ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ผู้ค้ำประกันไม่หลุดพ้นจากความรับผิด ผู้รับจำนองต้องเป็นเจ้าหนี้ในมูลหนี้

ผู้ค้ำประกันไม่หลุดพ้นจากความรับผิด ผู้รับจำนองต้องเป็นเจ้าหนี้ในมูลหนี้

ข้อ 5. นางแดงทำสัญญากู้เงินนายกิ่งไป 500,000 บาท นายกิ่งไม่ต้องการให้ผู้อื่นทราบว่าตนเป็นนายทุนเงินกู้ จึงตกลงกันให้นายสีบิดานางแดงทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้เงินกู้ของนางแดง และให้นายดำสามีนางแดง จดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันหนี้เงินกู้ของนางแดง โดยให้นายก้านบิดานายกิ่งเป็นผู้รับจำนอง ต่อมานางแดง ผิดนัดไม่ชำระหนี้ นายกิ่งยื่นฟ้องนางแดงและนายสีให้ร่วมกันชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าว ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น นายกิ่งขอถอนฟ้องนายสีและทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับนางแดง โดยนางแดงยอมชำระหนี้เต็มจำนวนตามสัญญากู้ที่ฟ้อง ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ถอนฟ้องและพิพากษาตามยอมให้นางแดงชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าวแก่นายกิ่ง แต่เมื่อถึงกำหนดนางแดงไม่ชำระหนี้ และไม่มีทรัพย์สินที่นายกิ่งจะบังคับคดีได้

ให้วินิจฉัยว่า
(1) นายกิ่งจะฟ้องบังคับนายสีตามสัญญาค้ำประกันได้หรือไม่
(2) นายก้านจะฟ้องบังคับจำนองแก่นายดำได้หรือไม่

ธงคำตอบ

(1) การที่นายกิ่งและนางแดงทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยนางแดงยอมชำระหนี้เต็มจำนวน ตามสัญญากู้ที่ฟ้องและศาลพิพากษาตามยอมนั้น มูลหนี้ตามสัญญากู้ยังไม่ระงับในทันที และไม่ใช่การผ่อนเวลา ให้ลูกหนี้ เมื่อนางแดงไม่ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ หนี้เงินกู้จึงไม่ระงับสิ้นไป นายสีซึ่งเป็น ผู้ค้ำประกันย่อมไม่หลุดพ้นจากความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 698 นายกิ่งจึงฟ้องบังคับนายสีตามสัญญาค้ำประกันได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ 1007/2517, 57/2523 และ 10205/2546)

(2) จำนองเป็นสัญญาซึ่งผู้จำนองเอาทรัพย์สินตราไว้เป็นประกันการชำระหนี้แก่ผู้รับจำนอง ผู้จำนองอาจเป็นตัวลูกหนี้เองหรือบุคคลอื่นจำนองทรัพย์สินของตนเพื่อประกันหนี้ของลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 709 แต่ผู้รับจำนองซึ่งชอบที่จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองจะต้องเป็นเจ้าหนี้ในมูลหนี้ที่มีการจำนองเป็นประกันนั้น ตามมาตรา 702 นายก้านผู้รับจำนองมิได้เป็นเจ้าหนี้ในมูลหนี้ที่นางแดงทำสัญญากู้เงินนายกิ่งไป เมื่อนายก้านผู้รับจำนองไม่อยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้ในมูลหนี้ที่มีการจำนองเป็นประกัน นายก้านจึงฟ้องบังคับจำนองแก่นายดำไม่ได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ 817/2521 และ 4436/2545)

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 698 "อันผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดในขณะเมื่อหนี้ของลูกหนี้ระงับสิ้นไปไม่ว่าเพราะเหตุใด ๆ"

มาตรา 709 "บุคคลคนหนึ่งจะจำนองทรัพย์สินของตนไว้เพื่อประกันหนี้อันบุคคลอื่นจะต้องชำระก็ให้ทำได้"

มาตรา 702 "อันว่าจำนองนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้จำนองเอาทรัพย์สินตราไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับจำนองเป็นประกันการชำระหนี้ โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับจำนอง

ผู้รับจำนองชอบที่จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญมิพักต้องพิเคราะห์ว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะได้โอนไปยังบุคคลภายนอกแล้วหรือหาไม่"

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1007/2517

โจทก์ให้ ถ. กู้ยืมเงินไปโดยมีจำเลยเป็นผู้ค้ำประกัน ต่อมาโจทก์ฟ้องถ.ให้ชำระหนี้แล้วโจทก์กับถ. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันศาลพิพากษาตามยอมแล้ว แต่ ถ. ไม่ชำระเงินตามสัญญา โจทก์จึงนำยึดทรัพย์ของ ถ. ขายทอดตลาดได้เงินไม่พอชำระหนี้ ดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยตามสัญญาค้ำประกันให้ชำระเงินส่วนที่ยังขาดอยู่นั้นได้เพราะการที่โจทก์กับ ถ. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันและศาลพิพากษาตามยอมนั้น เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องบังคับตามสัญญากู้ไม่ทำให้หนี้ตามสัญญากู้ระงับ และไม่ใช่เป็นการผ่อนเวลาให้ลูกหนี้อันจะทำให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด

โจทก์ฟ้องว่า นายถวิลได้กู้ยืมเงินของโจทก์ไป โดยมีจำเลยเป็นผู้ค้ำประกันว่าถ้านายถวิลไม่ชำระต้นเงินและดอกเบี้ย กับค่าเสียหายแก่โจทก์จำเลยยอมชำระแทนจนครบถ้วน ได้ทำสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันไว้ด้วย ต่อมาโจทก์ฟ้องนายถวิลขอให้ชำระต้นเงินและดอกเบี้ยกับค่าทวงถาม นายถวิลยอมชำระเงินตามฟ้อง ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน และศาลพิพากษาตามยอมแล้ว แต่นายถวิลไม่ชำระ โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของนายถวิลขายทอดตลาดได้เงินไม่พอชำระหนี้ตามคำพิพากษา จึงเรียกให้จำเลยชำระหนี้แทน จำเลยไม่ยอมชำระ ขอให้ศาลบังคับจำเลยชำระเงินที่โจทก์ยังได้รับไม่ครบตามคำพิพากษา กับค่าพาหนะและค่าเบี้ยเลี้ยงซึ่งโจทก์ต้องเสียไปด้วย

จำเลยให้การว่า จำเลยได้ทำสัญญาค้ำประกันจริง แต่จำเลยไม่ต้องรับผิด เพราะก่อนที่โจทก์จะฟ้องนายถวิล โจทก์ได้ตกลงให้สัญญาว่ายอมยกเลิกไม่ติดใจว่ากล่าวให้จำเลยต้องรับผิดอีกต่อไป โดยยอมปลดหนี้ให้แก่จำเลย และการที่โจทก์กับนายถวิลตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน เป็นการผ่อนเวลาการชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้โดยจำเลยมิได้ยินยอมด้วย และเป็นการแปลงหนี้ หนี้เดิมจึงระงับไป โจทก์กับนายถวิลยังได้ตกลงทำสัญญาแปลงหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความกันนอกศาลอีก โดยกำหนดจำนวนหนี้และผ่อนเวลาการชำระหนี้กันใหม่ โจทก์ไม่เคยเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้แทนนายถวิล และโจทก์ไม่เคยเสียค่าใช้จ่าย ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้อง คำให้การ เห็นว่า คดีพอวินิจฉัยได้แล้วงดสืบพยานโจทก์จำเลย พิพากษายกฟ้อง

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นกำหนดให้คู่ความนำสืบในประเด็นที่ว่า โจทก์ได้ยินยอมไม่ติดใจเรียกร้องให้จำเลยต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันหรือไม่ แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ในเบื้องต้นตามที่โจทก์จำเลยรับกันและไม่โต้เถียงกันว่า เดิมนายถวิล ทองใสพร กู้เงินโจทก์ มีจำเลยเป็นผู้ค้ำประกัน ได้ทำสัญญากู้กับสัญญาค้ำประกันไว้เป็นหลักฐาน ต่อมานายถวิล ทองใสพร ไม่ชำระหนี้เงินกู้ โจทก์ฟ้องนายถวิล ทองใสพร แล้วโจทก์กับนายถวิล ทองใสพรได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมตามคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 390/2513 โจทก์ได้รับชำระหนี้ยังไม่ครบถ้วนจึงได้ฟ้องจำเลย ดังนี้ มูลเหตุที่จำเลยถูกโจทก์ฟ้องเนื่องจากนายถวิล ทองใสพร ไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ให้เสร็จสิ้น โจทก์จึงได้ฟ้องบังคับจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ ซึ่งจำเลยก็รับว่าได้ทำสัญญาค้ำประกันกับโจทก์จริง เห็นว่า โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญาค้ำประกันหาใช่ฟ้องบังคับให้จำเลยรับผิดตามสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยได้ ส่วนในเรื่องที่โจทก์กับนายถวิล ทองใสพรทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน และศาลพิพากษาตามยอมตามคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 390/2513 ของศาลชั้นต้นนั้นเป็นเรื่องโจทก์ฟ้องบังคับตามสัญญากู้ที่นายถวิล ทองใสพร ทำไว้กับโจทก์นั่นเองไม่ทำให้หนี้ตามสัญญากู้ระงับสิ้นไป และไม่ใช่เป็นการผ่อนเวลาให้ลูกหนี้อันจะทำให้จำเลยผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ชอบแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยฎีกาจำเลยฟังไม่ขึ้น

พิพากษายืน

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10205/2546

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2539 นายก. ทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์จำนวน 60,000 บาท ดอกเบี้ยอัตรา
ร้อยละ 7.5 ต่อปี ครบกำหนดชำระหนี้ภายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2540 จำเลยทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ดังกล่าว ต่อมานายก.ผิดนัดไม่ชำระหนี้ โจทก์ได้
ยื่นฟ้องนายก.และจำเลยต่อศาลชั้นต้นเป็นคดีหมายเลขดำที่ .............ขอให้บังคับนายก.และจำเลยร่วมกันชำระเงินจำนวน 60,000 บาท พร้อม
ดอกเบี้ย ในคดีดังกล่าวโจทก์ขอถอนฟ้องจำเลยและทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับนายก. ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง และพิพากษาตามยอมเป็นคดี
หมายเลขแดงที่ ......... โจทก์ไม่สามารถบังคับคดีเอาจากทรัพย์สินของนายสัมฤทธิ์ได้ ปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยมีว่า การที่โจทก์ทำสัญญา
ประนีประนอมยอมความกับนายสัมฤทธิ์มีผลทำให้จำเลยหลุดพ้นจากความรับผิดหรือไม่จำเลยอุทธรณ์ว่า เมื่อโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับนายก. ผลของ
สัญญาประนีประนอมยอมความย่อมทำให้มูลหนี้เงินกู้ระงับสิ้นไป จำเลยไม่ได้เป็นคู่สัญญาตามสัญญาประนีประนอมความจึงหลุดพ้นจากความรับผิดนั้น เห็นว่า การที่
โจทก์และนายก.ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันและศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมนั้นเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องบังคับตามสัญญากู้ยืมเงิน แม้โจทก์และนายก.
จะทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน แต่สัญญาดังกล่าวมีลักษณะเป็นเพียงสัญญารับสภาพหนี้เท่านั้น ส่วนจำนวนเงินยังคงเดิม แสดงว่าโจทก์และนายก.มิได้มี
เจตนาให้มูลหนี้ตามสัญญากู้ระงับลงในทันที ฉะนั้นจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด เมื่อนายก.ไม่ชำระหนี้และไม่มีทรัพย์สินที่โจทก์จะ
บังคับคดีได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยตามสัญญาค้ำประกันได้ ที่ศาลชั้นต้นพิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย อุทธรณ์ของจำเลยฟังไม่ขึ้น"

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 817/2521

ผู้รับจำนองต้องเป็นเจ้าหนี้ในมูลหนี้อันใดอันหนึ่งตามมาตรา702 แต่ผู้จำนองอาจไม่ใช่ตัวลูกหนี้ก็ได้ ตาม มาตรา709จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์ที่ 1 จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 จำนองที่ดินแก่โจทก์ที่ 2 ซึ่งไม่ใช่เจ้าหนี้ จำนองจึงบังคับแก่หนี้ที่จำเลยที่ 1กู้โจทก์ที่ 1 ไม่ได้ชำระดอกเบี้ยด้วยเช็ค เจ้าหนี้ไม่เอาเช็คไปขึ้นเงินลูกหนี้ยังต้องชำระดอกเบี้ยตามจำนวนในเช็ค

พยานเอกสารซึ่งผู้อ้างมิได้ส่งสำเนาแก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งก่อนวันสืบพยาน 3 วัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา90 ศาลรับฟังฝ่าฝืนบทบัญญัตินี้ได้ตามมาตรา87(2) โจทก์ส่งสำเนาพร้อมกับฟ้องก็ใช้ได้ เอกสารที่ต้นฉบับอยู่กับคนภายนอกผู้อ้างไม่ต้องส่งสำเนา

ศาลตรวจพิจารณาลายมือชื่อที่มีข้อคัดค้านว่าเป็นลายมือชื่อปลอมโดยเปรียบเทียบกับลายมือชื่อในเอกสารอื่นที่แท้จริงได้เอง แม้เป็นลายมือชื่อภาษาต่างประเทศ ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา46

