ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ผู้ทรงเช็คสิ้นสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ผู้สลักหลัง

ผู้ทรงเช็คสิ้นสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ผู้สลักหลัง

ข้อ 6. นายเอก เปิดร้านขายอาหารอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ได้สั่งซื้อเฟอร์นิเจอร์จากนายโท เพื่อนำไปใช้ในร้าน นายเอก ออกเช็คธนาคารกรุงทอง จำกัด สาขาลาดพร้าว ซึ่งเป็นเช็คผู้ถือ ลงวันที่ 7 มกราคม 2547 ชำระหนี้แก่ นายโท ที่ร้านนั้นเอง นายโท สลักหลังและส่งมอบเช็คดังกล่าวแก่นายตรี เพื่อชำระหนี้เงินยืม นายตรี รับเช็คไว้แล้วหลงลืม จนกระทั่งวันที่ 14 พฤษภาคม 2547 จึงนำเช็คไปเรียกเก็บเงิน ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เพราะเงินในบัญชีไม่พอจ่าย นายตรี ทวงถามนายเอก และนายโท ให้ใช้เงินตามเช็ค ทั้งสองคนต่อสู้ว่านายตรี นำเช็คไปเรียกเก็บเงินล่าช้า จึงสิ้นสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ตน

ให้วินิจฉัยว่า ข้อต่อสู้ของนายเอก และนายโทฟังขึ้นหรือไม่

 ธงคำตอบ

เช็คที่นายเอก สั่งจ่ายเป็นเช็คให้ใช้เงินในเมืองเดียวกันกับสถานที่ออกเช็ค แม้นายตรี ผู้ทรงจะมิได้ยื่นเช็คแก่ธนาคารเพื่อให้ใช้เงินภายในเดือนหนึ่งนับแต่วันออกเช็คตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 990 แต่ไม่ปรากฏว่าการไม่ยื่นเช็คภายในกำหนดดังกล่าวทำให้นายเอก ผู้สั่งจ่ายต้องเสียหายอย่างใด นายตรี จึงไม่เสียสิทธิที่มีต่อนายเอก และมีสิทธิฟ้องเรียกเงินตามเช็คจากนายเอก ได้ ตามมาตรา 900 และมาตรา 914 ประกอบด้วยมาตรา 989 (คำพิพากษาฎีกาที่ 3242/2530)

ข้อต่อสู้ของนายเอกฟังไม่ขึ้น

นายโท สลักหลังเช็คผู้ถือ ถือว่าการสลักหลังนั้นเป็นเพียงประกัน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่ายจึงต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันและรับผิดร่วมกับนายเอก ผู้สั่งจ่ายตามมาตรา 921 มาตรา 940 วรรคหนึ่ง และมาตรา 967 ประกอบด้วยมาตรา 989 นายโทไม่ได้อยู่ในฐานะผู้สลักหลังทั้งปวงอันจะพ้นความรับผิดตามมาตรา 990 ซึ่งเป็นเงื่อนไขแห่งการใช้สิทธิไล่เบี้ยของผู้ทรงเช็คต่อผู้สลักหลังโอนเช็คชนิดระบุชื่อผู้รับเงินเท่านั้น ไม่ได้รวมถึงผู้สลักหลังเช็คในฐานะเป็นผู้รับประกันการใช้เงิน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่ายตามเช็คซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือด้วย นายโทไม่หลุดพ้นจากความรับผิดและต้องร่วมรับผิดกับนายเอก (คำพิพากษาฎีกาที่ 1007/2542) ข้อต่อสู้ของนายโทฟังไม่ขึ้นเช่นกัน

 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 990 "ผู้ทรงเช็คต้องยื่นเช็คแก่ธนาคารเพื่อให้ใช้เงิน คือว่า ถ้าเป็นเช็คให้ใช้เงินในเมืองเดียวกันกับที่ออกเช็ค ต้องยื่นภายใน เดือนหนึ่งนับแต่วันออกเช็คนั้น ถ้าเป็นเช็คให้ใช้เงินที่อื่นต้องยื่น ภายในสามเดือน ถ้ามิฉะนั้น ท่านว่าผู้ทรงสิ้นสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาแก่ ผู้สลักหลังทั้งปวง ทั้งเสียสิทธิอันมีต่อผู้สั่งจ่ายด้วยเพียงเท่าที่จะ เกิดความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ผู้สั่งจ่ายเพราะการที่ละเลยเสียไม่ยื่นเช็คนั้น

อนึ่ง ผู้ทรงเช็คซึ่งผู้สั่งจ่ายหลุดพ้นจากความรับผิดไปแล้วนั้น ท่านให้รับช่วงสิทธิของผู้สั่งจ่ายคนนั้นอันมีต่อธนาคาร

มาตรา 900 "บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น

ถ้าลงเพียงแต่เครื่องหมายแต่อย่างหนึ่งอย่างใด เช่น แกงได หรือ ลายพิมพ์นิ้วมือ อ้างเอาเป็นลายมือชื่อในตั๋วเงินไซร้ แม้ถึงว่าจะมี พยานลงชื่อรับรองก็ตาม ท่านว่าหาให้ผลเป็นลงลายมือชื่อในตั๋วเงิน นั้นไม่ "

มาตรา 914 "บุคคลผู้สั่งจ่ายหรือสลักหลังตั๋วแลกเงินย่อมเป็นอัน สัญญาว่าเมื่อตั๋วนั้นได้นำยื่นโดยชอบแล้วจะมีผู้รับรอง และใช้เงินตาม เนื้อความแห่งตั๋วถ้าและตั๋วแลกเงินนั้นเขาไม่เชื่อถือโดยไม่ยอมรับรอง ก็ดีหรือไม่ยอมจ่ายเงินก็ดี ผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังก็จะใช้เงินแก่ผู้ทรง หรือแก่ผู้สลักหลังคนหลังซึ่งต้องถูกบังคับให้ใช้เงินตามตั๋วนั้น ถ้า หากว่าได้ทำถูกต้องตามวิธีการในข้อไม่รับรองหรือไม่จ่ายเงินนั้นแล้ว "

มาตรา 989 "บทบัญญัติทั้งหลายในหมวด 2 อันว่าด้วยตั๋วแลกเงิน ดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ ท่านให้ยกมาบังคับในเรื่องเช็คเพียงเท่าที่ไม่ขัดกับ สภาพแห่งตราสารชนิดนี้ คือบท มาตรา 910,มาตรา 914 ถึง มาตรา 923,มาตรา 925,มาตรา 926,มาตรา 938 ถึง มาตรา 940, มาตรา 945,มาตรา 946,มาตรา 959มาตรา 967,มาตรา 971

ถ้าเป็นเช็คที่ออกมาแต่ต่างประเทศ ท่านให้นำบทบัญญัติดั่งต่อไปนี้ มาใช้บังคับด้วย คือบท มาตรา มาตรา 924,มาตรา 960 ถึง มาตรา 964,มาตรา 973 ถึง มาตรา 977,มาตรา 980 "

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3242/2530

จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้โจทก์แม้จำเลยสั่งจ่ายเพื่อเป็นประกันหนี้เงินกู้ของ พ.ที่มีต่อโจทก์แต่เมื่อพ. ยังไม่ได้ชำระหนี้ต่อโจทก์ หนี้ตามเช็คพิพาทจึงยังคงมีอยู่จำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้น ทั้งจะนำบทบัญญัติในเรื่องการผ่อนเวลาของเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะค้ำประกันมาใช้บังคับเพื่อให้จำเลยพ้นจากความรับผิดหาได้ไม่

ความเสียหายอันเกิดจากผู้ทรงเช็คไม่นำเช็คไปขึ้นเงินต่อธนาคาร ภายในกำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 990นั้นหมายถึงผู้สั่งจ่ายเสียเงินที่มีอยู่ในธนาคารเพราะการที่ผู้ทรงไม่นำเช็คไปขึ้นเงินภายในกำหนด เช่นธนาคารล้มละลาย เป็นต้น ดังนั้น แม้จะฟังได้ว่าการที่โจทก์นำเช็คพิพาทไปยื่นต่อธนาคารเพื่อให้ใช้เงินล่าช้า จน พ.หลบหนีไปแล้วจึงดำเนินการ ทำให้จำเลยเสียหาย ไม่สามารถใช้สิทธิไล่เบี้ยจาก พ. ได้ กรณีก็ไม่ต้องด้วยบทกฎหมายดังกล่าวจำเลยจึงไม่พ้นความรับผิดตามเช็คพิพาท.

โจทก์ฟ้องว่าเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2526 จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์และออกเช็คให้โจทก์เป็นการชำระหนี้ดังกล่าวต่อมาโจทก์นำเช็คดังกล่าวไปเรียกเก็บเงินธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินขอให้จำเลยชำระเงิน 53,750 บาทพร้อมด้วยดอกเบี้ยตามกฎหมาย

จำเลยให้การว่าไม่เคยกู้ยืมเงินโจทก์จำเลยออกเช็คให้โจทก์เพื่อค้ำประกันนายไพบูลย์ที่ยืมเงินโจทก์ต่อมาโจทก์ยอมผ่อนเวลาให้นายไพบูลย์จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดและโจทก์ไม่ปฏิบัติตามป.พ.พ.มาตรา 990 ย่อมเสียสิทธิอันมีต่อผู้สั่งจ่ายคดีโจทก์ขาดอายุความขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 50,000 บาทพร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันที่ 2พฤษภาคม 2526 จนกว่าจะชำระเสร็จ

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อกฎหมายว่าที่จำเลยฎีกาข้อแรกว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อเป็นประกันหนี้เงินกู้ของนายไพบูลย์ที่มีต่อโจทก์นั้นเห็นว่าแม้จะฟังดังที่จำเลยต่อสู้เมื่อปรากฏว่านายไพบูลย์ยังไม่ได้ชำระหนี้เงินกู้ต่อโจทก์หนี้ตามเช็คพิพาทจึงยังคงมีอยู่และโดยที่จำเลยเป็นผู้ลงชื่อสั่งจ่ายในเช็คพิพาทย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 900 จำเลยจะอ้างว่าไม่มีเจตนาจะให้ใช้เงินตามเช็คนั้นเพื่อให้พ้นความรับผิดหาได้ไม่

ที่จำเลยฎีกาข้อต่อไปว่าเมื่อหนี้เงินกู้ที่นายไพบูลย์มีต่อโจทก์ถึงกำหนดชำระ จำเลยบอกให้โจทก์ฟ้องเรียกเงินคืนแต่โจทก์เพิกเฉยถือว่าเป็นการผ่อนเวลาให้ลูกหนี้จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันจึงพ้นจากความรับผิดนั้นเห็นว่าการที่จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้โจทก์แม้จำเลยจะอ้างว่าเป็นการค้ำประกันหนี้ของนายไพบูลย์ก็ตามเมื่อหนี้ของนายไพบูลย์ยังมิได้ชำระจำเลยก็ต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คพิพาทดังที่วินิจฉัยไว้แล้วข้างต้นจะนำบทบัญญัติในเรื่องการผ่อนเวลาของเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะค้ำประกันมาใช้บังคับเพื่อให้จำเลยพ้นจากความรับผิดหาได้ไม่

ที่จำเลยฎีกาข้อสุดท้ายว่าการที่โจทก์นำเช็คพิพาทไปยื่นต่อธนาคารเพื่อให้ใช้เงินล่าช้าจนกระทั่งนายไพบูลย์หลบหนีไปแล้วจึงดำเนินการทำให้จำเลยเสียหายไม่สามารถใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาจากนายไพบูลย์ได้ผู้ทรงเช็คคือโจทก์ต้องเสียสิทธิเรียกร้องเอาจากจำเลยผู้สั่งจ่ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 990 นั้นศาลฎีกาเห็นว่าความเสียหายอันเกิดจากผู้ทรงเช็คไม่นำเช็คไปขึ้นเงินต่อธนาคารภายในกำหนดตามมาตรา 990 นั้นหมายถึงผู้สั่งจ่ายเสียเงินที่มีอยู่ในธนาคารเพราะการที่ผู้ทรงเช็คไม่นำเช็คไปขึ้นเงินภายในกำหนดเช่นธนาคาร-ล้มละลายเป็นต้นคดีนี้แม้ข้อเท็จจริงจะเป็นดังที่จำเลยอ้างกรณีก็ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว

พิพากษายืน.

 




การสอบเนติบัณฑิต ภาคหนึ่ง สมัยที่ 57(วิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์)

ผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิด
ใช้เงินค่าหุ้นโดยหักกลบลบหนี้
ค่าทดแทนสัญญาหมั้นไม่โอนแก่กันได้
ชื่อทางภูมิศาสตร์ที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ
ความเสียหายที่ผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นต้องรับผิด
ทางจำเป็นสิ้นความจำเป็น-ไม่ใช่ทรัพยสิทธิ
สัญญาต่างตอบแทน การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัย
ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
การเช่าไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือฟ้องขับไล่ไม่ต้องบอกกล่าวก่อน