ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




จำนองครอบไปถึงทรัพย์หมดทุกส่วน

   -ปรึกษากฎหมาย นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

     โทร.085-9604258

   -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์   

   (1) @leenont 

   (2) @peesirilaw  

   (3) 0859604258 เพิ่มด้วยหมายเลขโทรศัพท์

  -Line Official Account : เพิ่มเพื่อน QR CODE

ข้อ 5 โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2530 นางโกสุมกู้ยืมเงินไปจาก โจทก์จำนวน 1,500,000 บาท ยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี มีกำหนดชำระคืนภายใน 5 ปี โดยจำเลยที่ 1 เข้าทำสัญญาค้ำประกัน โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม และในวันเดียวกัน จำเลยที่ 2 ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินแปลงหนึ่ง เนื้อที่ 2 ไร่ เป็นประกันหนี้ของ นางโกสุมดังกล่าวด้วย ต่อมาวันที่ 14 สิงหาคม 2536 นางโกสุมถึงแก่ความตาย นายโกศลทายาทของ นางโกสุมค้างชำระหนี้เรื่องมาจนกระทั่งบัดนี้เป็นเวลา 9 ปีเศษแล้ว โจทก์ยังไม่ได้รับชำระหนี้ และภายหลังจำนองแล้ว จำเลยที่ 3 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินจำนองเนื้อที่ 1 ไร่ ด้วยการครอบครองปรปักษ์ แต่ยังไม่ได้จดทะเบียน โจทก์จึงได้มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันและบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยที่ 2 และที่ 3 แต่จำเลยทั้งสามเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ที่ 2 ให้ร่วมกันและแทนกันชำระหนี้ 1,500,000 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ หากจำเลยไม่ชำระหนี้ให้ยึดที่ดินจำนองออกขายทอดตลาดนำเงินชำระหนี้ดังกล่าวแก่โจทก์จนครบถ้วน

จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การว่า โจทก์ไม่ฟ้องเรียกให้ทายาทของนายโกสุมชำระหนี้ภายใน 1 ปี จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิด ส่วนจำเลยที่ 3 ให้การว่า จำเลยที่ 3 ไม่ใช่ผู้จำนอง และจำเลยที่ 3 ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินจำนอง 1 ไร่แล้ว แม้ยังไม่ได้จดทะเบียนก็ตาม จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์

ให้วินิจฉัยความรับผิดของจำเลยทั้งสาม

ธงคำตอบ

กรณีที่จำเลยที่ 1 นางโกสุมถึงแก่ความตายตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคม 2536 โจทก์ไม่ได้ใช้สิทธิเรียกร้องต่อกองมรดกของ นางโกสุมภายใน 1 ปี นับแต่ทราบว่านางโกสุมถึงแก่ความตาย สิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้เงินของนางโกสุมจึงขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของ นางโกสุม จำเลยที่ 1 ย่อมยกข้อต่อสู้ดังกล่าวขึ้นอ้างได้ ตามมาตรา 694 จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดตามฟ้อง ( คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5996/2544 ) แต่จำเลยที่ 2 ไม่อาจยกข้อต่อสู้นั้นขึ้นอ้างได้ เพราะการจำนองไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ผู้จำนองกระทำเช่นนั้นได้จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดในหนี้ต้นเงินพร้อมด้วยดอกเบี้ยตามสัญญาจำนอง

ส่วนกรณีจำเลยที่ 3 แม้จำเลยที่ 3 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินจำนองเนื้อที่ 1 ไร่แล้วโดยการครอบครองปรปักษ์ แต่จำเลยที่ 3 ยังไม่ได้จดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ โดยการที่จำนองย่อมครอบไปถึงทรัพย์จำนองหมดทุกส่วนด้วยกัน ตามมาตรา 717 วรรคหนึ่ง โจทก์ย่อมมีสิทธิบังคับจำนองที่ดินแปลงนั้นได้เต็ม 2 ไร่ ตามสัญญาฉบับวันที่ 1 ธันวาคม 2530 ( คำพิพากษาฎีกาที่ 1064/2507 ) ข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 3 ฟังไม่ขึ้น

