผ่านทางในสภาพที่เป็นถนนได้ มิได้จำกัดเฉพาะให้ใช้ทางเดินด้วยเท้าอย่างเดียว

 โจทก์ฟ้องและแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องว่า จำเลยทั้งสามได้ร่วมกันจัดสรรที่ดินที่ตำบลลาดยาว อำเภอบางเขน จังหวัดพระนคร และจำเลยได้ทำถนนขึ้นในที่ดินจัดสรรเพื่อให้ผู้ซื้อที่ดินได้ใช้เป็นทางรถยนต์เข้าออก เรียกว่า "ซอยรุ่งเรือง"

โจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินจากผู้ที่ซื้อมาจากจำเลยโจทก์ต้องใช้ถนนซอยรุ่งเรืองเป็นทางเดินเข้าออกตลอดมา เพราะมีที่ดินของผู้อื่นล้อมรอบไม่มีทางอื่นออกไปสู่ถนนสาธารณะ โจทก์ได้ปลูกบ้านอยู่อาศัยอยู่ในที่ดินดังกล่าวด้วยต่อมาได้ให้มิสเตอร์เว้นท์กับครอบครัวเช่าอยู่จนถึงวันฟ้องเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2508 จำเลยใช้ให้ลูกจ้างของจำเลยทำคานเหล็กปิดกั้นกลางถนนซอยรุ่งเรือง ระหว่างเวลา 7.00 นาฬิกา ถึง 18.00 นาฬิกา โจทก์และมิสเตอร์เว้นท์ไม่สามารถใช้รถยนต์เข้าออกติดต่อสู่ถนนลาดพร้าวได้ก่อนหรือหลังเวลานั้นขอให้บังคับจำเลยเปิดถนนซอยรุ่งเรืองให้โจทก์และผู้เช่าบ้านโจทก์ใช้รถยนต์เข้าออกได้ตลอดเวลาให้จำเลยรื้อถอนคานเหล็กซึ่งปิดกั้นถนนออก

           จำเลยที่ 1 ให้การว่า ที่ดินแปลงของโจทก์มีทางเข้าออกต่างหากทางซอยรุ่งทิวาโดยเจ้าของเดิมไม่เคยใช้ซอยรุ่งเรืองเลย และตัดฟ้องว่า โจทก์ไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในซอยรุ่งเรืองโจทก์เพียงต้องการให้จำเลยเปิดทางให้ผู้ซื้อ
ที่ดินที่โจทก์จัดสรรขาย โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจฟ้อง ซอยรุ่งเรืองไม่ใช่ทางจำเป็น
           จำเลยที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การ
           จำเลยที่ 3 ให้การทำนองเดียวกับจำเลยที่ 1 ว่า โจทก์มิได้ใช้ถนนซอยรุ่งเรืองเพราะมีทางอื่นออกได้

           ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ซอยรุ่งเรืองเป็นทางจำเป็น พิพากษาให้จำเลยเปิดซอยรุ่งเรืองให้โจทก์ และผู้เช่าบ้านโจทก์ใช้รถยนต์เข้าออกสู่ถนนลาดพร้าวได้ตลอดเวลา โดยให้จำเลยรื้อถอนคานเหล็กที่ปิดกั้นออกไป
           จำเลยที่ 1 ที่ 2 ยื่นอุทธรณ์

           ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
           จำเลยที่ 1 ผู้เดียวฎีกา

           ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า สภาพแห่งทางจำเป็นดังที่บัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรค 3 มีว่า "ที่และวิธีทำทางผ่านนั้น ต้องเลือกให้พอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่านกับทั้งให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นได้ ถ้าจำเป็นผู้มีสิทธิจะผ่านจะสร้างถนนเป็นทางผ่านก็ได้" ซึ่งหมายความว่า เมื่อที่ดินตกอยู่ในที่ล้อม โจทก์ย่อมได้รับความคุ้มครองเพื่อการใช้ยานพาหนะผ่านทางในสภาพที่เป็นถนนได้มิได้จำกัดเฉพาะให้ใช้ทางเดินด้วยเท้าแต่อย่างเดียว เมื่อซอยรุ่งเรืองเป็นทางลาดยางที่ใช้การได้ดี ซึ่งอำนวยความสะดวกแก่โจทก์ในการใช้รถยนต์ผ่านได้อยู่แล้ว โดยโจทก์ได้ใช้ทางร่วมกับจำเลยผู้เป็นเจ้าของทางมาก่อนเช่นนี้ต้องถือว่า โจทก์มีสิทธิโดยสมบูรณ์ที่จะใช้ซอยรุ่งเรืองเป็นทางจำเป็นเข้าออกได้

           พิพากษายืน

สิทธิของผู้รับโอนที่จะใช้ทางจำเป็นเช่นเจ้าของเดิม

ผู้รับโอนที่ดิน ซึ่งไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ย่อมมีสิทธิตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 ที่จะขอผ่านทางที่สะดวก และใกล้ทางสาธารณะเหมาะสมกับความจำเป็นกว่าทางอื่น ซึ่งเจ้าของที่ดินเคยใช้มาก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  2324/2516

ผู้รับโอนที่ดินซึ่งไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ย่อมมีสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 ที่จะขอผ่านทางที่สะดวกและใกล้ทางสาธารณะเหมาะสมกับความจำเป็นกว่าทางอื่น ซึ่งเจ้าของที่ดินผู้โอนเคยใช้มาก่อน
          กฎหมายมิได้บังคับว่าผู้ร้องขอใช้ทางจำเป็นต้องเสนอขอจ่ายค่าทดแทนความเสียหายให้แก่เจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่มาด้วย แม้โจทก์จะขอใช้ทางจำเป็นในที่ดินของจำเลยโดยไม่ได้ขอจ่ายค่าทดแทนแต่โจทก์ก็ไม่ได้ปฏิเสธจะไม่จ่าย และจำเลยก็ยังมีสิทธิเรียกร้องเอาได้จึงไม่เป็นเหตุที่จะบังคับให้ตามคำขอของโจทก์ไม่ได้

โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะที่ดินของจำเลยอยู่ติดทางสาธารณะทางทิศใต้ของที่ดินโจทก์ จำเลยเคยยอมให้โจทก์เดินผ่านไปออกทางสาธารณะเกินกว่า 10 ปีแล้ว จำเลยได้ขุดทางเดินเอาต้นไม้มาปลูกทำให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อน จึงขอให้พิพากษาบังคับให้จำเลยเปิดทางให้โจทก์เดินอย่างเดิมและห้ามปลูกพืชผลตามทางเดินนั้น

          จำเลยให้การว่า ทางเดินตามที่โจทก์ฟ้องกว้างเพียง 1 ศอกเท่านั้นโจทก์ได้อาศัยเดินไปตักน้ำบ่อกินในที่ดินของจำเลย เมื่อประมาณปีเศษมานี้โจทก์ได้ขุดบ่อน้ำของโจทก์แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้น้ำในบ่อของจำเลยอีกต่อไป ที่ดินของโจทก์ โจทก์เพิ่งซื้อจากนายเกตุ เมื่อประมาณปีเศษมานี้ เดิมโจทก์เช่าจากนายเกตุปลูกลูกยาและผักขาย โจทก์อยู่ในที่บ้านของโจทก์ไม่ถึง 10 ปี ไม่ได้สิทธิภารจำยอมในที่ดินของจำเลย ทางเดินดังกล่าว โจทก์อาศัยเดินโดยไม่มีค่าตอบแทน จำเลยจึงมีสิทธิเลิกเสียเมื่อใดก็ได้ ขอให้พิพากษายกฟ้อง

          ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว วินิจฉัยว่าที่ดินของโจทก์อยู่ในที่ล้อมของที่ดินแปลงอื่น ทางในที่ดินของจำเลยซึ่งโจทก์ใช้เข้าออกไปสู่ถนนสาธารณะ ถือได้ว่าเป็นทางจำเป็น และโจทก์ได้ใช้ทางพิพาทนี้มาเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว ทางพิพาทจึงเป็นทางภารจำยอม พิพากษาให้จำเลยเปิดทางให้โจทก์อย่างเดิม (กว้าง 6 ศอก) และห้ามปลูกพืชผลตามทางเดินนั้น

          จำเลยอุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นเป็นว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็น ไม่ใช่ทางภารจำยอม และให้เปิดทางให้โจทก์กว้าง 3 ศอกนอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความ 2 ศาลให้เป็นพับ

          จำเลยฎีกาขอให้ยกฟ้องของโจทก์

   ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ฎีกาข้อแรกของจำเลยมีว่าเมื่อที่ดินยังเป็นของนายเกตุ นายเกตุได้ใช้ทางด้านทิศเหนือเดินลัดเลาะผ่านที่ดินของนายทุยและนางลูกอินทร์ไปออกทางสาธารณะ โจทก์ผู้รับโอนที่ดินมาจากนายเกตุจะต้องใช้ทางเดินนั้น จะมาขอใหม่ไม่ได้ เพราะโจทก์ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่านายเกตุผู้โอน ศาลฎีกาเห็นว่าเรื่องนี้จะนำเอาหลักกฎหมายที่ว่าผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอนมาใช้ปรับไม่ได้ เพราะไม่ใช่เป็นปัญหาว่าโจทก์มีสิทธิในทรัพย์ที่รับโอนมาเพียงใด ที่จำเลยว่านายเกตุได้ใช้ทางด้านทิศเหนือเดินผ่านที่ดินของนายทุยและนางลูกอินทร์ไปออกทางสาธารณะ จำเลยก็ไม่ได้อ้างว่า นายเกตุมีสิทธิอย่างไรในทางดังกล่าวนั้น และสิทธินั้นได้โอนมายังโจทก์พร้อมกับที่ดินหรือไม่เพียงใด จึงถือได้ว่าที่ดินของโจทก์ยังไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ โจทก์ย่อมมีสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 ที่จะขอผ่านที่ดินของจำเลยซึ่งเป็นทางที่สะดวกและใกล้ทางสาธารณะ เหมาะสมกับความจำเป็นกว่าทางอื่น ซึ่งนายเกตุได้เคยใช้มา ฎีกาข้อนี้ของจำเลยฟังไม่ขึ้น

          ฎีกาของจำเลยอีกข้อหนึ่งที่ว่าโจทก์ขอใช้ทางเดินตามสิทธิที่ได้ครอบครองมา (หมายถึงภารจำยอม) ไม่ได้ตั้งใจขอสิทธิที่ไม่มีทางออก(ทางจำเป็น) ศาลจะพิพากษาให้ไม่ได้นั้น ข้อนี้ศาลฎีกาเห็นว่า ฟ้องของโจทก์ได้กล่าวอ้างถึงสิทธิของโจทก์มาทั้งในทางจำเป็นและในภารจำยอม เมื่อศาลชั้นต้นฟังว่าทางพิพาทเป็นทั้งทางจำเป็นและทางภารจำยอม จำเลยก็ได้อุทธรณ์คัดค้านรวมมาทั้งสองประเด็น ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจพิพากษาถึงสิทธิของโจทก์ในทางจำเป็นได้ ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นเดียวกัน
          ส่วนข้อที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์มิได้ขอจ่ายเงินค่าที่ดินที่ขอใช้ให้แก่จำเลย ศาลอุทธรณ์ไม่ควรพิพากษาให้สิทธิแก่โจทก์ในทางจำเป็นนั้น ศาลฎีกาเห็นว่าในเรื่องค่าทดแทนความเสียหายอันเกิดแต่เหตุที่มีทางผ่านนี้ไม่มีบทกฎหมายบังคับว่าเมื่อผู้มีสิทธิจะผ่านร้องขอต่อศาล จะต้องเสนอขอจ่ายค่าทดแทนความเสียหายให้แก่เจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่มาพร้อมกับคำขอด้วย คดีนี้แม้โจทก์จะไม่ได้ขอจ่ายค่าทดแทนมาในฟ้อง แต่โจทก์ไม่ได้ปฏิเสธที่จะจ่าย ไม่มีเหตุที่จะบังคับให้ไม่ได้ ทั้งจำเลยก็ไม่ได้รับความเสียหายเพราะเหตุที่ศาลไม่ได้สั่งให้โจทก์จ่ายค่าทดแทนเสียในคดีนี้ เนื่องจากจำเลยยังมีสิทธิที่จะเรียกร้องเอาได้อยู่ ศาลอุทธรณ์ย่อมพิพากษาให้ตามคำขอของโจทก์ได้"

          พิพากษายืน

ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน

คำพิพากษาฎีกาที่ 814/2554

ช.ทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทแก่ อ. เมื่อ ช. ตายที่ดินพิพาทตกเป็นของ อ. ต่อมา อ.ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินของตนทั้งหมดแก่โจทก์ทั้งห้า เมื่อ อ.ตาย ที่ดินพิพาทตกเป็นของโจทก์ทั้งห้า แม้ศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของ ช. จำเลยที่ 1 ก็เพียงแต่มีอำนาจจัดการทรัพย์มรดกของ ช. แทนทายาททุกคนเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกแก่ทายาททุกคน ไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทที่ตกเป็นของโจทก์ทั้งห้าไปขายโดยทายาทผู้ได้รับมรดกไม่ยินยอม การที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาทไปขายให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ทั้งห้า แม้จำเลยที่ 2 แม้จะซื้อที่ดินโดยสุจริต เสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนแล้วก็ตาม จำเลยที่ 2 ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ตามหลักที่ว่าผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน โจทก์ทั้งห้าย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกเอาที่ดินพิพาทคืนอันเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินจากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 กรณีไม่ใช่เรื่องการเพิกถอนการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 เพราะการจะเป็นเรื่องเพิกถอนการฉ้อฉลได้ จำเลยที่ 1 ผู้โอนต้องมีสิทธิโอนอยู่แล้ว และการโอนทำให้โจทก์ทั้งห้าซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  1344/2535

   เมื่อจำเลยรับซื้อรถยนต์พิพาทจากบุคคลซึ่งฉ้อโกงรถยนต์พิพาทจากโจทก์ จำเลยย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาท เพราะผู้ขายรถยนต์พิพาทไม่มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์นั้น เข้าหลักผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน การที่จำเลยซื้อรถดังกล่าวจากผู้ที่ฉ้อโกงเอามาขายที่ร้านของจำเลยในบริเวณชุมนุมการค้ารถยนต์ไม่ใช่ซื้อจากร้านค้าใดร้านค้าหนึ่งที่อยู่ในชุมนุม การค้ารถยนต์นั้น จึงไม่ใช่เป็นการซื้อในท้องตลาด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1332 ดังนั้น จำเลยจะสุจริตหรือไม่ ก็ไม่เป็นเหตุให้ได้รับความคุ้มครองตามบทกฎหมายดังกล่าว จำเลยจึงต้องคืนรถยนต์พิพาทแก่โจทก์ แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยขายรถยนต์แก่บุคคลภายนอกไปแล้วไม่อาจคืนรถยนต์พิพาทแก่โจทก์ได้ จำเลยจึงต้องใช้ราคารถแก่โจทก์ตามราคาที่โจทก์ซื้อมาพร้อมด้วยค่าเสียหายที่โจทก์ไม่ได้ใช้รถและค่าเสื่อมสภาพรถคันพิพาท

 คลองตื้นเขินไม่สามารถใช้เป็นทางสัญญาจรได้

ที่ดินจดคลอง แต่คลองตื้นเขินประชาชนไม่สามารถใช้เป็นทางสัญจรไปมานานแล้วทางอื่นออกไม่ได้จึงใช้ทางจำเป็นผ่านที่ดินที่ล้อมนั้นได้
(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2073/2520)

คลองที่ขาดความสะดวกใช้สอยเป็นทางสัญจร

คลองบางไผ่น้อยบริเวณพิพาท แม้ใช้เรือสัญจรเข้าออกได้ แต่ก็ ขาดความสะดวกที่จะใช้สอยเป็นทางสาธารณะได้ตามปกติ จึงยังไม่พอ ที่จะถือได้ว่าเป็นทางสาธารณะตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1349 โจทก์จึงมีความจำเป็นที่จะต้องผ่านที่ดินของจำเลยซึ่งล้อมอยู่ ไปสู่ทางสาธารณะโดยใช้ทางเดินพิพาทผ่านเข้าออกเป็นทางจำเป็นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  800 - 801/2544

คดีทั้งสองสำนวนมีศาลชั้นต้นสั่งให้รวมพิจารณาเป็นคดีเดียวกันโดยให้เรียกโจทก์สำนวนแรกว่า โจทก์ที่ 1 เรียกโจทก์ที่ 1 และที่ 2 สำนวนหลังว่า โจทก์ที่ 2 และที่ 3

          โจทก์ทั้งสองสำนวนฟ้องว่า โจทก์ทั้งสามและบริวารใช้ที่ดินของจำเลยทางทิศตะวันตกเป็นทางเดินผ่านเข้าออกสู่ทางสาธารณะกว้างประมาณ 1เมตร ยาวประมาณ 10 เมตร และใช้ทางเดินผ่านที่ดินของนายสุวิช รังศาสตร์และนางทองหล่อ รุจิเลข ออกสู่ทางสาธารณะด้วย โดยสงบ และโดยเปิดเผยด้วยเจตนาใช้เป็นทางจำเป็นเนื่องจากเป็นทางเดียวที่จะสามารถใช้เป็นทางออกสู่ทางสาธารณะได้ในทางบกสืบต่อกันมาเป็นเวลาเกินกว่า 50 ปี จนกระทั่งได้สิทธิภารจำยอมโดยอายุความแล้ว ดังนั้นทางเดินบนที่ดินของจำเลย กว้าง 1 เมตร ยาว 10 เมตร จึงเป็นทางจำเป็นและตกเป็นภารจำยอมเพื่อประโยชน์ของที่ดินของโจทก์ที่ 1 ของโจทก์ที่ 2 และ ของโจทก์ที่ 3 โดยอายุความตามกฎหมายแล้ว ต่อมาจำเลยเปิดประกาศแจ้งว่า "ทางส่วนบุคคลห้ามบุคคลภายนอกผ่านเข้าออกเพื่อใช้ประโยชน์จากที่ดินบริเวณนี้ของข้าฯ ขอให้รื้อสะพานของท่านออกภายใน 7 วัน" การกระทำของจำเลยเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสาม ขอให้พิพากษาว่าทางเดินกว้างประมาณ 1 เมตร ยาวประมาณ 10 เมตร ดังกล่าวเป็นทางภารจำยอมของที่ดินของโจทก์ทั้งสามโดยอายุความและให้จำเลยไปจดทะเบียนสิทธิภารจำยอมแก่ที่ดินทั้งสี่แปลง หากไม่ไปให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนเจตนาของจำเลยและขอให้มีคำสั่งห้ามจำเลยและบริวารรื้อสะพานไม้ของโจทก์ทั้งสามหรือให้เสื่อมสภาพหรือปิดกั้นทางภารจำยอมและห้ามกระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งทางภารจำยอมต้องลดไปหรือเสื่อมความสะดวก

          จำเลยให้การว่า โจทก์ทั้งสามไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าว โจทก์ทั้งสามจึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยเปิดทางจำเป็นหรือไปจดทะเบียนภารจำยอมได้ที่ดินที่โจทก์ทั้งสามอ้างว่าเป็นของตนมีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ทางคูน้ำสาธารณะและคลองบางไผ่น้อย การที่โจทก์ทั้งสามหรือบิดามารดาโจทก์ทั้งสามเดินผ่านที่ดินพิพาทอันเป็นของจำเลยก็เนื่องจากฝ่ายโจทก์และจำเลยเป็นญาติพี่น้องกัน บิดาจำเลยและจำเลยอนุญาตให้ใช้ทางเดินพิพาทได้ มิใช่กรณีที่บิดามารดาโจทก์ทั้งสามหรือโจทก์ทั้งสามใช้ทางเดินพิพาทโดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาใช้เป็นทางจำเป็นดังนั้น แม้จะใช้มานานเท่าใดก็ไม่ทำให้ทางเดินพิพาทตกเป็นภารจำยอมโดยอายุความ ขอให้ยกฟ้อง

          ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ทางเดินตามเส้นสีน้ำเงินในแผนที่เอกสารหมาย จ.4 ขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 10 เมตร แนวทางขนานเลียบกับแนวที่ดินด้านทิศตะวันตกจากใต้ขึ้นเหนือซึ่งอยู่ในโฉนดที่ดินเลขที่ 145958ตำบลบางไผ่(บางไผ่น้อย) อำเภอเมืองนนทบุรี (ตลาดขวัญ) จังหวัดนนทบุรีของจำเลยเป็นทางจำเป็นของที่ดินรวม 4 แปลง คือ ที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 4793ตำบลบางไผ่ (บางไผ่น้อย) อำเภอเมืองนนทบุรี (ตลาดขวัญ) จังหวัดนนทบุรีของโจทก์ที่ 1ที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 118567 ตำบลบางไผ่ (บางไผ่น้อย)อำเภอเมืองนนทบุรี (ตลาดขวัญ) จังหวัดนนทบุรี ของโจทก์ที่ 2 ที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 118571 ตำบลบางไผ่ (บางไผ่น้อย) อำเภอเมืองนนทบุรี (ตลาดขวัญ) จังหวัดนนทบุรี ของโจทก์ที่ 3 และที่ดินโฉนดเลขที่ 118570 ตำบลบางไผ่ (บางไผ่น้อย) อำเภอเมืองนนทบุรี (ตลาดขวัญ) จังหวัดนนทบุรี ของโจทก์ที่ 2และที่ 3 ให้จำเลยเปิดทางเดินพิพาทห้ามจำเลยและบริวารรื้อสะพานไม้ในทางเดินพิพาททำให้เสื่อมสภาพหรือปิดกั้นทางจำเป็นดังกล่าว คำขออื่นของโจทก์นอกจากนี้ให้ยก

          โจทก์ทั้งสามและจำเลยอุทธรณ์

          ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งสามทั้งสี่แปลงด้วย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
          จำเลยฎีกา

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงในเบื้องต้นรับฟังเป็นยุติว่า โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 4793 โดยได้รับมรดกจากมารดาเมื่อปี 2523 เดิมมีนางเจือ โพธิ์เปรม มารดาโจทก์ที่ 2 เป็นเจ้าของรวมต่อมาได้มีการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์กันเป็นที่เรียบร้อยแล้วตั้งแต่ปี 2524 ทำให้ที่ดินทางทิศตะวันตกเป็นของนางเจือ คือที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 3165 และ 3168 ซึ่งต่อมาตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ที่ 2 และบุตรคือ โจทก์ที่ 3 โดยต่อมาเปลี่ยนเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ 118567 และ 118570 ส่วนที่ดินทางทิศตะวันออกเป็นของโจทก์ที่ 1 ที่ดินของโจทก์ที่ 1 ก่อนแบ่งแยก ทิศตะวันออกจดที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 145958 ของจำเลยซึ่งแยกมาจากโฉนดที่ดินเลขที่ 4794 ทิศตะวันตกจดที่ดินของบุคคลอื่น ซึ่งมีคูน้ำขวางกั้น ทิศเหนือจดที่ดินจำเลย และบุคคลอื่นมีคูน้ำขวางกั้นเช่นกัน ทางทิศใต้จดคลองบางไผ่น้อยทำให้ที่ดินของโจทก์ออกสู่ทางสาธารณะที่เป็นทางบกได้เพียงทางเดียว คือ ทางเดินพิพาทซึ่งต้องผ่านที่ดินของจำเลย และของบุคคลอื่นรวม 3 แปลง สำหรับคลองบางไผ่น้อยใช้เป็นทางเข้าออกทางน้ำโดยใช้เรือในการสัญจรออกสู้แม่น้ำเจ้าพระยา ครั้นถึงปลายปี 2528 ทางฝ่ายโจทก์ได้สร้างสะพานไม้ข้ามคูน้ำผ่านทางเดินพิพาทเนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีน้ำท่วม ที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 4793 และ 4794 เดิมเป็นที่ดินซึ่งมีตราจองชั่วคราวสองแปลงติดต่อกัน ที่อำเภอแดงจันและนายศุข สิบตรี บรรพบุรุษของโจทก์ทั้งสามและจำเลยได้ซื้อมาพร้อมกันและต่อมาได้ขอออกโฉนดที่ดินเลขที่ 4793 และ 4794 ตามเอกสารหมาย จ.39 ที่ดินทั้งสองแปลงจึงตกทอดมาถึงโจทก์ทั้งสามและจำเลยซึ่งล้วนแต่เป็นญาติกันทั้งสิ้น เหตุแห่งคดีนี้สืบเนื่องจากจำเลยห้ามโจทก์ทั้งสามผ่านเข้าออกทางเดินพิพาท และให้โจทก์ทั้งสามรื้อสะพานไม้ที่สร้างในทางเดินพิพาทออก แต่โจทก์ทั้งสามโต้แย้งว่าโจทก์ทั้งสามมีสิทธิผ่านเขาออกทางเดินพิพาท เพราะเป็นทางจำเป็น และทางเดินพิพาทตกเป็นภารจำยอมของที่ดินของโจทก์ทั้งสาม คดีจึงมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยเป็นประการแรกว่า ทางเดินพิพาทเป็นทางจำเป็นสำหรับที่ดินของโจทก์ทั้งสามหรือไม่ เห็นว่า ที่ดินของโจทก์ทั้งสามและของจำเลยมิได้เป็นที่ดินแปลงเดียวกันมาแต่เดิม หากแต่เป็นที่ดินซึ่งบรรพบุรุษของโจทก์ทั้งสามและของจำเลยต่างซื้อมาคนละแปลง แต่ปรากฏว่าที่ดินทั้งสองแปลงอยู่ติดกัน จึงไม่เข้าลักษณะของที่ดินแบ่งแยกหรือแบ่งโอนกันเป็นเหตุให้แปลงหนึ่งไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1350 คงมีปัญหาว่าที่ดินของโจทก์ทั้งสามมีที่ดินของจำเลยและที่ดินของผู้อื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 อันทำให้ต้องใช้ทางเดินพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือไม่ เห็นว่า ตามพยานหลักฐานของโจทก์ทั้งสามและจำเลยรับกันว่ามีคลองบางไผ่น้อยซึ่งเป็นทางสาธารณะที่ใช้สัญจรเข้าออกมาแต่เดิม ทั้งนี้โดยโจทก์ทั้งสามนำสืบโต้แย้งว่าคลองดังกล่าวใช้เข้าออกไม่สะดวกในช่วงฤดูแล้ง เพราะคลองตื้นเขิน ซึ่งข้อนี้นายเนตร ปิ่นแก้ว กำนันและผู้ใหญ่บ้านตำบลบางไผ่และมิได้เกี่ยวข้องเป็นญาติของโจทก์ทั้งสามและจำเลยไม่ว่าทางหนึ่งทางใดได้เบิกความเป็นพยานโจทก์รับรองว่าสภาพคลองไม่สามารถใช้เรือสัญจรได้ในขณะน้ำลงเพราะน้ำแห้ง ปัจจุบันชาวบ้านริมคลองไม่มีเรือใช้แล้ว พยานเองก็ไม่เคยใช้เรือในการสัญจร คงใช้สัญจรทางบกโดยตลอด จึงเจือสมกับคำเบิกความของนายพจน์ รังศาสตร์ พยานจำเลยซึ่งเป็นบิดาจำเลยและเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่มีทางเดินพิพาทมาแต่เดิมได้ตอบคำถามค้านของทนายความโจทก์ทั้งสามว่า ชาวบ้านที่อาศัยในละแวกนั้น ส่วนใหญ่เลิกใช้เรือเป็นพาหนะมาประมาณ 20 ปีแล้วเหตุที่เป็นเช่นนั้น เนื่องจากในช่วงน้ำลงคลองบางไผ่น้อยน้ำแห้งเรือผ่านเข้าออกไม่สะดวก แม้จำเลยอ้างภาพถ่ายน้ำในคลองบางไผ่น้อยเป็นพยานหลักฐาน ตามภาพถ่ายหมาย ล.7 ถึง ล.11 ก็ไม่อาจยืนยันได้ แน่ชัดว่าขณะน้ำลงสภาพคลองเป็นอย่างไร จึงไม่อาจหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ทั้งสามได้ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าคลองบางไผ่น้อย แม้ใช้เรือสัญจรเข้าออกได้ แต่ก็ขาดความสะดวกที่จะใช้สอยเป็นทางสาธารณะได้ตามปกติ จึงยังไม่พอที่จะถือได้ว่าเป็นทางสาธารณะตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 เหตุนี้โจทก์ทั้งสามจึงมีความจำเป็นที่จะต้องผ่านที่ดินของจำเลยซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะโดยใช้ทางเดินพิพาทผ่านเข้าออกได้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์ทั้งสามใช้ทางเดินพิพาทเป็นทางจำเป็นนั้นชอบแล้วฎีกาของจำเลยในข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

          ส่วนที่จำเลยฎีกาเป็นประการต่อไปว่า ทางเดินพิพาทไม่ตกเป็นภารจำยอมของที่ดินของโจทก์ทั้งสามโดยอายุความนั้น เห็นว่า โจทก์ทั้งสามยอมรับว่าได้ใช้ทางเดินพิพาทเข้าออกสู่ทางสาธารณะเรื่อยมา สืบทอดตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษของโจทก์ทั้งสามและของจำเลยที่เป็นญาติใกล้ชิดมาแต่เดิม ดังจะเห็นได้จากการที่บรรพบุรุษของโจทก์ทั้งสามและของจำเลยต่างซื้อที่ดินติดต่อกัน จนกระทั่งปลายปี 2528 น้ำท่วมทางพิพาท ทางฝ่ายโจทก์จึงได้จัดสร้างสะพานไม้ข้ามคูน้ำในทางเดินพิพาทโดยบิดาจำเลยยินยอมให้ดำเนินการในลักษณะของความอะลุ่มอล่วยฉันเครือญาติ จึงเป็นการแสดงออกโดยแจ้งชัดว่าโจทก์ทั้งสามได้ใช้ทางเดินพิพาทด้วยความสนิทสนมคุ้นเคย โดยถือว่าเป็นกันเองอย่างเช่นเครือญาติที่ผูกพันกันมานานสืบเนื่องมาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษของทั้งสองฝ่าย อันเป็นการใช้ทางเดินพิพาทโดยถือวิสาสะและเอื้อเฟื้อต่อกัน ทางเดินพิพาทจึงไม่ตกเป็นภารจำยอมโดยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้ทางเดินพิพาทตกเป็นภารจำยอมนั้นไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของจำเลยในข้อนี้ฟังขึ้น"

          พิพากษาแก้เป็นว่า ให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

บุคคลอาจพาปศุสัตว์ของตน ผ่านเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นซึ่งมิได้กั้นเพื่อไปเลี้ยงและอาจไปเอาน้ำในบ่อ สระ ยกเว้นที่ดินที่เพาะปลูกหรือเตรียมเพื่อเพาะปลูก หรือมีธัญชาติเจ้าของที่ดินย่อมห้ามได้   ถ้ามีจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นให้ทำได้ ถ้าเจ้าของไม่ห้าม อาจเข้าไปในที่ป่าหรือในที่มีหญ้าเลี้ยงสัตว์ซึ่งเป็นที่ดินของผู้อื่น เพื่อเก็บฟืนหรือผลไม้ป่า ผัก เห็ด และสิ่งเช่นกัน

สิทธิได้รับเงินทดแทน

ในเรื่องค่าทดแทน เจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่มีสิทธิในอันที่จะได้รับเงินทดแทนจากเจ้าของที่ดินที่ถูกล้อมซึ่งขอเปิดทาง แต่มีข้อยกเว้นคือ ถ้าที่ดินแบ่งแยกหรือโอนกัน เป็นเหตุให้ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ เจ้าของที่ดินแปลงนั้นซึ่งถูกล้อม มีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินเฉพาะบนที่ดินแปลงที่แบ่งแยกหรือแบ่งโอน และไม่ต้องเสียค่าตอบแทน

"ทางจำเป็น" ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานที่ดินหรือไม่

ผู้มีสิทธิใช้ทางจำเป็น สามารถใช้ทางได้โดยอำนาจของกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 โดยไม่ต้องจดทะเบียน   ดังนั้นในคดีฟ้องแย้ง จำเลยจะฟ้องแย้งให้โจทก์เสียค่าธรรมเนียมค่าภาษี กับค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนทางจำเป็นหาได้ไม่

  คำพิพากษาศาลฎีกาที่  3774/2549

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 2068 ตำบลลาดยาว (บางเขนฝั่งใต้) อำเภอบางเขน (บางซื่อ) กรุงเทพมหานคร และที่ดินโฉนดเลขที่ 2095 ตำบลลาดยาว อำเภอจตุจักร กรุงเทพมหานคร ที่ดินของโจทก์ทั้งสองแปลงมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่ทั้งสี่ด้านไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ที่ดินของจำเลยอยู่ติดที่ดินของโจทก์ทั้งสองแปลงด้านทิศเหนือ มีลักษณะเป็นถนนมีทางออกสู่ทางสาธารณะ โจทก์จำเป็นต้องผ่านที่ดินของจำเลยไปสู่ทางสาธารณะ ขอให้บังคับจำเลยเปิดทางในที่ดินโฉนดเลขที่ 128706 ตำบลลาดยาว (บางเขนฝั่งใต้) อำเภอบางเขน (บางซื่อ) กรุงเทพมหานคร กว้างแปลงละประมาณ 8 เมตร ยาวตลอดไปถึงถนนสาธารณะ โดยโจทก์ยินยอมจ่ายค่าผ่านทางให้จำเลยเป็นเงิน 100,000 บาท
           จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า เดิมที่ดินของโจทก์โฉนดเลขที่ 2068 และ 2095 เป็นที่ดินแปลงเดียวกับที่ดินที่ติดกับที่ดินของโจทก์ด้านทิศตะวันตกโฉนดเลขที่ 113160 ตำบลลาดยาว อำเภอจตุจักร กรุงเทพมหานคร โจทก์ต้องฟ้องขอเปิดทางจำเป็นจากที่ดินแปลงดังกล่าว ซึ่งเป็นที่ดินที่ได้แบ่งแยกออกไป ที่ดินของโจทก์ทั้งสองแปลงด้านทิศตะวันออกติดคลองสาธารณะ ซึ่งโจทก์สามารถใช้เป็นทางสัญจรได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง หากโจทก์ต้องการให้จำเลยเปิดทางให้โจทก์ผ่านที่ดินของจำเลยยาวตลอดไปถึงถนนสาธารณะ โจทก์ต้องใช้ค่าที่ดินให้จำเลยตารางวาละ 10,000 บาท ที่ดินของโจทก์ทั้งสองแปลงมีเนื้อที่ประมาณ 405 ตารางวา โจทก์จึงต้องใช้ค่าที่ดิน 4,050,000 บาท ก่อนฟ้องโจทก์ไม่เคยแจ้งให้จำเลยเปิดทางตามฟ้อง ขอให้ยกฟ้อง และขอให้บังคับโจทก์ชดใช้ค่าที่ดินแก่จำเลยในกรณีที่ต้องเปิดทางจำเป็นเป็นเงิน 1,000,000 บาท และให้โจทก์เสียค่าธรรมเนียมค่าภาษีกับค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนทางจำเป็น หากโจทก์ไม่ชดใช้ค่าที่ดินดังกล่าวให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาของโจทก์

           โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งว่า จำเลยฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายในการเปิดทางสูงเกินความจริง ขอให้ยกฟ้องแย้ง

           ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยเปิดทางจำเป็นให้โจทก์ผ่านที่ดินของจำเลย โฉนดเลขที่ 128706 ตำบลลาดยาว (บางเขนฝั่งใต้) อำเภอบางเขน (บางซื่อ) กรุงเทพมหานคร โดยกำหนดความกว้าง 6 เมตร จากแนวเขตติดต่อระหว่างที่ดินของโจทก์ โฉนดเลขที่ 2068 ตำบลลาดยาว (บางเขนฝั่งใต้) อำเภอบางเขน (บางซื่อ) กรุงเทพมหานคร และโฉนดเลขที่ 2095 ตำบลบาดยาว อำเภอจตุจักร กรุงเทพมหานคร ด้านละ 3 เมตร ให้โจทก์ใช้ค่าทดแทนแก่จำเลยเป็นเงิน 300,000 บาท กับให้โจทก์เป็นผู้ออกค่าธรรมเนียม ค่าภาษี และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการจดทะเบียนทางจำเป็น ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองฝ่ายให้เป็นพับ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
           จำเลยอุทธรณ์

           ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 8,000 บาท
           จำเลยฎีกา

           ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยข้อแรกว่า โจทก์มีสิทธิใช้ทางจำเป็นผ่านที่ดินของจำเลยได้หรือไม่ โดยจำเลยฎีกาว่า เดิมที่ดินของโจทก์ทั้งสองแปลงเป็นที่ดินแปลงเดียวกับที่ดินโฉนดเลขที่ 113160 ของนายสุปรีดี นิมิตรกุล สามารถออกสู่ถนนสาธารณะได้ โดยผ่านที่ดินของจำเลยที่เป็นภารยทรัพย์ ดังนั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินได้เฉพาะบนที่ดินโฉนดเลขที่ 113160 ที่ได้แบ่งแยกและโอนกันโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเพื่อขอใช้ทางจำเป็นในที่ดินของจำเลยโฉนดเลขที่ 128706 และที่ดินของโจทก์ด้านทิศตะวันออกติดคลองชลประทานซึ่งเป็นทางสาธารณะตามกฎหมาย จึงไม่ใช่กรณีที่ดินของโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ เพียงแต่โจทก์ใช้คลองชลประทานซึ่งเป็นทางสาธารณะไม่สะดวกเท่านั้น คำฟ้องของโจทก์ไม่เข้าองค์ประกอบตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 โจทก์จึงไม่มีสิทธิใช้ทางจำเป็นผ่านที่ดินของจำเลยได้นั้น โจทก์มีตัวโจทก์และนายสุปรีดีเบิกความเป็นพยานว่า ที่ดินของโจทก์ทั้งสองแปลงมีที่ดินของบุคคลอื่นล้อมรอบอยู่ ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ หากจะอาศัยคลองชลประทานเป็นทางสัญจรไปมาก็ไม่สามารถทำได้เนื่องจากมีชุมชนแออัดอาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าว และถ้าโจทก์จะต้องออกไปสู่ทางสาธารณะจะต้องอาศัยที่ดินของจำเลย เห็นว่า คำเบิกความของพยานโจทก์ดังกล่าวสอดคล้องกับรายงานกระบวนพิจารณา ฉบับลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2543 ที่องค์คณะผู้พิพากษาศาลชั้นต้นไปเผชิญสืบที่ดินพิพาทโดยมีคู่ความทั้งสองฝ่ายนำชี้ว่า ที่ดินของโจทก์ทั้งสองแปลงทิศเหนือติดถนนคอนกรีตซึ่งอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 128706 ของจำเลย มีรั้วคอนกรีตสูงประมาณ 1.5 เมตร กั้นตลอดแนว ทิศตะวันตกติดที่ดินโฉนดเลขที่ 113160 ของนายสุปรีดี มีรั้วสังกะสีสูงประมาณ 2 เมตร กั้นเป็นแนว ทิศใต้ติดที่ดินโฉนดเลขที่ 2642 และ 2641 ซึ่งเป็นที่ดินของผู้อื่น มีรั้วคอนกรีตของโจทก์สูงประมาณ 2 เมตร กั้นตลอดแนว ทางทิศตะวันออกติดคลองเปรมประชากร แต่ระหว่างที่ดินของโจทก์และคลองเปรมประชากรมีบ้านพักอาศัยเป็นชุมชนปลูกสร้างบนที่ดินของกรมชลประทานตลอดแนว มีรั้วคอนกรีตของโจทก์สูงประมาณ 2 เมตร กั้นตลอดแนวความกว้างระหว่างรั้วคอนกรีตของโจทก์ถึงคลองเปรมประชากรประมาณ 7 เมตร มีทางเดินกว้างประมาณ 1 เมตร ตลอดแนวคลอง ประชาชนที่อาศัยอยู่ในละแวกดังกล่าวใช้เป็นทางเดินและทางรถจักรยานยนต์ ส่วนรถยนต์ไม่สามารถแล่นผ่านเข้าออกได้ จากที่ดินโจทก์ไม่สามารถเดินออกไปยังทางเท้าดังกล่าวได้เนื่องจากตลอดแนวรั้วมีบ้านปลูกอยู่ และทิศใต้ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ดังนั้น พยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมาจึงมีน้ำหนักน่ารับฟังมากกว่าพยานหลักฐานของจำเลย ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ที่ดินโจทก์ทั้งสองแปลงดังกล่าวมีที่ดินของจำเลยและบุคคลอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ โจทก์จึงมีสิทธิใช้ทางจำเป็นผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรคหนึ่ง เนื่องจากที่ดินของโจทก์ทั้งสองแปลงที่ถูกปิดล้อมทิศเหนือติดถนนคอนกรีตซึ่งอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 128706 ของจำเลย และมีรั้วคอนกรีตสูงประมาณ 1.5 เมตร กั้นตลอดแนว การเปิดทางจำเป็นผ่านที่ดินของจำเลยดังกล่าวย่อมเหมาะสมที่สุด เพราะเพียงแต่ทุบรั้วคอนกรีตออกเท่านั้น ที่ดินของโจทก์ทั้งสองแปลงก็จะมีทางออกสู่ทางสาธารณะได้สะดวกที่สุด  หากจะเปิดทางจำเป็นด้านที่ติดที่ดินโฉนดเลขที่ 113160 ของนายสุปรีดีตามที่จำเลยฎีกานั้นก็ไม่สามารถกระทำได้เนื่องจากหนังสือข้อตกลงเรื่องภาระจำยอมระหว่างจำเลยและนายสิน ผลช่วย กับนายสุปรีดี เอกสารหมาย จ.7  กำหนดไว้ว่า ทางภาระจำยอมที่จำเลยและนายสินยินยอมให้นายสุปรีดีใช้ผ่านนั้นให้ใช้เป็นทางผ่านเข้าที่ดินของนายสุปรีดีเท่านั้น โจทก์จึงไม่สามารถผ่านทางภาระจำยอมดังกล่าวได้ ส่วนที่ดินของโจทก์ด้านทิศตะวันออกที่ติดคลองเปรมประชากรนั้น ปรากฏจากการเผชิญสืบที่ดินพิพาทขององค์คณะผู้พิพากษาศาลชั้นต้นว่ามีชาวบ้านชุมชนแออัดปลูกบ้านอยู่อาศัยบนที่ดินของกรมชลประทานตามแนวคลองติดรั้วคอนกรีตของโจทก์ ทำให้โจทก์ไม่สามารถใช้ทางออกสู่ทางสาธารณะตามแนวคลองได้ กรณีดังกล่าวถือได้ว่าที่ดินของโจทก์ทั้งสองแปลงมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ โจทก์จึงมีสิทธิใช้ทางจำเป็นผ่านที่ดินของจำเลยได้ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมานั้นศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

           ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยข้อต่อไปมีว่า ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยเปิดทางจำเป็นให้โจทก์ผ่านที่ดินของจำเลยกว้าง 6 เมตร เกินความจำเป็นที่โจทก์จะต้องใช้และทำให้จำเลยเสียหายหรือไม่ โดยจำเลยฎีกาว่า โจทก์ขอเปิดทางเพื่อทำประตูตั้วจากที่ดินของโจทก์ออกถนนของหมู่บ้านซึ่งเป็นของจำเลย ที่จัดไว้สำหรับผู้อาศัยในหมู่บ้านความกว้าง 6 เมตร เกือบเท่าความกว้างของถนนภายในหมู่บ้าน เมื่อเอาสภาพความเป็นอยู่และที่ตั้งแห่งทรัพย์แล้วเกินความจำเป็นแก่การใช้ ประตูรั้วบ้านไม่จำต้องให้รถสามารถสวนทางกันได้ ดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย ถือว่าขัดต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรคสาม การขอเปิดทางจำเป็นของโจทก์จะต้องทำให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยน้อยที่สุด จำเลยเห็นว่า ควรเปิดทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งสองแปลง กว้างแปลงละ 1.75 เมตร รวมกันไม่เกิน 3.50 เมตรนั้น เห็นว่า ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 1349 วรรคสาม กำหนดว่า ที่และวิธีทำทางผ่านนั้นต้องเลือกให้พอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่าน กับทั้งให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ในเสียหายแต่น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ถ้าจำเป็น ผู้มีสิทธิจะผ่านจะสร้างถนนเป็นทางผ่านก็ได้ ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยเปิดทางจำเป็นให้โจทก์ผ่านที่ดินของจำเลยกว้าง 6 เมตร จึงเกินความจำเป็นที่โจทก์จะต้องใช้ เพราะโจทก์ฟ้องขอเปิดทางจำเป็นเพื่อให้โจทก์ใช้ทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะเท่านั้น  ศาลฎีกาเห็นควรกำหนดให้จำเลยเปิดทางจำเป็นกว้าง 3.50 เมตร ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังขึ้น

           ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยข้อสุดท้ายมีว่า โจทก์ควรจ่ายค่าทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการใช้ทางจำเป็นเพิ่มขึ้นจากที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้หรือไม่ โดยจำเลยฎีกาว่า เมื่อโจทก์ได้ทางจำเป็นจะทำให้ที่ดินของโจทก์ทั้งสองแปลงราคาเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 750,000 บาท ปัจจุบันราคาประเมินตารางวาละ 50,000 บาท ทั้งที่ยังไม่มีทางออก เมื่อเปิดทางโจทก์ยังสามารถใช้ถนนเข้าออกภายในหมู่บ้านไม่ต้องลงทุนก่อสร้างถนนไปสู่ทางสาธารณะอีก จำเลยลงทุนทำถนนเป็นเงินหลายสิบล้านบาท ใช้ประโยชน์สำหรับผู้อาศัยในหมู่บ้านของจำเลยเท่านั้น และเมื่อเปรียบเทียบเงื่อนไขที่จำเลยทำไว้แก่นายปรีดีตามเอกสารหมาย จ.7 แล้ว การที่จำเลยฟ้องแย้งเรียกค่าทดแทนจำนวน 1,000,000 บาท นับว่าเหมาะสมแล้ว ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้จ่ายเพียง 300,000 บาท นับว่าน้อยมาก ขอให้โจทก์จ่ายค่าทดแทนให้แก่จำเลยเพิ่มขึ้นอีก 70,000 บาท (ที่ถูกน่าจะเป็น 700,000 บาท) นั้น เห็นว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยปัญหาข้อนี้โดยให้เหตุผลไว้อย่างละเอียดและชัดแจ้งแล้ว ซึ่งศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย จึงไม่จำต้องวินิจฉัยซ้ำอีก ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

           อนึ่ง ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาบังคับให้โจทก์เป็นผู้ออกค่าธรรมเนียม ค่าภาษีและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการจดทะเบียนทางจำเป็นด้วยนั้น ในกรณีทางจำเป็น โจทก์มีสิทธิใช้ทางได้โดยอำนาจของกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 โดยไม่ต้องจดทะเบียนและไม่ต้องบังคับตามคำขอบังคับในฟ้องแย้งของจำเลยข้อนี้ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องเสียด้วย"

           พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยเปิดทางจำเป็นให้โจทก์ผ่านที่ดินของจำเลยโฉนดเลขที่ 128706 ตำบลลาดยาว (บางเขนฝั่งใต้) อำเภอบางเขน (บางซื่อ) กรุงเทพมหานคร กว้าง 3.50 เมตร จากแนวเขตติดต่อระหว่างที่ดินของโจทก์โฉนดเลขที่ 2068 ตำบลลาดยาว (บางเขนฝั่งใต้) อำเภอบางเขน (บางซื่อ) กรุงเทพมหานคร และโฉนดเลขที่ 2095 ตำบลลาดยาว อำเภอจตุจักร กรุงเทพมหานคร กว้างด้านละ 1.75 เมตร คำขอของจำเลยที่ให้โจทก์เป็นผู้ออกค่าธรรมเนียม ค่าภาษี และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการจดทะเบียนทางจำเป็นให้ยก ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์

 




ครอบครองปรปักษ์/ภาระจำยอม/ทางจำเป็น

อำนาจฟ้องคดี ครอบครองปรปักษ์ที่ดินของตนเองไม่ได้
ครอบครองที่ดินมรดกตกทอดหาใช่การครอบครองปรปักษ์ในที่ดินของผู้อื่นไม่
นับเวลาซึ่งผู้โอนครอบครองอยู่ก่อนนั้นรวมเข้ากับเวลาครอบครองของตนก็ได้
คลองสาธารณะไม่ได้ใช้สัญจรไม่ทำให้สิ้นสภาพการเป็นทางสาธารณะได้
การโอนกรรมสิทธิ์ในระยะที่ดินถูกครอบครองปรปักษ์กระทบสิทธิครอบครอง
อุทิศที่ดินให้กับทางราชการเพื่อสร้างถนนสาธารณะแล้วจะขอเรียกคืน
ทายาททำหนังสือยินยอมให้ใช้ทางไม่ได้สิทธิภาระจำยอม
ได้กรรมสิทธิ์ตาม มาตรา 1382 เพราะเจ้าของสละแล้ว
ความแตกต่างของทางจำเป็นกับภาระจำยอม
ทางออกมีที่ดินสูงชันขวางอยู่ขอให้เปิดทางจำเป็นได้
ค่าทดแทนการใช้ทางเดือนละเท่าไหร่เหมาะสม
ฟ้องขอให้เปิดทางจำแต่เจ้าของที่ดินแปลงอื่นตกลงจดภาระจำยอมให้
เจ้าของที่ดิน น.ส. 3 ก ออกเอกสารสิทธิทับที่ดินมีโฉนดอ้างครอบครองปรปักษ์
ใช้ทางโดยสำคัญผิดว่าทางนั้นอยู่ในที่ดินของตนกว่า10 ปีได้ภาระจำยอม
การใช้สิทธิวางท่อน้ำ,สายไฟฟ้าในที่ดินของผู้อื่น
ครอบครองโดยสำคัญผิดได้กรรมสิทธิ์โดยปรปักษ์หรือไม่?
ค่าทดแทนทางจำเป็นและท่อระบายน้ำสายไฟฟ้า
จดภาระจำยอมให้แค่เดินผ่านแต่ปลูกสร้างหลังคาและวางของขาย
เจ้าของที่ดินมีสิทธิสร้างแผงร้านค้าบนทางภาระจำยอมหรือไม่?
ภาระจำยอมที่เกิดจากการจัดสรรที่ดินขาย
ใช้ทางอย่างเป็นปรปักษ์กับใช้ทางเป็นการวิสาสะ
ยึดถือที่ดินเพื่อตนกับมีชื่อในทะเบียนสิทธิใดดีกว่า?
ตกเป็นภาระจำยอมแล้วจึงรับโอนมาทั้งสิทธิและหน้าที่
ภาระจำยอมหมดประโยชน์หรือไม่?
คนต่างด้าวครอบครองปรปักษ์ห้องชุด
เพิกถอนโฉนดที่ดินออกทับที่ดินของผู้มีสิทธิครอบครอง
ภาระจำยอมเป็นสิทธิในประเภทรอนสิทธิ
ครอบครองปรปักษ์ที่ดินที่ซื้อมาไม่จดทะเบียน
ตกอยู่ในภาระจำยอมตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอม 3-(ต่อ)
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอม 2-(ต่อ)
เหตุตามกฎหมายทำให้ภาระจำยอมสิ้นไป
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เป็นทางจำเป็น ศาลอุทธรณ์ให้จดภาระจำยอม
มีทางออกสู่ทางสาธารณะอื่นทางจำเป็นที่สิ้นความจำเป็นแล้ว
การยึดถืออย่างสิทธิครอบครอง กับครอบครองเจตนาเป็นเจ้าของ
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอม 4-(ต่อ)
ทางที่ประชาชนเดินเข้าออกสู่ถนนสาธารณะมานานโดยเจ้าของที่ดินไม่หวงห้าม
ทางจำเป็นคืออะไร | เงินค่าทดแทนใช้ทาง article
แม้ภาระจำยอมโดยนิติกรรมไม่บริบูรณ์แต่มีสิทธิได้โดยอายุความ
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอม
ยกเลิกภาระจำยอมได้ไหม?
ที่ดินตาบอดมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ขอเปิดทางจำเป็น
การครอบครองปรปักษ์ขาดตอนเมื่อเปลี่ยนเจ้าของ-การนับระยะเวลาครอบครองปรปักษ์
การครอบครองปรปักษ์จนได้กรรมสิทธิ์-การครอบครองอย่างเป็นเจ้าของ
ที่ดินแบ่งแยกเป็นเหตุให้ไม่มีทางออกมีสิทธิเรียกให้เปิดทางจำเป็น
สัญญาประนีประนอมยอมความเกิดจากคู่ความฉ้อฉล
ปรปักษ์ใช้ยันผู้ได้สิทธิมาโดยจ่ายค่าซื้อที่ดินและจดทะเบียนโอนแล้วไม่ได้
รับโอนที่ดินมาโดยสุจริต เสียค่าตอบแทน และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริต
ตกลงยินยอมให้ใช้ทางเป็นการทำนิติกรรมก่อตั้งสิทธิภาระจำยอมระหว่างกัน
การครอบครองปรปักษ์กับการนับเวลาการครอบครองต่อเนื่องต่อจากเจ้าของเดิม
ผู้ขายสละการครอบครอง ผู้ซื้ออ้างครอบครองปรปักษ์ได้
ขอเปิดทางจำเป็นจากที่ดินแบ่งแยก
เจ้าของที่ดินจำต้องยอมให้ที่ดินมีแนวเขตติดต่อวางท่อน้ำ ท่อระบายน้ำ สายไฟฟ้าได้
ฟ้องขอเปิดทางจำเป็นแต่ระหว่างพิจารณาคดีได้สิทธิภาระจำยอมแปลงอื่น
กรรมสิทธิ์ครอบครองปรปักษ์ไม่ใช่สิทธิเฉพาะตัวของผู้ครอบครอง
ครอบครองอาศัยสิทธิไม่บอกเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ
ภาระจำยอมคืออะไร การใช้ทางโดยไม่มีใครห้ามและไม่ต้องรับอนุญาต
ได้กรรมสิทธิ์ปรปักษ์แล้วไม่ได้จดทะเบียนการได้มา
ต่อสู้คดีอ้างครอบครองปรปักษ์แต่ขาดเจตนาเป็นเจ้าของ10 ปี
การใช้ที่ดินข้างเคียงเป็นทางผ่านโดยถือวิสาสะไม่ได้ภาระจำยอม