ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ภาระจำยอมโดยอายุความ article

การตกเป็นภาระจำยอมโดยอายุความก็ต้องเพื่อประโยชน์แก่ อสังหาริมทรัพย์อื่น

ข้อ 1. นายเดชและนายสมต่างเป็นเจ้าของที่ดินมีโฉนดอยู่ติดกัน โดยที่ดินของนายเดชอยู่ทางทิศตะวันตกของที่ดินของนายสม ด้านทิศเหนือของที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวติดถนนสาธารณะ นายชิตมีที่ดินมีโฉนดติดกับทางทิศใต้ของที่ดินของนายสมและติดกับทิศตะวันออกของที่ดินของนายเดช เมื่อปี 2537 นายชิตอนุญาตให้นายจักรบุตรชายปลูกบ้านในที่ดินของนายชิต นายจักรจึงได้ใช้ที่ดินของนายเดชส่วนที่อยู่ติดกับที่ดินของนายชิตและนายสมทางทิศตะวันตกกว้าง 3 เมตร ทำเป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะตลอดมาโดยไม่ได้ขออนุญาตผู้ใดและไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้านการใช้ทางดังกล่าว ในปีเดียวกันนั้นนายสมได้เปิดร้านค้าขายสินค้าจำพวกเครื่องเฟอร์นิเจอร์ ทุกเช้านายสมได้ให้ลูกจ้างนำสินค้าวางล้ำเข้าไปในที่ดินของนายเดชประมาณ 1 เมตรในส่วนที่นายจักรทำเป็นทางดังกล่าว และเก็บสินค้าเข้าร้านตอนเย็น โดยนายสมไม่ได้ขออนุญาตผู้ใดและไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้านเช่นเดียวกัน ต่อมาปี 2549 นายเดชปิดทางไม่ยอมให้นายจักรใช้ผ่านเข้าออกและห้ามนายสมไม่ให้นำสินค้ามาวางบนที่ดินของนายเดชอีกต่อไป นายจักรและนายสมจึงฟ้องนายเดชต่อศาลว่าทั้งสองคนได้ภาระจำยอมในที่ดินของนายเดชโดยอายุความแล้ว

ให้วินิจฉัยว่า นายจักรและนายสมจะอ้างว่าได้ภาระจำยอมโดยอายุความในที่ดินของนายเดชได้หรือไม่

ธงคำตอบ

กรณีของนายจักร แม้จะได้ความว่าเป็นเจ้าของบ้านและได้ใช้ทางพิพาทมาโดยความสงบและโดยเปิดเผยเป็นเวลากว่า10 ปี แล้วก็ตาม แต่นายจักรไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินที่ใช้ปลูกบ้าน เป็นเพียงผู้อาศัยสิทธิของนายชิตที่อนุญาตให้ปลูกบ้านในที่ดินของนายชิตเท่านั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1387 บัญญัติว่า อสังหาริมทรัพย์จะตกอยู่ในภาระจำยอมก็ต้องเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น ดังนั้น การใช้ทางพิพาทในที่ดินของนายเดชจะตกเป็นทางภาระจำยอมก็ต้องเพื่อประโยชน์

แก่ที่ดินของนายชิตเท่านั้น ไม่ใช่เพื่อประโยชน์แก่ตัวบ้านซึ่งนายจักรอาศัยสิทธิปลูกอยู่บนที่ดินของนายชิต นายจักรจึงไม่ได้ภาระจำยอมในที่ดินของนายเดชโดยอายุความตามมาตรา 1401 (เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 4238/2536 และ 269/2539)