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

 มาตรา 1754 ห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย หรือนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก

คดีฟ้องเรียกตามข้อกำหนดพินัยกรรม มิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อผู้รับพินัยกรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงสิทธิซึ่งตนมีอยู่ตามพินัยกรรม

ภายใต้บังคับแห่ง มาตรา 193/27 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าสิทธิเรียก ร้องของเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดกมีกำหนดอายุความยาวกว่าหนึ่งปี มิให้เจ้าหนี้ นั้นฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก

ถึงอย่างไรก็ดี สิทธิเรียกร้องตามที่ว่ามาในวรรคก่อน ๆ นั้น มิให้ฟ้อง ร้องเมื่อพ้นกำหนดสิบปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย

 มาตรา 193/27 ผู้รับจำนองผู้รับจำนำ ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงหรือผู้ทรงบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้อันตนได้ยึดถือไว้ยังคงมีสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนอง จำนำหรือที่ได้ยึดถือไว้ แม้ว่าสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นประธานจะขาดอายุความแล้วก็ตามแต่จะใช้สิทธินั้นบังคับให้ชำระดอกเบี้ยที่ค้างย้อนหลังเกินห้าปีขึ้นไปไม่ได้

 มาตรา 694 นอกจากข้อต่อสู้ซึ่งผู้ค้ำประกันมีต่อเจ้าหนี้นั้น ท่านว่าผู้ค้ำประกันยังอาจยกข้อต่อสู้ทั้งหลาย ซึ่งลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้ได้ด้วย

 มาตรา 717 แม้ว่าทรัพย์สินซึ่งจำนองจะแบ่งออกเป็นหลายส่วนก็ตาม ท่านว่าจำนองก็ยังคงครอบไปถึงส่วนเหล่านั้นหมดทุกส่วนด้วยกันอยู่นั่นเอง

ถึงกระนั้นก็ดี ถ้าผู้รับจำนองยินยอมด้วย ท่านว่าจะโอนทรัพย์สินส่วนหนึ่งส่วนใดไปปลอดจากจำนองก็ให้ทำได้แต่ความยินยอมดั่งว่านี้หากมิได้จดทะเบียน ท่านว่าจะยกเอาขึ้นเป็นข้อต่อสู้แก่บุคคลภายนอกหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5996/2544

ธนาคารโจทก์ สาขาบางขุนเทียน มีหนังสือลงวันที่ 3 ตุลาคม2538 ถึงธนาคารโจทก์ สาขาพัทลุง โดยมีข้อความระบุว่าจำเลยที่ 1ถึงแก่ความตายแล้วและขอให้ธนาคารโจทก์สาขาพัทลุง ช่วยคัดสำเนาทะเบียนบ้านของจำเลยที่ 1 เพื่อที่จะดำเนินคดีแก่ทายาทต่อไป ดังนี้ แสดงว่าธนาคารโจทก์ สาขาบางขุนเทียน ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของโจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตายแล้วกรณีจึงถือได้ว่าอย่างช้าในวันที่ 3 ตุลาคม 2538 โจทก์รู้ถึงความตายของจำเลยที่ 1 แล้วเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองวันที่ 11 ธันวาคม 2540 สิทธิเรียกร้องของโจทก์ต่อกองมรดกของจำเลยที่ 1 จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกัน จำเลยที่ 2 ย่อมยกข้อต่อสู้ดังกล่าวขึ้นอ้างได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 694

 โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นข้าราชการสังกัดกระทรวงยุติธรรมขอใช้บริการสินเชื่อและทำสัญญากู้กรุงไทยธนวัฎกับโจทก์ สาขาบางขุนเทียน เพื่อเบิกเงินเกินบัญชีออมทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ซึ่งทำไว้กับโจทก์เป็นเงิน 63,000 บาท ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 14 ต่อปี ชำระดอกเบี้ยเป็นรายเดือน กำหนดชำระหนี้เสร็จสิ้นภายใน 1 ปี โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ต่อมากระทรวงยุติธรรมไม่โอนเงินเดือนและผลประโยชน์ของจำเลยที่ 1เข้าบัญชีออมทรัพย์ตามข้อตกลงเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์เพียงวันที่ 3ธันวาคม 2534 จำเลยที่ 1 มียอดหนี้ค้างชำระเป็นเงิน 40,769.79 บาท และจำเลยที่ 1 ไม่นำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ต่อไปอีกขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระเงิน 85,102.74 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19.5 ต่อปี ของต้นเงิน 40,769.79 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

จำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตายก่อนฟ้องคดี ศาลชั้นต้นจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 ออกจากสารบบความ

จำเลยที่ 2 ให้การว่า จำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 10มกราคม 2535 ทายาทของจำเลยที่ 1 จัดการมรดกไปแล้ว จำเลยที่ 2ได้แจ้งให้โจทก์ทราบการตายของจำเลยที่ 1 แต่โจทก์ไม่ฟ้องกองมรดกการที่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ให้เสร็จภายใน 1 ปี และกระทรวงยุติธรรมไม่โอนเงินเข้าบัญชีของจำเลยที่ 1 ถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาโจทก์ทราบการตายของจำเลยที่ 1 แล้ว ไม่ฟ้องคดีภายใน 1 ปี ฟ้องโจทก์ในหนี้ประธานขาดอายุความ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับเป็นว่า ให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินจำนวน40,769.79 บาท แก่โจทก์ พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 14 ต่อปี นับแต่วันที่ 4 ธันวาคม 2534 จนกว่าจะชำระเสร็จ

จำเลยที่ 2 ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ข้อเท็จจริงในเบื้องต้นฟังได้ว่า จำเลยที่ 1เปิดบัญชีออมทรัพย์ไว้กับโจทก์สาขาบางขุนเทียนเพื่อให้กระทรวงยุติธรรมที่จำเลยที่ 1 รับราชการอยู่ในสังกัดโอนเงินเดือนเข้าบัญชีของจำเลยที่ 1เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2532 จำเลยที่ 1 ขอใช้บริการสินเชื่อกรุงไทยธนวัฎและทำสัญญากู้กรุงไทยธนวัฎไว้กับโจทก์สาขาบางขุนเทียนเพื่อเบิกเงินเกินบัญชีจากบัญชีออมทรัพย์เป็นเงิน 63,000 บาท โดยยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 14 ต่อปี เพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้ จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันกรุงไทยธนวัฎไว้กับโจทก์โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมหลังจากนั้นกระทรวงยุติธรรมได้โอนเงินเดือนและผลประโยชน์พึงได้ให้แก่จำเลยที่ 1 โดยเข้าบัญชีออมทรัพย์ดังกล่าว ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้เบิกถอนเงินจากบัญชีด้วยตนเองและใช้บัตรกรุงไทย เอ.ที.เอ็ม. ถอนเงินจากเครื่องอัตโนมัติ ต่อมากระทรวงยุติธรรมไม่มีการโอนเงินเดือนหรือเงินผลประโยชน์อื่นใดเข้าบัญชีออมทรัพย์ของจำเลยที่ 1 วันที่ 3 ธันวาคม 2534 จำเลยที่ 1มียอดค้างชำระโจทก์เป็นต้นเงิน 40,769.79 บาท ในวันที่ 10 มกราคม 2535จำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตาย คดีมีปัญหาข้อกฎหมายที่ต้องวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ขาดอายุความหรือไม่ เห็นว่าเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม2540 ทนายโจทก์ยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นพร้อมกับแนบสำเนาเอกสารท้ายคำแถลงซึ่งเป็นหนังสือของธนาคารโจทก์ สาขาบางขุนเทียนที่จำเลยที่ 1 เปิดบัญชีไว้ มีไปถึงธนาคารโจทก์ สาขาพัทลุง ลงวันที่ 3ตุลาคม 2538 โดยมีข้อความระบุไว้ใจความว่า โจทก์ได้อนุมัติให้ธนาคารโจทก์ สาขาบางขุนเทียน ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 และธนาคารโจทก์ สาขาบางขุนเทียน ได้มอบหมายให้ทนายความดำเนินการแล้ว แต่จากการสืบทราบของทนายความปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ได้ถึงแก่ความตายแล้วจึงขอให้ธนาคารโจทก์สาขาพัทลุง ช่วยคัดสำเนาทะเบียนบ้านของจำเลยที่ 1 เพื่อที่จะดำเนินคดีแก่ทายาทของจำเลยที่ 1 ต่อไป จากข้อความในหนังสือดังกล่าวแสดงว่า ธนาคารโจทก์สาขาบางขุนเทียนซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของโจทก์ทราบว่า จำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตายแล้วจึงให้ธนาคารโจทก์ สาขาพัทลุงตรวจสอบหาทายาทของจำเลยที่ 1จากทะเบียนบ้านจึงถือได้ว่าอย่างช้าในวันที่ 3 ตุลาคม 2538 โจทก์รู้แล้วว่าจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตาย ที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ทราบการตายของจำเลยที่ 1 ในขณะยื่นฟ้องนั้นเป็นการวินิจฉัยผิดไปจากพยานหลักฐานในสำนวนผิดต่อกฎหมายศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงใหม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 238, 243(3) ประกอบมาตรา 247 เป็นว่าโจทก์รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของจำเลยที่ 1เจ้ามรดกเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2538 โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองวันที่ 11 ธันวาคม2540 จึงเป็นกรณีที่โจทก์มิได้ใช้สิทธิเรียกร้องต่อกองมรดกของจำเลยที่ 1นับแต่ทราบว่าจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตายภายในอายุความ 1 ปี สิทธิเรียกร้องของโจทก์ต่อกองมรดกของจำเลยที่ 1 จึงขาดอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม ฉะนั้นที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกัน จำเลยที่ 2 ย่อมยกข้อต่อสู้ดังกล่าวขึ้นอ้างได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 694 จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ตามฟ้อง ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้นไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกาฎีกาของจำเลยที่ 2 ฟังขึ้น"

