ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




หากผู้ทรงสิทธิบัตรได้อนุญาต-ยินยอมให้ผลิต ขายผลิตภัณฑ์แล้วย่อมหมดสิทธิ article

หากผู้ทรงสิทธิบัตรได้อนุญาต-ยินยอมให้ผลิต ขายผลิตภัณฑ์แล้วย่อมหมดสิทธิ

 ข้อ 10. บริษัทดูดี จำกัด ได้รับสิทธิบัตรการประดิษฐ์สำหรับสารเคมีช่วยประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2548 แล้วบริษัทดูดี จำกัด จึงได้ผลิตสารเคมีช่วยประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงตลอดจนขายสารเคมีดังกล่าวแก่บุคคลทั่วไปทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ต่อมาบริษัทกึกก้อง จำกัด ซื้อสารเคมีช่วยประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงมาจากบริษัทเฉิน เฉิน จำกัด ในสาธารณรัฐประชาชนจีน แล้วนำเข้ามาจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไปในประเทศไทย ทั้งนี้บริษัทเฉิน เฉิน จำกัด ได้สั่งซื้อสารเคมีช่วยประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวมาจากบริษัทดูดี จำกัด และบริษัทกึกก้อง จำกัด นำเข้าสารเคมีดังกล่าวและนำออกจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาตจากบริษัทดูดี จำกัด

ให้วินิจฉัยว่า บริษัทกึกก้อง จำกัด จะต้องรับผิดต่อบริษัทดูดี จำกัด ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 หรือไม่

ธงคำตอบ

สิทธิบัตรการประดิษฐ์สำหรับสารเคมีช่วยประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงของบริษัทดูดี จำกัด เป็นสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์ แม้มาตรา 36 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 บัญญัติให้ผู้ทรงสิทธิบัตรในสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์เท่านั้นมีสิทธิในการผลิต ใช้ ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขายและนำเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตร แต่เมื่อผู้ทรงสิทธิบัตรได้อนุญาตหรือยินยอมให้ผลิตหรือขายผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรนั้นไปแล้ว ผู้ทรงสิทธิบัตรย่อมหมดสิทธิในการใช้ ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขายและนำเข้าซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ตามมาตรา 36 วรรคสอง (7) เมื่อบริษัทดูดี จำกัด ได้ผลิตสารเคมีช่วยประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงและขายผลิตภัณฑ์ดังกล่าวแล้ว สิทธิของบริษัทดูดี จำกัด ในฐานะผู้ทรงสิทธิบัตรที่จะควบคุมติดตามการแสวงหาประโยชน์จากผลิตภัณฑ์นั้นจึงหมดไป ดังนั้น การที่บริษัทกึกก้อง จำกัด ได้นำเข้าผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรดังกล่าวโดยซื้อผลิตภัณฑ์นั้นมาจากบริษัทเฉิน เฉิน จำกัด ซึ่งได้สั่งซื้อมาจากบริษัทดูดี จำกัด และนำออกจำหน่ายจึงไม่ต้องรับผิดต่อบริษัทดูดี จำกัด ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 แต่อย่างใด

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522

มาตรา 36 "ผู้ทรงสิทธิบัตรเท่านั้นมีสิทธิดังต่อไปนี้

(1) ในกรณีสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์ สิทธิในการผลิต ใช้ ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขายหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตร

(2) ในกรณีสิทธิบัตรกรรมวิธี สิทธิในการใช้กรรมวิธีตามสิทธิบัตร ผลิต ใช้ ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขายหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยใช้กรรมวิธีตามสิทธิบัตร

ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับแก่

(1) การกระทำใดๆ เพื่อประโยชน์ในการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง หรือวิจัย ทั้งนี้ ต้องไม่ขัดต่อการใช้ประโยชน์ตามปกติของผู้ทรงสิทธิบัตร และไม่ทำให้เสื่อมเสียต่อประโยชน์อันชอบธรรมของผู้ทรงสิทธิบัตรเกินสมควร

(2) การผลิตผลิตภัณฑ์หรือใช้กรรมวิธีดังที่ผู้ทรงสิทธิบัตรได้จดทะเบียนไว้ ซึ่งผู้ผลิตผลิตภัณฑ์หรือผู้ใช้กรรมวิธีดังกล่าวได้ประกอบกิจการหรือมีเครื่องมือเครื่องใช้เพื่อประกอบกิจการดังกล่าวโดยสุจริตก่อนวันยื่นขอรับสิทธิบัตรในราชอาณาจักร โดยผู้ผลิตหรือผู้ใช้กรรมวิธีไม่รู้หรือไม่มีเหตุอันควรรู้ถึงการจดทะเบียนนั้น ทั้งนี้ โดยไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 19 ทวิ

(3) การเตรียมยาเฉพาะรายตามใบสั่งแพทย์ โดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือผู้ประกอบโรคศิลปะ รวมทั้งการกระทำต่อผลิตภัณฑ์ยาดังกล่าว