ส่วนกรณีของนายสมนั้น ภาระจำยอมตามมาตรา 1387 เป็นทรัพยสิทธิที่กฎหมายก่อตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่นที่เรียกว่าสามยทรัพย์ แม้จะได้ความว่านายสมเป็นเจ้าของที่ดินและได้ใช้ที่ดินของนายเดชเป็นที่วางสินค้ามาเป็นเวลากว่า 10 ปี โดยความสงบและโดยเปิดเผยก็ตาม แต่การใช้ที่ดินของนายเดชเป็นที่วางสินค้าดังกล่าวนั้น เป็นการใช้ที่ดินของนายเดชเพื่อประโยชน์ส่วนตัวของนายสมเองโดยเฉพาะ มิได้เกี่ยวกับประโยชน์ของที่ดินอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่นายสมเป็นเจ้าของตามความหมายของมาตรา 1387 นายสมจึงไม่ได้ภาระจำยอมในที่ดินของนายเดชโดยอายุความตามมาตรา 1401เช่นเดียวกัน (เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 8727/2544)

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1387 "อสังหาริมทรัพย์อาจต้องตกอยู่ในภารจำยอมอันเป็นเหตุ ให้เจ้าของต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตนหรือต้องงด เว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ ทรัพย์สินนั้นเพื่อประโยชน์แก่ อสังหาริมทรัพย์อื่น"

มาตรา 1401 "ภารจำยอมอาจได้มาโดยอายุความ ท่านให้นำบทบัญญัติ ว่าด้วยอายุความได้สิทธิอันกล่าวไว้ในลักษณะ 3 แห่งบรรพนี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม"

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4238/2536

อสังหาริมทรัพย์จะตกอยู่ในภารจำยอมก็ต้องเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น กรณีทางพิพาทในที่ดินของบุคคลหนึ่งจะตกเป็นทางภารจำยอมโดยอายุความก็ต้องเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของบุคคลอื่นเท่านั้น ไม่ใช่เพื่อประโยชน์แก่ตัวบ้านซึ่งเจ้าของบ้านอาศัยสิทธิปลูกอยู่บนที่ดินของบุคคลอื่นดังกล่าว ดังนั้น ผู้เป็นเจ้าของบ้านแต่มิได้เป็นเจ้าของที่ดินจึงไม่อาจอ้างการได้สิทธิทางภารจำยอมโดยอายุตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 เพราะเป็นการใช้ทางภารจำยอมโดยอาศัยสิทธิของผู้เป็นเจ้าของที่ดินที่ตนปลูกบ้านอยู่เท่านั้น

โจทก์ทั้งสิบสามฟ้องว่า จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 7302 และเลขที่ 142998 ตำบลบางกร่าง โจทก์ทั้งสิบสามปลูกบ้านอยู่อาศัยและทำสวนในท้องที่หมู่ที่ 8 ตำบลบางกร่างได้ใช้ทางเดินผ่านที่ดินโฉนดเลขที่ 7302 ทางด้านทิศเหนือที่ดินโฉนดเลขที่ 142998 ทางด้านทิศตะวันออกมาเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้วทางพิพาทจึงเป็นทางภารจำยอม ต่อมาจำเลยได้ปิดกั้นทางภารจำยอมทั้งสองด้าน ทำให้โจทก์ทั้งสิบสามและบริวารไม่สามารถใช้ทางภารจำยอมได้ตามปกติ ขอให้พิพากษาว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมและให้จำเลยไปจดทะเบียนภารจำยอมให้แก่โจทก์ หากไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทน จำเลยให้การว่า โจทก์ทั้งสิบสามไม่เคยเดินผ่านทางพิพาท โจทก์ที่ 3 ถึงโจทก์ที่ 13 มีภูมิลำเนาอยู่ห่างไกลจากบ้านและที่ดินของจำเลย ไม่จำเป็นที่จะต้องมาผ่านที่ดินของจำเลยแต่อย่างใด ส่วนโจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 มีทางเดินเป็นแนวคันสวนใช้ประโยชน์ร่วมกับจำเลยอยู่อีกด้านหนึ่งอยู่แล้วทางพิพาทไม่ใช่ทางภารจำยอม

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง

โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 และที่ 13 อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ (ที่ถูกคือพิพากษาแก้) เป็นว่าทางพิพาทในที่ดินโฉนดเลขที่ 7302 และ 142998 ภายในกรอบสีแดงตามแผนที่พิพาทตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 และที่ 13ให้จำเลยเปิดทางภารจำยอม คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก

จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า ทางพิพาทตกอยู่ในภารจำยอมโดยอายุความหรือไม่ เห็นว่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1387 นั้น อสังหาริมทรัพย์จะตกอยู่ในภารจำยอมก็ต้องเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น กรณีทางพิพาทในที่ดินของบุคคลหนึ่งจะตกเป็นทางภารจำยอมโดยอายุความก็ต้องเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของบุคคลอื่นเท่านั้นไม่ใช่เพื่อประโยชน์แก่ตัวบ้านซึ่งเจ้าของบ้านอาศัยสิทธิปลูกอยู่บนที่ดินของบุคคลอื่นดังกล่าวดังนั้นผู้เป็นเจ้าของบ้านแต่มิได้เป็นเจ้าของที่ดินจึงไม่อาจอ้างการได้สิทธิทางภารจำยอมโดยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 เพราะเป็นการใช้ทางภารจำยอมโดยอาศัยสิทธิของผู้เป็นเจ้าของที่ดินที่ตนปลูกบ้านอยู่ คดีนี้ไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1, ที่ 3, ที่ 4, ที่ 5 และที่ 13 มีที่ดินอยู่ในบริเวณทางพิพาท ซึ่งจะต้องใช้ทางพิพาทเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของตนคงมีบ้านปลูกอยู่บนที่ดินของภรรยาบ้างหรือของตายายบ้างในบริเวณนี้เท่านั้น โจทก์ที่ 1, ที่ 3, ที่ 4, ที่ 5 และที่ 13 จึงไม่อาจอ้างทางภารจำยอมเหนือที่ดินของจำเลยได้ ฯลฯ ส่วนโจทก์ที่ 2 นั้นข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า โจทก์ที่ 2 ใช้ทางพิพาทจนได้ทางภารจำยอมโดยอายุความ

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้บังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 269/2539

การใช้ทางในที่ดินของบุคคลหนึ่งจะตกเป็นทางภารจำยอมโดยอายุความก็ต้องเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของบุคคลอื่นเท่านั้นไม่ใช่เพื่อประโยชน์แก่ตัวบ้านซึ่งเจ้าของบ้านอาศัยสิทธิปลูกอยู่บนที่ดินของบุคคลอื่นดังกล่าวโจทก์ที่2ผู้เป็นเจ้าของบ้านที่ปลูกอยู่บนที่ดินของโจทก์ที่1ซึ่งเป็นเจ้าของทางภารจำยอมจึงไม่อาจอ้างการได้สิทธิทางภารจำยอมโดยอายุความได้เพราะเป็นการใช้ทางภารจำยอมโดยอาศัยสิทธิของโจทก์ที่1และเป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

โจทก์ทั้งสองฟ้องและแก้ไขคำฟ้องว่า โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน โฉนดเลขที่ 29447 โจทก์ที่ 2 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์บ้าน เลขที่ 18/6 ซึ่งปลูกในที่ดิน ของ โจทก์ที่ 1 โจทก์ ทั้ง สองตั้ง บ้านเรือน อยู่ ใน ที่ดิน แปลง ดังกล่าว ไม่ น้อยกว่า 25 ปี ที่ดินตั้ง บ้าน ของ โจทก์ ทั้ง สอง ล้อมรอบ ด้วย ที่ดิน แปลง อื่น ไม่มี ทาง ออกสู่ ถนน สาธารณะ โจทก์ ทั้ง สอง และ ครอบครัว ได้ ใช้ ที่ดิน ของ จำเลยกว้าง ประมาณ 4 เมตร ยาว ประมาณ 25 เมตร เป็น ทางเดิน และ ทาง รถยนต์เข้า ออก สู่ ถนน สาธารณะ ตลอดมา ไม่ น้อยกว่า 25 ปี เมื่อ ประมาณ เดือนธันวาคม 2534 จำเลย ได้ ปิด กั้น ทางเดิน รถยนต์ เข้า ออก ดังกล่าวขอให้ พิพากษา ว่า ทางเดิน ตาม แผนที่ ท้ายฟ้อง หมายเลข 3 เป็น ทางภารจำยอมและ ให้ จำเลย จดทะเบียน ภารจำยอม ใน โฉนด ที่ดิน เลขที่ 29444 และ 29445ถ้า จำเลย ไม่ปฏิบัติ ตาม ขอให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา ของ จำเลยและ ให้ บังคับ จำเลย รื้อถอน สิ่ง ปิด กั้น ทาง ออก ไป จาก ที่พิพาท ห้าม มิให้จำเลย และ บริวาร ขัดขวาง การ ใช้ ทางพิพาท ของ โจทก์ ทั้ง สอง หาก จำเลยไม่ รื้อถอน สิ่ง ปิด กั้น ทาง ออก ก็ ให้ โจทก์ ทั้ง สอง หรือ ตัวแทน ของ โจทก์ทั้ง สอง มีอำนาจ รื้อถอน รั้ว และ สิ่ง ปิด กั้น ดังกล่าว ได้ โดย ห้าม มิให้จำเลย และ บริวาร ขัดขวาง

จำเลย ให้การ ว่า โจทก์ ทั้ง สอง ใช้ ทางเดิน ออก สู่ ทางสาธารณะผ่าน ที่ดิน ของ จำเลย ไม่ถึง 10 ปี จึง ไม่เป็น ทางภารจำยอม และ ไม่ได้เป็น การ เข้า ออก โดย ความสงบ และ โดย เปิดเผย ด้วย เจตนา เป็น เจ้าของการ เข้า ออก โจทก์ ทั้ง สอง ต้อง ขออนุญาต จาก จำเลย ขอให้ ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย จดทะเบียน ภารจำยอม ใน ที่ดิน โฉนดเลขที่ 29444 และ 29445 ตำบล นา (ตำบลในเมือง) อำเภอ เมือง นครศรีธรรมราช จังหวัด นครศรีธรรมราช ถ้า จำเลย ไม่ จดทะเบียน ภารจำยอมดังกล่าว ให้ ถือเอา คำพิพากษา ของ ศาล แทน การแสดง เจตนา ของ จำเลยห้าม มิให้ จำเลย และ บริวาร ขัดขวาง การ ใช้ ทางภารจำยอม ของ โจทก์ ทั้ง สองและ ให้ จำเลย รื้อถอน สิ่ง ปิด กั้น ออก ไป จาก ที่พิพาท สำหรับ ประตู รั้วนั้น ให้ จำเลย เปิด ให้ โจทก์ ทั้ง สอง ใช้ รถยนต์ เข้า ออก ได้ ตาม ปกติ และให้ ปิด ไว้ เมื่อ ไม่ได้ ใช้ ประตู ดังกล่าว แล้ว

จำเลย อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษายืน

จำเลย ฎีกา

ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า "ปัญหาประการต่อไปว่า ทางพิพาทเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินโจทก์หรือไม่ และมีความกว้างเท่าใด ข้อเท็จจริงรับฟังได้เป็นยุติตามที่คู่ความนำสืบตรงกันและมิได้ฎีกาโต้เถียงกันว่าโจทก์ที่ 1 เป็นบุตรของโจทก์ที่ 2 ที่ดินโฉนด เลขที่ 19447 เอกสารหมาย จ. 1 ของโจทก์ที่ 1 กับที่ดินโฉนด เลขที่ 29445 และ 29444เอกสาร หมาย ล. 1 และ ล. 2 ของจำเลย เดิมเป็นที่ดินแปลงเดียวกันเป็นกรรมสิทธิ์ของนาย เพิ่ง ซึ่งเป็น บิดาของจำเลย และโจทก์ที่ 2 ต่อมานาย เพิ่ม ได้แบ่งแยกให้แก่โจทก์ที่ 1 และจำเลย ที่ดินของ โจทก์ ที่ 1 กับจำเลยอยู่ติดกัน โดยที่ดินของโจทก์ที่ 1 อยู่ทิศตะวันตกของที่ดินของจำเลย ที่ดินของโจทก์ที่ 1 อยู่ด้านในขณะที่ นายเพิ่ม ยกที่ดินดังกล่าวให้นั้น ได้สั่งไว้ให้เว้นเป็น ทางเดินเข้าออกแก่ที่ดินที่อยู่ด้านในซึ่งในเวลาต่อมา จำเลยก็ได้เว้นทางเดินให้กว้าง 1 เมตร และโจทก์ทั้ง สองได้ใช้ทางเดินจากที่ดินโจทก์ที่ 1 ออก สู่ถนนสาธารณะโดยผ่านที่ดิน ของจำเลยเป็นเวลากว่า 10 ปี แล้ว คงมี ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า โจทก์ทั้งสองใช้ทางพิพาทดังกล่าวออกสู่ทางสาธารณะโดยผ่านที่ดินของจำเลยนั้นเป็นการถือ วิสาสะในระหว่างพี่น้องด้วยกันหรือได้รับอนุญาตจากจำเลยหรือไม่ จำเลยเบิกความว่าได้ให้โจทก์ทั้งสองใช้ทางพิพาทกว้าง 1 เมตร โดยทำตามคำสั่งของนาย เพิ่ม แต่จำเลยก็ยัง สงวนสิทธิด้วยการทำประตูรั้วตาข่าย 2 บาน บานเล็กกว้างประมาณ 1 เมตรจะเปิดให้พี่น้องที่มีที่ดินอยู่ด้านในรวมทั้งโจทก์ทั้งสองใช้เดินเข้าออกสู่ถนนสาธารณะได้โดยมอบ กุญแจให้แก่โจทก์เปิดเฉพาะประตูบาน เล็ก 1 ดอก ส่วนประตูบานใหญ่จะปิดไว้ และจะเปิดเมื่อจำเลยนำรถเข้าออกเท่านั้น จากคำเบิกความของจำเลยที่ว่าได้เว้นเป็นทางเดินกว้าง 1 เมตรให้แก่ที่ดินที่อยู่ด้านในรวมทั้งโจทก์ทั้งสองใช้เดินเข้าออกสู่ถนนสาธารณะตามเจตนาของนาย เพิ่มเจ้าของที่ดิน เดิม เมื่อพิเคราะห์ประกอบกับพฤติการณ์ตามความเป็นจริงที่ จำเลยปล่อยให้โจทก์ทั้งสอง และพี่น้องที่อยู่ด้านในได้ใช้ทางเดินดังกล่าวมาเป็นเวลาช้านาน กว่า 10 ปี แล้ว ที่จำเลยนำสืบว่าโจทก์ทั้งสองต้องมาขออนุญาตจากจำเลยนั้น เห็นว่า จำเลยนำสืบอ้างเพียง ลอย ๆ ว่าโจทก์ทั้งสองขออนุญาตจากจำเลยใช้ทางดังกล่าว แต่ตามพฤติการณ์ไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดทักท้วงหรือโต้แย้งไม่ให้ใช้ทางดังกล่าวแต่ประการใด ข้อ นำสืบของจำเลยจึงขัดต่อความเป็นจริง และไม่สมเจตนาของเจ้าของที่ดินเดิม รูปคดีมีเหตุผลเชื่อได้ว่ามิได้ขออนุญาตจากจำเลยและมิใช่เป็นการใช้โดยถือวิสาสะ แต่โจทก์ทั้งสอง ใช้ทางดังกล่าวอย่างทางภารจำยอม และได้ตกเป็นภารจำยอมโดยอายุความแล้ว แต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1387 อสังหาริมทรัพย์ จะตกอยู่ในภารจำยอม ก็ต้องเพื่อประโยชน์แก่ อสังหาริมทรัพย์อื่น กรณีการใช้ทางในที่ดินของบุคคลหนึ่งจะตกเป็นทางภารจำยอมโดยอายุความก็ต้องเพื่อประโยชน์ แก่ที่ดินของบุคคลอื่นเท่านั้น ไม่ใช่ เพื่อประโยชน์แก่ตัวบ้านซึ่งเจ้าของบ้านอาศัยสิทธิปลูกอยู่บนที่ดินของบุคคลอื่นดังกล่าว ดังนั้นโจทก์ที่ 2 ผู้เป็นเจ้าของบ้าน เลขที่ 18/6 แต่มิได้เป็นเจ้าของที่ดินที่บ้านดังกล่าว ตั้ง อยู่ จึงไม่อาจอ้างการได้สิทธิทางภารจำยอมโดยอายุความ ตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 เพราะเป็นการใช้ทางภารจำยอมโดยอาศัยสิทธิของโจทก์ที่ 1 ผู้เป็น เจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 29447ที่ โจทก์ ที่ 2 ปลูกบ้านอยู่ โจทก์ที่ 2 ไม่อาจอ้างว่าที่ดินของจำเลยตกเป็นทางภารจำยอมแก่บ้านของโจทก์ที่ 2 ได้ ทางพิพาทจึงตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ที่ 1 เท่านั้น ปัญหาดังกล่าวและเป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ที่ 2 เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบ เรียบร้อของประชาชน และข้อเท็จจริงดังกล่าว อยู่ในฟ้องของโจทก์ทั้งสอง จึงเป็นข้อเท็จจริงที่เข้าสู่สำนวนโดยถูกต้องตามวิธีพิจารณา แม้จำเลยไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวก็ตาม ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5)"

พิพากษาแก้เป็นว่าที่ดินโฉนด เลขที่ 29444 และ 29445 ตำบล นา (ตำบล ใน เมือง ) อำเภอ เมือง นครศรีธรรมราช จังหวัด นครศรีธรรมราชของจำเลยในส่วนทางพิพาทตาม เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 3 กว้างประมาณ 3 เมตร ตกเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 29447 ตำบล นา (ตำบล ใน เมือง ) อำเภอ เมือง นครศรีธรรมราช จังหวัด นครศรีธรรมราชของ โจทก์ ที่ 1 และให้จำเลยไปขอจดทะเบียนภารจำยอมดังกล่าว หากจำเลยไม่ไปดำเนินการดังกล่าวก็ให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของ จำเลย ห้ามมิให้จำเลย และบริวารขัดขวาง การใช้ทางภารจำยอมของโจทก์ที่ 1 และบริวารและให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปิดกั้นออกไปจากทางภารจำยอมให้ยกคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ในส่วนที่บังคับให้จำเลยเปิดและปิดประตูรั้วนั้นเสียและให้ยกฟ้องของ โจทก์ที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8727/2544

โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้นำโครงเหล็กที่จำเลยวางขายสินค้าออกไปจากทางพิพาทโดยอ้างว่าทางพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยให้การยอมรับว่าทางพิพาทเป็นที่ดินของโจทก์ ไม่ได้ยืนยันว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะ เพียงแต่ให้การว่าทางพิพาทเป็นเสมือนทางสาธารณะ การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า ทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่ จึงเป็นการไม่ชอบ แม้ศาลล่างทั้งสองจะวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวก็ถือว่าเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ฎีกาจำเลยในข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยนำโครงเหล็กของจำเลยออกไปจากทางพิพาทเท่านั้นมิได้ห้ามจำเลยใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะ จึงถือว่าจำเลยมิได้ถูกโต้แย้งสิทธิเรื่องการใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะ ฟ้องแย้งของจำเลยที่ให้โจทก์จดทะเบียนภารจำยอมพื้นที่พิพาทให้เป็นที่วางสินค้าของจำเลย จึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม จำเลยไม่มีอำนาจฟ้องแย้งในส่วนนี้

ภารจำยอมเป็นทรัพยสิทธิที่กฎหมายก่อตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่นอันเรียกว่าสามยทรัพย์ แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ว่าจำเลยเป็นเจ้าของอาคารตึกแถวซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินที่อยู่ติดทางพิพาท แต่การที่จำเลยใช้ทางพิพาทวางสินค้าเพื่อจำหน่ายในกิจการค้าของจำเลยเป็นการใช้ทางพิพาทเพื่อประโยชน์ส่วนตัวของจำเลยโดยเฉพาะมิได้เกี่ยวกับประโยชน์ของอสังหาริมทรัพย์ที่จำเลยเป็นเจ้าของ ดังนั้น ภารจำยอมจึงไม่อาจเกิดมีขึ้นได้ จำเลยไม่ได้ภารจำยอมในทางพิพาท

โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยนำโครงเหล็กออกไปจากที่ดินโฉนดเลขที่ 21185 และ 1328 ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 6,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะนำโครงเหล็กออกไปจากที่ดินโจทก์ทั้งสอง

จำเลยให้การและฟ้องแย้ง ขอให้ยกฟ้อง และมีคำสั่งห้ามโจทก์ทั้งสองเข้ามาเกี่ยวข้องกับจำเลยในการใช้ซอยชูพินิจ 2 เป็นทางเข้าออกและใช้พื้นที่ส่วนหนึ่งตลอดแนวตึกแถวของจำเลยและจดทะเบียนภารจำยอมให้พื้นที่บนซอยชูพินิจ 2 ซึ่งตั้งอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 21185 และ 1328 ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ตกเป็นทางเข้าออกและจดทะเบียนภารจำยอมพื้นที่ดังกล่าวส่วนหนึ่งขนาดกว้าง 1.50 เมตร ยาว 10 เมตร ตลอดแนวด้านข้างอาคารพาณิชย์เลขที่ 221 ให้เป็นที่วางสินค้าของจำเลยเพื่อจำหน่าย หากโจทก์ทั้งสองไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนา

โจทก์ทั้งสองให้การแก้ฟ้องแย้ง ขอให้ยกฟ้องแย้งของจำเลย

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งสอง และยกฟ้องแย้งจำเลย

โจทก์ทั้งสองและจำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยนำโครงเหล็กออกจากซอยชูพินิจ 2 ซึ่งตั้งอยู่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 21185 และ 1328 ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ของโจทก์ทั้งสอง ให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเดือนละ 825 บาท นับแต่วันฟ้อง (11 กรกฎาคม 2540) จนกว่าจำเลยจะนำโครงเหล็กออกจากซอยชูพินิจ 2 ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "...พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังยุติว่า โจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 1328 และ 21185 ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร โจทก์ทั้งสองสร้างอาคารพาณิชย์ในที่ดินของโจทก์ทั้งสองดังกล่าว โดยมีถนนอยู่ระหว่างกลางอาคารพาณิชย์ที่สร้างและให้ชื่อว่าซอยชูพินิจ 2 ซึ่งเป็นทางพิพาท จำเลยเป็นเจ้าของอาคารพาณิชย์เลขที่ 221 ถนนวิจิตรตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ด้านหน้าอาคารของจำเลยอยู่ตรงข้ามกับตลาดเทศบาล ด้านข้างที่อยู่ติดซอยชูพินิจ 2 ซึ่งเป็นทางพิพาทเป็นประตูเหล็กยืดยาวประมาณ 8 เมตร ทางพิพาทเป็นทางที่ประชาชนใช้เข้าออกระหว่างตลาดเทศบาลกับตลาดสดศูนย์การค้าของโจทก์ทั้งสอง จำเลยอยู่ในอาคารเลขที่ 221ตั้งแต่ปี 2525 โดยอาศัยสิทธิการเช่าช่วงจากผู้อื่นและประกอบกิจการค้าขายเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่มมาตลอดโดยวางสินค้าที่จำหน่ายบางส่วนในอาคารและบางส่วนนอกอาคารบริเวณทางพิพาท โดยวางห่างจากอาคารร้านค้าของจำเลยประมาณ 1 เมตรไปตามแนวยาวของทางพิพาทประมาณ 10 เมตร จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อาคารเลขที่ 221 เมื่อปี 2539 ที่จำเลยฎีกาว่า ทางพิพาทเป็นทางสาธารณะนั้น เห็นว่า โจทก์ทั้งสองฟ้องขับไล่จำเลยให้นำโครงเหล็กที่จำเลยวางขายสินค้าออกไปจากทางพิพาทโดยอ้างว่าทางพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสอง จำเลยให้การยอมรับว่า ทางพิพาทเป็นที่ดินของโจทก์ไม่ได้ยืนยันว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะเพียงแต่ให้การว่าทางพิพาทเป็นเสมือนทางสาธารณะ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่ จึงเป็นการไม่ชอบ แม้ศาลล่างทั้งสองจะวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวก็ถือว่าเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ฎีกาจำเลยในข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 6 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

สำหรับปัญหาว่า จำเลยได้ภารจำยอมในทางพิพาทโดยอายุความหรือไม่นั้นจำเลยอ้างว่าจำเลยได้ภารจำยอมในทางพิพาทโดยใช้เป็นทางเดินเข้าออกสู่ทางสาธารณะและใช้วางสินค้าเพื่อจำหน่าย เห็นว่า โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยนำโครงเหล็กของจำเลยออกไปจากทางพิพาทเท่านั้น มิได้ห้ามจำเลยใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะ จึงถือว่าจำเลยมิได้ถูกโต้แย้งสิทธิเรื่องการใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะ ฟ้องแย้งของจำเลยในส่วนนี้ไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม จำเลยจึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้งในส่วนนี้ สำหรับการใช้วางสินค้าเพื่อจำหน่ายนั้น เห็นว่า ภารจำยอมเป็นทรัพยสิทธิที่กฎหมายก่อตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่นอันเรียกว่าสามยทรัพย์แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ว่าจำเลยเป็นเจ้าของอาคารตึกแถวเลขที่ 221 ซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินที่อยู่ติดทางพิพาท แต่การที่จำเลยใช้ทางพิพาทวางสินค้าเพื่อจำหน่ายในกิจการค้าของจำเลยนั้น เป็นการใช้ทางพิพาทเพื่อประโยชน์ส่วนตัวของจำเลยโดยเฉพาะมิได้เกี่ยวกับประโยชน์ของอสังหาริมทรัพย์ที่จำเลยเป็นเจ้าของ ดังนั้น ภารจำยอมจึงไม่อาจเกิดมีขึ้นได้ จำเลยไม่ได้ภารจำยอมในทางพิพาทดังอ้าง กรณีไม่จำเป็นต้องพิจารณาว่าจำเลยใช้ทางพิพาทมานานเท่าใด เพราะไม่ทำให้คำวินิจฉัยเปลี่ยนแปลงไป

ปัญหาสุดท้ายว่า ค่าเสียหายของโจทก์ทั้งสองเป็นจำนวนเท่าใดนั้น เห็นว่าที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 กำหนดให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเดือนละ 825บาท นั้น เหมาะสมแก่สภาพของทางพิพาทแล้ว ไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะเปลี่ยนแปลงแก้ไข ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล ฎีกาของจำเลยทุกข้อฟังไม่ขึ้น"

พิพากษายืน 




การสอบเนติบัณฑิต ภาคหนึ่ง สมัยที่ 59(วิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์)

การปลดหนี้ให้แก่ผู้ค้ำประกัน article
การโอนเช็คด้วยการคบคิดกันฉ้อฉล article
การถือเอาสิทธิแก่บุคคลภายนอกในกิจการซึ่งไม่ปรากฏชื่อของตน article
บันทึกเป็นหนังสือไม่เรียกร้องทรัพย์มรดก-การสละมรดก article
ความรับผิดของผู้ขนส่งและผู้ขนส่งอื่น-การซื้อขายแบบ CIF article
ลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 article
การแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับคู่กรณี article
ผู้ทำละเมิดหลุดพ้นในมูลละเมิด article
ทำสัญญาเช่าหกปีไม่ได้จดทะเบียนเช่ามีผลบังคับได้เพียงสามปี article