พิพากษากลับให้ยกฟ้อง

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

 มาตรา 238 ภายใต้บังคับ มาตรา 243 (3) ในคดีที่อุทธรณ์ได้แต่ เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมายนั้น การวินิจฉัยปัญหาเช่นว่านี้ ศาล อุทธรณ์จำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยจากพยาน หลักฐานในสำนวน

 -มาตรา 243 ให้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจดั่งต่อไปนี้ด้วยคือ
(1) เมื่อคดีปรากฏเหตุที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติ แห่งประมวล กฎหมายนี้ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง และศาลอุทธรณ์เห็นว่ามี เหตุอันสมควรก็ให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำพิพากษาหรือคำสั่ง ศาลชั้นต้นนั้นเสีย แล้วส่งสำนวนคืนไปยังศาลชั้นต้นเพื่อให้พิพากษา หรือมีคำสั่งใหม่ ในกรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นอาจประกอบด้วยผู้พิพากษา อื่นนอกจากที่ได้พิพากษาหรือมีคำสั่งมาแล้ว และคำพิพากษาหรือ คำสั่งใหม่นี้อาจวินิจฉัยชี้ขาดคดีเป็นอย่างอื่น นอกจากคำพิพากษา หรือคำสั่งที่ถูกยกได้
(2) เมื่อคดีปรากฏที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติ แห่งประมวล กฎหมายนี้ว่าด้วยการพิจารณา หรือมีเหตุที่ศาลได้ปฏิเสธไม่สืบ พยานตามที่ผู้อุทธรณ์ร้องขอและศาลอุทธรณ์เห็นว่ามีเหตุอันสมควร ก็ให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้นนั้น แล้ว กำหนดให้ศาลชั้นต้นซึ่งประกอบด้วยผู้พิพากษาคณะเดิม หรือผู้ พิพากษาอื่น หรือศาลชั้นต้นอื่นใดตามที่ศาลอุทธรณ์จะเห็นสมควร พิจารณาคดีนั้นใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วนและพิพากษาหรือมีคำสั่งใหม่
(3) ในกรณีที่ศาลอุทธรณ์จำต้องถือตามข้อเท็จจริงของศาลชั้นต้น ถ้าปรากฏว่า
(ก) การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงนั้นผิดต่อกฎหมาย ศาลอุทธรณ์อาจฟังข้อเท็จจริงใหม่แทนข้อเท็จจริงของศาลชั้นต้น แล้วมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีไปตามนั้น หรือ
(ข) ข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นฟังมาไม่พอแก่การวินิจฉัย ข้อกฎหมายศาลอุทธรณ์อาจทำคำสั่งให้ยกคำพิพากษาหรือคำสั่ง ศาลชั้นต้นนั้นเสีย แล้วกำหนดให้ศาลชั้นต้นซึ่งประกอบด้วยผู้ พิพากษาคณะเดิม หรือผู้พิพากษาอื่น หรือศาลชั้นต้นอื่นใด ตามที่ศาลอุทธรณ์เห็นสมควรพิจารณาคดีนั้นใหม่ทั้งหมดหรือ บางส่วน โดยดำเนินตามคำชี้ขาดของศาลอุทธรณ์แล้วมีคำพิพากษา หรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีไปตามรูปความ ทั้งนี้ไม่ว่าจะปรากฏ จากการอุทธรณ์หรือไม่

ในคดีทั้งปวงที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษา หรือคำสั่งใหม่ตาม มาตรานี้ คู่ความชอบที่จะอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งใหม่เช่นว่านี้ ไปยังศาลอุทธรณ์ได้ตามบทบัญญัติแห่งลักษณะนี้

มาตรา 247 ในกรณีที่ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาหรือมีคำสั่งในชั้นอุทธรณ์แล้วนั้น ให้ยื่นฎีกาได้ภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้ อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลอุทธรณ์นั้น และภายใต้บังคับบทบัญญัติสี่มาตราต่อไปนี้กับกฎหมายอื่นว่าด้วยการฎีกา ให้นำบทบัญญัติในลักษณะ 1 ว่าด้วยอุทธรณ์มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1064/2507

 จำเลยที่ 1,2 จำนองที่ดินแปลงหนึ่งแก่โจทก์ เมื่อจำนองแล้ว จำเลยที่ 3 ได้กรรมสิทธิ์ส่วนหนึ่งของที่ดินแปลงนั้นไปด้วยการครอบครองปรปักษ์ แต่ยังไม่ได้จดทะเบียน ดังนี้โจทก์มีสิทธิบังคับจำนองที่ดินแปลงนั้นได้ แม้ส่วนหนึ่งของที่ดินแปลงนั้นตกเป็นของจำเลยที่ 3 แล้วและจำเลยที่ 3 ไม่ได้เป็นลูกหนี้โจทก์ก็ตาม ทั้งนี้เพราะสิทธิจำนองเป็นสิทธิครอบเหนือทรัพย์ทั้งหมด

เมื่อจำเลยที่ 3 ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองแต่ยังไม่ได้จดทะเบียนจะยกขึ้นต่อสู้ผู้รับจำนองซึ่งได้สิทธิโดยเสียค่าตอบแทนโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตไม่ได้

โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 กับนายทองห่อสามีจำเลยที่ 2 จำนองที่ดินไว้กับโจทก์เป็นเงิน 21,500 บาท นายทองห่อตาย จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับมรดก จำเลยที่ 3 ได้ฟ้องจำเลยที่ 1, 2 ขอให้แบ่งแยกและลงชื่อจำเลยที่ 3 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนในที่แปลงนี้ศาลได้พิพากษาคดีเสร็จเด็ดขาดแล้ว ให้แบ่งแยกและลงชื่อจำเลยที่ 3 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เนื้อที่ประมาณ 20 ไร่ จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดในหนี้จำนองด้วย โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยทั้งสามไถ่ถอนจำนองก็ไม่ไถ่ถอน จึงขอให้บังคับจำเลยทั้งสามไถ่ถอนจำนอง หากไม่ไถ่ถอนก็ขอให้ยึดทรัพย์จำนองมาขายทอดตลาดชำระหนี้โจทก์

จำเลยที่ 1, 2 ให้การรับว่า จำนองจริง แต่ไม่มีเงินจะไถ่ถอนขอโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่เหลือใช้แทน

จำเลยที่ 3 ให้การว่า จำเลยที่ 1, 2 จำนองจริง แต่เมื่อจำนองโจทก์ก็รู้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นเจ้าของโดยการครอบครองมาก่อนแล้วจำเลยจึงไม่ต้องรับผิด จำเลยยังไม่มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนด จำเลยจึงไม่ใช่คู่สัญญา และจำเลยได้ที่ดินโดยผลของกฎหมายและตามคำพิพากษาของศาล มิใช่โอนโดยนิติกรรม โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องที่ดินมีกว่า 100 ไร่ เกินหนี้จำนอง โจทก์ชอบที่จะบังคับเอาส่วนของจำเลยที่ 1, 2 ขอให้ยกฟ้องเฉพาะตัว

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้ง 3 ร่วมกันนำต้นเงิน 21,500 บาทกับดอกเบี้ย 12,900 บาท มาไถ่ถอนจำนอง หากไม่ไถ่ถอน จึงให้ยึดที่จำนองขายทอดตลาดชำระหนี้โจทก์

จำเลยที่ 3 อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์เห็นว่า จำเลยที่ 3 ไม่ใช่ผู้จำนอง จึงไม่ใช่ลูกหนี้โจทก์ จะบังคับให้ชำระหนี้ไม่ได้ แต่จำเลยที่ 3 ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยทางครอบครองและยังมิได้จดทะเบียน จึงต้องห้ามมิให้ยกขึ้นต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 1, 2 ร่วมกันใช้ต้นเงินและดอกเบี้ยแก่โจทก์ มิฉะนั้นให้ยึดที่ดินซึ่งจำนองไว้ทั้งแปลงขายทอดตลาดชำระหนี้ให้แก่โจทก์

จำเลยที่ 3 ฎีกา

ศาลฎีกาเห็นว่า ประเด็นปัญหาข้อกฎหมายอันเป็นสารสำคัญของคดีในชั้นฎีกามีว่า โจทก์ผู้รับจำนองจะบังคับจำนองเอากับทรัพย์ส่วนของจำเลยที่ 3 ที่มีคำพิพากษาชี้ขาดว่าจำเลยที่ 3 ได้กรรมสิทธิ์ไปโดยการครอบครองปรปักษ์ ทั้งที่จำเลยที่ 3 มิได้เป็นลูกหนี้โจทก์ จะได้หรือไม่

ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า การที่จำเลยที่ 3 ได้กรรมสิทธิ์ที่รายนี้ไป (20 ไร่) โดยการครอบครองและยังมิได้จดทะเบียนจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ไม่ได้ นั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย

สิทธิจำนองมิใช่เป็นแต่เพียงสิทธิเหนือบุคคลเท่านั้น แต่เป็นสิทธิครอบเหนือทรัพย์จำนองทั้งหมดด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 716 ทรัพย์ส่วนที่จำเลยที่ 3 ได้ไปโดยการครอบครองปรปักษ์นั้น เป็นทรัพย์ส่วนหนึ่งของทรัพย์จำนอง โจทก์จึงมีสิทธิที่จะบังคับเอาชำระหนี้จำนองได้ จำเลยที่ 3 ต้องห้ามมิให้ยกขึ้นต่อสู้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 โจทก์ไม่จำต้องอาศัยกรรมสิทธิ์เป็นข้ออ้างก็ใช้ยันกับจำเลยได้แล้ว

ศาลฎีกาจึงพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ค่าฤชาธรรมเนียมค่าทนายความชั้นฎีกาให้เป็นพับ และโดยเหตุที่ในคำให้การของจำเลยที่ 3 กล่าวว่า ที่ดินส่วนของจำเลยที่ 1, 2 มีกว่า 100 ไร่ มีค่าเกินกว่าหนี้ที่รับจำนอง โจทก์ชอบที่จะบังคับเอาส่วนของจำเลยที่ 1, 2 ก่อนนั้น มิได้มีการสืบค้นหาถึงราคาที่ดินส่วนของจำเลยที่ 1, 2 ว่าพอที่จะชำระหนี้โจทก์หรือไม่ แต่เนื่องจากที่ดินแปลงนี้เป็นแปลงใหญ่ อาจแยกส่วนที่จำเลยที่ 3 ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองเป็นอีกตอนหนึ่งได้ ดังนั้น เมื่อจะขายทอดตลาดที่ดินรายนี้ก็อาจแยกที่ดินตอนที่เป็นของจำเลยที่ 1, 2 ขายไปก่อนได้ สุดแล้วแต่เหตุผลที่สมควรให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 309