(4) การกระทำใดๆ เกี่ยวกับการขอขึ้นทะเบียนยา โดยผู้ขอมีวัตถุประสงค์ที่จะผลิต จำหน่าย หรือนำเข้าซึ่งผลิตภัณฑ์ยาตามสิทธิบัตรหลังจากสิทธิบัตรดังกล่าวสิ้นอายุลง

(5) การใช้อุปกรณ์ซึ่งเป็นการประดิษฐ์ที่ได้รับสิทธิบัตรที่เกี่ยวกับตัวเรือ เครื่องจักร หรืออุปกรณ์อื่นของเรือของประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิบัตรซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย ในกรณีที่เรือดังกล่าวได้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวหรือโดยอุบัติเหตุ และจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ดังกล่าวกับเรือนั้น

(6) การใช้อุปกรณ์ซึ่งเป็นการประดิษฐ์ที่ได้รับสิทธิบัตรที่เกี่ยวกับการสร้างการทำงาน หรืออุปกรณ์อื่นของอากาศยาน หรือยานพาหนะของประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิบัตรซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย ในกรณีที่อากาศยานหรือยานพาหนะดังกล่าวได้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวหรือโดยอุบัติเหตุ

(7) การใช้ ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย หรือนำเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตร หากผู้ทรงสิทธิบัตรได้อนุญาต หรือยินยอมให้ผลิต หรือขายผลิตภัณฑ์ดังกล่าวแล้ว"

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3094/2549

โจทก์เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตรจากผู้ทรงสิทธิบัตรและมีสิทธิแต่ผู้เดียวในการใช้แบบผลิตภัณฑ์กับผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตร หรือขาย มีไว้เพื่อขาย หรือเสนอขาย หรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ใช้แบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรที่จดทะเบียนในประเทศสหรัฐอเมริกา แต่สิทธิแต่ผู้เดียวของโจทก์ไม่รวมถึงการได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายของประเทศไทย โจทก์จึงมิใช่ผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิตามมาตรา 38 แห่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 เพราะผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิตามมาตรา 38 ต้องเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิจากผู้ทรงสิทธิบัตรที่ออกโดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์เท่านั้น โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายที่พึงจะได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 33, 63 ประกอบมาตรา 65 และไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 84

โจทก์ฟ้องว่า เมื่อประมาณต้นเดือนธันวาคม 2546 ถึงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2547 วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยทั้งสามได้ร่วมกันละเมิดสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์ระบบกำแพงกันดิน ?ก้อนมาตรฐานโครงสร้างของกำแพงกันดิน DURA HOLD? ที่โจทก์ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิมาจากบริษัทจ๊ากน่า จำกัด ด้วยการเลียนแบบ หรือใช้แบบ ใช้ ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย หรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าว อันเป็นการกระทำเพื่อการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ เหตุเกิดที่ตำบลรัษฎา อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 3, 36, 38, 56, 63, 65, 85, 88 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 91

ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่าคดีไม่มีมูล พิพากษายกฟ้อง

โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศวินิจฉัยว่า ?ทางไต่สวนโจทก์นำสืบว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีวัตถุประสงค์ผลิตวัสดุก่อสร้างที่ทำด้วยซีเมนต์ทุกชนิด ปรากฏตามหนังสือรับรองเอกสารหมาย จ. 1 จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ประกอบกิจการค้าวัสดุก่อสร้าง มีจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจ ปรากฏตามหนังสือรับรองเอกสารหมาย จ. 2 สิทธิบัตรที่พิพาทในคดีนี้เป็นของนายแองเจิลโล ริชชี่ และนายแอนโตนิโอ ริชชี่ จดทะเบียนสิทธิบัตร ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นสิทธิบัตรระบบกำแพงกันดินใช้ชื่อทางการค้าคำว่า DURA HOLD ปรากฏตามใบรับรองสิทธิบัตร พร้อมคำแปลเอกสารหมาย จ. 3 โดยมีบริษัทรูทเบอรี่ อินเตอร์เนชั่นแนลอิงค์ และบริษัทจ๊ากน่า จำกัด เป็นผู้บริหารสิทธิบัตรดังกล่าว โดยมีพื้นที่ทางการตลาดครอบคลุมถึงภาคใต้ของประเทศไทย ปรากฏตามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ พร้อมคำแปลเอกสารหมาย จ. 8 โดยเจ้าของสิทธิบัตรให้สัตยาบัน ปรากฏตามหนังสือให้สัตยาบันพร้อมคำแปลเอกสารหมาย จ. 4 มีการต่ออายุสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิบัตรเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2545 ปรากฏตามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิพร้อมคำแปลเอกสารหมาย จ. 9 เมื่อโจทก์ได้รับสิทธิบัตรดังกล่าว โจทก์ได้ผลิตผลิตภัณฑ์ตามแบบผลิตภัณฑ์ ปรากฏตามภาพถ่ายหมาย จ. 10 และได้โฆษณาผลิตภัณฑ์ ปรากฏตามเอกสารหมาย จ. 11 ต่อมาเมื่อเดือนธันวาคม 2546 ถึงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2547 วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยทั้งสามได้ร่วมกันผลิตผลิตภัณฑ์ระบบกำแพงกันดิน DURA HOLD ด้วยการเลียนแบบและนำไปใช้รับเหมาก่อสร้างขององค์การบริหารส่วนตำบลรัษฎา ปรากฏตามภาพถ่ายหมาย จ. 12 เดิมจำเลยที่ 1 เคยซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจากโจทก์ เหตุเกิดที่ตำบลรัษฎา อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต

พิเคราะห์แล้ว ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์มีว่า คดีโจทก์มีมูลความผิดตามฟ้องหรือไม่ โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายที่จะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 และการกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นการละเมิดสิทธิบัตรตามฟ้องนั้น เห็นว่า แม้โจทก์จะทำสัญญาเป็นผู้มีสิทธิในการผลิตการขายผลิตภัณฑ์ตามที่มีการจดสิทธิบัตรไว้แต่ผู้เดียว แต่สิทธิบัตรที่จะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 ต้องเป็นสิทธิบัตรที่ได้ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ พร้อมทั้งเปิดเผยรายละเอียดการประดิษฐ์ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์และเมื่อผ่านการตรวจสอบว่ามีลักษณะครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว กรมทรัพย์สินทางปัญญาจึงจะออกสิทธิบัตรให้ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 33 สิทธิบัตรที่ออกโดยกรมทรัพย์สินทางปัญญาดังกล่าวจึงจะได้รับความคุ้มครองในราชอาณาจักรไทยซึ่งหลักการดังกล่าวเป็นหลักสากลกล่าวคือ ปกติแล้วผู้ทรงสิทธิบัตรจะบังคับสิทธิบัตรของตนได้เฉพาะภายในอาณาเขตของประเทศที่ออกสิทธิบัตรเท่านั้น ผู้ทรงสิทธิบัตรไม่สามารถบังคับสิทธิของตนต่อการกระทำละเมิดที่เกิดขึ้นภายนอกอาณาเขตของประเทศที่ออกสิทธิบัตรได้ ข้อเท็จจริงได้ความจากคำเบิกความของนายชริน ธำรงเกียรติกุล กรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ตอบทนายจำเลยถามค้านว่า นายแองเจโร่ ริชชี่ และนายแอนโตนิโอ ริชชี่ เจ้าของสิทธิบัตร ไม่เคยยื่นคำขอจดทะเบียนสิทธิบัตรในประเทศไทย แต่ได้จดทะเบียนสิทธิบัตรที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ตามสิทธิบัตรสหรัฐอเมริกาหมายเลข 4,490,075 สิทธิบัตรดังกล่าวจึงย่อมได้รับความคุ้มครองเฉพาะภายในอาณาเขตประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นที่มีกฎหมายยอมรับบังคับให้ดังนั้น แม้โจทก์จะนำสืบว่าเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตรดังกล่าวจากผู้ทรงสิทธิบัตรและมีสิทธิแต่ผู้เดียวในการใช้แบบผลิตภัณฑ์กับผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตร หรือขาย มีไว้เพื่อขาย หรือเสนอขาย หรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ใช้แบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรที่จดทะเบียนในประเทศสหรัฐอเมริกา แต่สิทธิแต่ผู้เดียวของโจทก์ดังกล่าวไม่รวมถึงการได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายของประเทศไทย โจทก์จึงมิใช่ผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิตามมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 เพราะผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิตามมาตรา 38 ต้องเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิจากผู้ทรงสิทธิบัตรที่ออกโดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เท่านั้น โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายที่พึงจะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 33, 63 ประกอบด้วยมาตรา 65 และไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตามมาตรา 84 ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่า คดีโจทก์ไม่มีมูลและพิพากษายกฟ้องโจทก์นั้น ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ อุทธรณ์ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น?

พิพากษายืน.

 

 




การสอบเนติบัณฑิต ภาคหนึ่ง สมัยที่ 60(วิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์)

ผู้รับดูแลผู้เยาว์ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิด article
คำมั่นจะให้เช่า article
ผู้ค้ำประกันไม่หลุดพ้นจากความรับผิด ผู้รับจำนองต้องเป็นเจ้าหนี้ในมูลหนี้ article
ข้อกำหนดลบล้าง หรือจำกัดความรับผิดต่อผู้ทรง article
ยินยอมให้เขาใช้ชื่อตนเป็นชื่อห้างหุ้นส่วน article
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร article
ความรับผิดของผู้ขนส่ง article
เพิกถอนโฉนดที่ออกทับที่ดินครอบครองปรปักษ์ article
เจ้าหนี้ขาดสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ article