ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิด

   -ปรึกษากฎหมาย นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

     โทร.085-9604258

   -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์   

   (1) @leenont 

   (2) @peesirilaw  

   (3) 0859604258 เพิ่มด้วยหมายเลขโทรศัพท์

  -Line Official Account : เพิ่มเพื่อน QR CODE

peesirilaw@leenont 

ข้อ 5. นายดำ ทำหนังสือสัญญากู้ยืมเงินนายแดง 1,000,000 บาท โดยจำนำแหวนเพชรหนึ่งวงราคา 600,000 บาท เป็นประกันการชำระหนี้ มีนายขาว เป็นผู้ค้ำประกันและนายเขียว จำนองที่ดินเป็นประกันหนี้กู้ยืมดังกล่าวซึ่งไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ ต่อมานายแดง ให้นายดำ ยืมแหวนเพชรวงดังกล่าวไปใช้แล้วนายดำ มิได้นำมาคืน ต่อมาวันที่ 1 สิงหาคม 2547 นายแดง มีหนังสือทวงถามไปยังนายดำให้ชำระหนี้กู้ยืมภายใน 15 วัน และมีหนังสือบอกกล่าวไปยังนายเขียว ให้ไถ่ถอนจำนองโดยเร็วที่สุด นายดำและนายเขียว ได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2547 แต่นายแดงลืมทวงถามให้นายขาวชำระหนี้ วันที่ 3 กันยายน 2547 นายแดงฟ้องนายดำ นายขาว และนายเขียว ให้รับผิดตามสัญญากู้ยืม ค้ำประกัน และจำนอง ตามลำดับ

ให้วินิจฉัย ความรับผิดของนายดำ นายขาว และนายเขียว

ธงคำตอบ

นายดำ เป็นผู้กู้ยืมเงินนายแดง โดยมีสัญญากู้ยืมเป็นหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อนายดำ ผู้กู้ แม้สัญญาไม่มีกำหนดเวลาใช้คืนเงินกู้ นายแดง ก็มีสิทธิฟ้องเรียกเงินคืนได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 652 เมื่อนายแดง บอกกล่าวแล้วนายดำ ไม่ชำระหนี้ นายดำ ตกเป็นผู้ผิดนัด
ตามมาตรา 204 วรรคหนึ่ง จึงต้องรับผิดชำระหนี้เงินกู้ 1,000,000 บาท แก่นายแดง

นายขาว เป็นผู้ค้ำประกัน แม้นายแดงลืมบอกกล่าวทวงถามให้นายขาว ชำระหนี้ แต่เมื่อนายดำ ลูกหนี้ผิดนัดแล้ว นายแดง ย่อมมีสิทธิเรียกให้นายขาว ชำระหนี้ได้ตามมาตรา 686 โดยไม่จำต้องบอกกล่าวทวงถามแก่ นายขาว (คำพิพากษาฎีกาที่ 6389/2534) การที่นายแดง ผู้รับจำนำให้นายดำ ยืมแหวนเพชรไปทำให้ทรัพย์ที่จำนำกลับคืนสู่ครอบครองของนายดำ ผู้จำนำ สิทธิจำนำจึงระงับตามมาตรา 769 (2) (เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 2517/2534) และเป็นเรื่องเจ้าหนี้ทำให้ผู้ค้ำประกันไม่อาจรับช่วงสิทธิจำนำได้เพราะการกระทำของเจ้าหนี้ ตามมาตรา 697 นายขาวผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดเพียงเท่าที่ตนเสียหายคือ 600,000 บาท ดังนั้น นายขาวต้องรับผิดต่อนายแดง 400,000 บาท

สำหรับนายเขียวผู้จำนอง การบอกกล่าวบังคับจำนองต้องทำเป็นจดหมายบอกกล่าวไปยังลูกหนี้ให้ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรซึ่งกำหนดให้ในคำบอกกล่าวนั้น ตามมาตรา 728 หนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองของนายแดง มิได้กำหนดเวลาให้นายเขียวชำระหนี้ จึงเป็นการบอกกล่าวบังคับจำนองที่ไม่ชอบ นายแดงยังไม่มีสิทธิฟ้องบังคับจำนอง นายเขียวจึงยังไม่ต้องรับผิดต่อนายแดง

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 652 "ถ้าในสัญญาไม่มีกำหนดเวลาให้คืนทรัพย์สินซึ่งยืมไป ผู้ให้ยืมจะบอกกล่าวแก่ผู้ยืมให้คืนทรัพย์สินภายในเวลาอันควรซึ่งกำหนดให้ในคำบอกกล่าวนั้นก็ได้ "

มาตรา 204 "ถ้าหนี้ถึงกำหนดชำระแล้วและภายหลังแต่นั้นเจ้าหนี้ได้ให้คำเตือนลูกหนี้แล้วลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้ไซร้ ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดเพราะเขาเตือนแล้ว

ถ้าได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทินและลูกหนี้มิได้ ชำระหนี้ตามกำหนดไซร้ ท่านว่าลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนเลย วิธีเดียวกันนี้ท่านให้ใช้บังคับแก่กรณีที่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ก่อนการชำระหนี้ซึ่งได้กำหนดเวลาลงไว้อาจคำนวณนับได้โดยปฏิทินนับแต่วันที่ได้บอกกล่าว "

มาตรา 686 "ลูกหนี้ผิดนัดลงเมื่อใด ท่านว่าเจ้าหนี้ชอบที่จะเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้แต่นั้น"

มาตรา 769 "อันจำนำย่อมระงับสิ้นไป
(1) เมื่อหนี้ซึ่งจำนำเป็นประกันอยู่นั้นระงับสิ้นไปเพราะเหตุประการอื่นมิใช่เพราะอายุความหรือ
(2) เมื่อผู้รับจำนำยอมให้ทรัพย์สินจำนำกลับคืนไปสู่ครอบครองของผู้จำนำ"

มาตรา 697 "ถ้าเพราะการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งของเจ้าหนี้เองเป็นเหตุให้ผู้ค้ำประกันไม่อาจเข้ารับช่วงได้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนในสิทธิก็ดีจำนองก็ดี จำนำก็ดีและบุริมสิทธอันได้ให้ไว้แก่เจ้าหนี้ แต่ก่อนหรือในขณะทำสัญญาค้ำประกันเพื่อชำระหนี้นั้น ท่านว่าผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดเพียงเท่าที่ตนต้องเสียหายเพราะการนั้น"

มาตรา 728 "เมื่อจะบังคับจำนองนั้น ผู้รับจำนองต้องมีจดหมายบอกกล่าวไปยังลูกหนี้ก่อนว่าให้ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรซึ่งกำหนดให้ในคำบอกกล่าวนั้น ถ้าและลูกหนี้ละเลยเสียไม่ปฏิบัติตามคำบอกกล่าวผู้รับจำนองจะฟ้องคดีต่อศาลเพื่อให้พิพากษาสั่งให้ ยึดทรัพย์สินซึ่งจำนองและให้ขายทอดตลาดก็ได้"

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6389/2534

จำเลยที่ 3 แถลงต่อศาลชั้นต้นว่าจะสืบ ต. ในประเด็นว่าโจทก์โดย ต. มิได้บอกกล่าวทวงถามชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 ก่อนแต่จำเลยที่ 3 มิได้ให้การข้อที่จะขอนำสืบ ต. ดังกล่าวเป็นประเด็นไว้ ที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าการสืบ ต. เป็นเรื่องฟุ่มเฟือยไร้สาระให้งดสืบนั้น จึงชอบแล้ว แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาทรัสต์รีซีทภายใต้เล็ตเตอร์ออฟเครดิตเลขที่ 371391/355 และมีหนังสือทวงถามถึงจำเลยที่ 1 ให้ชำระหนี้แก่โจทก์ตามสัญญาทรัสต์รีซีทภายใต้เล็ตเตอร์ออฟเครดิต เลขที่ 271391/355 แต่ภายหลังจำเลยที่ 3ยื่นคำให้การแล้วโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องโดยขอแก้เป็นว่าทำสัญญาทรัสต์รีซีทภายใต้เล็ตเตอร์ออฟเครดิตเลขที่ 271391/355 จำเลยที่ 3 ไม่ได้คัดค้านและศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตแล้ว จึงไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นที่ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ สัญญาทรัสต์รีซีทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีข้อความระบุว่าจำเลยที่ 1 ยินยอมผูกพันตามข้อสัญญาในการออกเล็ตเตอร์ออฟเครดิตสำหรับการสั่งซื้อสินค้ารายนี้ ซึ่งก็คือสัญญาเล็ตเตอร์ออฟเครดิตระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามฟ้อง สัญญาทรัสต์รีซีทกับสัญญาเล็ตเตอร์ออฟเครดิตดังกล่าวจึงเป็นสัญญาที่ต่อเนื่องกัน เมื่อจำเลยที่ 1 ยอมจ่ายเงินที่โจทก์ได้จ่ายไปตามสัญญาเล็ตเตอร์ออฟเครดิตกับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี นับแต่วันที่ลงบนตั๋วแลกเงินถึงวันที่จ่ายจริง แม้การทำสัญญาทรัสต์รีซีทจะไม่มีการตกลงกันเกี่ยวกับดอกเบี้ย จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันก็ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราตามสัญญาเล็ตเตอร์ออฟเครดิต โจทก์บอกกล่าวทวงถามจำเลยที่ 1 แล้ว แต่จำเลยที่ 1 เพิกเฉยต้องฟังว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้ทันที โดยไม่ต้องบอกกล่าวก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686 จึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าโจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 3 ชำระหนี้แล้วหรือไม่.

โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 2เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ขอให้โจทก์เปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิต (ที่ยืนยันและเพิกถอนไม่ได้) ไปยังประเทศสิงคโปร์โดยสั่งซื้อสินค้าประเภทอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์เพื่อนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย การชำระราคาสินค้าจำเลยที่ 1 ขอให้โจทก์ชำระเงินให้แก่ผู้ขายแทนไปก่อน ตามประเพณีและวิธีการชำระเงินในทางการค้าระหว่างประเทศและจะชำระคืนให้โจทก์พร้อมดอกเบี้ยค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เมื่อสินค้ามาถึงประเทศไทยหากจำเลยที่ 1 ไม่มีเงินชำระก็จะทำสัญญาทรัสต์รีซีท เพื่อรับสินค้าจากผู้ขนส่งไปจำหน่ายนำเงินมาชำระให้โจทก์ต่อไป เมื่อวันที่ 17กุมภาพันธ์ 2527 โจทก์ได้เปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิตชนิดบอกเลิกและเพิกถอนไม่ได้ เลขที่ 271391/355 เป็นเงินจำนวน 14,700 เหรียญสิงคโปร์ ให้แก่จำเลยที่ 1 ผู้ขายในต่างประเทศได้ส่งสินค้าตามเล็ตเตอร์ออฟเครดิตมายังประเทศไทย โดยได้ออกตั๋วแลกเงินเรียกเก็บเงินค่าสินค้ากับโจทก์ โจทก์ได้ชำระราคาสินค้าจำนวน 14,700เหรียญสิงคโปร์ ไปเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2527 ต่อมาเมื่อวันที่30 มีนาคม 2527 จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาทรัสต์รีซีทภายใต้เล็ตเตอร์ออฟเครดิต เลขที่ 371391/355 (ขอแก้ฟ้องเป็น 271391/355)ตามมูลค่าสินค้าเป็นเงินจำนวน 14,700 เหรียญสิงคโปร์ โดยสัญญาว่าจะชำระให้โจทก์ภายในวันที่ 29 พฤษภาคม 2527 พร้อมทั้งค่าธรรมเนียมค่าใช้จ่ายต่าง ๆ กับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี และขอรับเอกสารจากโจทก์ไปรับสินค้าจากผู้ขนส่งเพื่อนำไปจำหน่ายเพื่อเป็นหลักประกันการชำระหนี้ดังกล่าว เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์2527 จำเลยที่ 3 ได้ผูกพันตนเข้าเป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 โดยสัญญาว่า หากจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาทรัสต์รีซีทหรือเล็ตเตอร์ออฟเครดิตหรือก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นไม่ว่ากรณีใด ๆจำเลยที่ 3 ตกลงยินยอมชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ทันทีโดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ครั้นเมื่อครบกำหนดชำระหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทแล้ว จำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ โจทก์ทวงถาม จำเลยที่ 1 ก็ได้นำเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์บางส่วนเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2527 จำนวน 45,000 บาท ต่อมาวันที่ 6 กันยายน2527 โจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทภายใต้เล็ตเตอร์ออฟเครดิต เลขที่ 271391/355ตามมูลค่าสินค้าเป็นเงิน 14,700 เหรียญสิงคโปร์ และค่าธรรมเนียมเรียกเก็บจากธนาคารต่างประเทศเป็นเงินจำนวน 30 เหรียญสิงคโปร์รวมเป็นเงินจำนวน 14,730 เหรียญสิงคโปร์ คิดเป็นเงินไทยจำนวน157,813.53 บาท ค่าดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 6 มีนาคม 2527 ถึงวันที่6 กันยายน 2527 เป็นเงินจำนวน 11,061.18 บาท ค่าอากรแสตมป์9 บาท รวมเป็นเงินจำนวน 168,883.71 บาท โดยหักเงินที่จำเลยที่ 1 ชำระบางส่วนเป็นเงินจำนวน 45,000 บาท แล้วเหลือเป็นภาระหนี้ทั้งสิ้นเป็นเงินต้นจำนวน 123,883.71 บาท แก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 1เพิกเฉย โจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 3 ชำระหนี้แก่โจทก์เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2528 จำเลยที่ 3 ก็เพิกเฉย จำเลยทั้งสามต้องร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินต้นจำนวน 123,883.71 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี นับแต่วันที่ 7 กันยายน 2527 จนถึงวันฟ้องเป็นเงิน 38,977.54 บาท รวมเป็นเงินจำนวน 162,861.25 บาทแก่โจทก์ ขอให้พิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันหรือแทนกันชดใช้เงินจำนวนดังกล่าว พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปีของเงินจำนวน123,883.71 บาท นับแต่วันถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา

จำเลยที่ 2 ให้การว่า จำเลยที่ 2 ไม่เคยเปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิตและทำสัญญาทรัสต์รีซีทกับโจทก์ จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ไปเกือบหมดแล้วจำเลยที่ 2 ไม่เคยได้รับหนังสือทวงถามจากโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ขอให้ยกฟ้อง

จำเลยที่ 3 ให้การว่า จำเลยที่ 3 ได้ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 จริง แต่โจทก์ยังไม่มีสิทธิที่จะบังคับเอาจากจำเลยที่ 3ในทันที ต้องบังคับเอาจากจำเลยที่ 1 ก่อน โจทก์จะฟ้องให้ผู้ค้ำประกันรับผิดได้ต่อเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดตามสัญญาทรัสต์รีซีทแต่ไม่ปรากฎการผิดสัญญาดังกล่าวเพราะในสัญญาดังกล่าวกำหนดให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ต่อเมื่อขายสินค้าได้และได้รับชำระเงินค่าสินค้าแล้วจึงจะนำไปหักกลบลบหนี้กับโจทก์ แต่อย่างไรก็ตามการทำสัญญาทรัสต์รีซีทดังกล่าวระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 นั้น จำเลยที่ 3ไม่เคยรู้เห็นและไม่เคยยินยอมเข้าเป็นผู้ค้ำประกันตามสัญญาดังกล่าวโจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องให้จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดตามสัญญาดังกล่าวนับแต่วันที่จำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันกับโจทก์แล้ว จำเลยที่ 3ไม่เคยได้รับการบอกกล่าวจากโจทก์ให้ชำระหนี้แต่อย่างใด ทั้งโจทก์บรรยายฟ้องมาเคลือบคลุม ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินให้โจทก์จำนวน 14,730 เหรียญสิงคโปร์ พร้อมทั้งดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 11 ต่อปี นับแต่วันที่ 6 มีนาคม 2527 และอัตราร้อยละ 18ต่อปี นับแต่วันที่ 29 พฤษภาคม 2527 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์โดยให้คิดเป็นเงินไทยในอัตราแลกเปลี่ยนเงินในวันที่25 กรกฎาคม 2527 แต่ 1 เหรียญสิงคโปร์ไม่ให้เกินกว่า 10.71375 บาทเมื่อได้เงินต้นและดอกเบี้ยเท่าใดแล้วให้นำเงิน 45,000 บาท ที่จำเลยที่ 1 ชำระแล้วไปหักดอกเบี้ยที่คิดได้ถึงวันที่ 25 กรกฎาคม 2527ก่อน เหลือเท่าใดให้นำไปชำระเงินต้น เหลือเงินต้นที่ค้างชำระเท่าใด ให้คิดดอกเบี้ยของเงินดังกล่าวต่อไปจนกว่าจำเลยทั้งสามจะชำระเสร็จ กับให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินค่าอากรแสตมป์ให้โจทก์อีก 9 บาท พร้อมทั้งดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 18 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ

จำเลยที่ 2 และที่ 3 อุทธรณ์คำสั่งและคำพิพากษา

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

จำเลยที่ 2 และที่ 3 ฎีกาคำสั่งและคำพิพากษา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เนื่องจากจำเลยที่ 3 ได้ฎีกาคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่ตัดพยานจำเลยที่ 3 คือ นายไตรรัตน์ ลีละพันธ์โดยขอให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่จึงต้องวินิจฉัยปัญหานี้ก่อน เห็นว่า จำเลยที่ 3 ได้แถลงต่อศาลชั้นต้นว่าจะสืบนายไตรรัตน์ในประเด็นว่าโจทก์โดยนายไตรรัตน์มิได้บอกกล่าวทวงถามชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 ก่อน แต่ตามคำให้การของจำเลยที่ 3 นั้น จำเลยที่ 3 มิได้ให้การข้อที่จะขอนำสืบนายไตรรัตน์ดังกล่าวเป็นประเด็นไว้ ที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าการสืบนายไตรรัตน์เป็นเรื่องฟุ่มเฟือยไม่มีสาระสำคัญให้งดสืบนั้นจึงชอบแล้ว

ที่จำเลยที่ 3 ฎีกาว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมนั้น จำเลยที่ 3ให้การว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมโดยจำเลยที่ 3 ได้อ้างว่าเพราะโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาทรัสต์รีซีทภายใต้เล็ตเตอร์ออฟเครดิต เลขที่ 271391/355 แต่ได้มีหนังสือทวงถามถึงจำเลยที่ 1 ให้ชำระหนี้แก่โจทก์ตามสัญญาทรัสต์รีซีทภายใต้เล็ตเตอร์ออฟเครดิต เลขที่ 271391/355 แต่ภายหลังจากจำเลยที่ 3ยื่นคำให้การแล้ว โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องโดยขอแก้เป็นว่าทำสัญญาทรัสต์รีซีทภายใต้เล็ตเตอร์ออฟเครดิต เลขที่ 271391/355จำเลยที่ 3 ก็ไม่ได้คัดค้านการขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์และศาลชั้นต้นได้สั่งอนุญาตแล้ว ที่จำเลยที่ 3 ให้การว่าฟ้องเคลือบคลุมก็ไม่เป็นประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยอีกต่อไป

ที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ฎีกาว่า จำเลยที่ 3 มิได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้ค้ำประกันในตัวสัญญาทรัสต์รีซีท จึงไม่ต้องร่วมรับผิดและสัญญาดังกล่าวมิได้ระบุอัตราดอกเบี้ย โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยนั้น ข้อเท็จจริงปรากฏว่า จำเลยที่ 3 ยอมรับว่าได้ทำหนังสือค้ำประกันเอกสารหมาย จ.7 จริง ตามสัญญาดังกล่าวข้อ 1 ระบุไว้ว่าเป็นการค้ำประกันที่โจทก์อำนวยสินเชื่อให้แก่จำเลยที่ 1 โดยยอมให้ออกทรัสต์รีซีท ดังนั้น จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1และเมื่อโจทก์ทำสัญญาทรัสต์รีซีทกับจำเลยที่ 1 ตามเอกสารหมาย จ.4สัญญาดังกล่าวมีข้อความระบุว่าจำเลยที่ 1 ยินยอมผูกพันตามข้อสัญญาในการออกเล็ตเตอร์ออฟเครดิตสำหรับการสั่งซื้อสินค้ารายนี้ซึ่งก็คือสัญญาเล็ตเตอร์ออฟเครดิตตามเอกสารหมาย จ.2 นั่นเองสัญญาทรัสต์รีซีทกับสัญญาเล็ตเตอร์ออฟเครดิตดังกล่าวจึงเป็นสัญญาที่ต่อเนื่องกัน เมื่อจำเลยที่ 1 ยอมจ่ายเงินที่โจทก์ได้จ่ายไปตามสัญญาเล็ตเตอร์ออฟเครดิตร่วมกับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18ต่อปี นับแต่วันที่ลงบนตั๋วแลกเงินถึงวันที่จ่ายจริง แม้การทำสัญญาทรัสต์รีซีทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จะไม่มีการตกลงกันเกี่ยวกับดอกเบี้ย จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ก็ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราตามสัญญาเล็ตเตอร์ออฟเครดิตเช่นเดิม

ที่จำเลยที่ 3 ฎีกาว่า โจทก์ไม่มีหลักฐานว่าได้แจ้งให้จำเลยที่ 3 ชำระหนี้แล้ว จำเลยที่ 3 จึงยังไม่ต้องรับผิดนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่โจทก์นำสืบว่า โจทก์บอกกล่าวทวงถามจำเลยที่ 1 แล้ว แต่จำเลยที่ 1 เพิกเฉย จึงต้องฟังว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686 จึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่ 3 ในข้อนี้

พิพากษายืน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2517/2534

การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนำให้จำเลยผู้จำนำเช่าเครื่องจักรอันเป็นทรัพย์สินจำนำ ย่อมเป็นการยอมให้ทรัพย์สินจำนำกลับคืนไปสู่การครอบครองของผู้จำนำตามความหมายของบทบัญญัติมาตรา 769(2) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สิทธิจำนำของผู้ร้องจึงระงับสิ้นไปตามมาตรา ดังกล่าว ผู้ร้องจึงมิใช่เจ้าหนี้ผู้รับจำนำที่จะร้องขอกันส่วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 287 ได้.

คดีนี้สืบเนื่องมาจากโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี สัญญากู้เงินและสัญญาจำนอง แล้วโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยจำเลยยอมจ่ายเงิน34,883,336.84 บาท พร้อมดอกเบี้ยและค่าฤชาธรรมเนียมส่วนที่ศาลไม่สั่งคืนแก่โจทก์ โดยจ่ายชำระให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดหกเดือนนับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ หากผิดนัด จำเลยยอมให้โจทก์บังคับคดีได้ทันที โดยยึดที่ดินจำนองโฉนดเลขที่ 13463 ตำบลบางพูนอำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี พร้อมสิ่งปลูกสร้างและเครื่องจักร รวม 13 เครื่อง ที่จำนองไว้กับโจทก์ ขายทอดตลาดนำเงินชำระหนี้โจทก์ หากไม่พอชำระหนี้ จำเลยยอมให้ยึดทรัพย์สินอื่น ๆขายทอดตลาดนำเงินชำระให้โจทก์จนครบ ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมต่อมาจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีให้ตามที่โจทก์ขอ โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินต่าง ๆ ของจำเลยรวม 34 รายการเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้แก่โจทก์เมื่อวันที่ 14พฤศจิกายน 2528

ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า จำเลยเป็นหนี้ค่าขายลดเช็คพร้อมดอกเบี้ยถึงวันยื่นคำร้องแก่ผู้ร้องเป็นจำนวน 4,867,149 บาท จำเลยได้นำเครื่องจักรตามบัญชีทรัพย์ที่ยึดลำดับที่ 11 ถึง 34 ยกเว้นลำดับที่ 33 ของจำเลยมาจำนำไว้กับผู้ร้องเพื่อประกันหนี้ดังกล่าวในวงเงินไม่เกิน 4,000,000 บาท และได้ส่งมอบเครื่องจักรดังกล่าวให้แก่ผู้ร้อง แต่จำเลยได้เช่าเครื่องจักรดังกล่าวจากผู้ร้องไปใช้งานต่อไป โดยที่ผู้ร้องยังไม่ได้รับชำระหนี้จากจำเลย และผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ผู้รับจำนำทรัพย์สินของจำเลยที่โจทก์นำยึดไว้ จึงขอให้กันส่วนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินจำนำดังกล่าวจำนวน4,867,149 บาท มิให้ถูกบังคับชำระหนี้แก่เจ้าหนี้อื่น

โจทก์ยื่นคำคัดค้านว่า ผู้ร้องกับจำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกันสัญญาจำนำทรัพย์สินระหว่างจำเลยกับผู้ร้องเป็นการฉ้อฉลเพื่อป้องกันมิให้โจทก์หรือเจ้าหนี้อื่นมีโอกาสบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินของจำเลย ทั้งผู้ร้องได้ยินยอมให้ทรัพย์ที่จำนำกลับไปสู่การครอบครองของจำเลยแล้ว สัญญาจำนำจึงไม่สมบูรณ์ ขอให้ยกคำร้องของผู้ร้อง

ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้ววินิจฉัยว่า สัญญาจำนำระหว่างจำเลยกับผู้ร้องเป็นนิติกรรมที่ทำขึ้นเพื่อฉ้อฉลเจ้าหนี้อื่น ๆ ไม่มีผลบังคับ ให้ยกคำร้อง

ผู้ร้องอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

ผู้ร้องฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ทางไต่สวนได้ความว่า เมื่อวันที่ 17 เมษายน2525 จำเลยจำนำเครื่องจักรตามบัญชีทรัพย์ที่ยึดลำดับที่ 11 ถึง 34ยกเว้นลำดับที่ 33 ไว้กับผู้ร้อง แล้วผู้ร้องให้จำเลยเช่าเครื่องจักรดังกล่าวกลับคืนไปใช้ในการผลิตสินค้าของจำเลย ต่อมาวันที่ 14 พฤศจิกายน 2528 โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลยรวมทั้งเครื่องจักรดังกล่าวเพื่อขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาที่จำเลยยังมิได้ชำระให้แก่โจทก์ ปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยมีว่า ผู้ร้องมีสิทธิขอกันส่วนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287หรือไม่ ผู้ร้องฎีกาว่า การที่ผู้ร้องยอมให้จำเลยครอบครองทรัพย์สินของจำเลยที่จำนำไว้กับผู้ร้องโดยอาศัยสิทธิการเช่า ไม่ทำให้การจำนำระงับสิ้นไป ผู้ร้องจึงชอบที่จะมีสิทธิขอกันส่วนของผู้ร้องได้พิเคราะห์แล้วเห็นว่า การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนำให้จำเลยเช่าเครื่องจักรอันเป็นทรัพย์สินจำนำ ย่อมเป็นการยอมให้ทรัพย์สินจำนำกลับคืนไปสู่การครอบครองของผู้จำนำตามความหมายของบทบัญญัติมาตรา 769 การยอมให้ทรัพย์สินจำนำกลับคืนไปสู่การครอบครองของผู้จำนำตามความหมายของบทบัญญัติ มาตรา 769(2) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สิทธิจำนำของผู้ร้องจึงระงับสิ้นไปตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว ผู้ร้องมิใช่เจ้าหนี้ผู้รับจำนำที่จะร้องขอกันส่วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287

พิพากษายืน.




การสอบเนติบัณฑิต ภาคหนึ่ง สมัยที่ 57(วิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์)

ผู้ทรงเช็คสิ้นสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ผู้สลักหลัง
ใช้เงินค่าหุ้นโดยหักกลบลบหนี้
ค่าทดแทนสัญญาหมั้นไม่โอนแก่กันได้
ชื่อทางภูมิศาสตร์ที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ
ความเสียหายที่ผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นต้องรับผิด
ทางจำเป็นสิ้นความจำเป็น-ไม่ใช่ทรัพยสิทธิ
สัญญาต่างตอบแทน การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัย
ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
การเช่าไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือฟ้องขับไล่ไม่ต้องบอกกล่าวก่อน