มาตรา 702 อันว่าจำนองนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้จำนองเอาทรัพย์สินตราไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับจำนองเป็นประกันการชำระหนี้ โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับจำนอง

ผู้รับจำนองชอบที่จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญมิพักต้องพิเคราะห์ว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะได้โอนไปยังบุคคลภายนอกแล้วหรือหาไม่

 -มาตรา 716 จำนองย่อมครอบไปถึงบรรดาทรัพย์สินซึ่งจำนองหมดทุกสิ่งแม้จะได้ชำระหนี้แล้วบางส่วน

 -มาตรา 1299 ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้หรือ กฎหมายอื่น ท่านว่าการได้มาโดยนิติกรรมซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอัน เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์นั้นไม่บริบูรณ์ เว้นแต่นิติกรรมจะได้ทำเป็นหนังสือและ ได้จดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่

ถ้ามีผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม สิทธิของผู้ได้มานั้น ถ้ายังมิได้จดทะเบียนไซร้ ท่านว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนไม่ได้ และสิทธิอันยังมิได้จดทะเบียน นั้น มิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและ โดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว

ป.วิ.พ. มาตรา 309

 มาตรา 309 ในการขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม คำพิพากษานั้นให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติตามข้อบังคับต่อไปนี้
(1) ในการขายทรัพย์สินที่มีหลายสิ่งด้วยกัน ให้แยกขายทีละสิ่ง ต่อเนื่องกันไป แต่
(ก) เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจจัดสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีราคา เล็กน้อยรวมขายเป็นกอง ๆ ได้เสมอ และ
(ข) เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจจัดสังหาริมทรัพย์หรือ
อสังหาริมทรัพย์สองสิ่งหรือกว่านั้นขึ้นไป รวมขายไปด้วยกันได้ในเมื่อเป็น ที่คาดหมายได้ว่า เงินรายได้ในการขายจะเพิ่มขึ้นเพราะเหตุนั้น
(2) ในการขายอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ และทรัพย์สินนั้นอาจ แบ่งแยกออกได้เป็นตอน ๆ เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจขาย ทรัพย์สินนั้นเป็นตอน ๆ ได้ ในเมื่อเป็นที่คาดหมายได้ว่าเงินรายได้ ในการขายทรัพย์สินบางตอนจะเพียงพอแก่พอแก่การบังคับคดี หรือว่าเงินรายได้ทั้งหมดจะเพิ่มขึ้นเพราะเหตุนั้น
(3) ในการขายทรัพย์สินหลายสิ่งด้วยกัน เจ้าพนักงานบังคับคดี มีอำนาจกำหนดลำดับที่จะขายทรัพย์สินนั้น

บุคคลผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินซึ่งจะต้องขาย อาจร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรวมหรือแยกทรัพย์สิน หรือขอให้ขายทรัพย์สินนั้นตามลำดับที่กำหนดไว้ หรือจะร้องคัดค้าน คำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่สั่งตามสามอนุ มาตรา ก่อนนั้นก็ได้ ในกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ยอมปฏิบัติตามคำร้องขอหรือ คำคัดค้านเช่นว่านั้น ผู้ร้องจะยื่นคำขอต่อศาลโดยทำเป็นคำร้อง ภายในสองวันนับตั้งแต่วันปฏิเสธ เพื่อขอให้มีคำสั่งชี้ขาดในเรื่องนั้น ก็ได้ คำสั่งของศาลให้เป็นที่สุด และให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเลื่อน การขายไปจนกว่าศาลจะได้มีคำสั่ง หรือจนกว่าจะได้พ้นระยะเวลา ซึ่งให้นำเรื่องขึ้นสู่ศาลได้




การสอบเนติบัณฑิต ภาคหนึ่ง สมัยที่ 55(วิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์)

การโอนสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้
สิทธิไถ่ถอนการขายฝาก
สร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต
ข้อตกลงยกเว้นความรับผิดเพื่อละเมิด