โจทก์ที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัทจำกัด โจทก์ที่ 1 จำเลยที่ 1กู้เงินโจทก์ที่ 1 จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 จำนองที่ดินไว้กับโจทก์ที่ 2 ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 1 ใช้เงิน 5,800,000 บาท กับดอกเบี้ยยกฟ้องจำเลยที่ 2 โจทก์จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อกฎหมายว่า "คดีมีปัญหาข้อกฎหมายตามฎีกาของจำเลยที่ควรวินิจฉัยก่อนโดยลำดับ คือ ประการแรก จำเลยฎีกาว่า โจทก์ไม่สามารถนำสืบได้ว่า โจทก์ที่ 1 มีอำนาจฟ้องคดีนี้ กล่าวคือโจทก์มิได้ส่งสำเนาหนังสือรับรองของหอทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทตามเอกสารหมาย จ.4ให้จำเลยก่อนวันสืบพยาน 3 วัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 90 โจทก์มิได้นำสืบว่า โจทก์ได้ประทับตราของบริษัทโจทก์ที่จดทะเบียนไว้ต่อหอทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดภูเก็ตหรือไม่ และตามเอกสารหมาย จ.4ก็ไม่ปรากฏตราของบริษัทโจทก์ที่ได้จดทะเบียนไว้มีรูปร่างลักษณะอย่างใดจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีนี้ไม่ได้ และศาลชั้นต้นจะรับฟังเอกสารหมาย จ.4 โดยอาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2)อ้างเหตุว่าเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญที่จำเป็นต้องสืบเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ไม่ได้ เพราะมาตรา 87(2) เป็นเรื่องที่ศาลเห็นว่าจำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของอนุมาตราในมาตรา 87 นั้นเอง หาใช่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของอนุมาตราในมาตรา 88 และ 90 ไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์มิได้ส่งสำเนาเอกสารหมาย จ.4 ให้จำเลยก่อนวันสืบพยาน 3 วันตามมาตรา 90 ศาลจึงไม่มีอำนาจรับฟังเอกสารหมาย จ.4 เป็นพยานหลักฐานในคดี โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง ศาลฎีกาพิจารณาแล้ว ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานใด เว้นแต่...(1)...ฯลฯ (2) คู่ความฝ่ายที่อ้างพยานหลักฐานได้แสดงความจำนงที่จะอ้างอิงพยานหลักฐานนั้นดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 88และ 90 แต่ถ้าศาลเห็นว่า เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี โดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของอนุมาตรานี้ ให้ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้" ข้อความในมาตรา 87 มีอยู่ดังนี้ จะตีความดังจำเลยฎีกาหาถูกต้องไม่ เพราะในตอนต้นของมาตรา 87 บัญญัติห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานเว้นแต่จะต้องด้วยอนุมาตรา (1) หรือ (2) โดยเฉพาะในอนุมาตรา (2) ได้กล่าวถึงมาตรา 87 และ 90 มีข้อความดังกล่าวข้างต้น ข้อความในตอนท้ายของมาตรา 87(2) จึงต้องหมายความว่า ให้ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี แม้คู่ความจะไม่ได้อ้างพยานหลักฐานนั้น ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 88 และ 90 ดังนั้นแม้โจทก์จะมิได้ส่งสำเนาหนังสือรับรองของหอทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทหมาย จ.4 ให้จำเลยก่อนวันสืบพยาน 3 วัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 แต่เมื่อศาลชั้นต้นรับฟังเอกสารหมาย จ.4 โดยอาศัยอำนาจตาม มาตรา 87(2) จึงรับฟังเอกสารหมาย จ.4 เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้ได้ และเมื่อโจทก์มีหนังสือรับรองของหอทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทหมาย จ.4 มาสืบ แสดงว่า โจทก์ที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2510 โดยโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการมีอำนาจลงนามแทนบริษัทโจทก์ที่ 1 ในบรรดากิจการทุกอย่างและเอกสารสัญญากรมธรรม์ หรือนิติกรรมใด ๆ ทุกชนิด แต่ต้องประทับตราบริษัท ปรากฏว่า โจทก์ที่ 2 ลงชื่อในใบแต่งทนายแทนโจทก์ที่ 1 โดยประทับตราบริษัทโจทก์ที่ 1 และหลักฐานแห่งหนี้รายนี้ คือสัญญากู้หมาย จ.5 และ จ.11 ก็ได้ประทับตราของบริษัทถูกต้องตามข้อบังคับของบริษัทโจทก์ที่ 1ทุกประการ โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้

จำเลยฎีกาในปัญหาเรื่องการรับฟังเอกสารอีกว่า เอกสารหมาย จ.1ถึง จ.13 ที่โจทก์นำสืบและส่งศาลนั้น โจทก์ไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้และเป็นเอกสารที่มีอยู่ที่โจทก์แล้ว แต่โจทก์ไม่ส่งสำเนาให้จำเลยทั้งสองก่อนวันสืบพยาน 3 วัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 90 และโจทก์มิได้ลงชื่อรับรองสำเนาเอกสารเหล่านั้นว่าเป็นสำเนาถูกต้องตามกฎหมาย ส่วนเอกสารหมาย จ.23 ถึง จ.28 ที่โจทก์ส่งศาลเป็นสำเนาเช็ครวม 6 ฉบับ มิใช่ต้นฉบับเช็คตัวจริง เอกสารหมาย จ.28 ถึง จ.34 เป็นเอกสารซ้ำกับเอกสารที่กล่าวแล้ว เอกสารทั้งหมดนั้นจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีไม่ได้ ศาลฎีกาพิจารณาแล้ว ปรากฏว่า โจทก์ได้ส่งสำเนาเอกสารหมาย จ.1 ถึง จ.13 เว้นแต่เอกสารหมาย จ.4 ให้จำเลยพร้อมฟ้อง และได้ระบุอ้างพยานเอกสารเหล่านี้ไว้ ตามบัญชีระบุพยานของโจทก์ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2515 ก่อนวันเริ่มสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วันและโจทก์ได้อ้างส่งต้นฉบับหมาย จ.1 ถึง จ.13 ต่อศาล ซึ่งถูกต้องตรงกับสำเนาที่โจทก์นำส่งให้จำเลยพร้อมฟ้องแล้ว ส่วนสำเนาเช็คหมาย จ.23ถึง จ.28 โจทก์ได้อ้างต้นฉบับตามเอกสารหมาย จ.28 ถึง จ.34 ซึ่งอยู่ในความครอบครองของธนาคารแหลมทอง จำกัด และธนาคารชาเตอร์แบงค์จำกัด ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกแล้ว จึงไม่ต้องส่งสำเนาเอกสารนั้นให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90(2) ศาลจึงรับฟังเอกสารดังกล่าวทั้งหมดได้

จำเลยฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายต่อไปว่า ฟ้องของโจทก์ขาดอายุความและเป็นฟ้องซ้ำ พิจารณาแล้ว เห็นว่า โจทก์ฟ้องคดีนี้ภายหลังครบกำหนดชำระหนี้เงินกู้ตามสัญญาหมาย จ.5 ประกอบกับข้อตกลงขยายระยะเวลาชำระหนี้หมาย จ.10 และหนี้เงินกู้ตามสัญญาหมาย จ.11 ยังไม่ถึง 10 ปีคดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ และคดีก่อนโจทก์ถอนฟ้องจำเลยทั้งสองโดยอ้างว่า คดีมีทางตกลงกันได้ ศาลอนุญาตให้ถอนฟ้อง ให้จำหน่ายคดีปรากฏตามสำนวนคดีหมายเลขที่ 15/2515 ของศาลชั้นต้น มิใช่เป็นการชี้ขาดประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี จึงไม่ต้องห้ามมิให้โจทก์นำคดีมาฟ้องเป็นคดีนี้อีก ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

ในปัญหาข้อเท็จจริง จำเลยฎีกาโต้เถียงขึ้นมาว่า พยานหลักฐานของโจทก์รับฟังไม่ได้ว่า จำเลยทั้งสองกู้เงินและจำนองที่ดินไว้กับโจทก์ทั้งสองตามฟ้อง ศาลฎีกาพิจารณาพยานหลักฐานของทั้งสองฝ่ายแล้วโจทก์นำสืบ โจทก์ที่ 2 กับนายอุดม บุญหลง เป็นพยานรู้เห็นในการทำสัญญากู้และสัญญาจำนองตามฟ้อง และโจทก์ได้มอบเช็คหมาย จ.29 ถึง 34 จ่ายเงินตามจำนวนที่จำเลยกู้ทั้งสองคราวให้ตัวแทนของจำเลยรับไปตามข้อเท็จจริงที่บรรยายไว้ในข้อนำสืบของโจทก์ข้างต้น โดยมีนายคริน บุนนาค สมุห์บัญชีใหญ่ธนาคารแหลมทอง จำกัด และนายสำรวย สุนทรเจริญ ผู้ช่วยสมุห์บัญชีธนาคารชาเตอร์ด จำกัด เป็นพยานว่า ธนาคารได้จ่ายเงินตามเช็คหมาย จ.29, 31, 33, 34 เข้าบัญชีของจำเลยที่ 1 ที่ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด สาขาสีลมแล้ว ส่วนเช็คหมาย จ.30 ซึ่งสั่งจ่ายให้จำเลยที่ 1 และเช็คหมาย จ.32 ซึ่งเป็นเช็คสั่งจ่ายให้ผู้ถือ ก็มีผู้รับเงินไปจากธนาคารโดยลงชื่อสลักหลังเช็คไว้ด้วย พยานโจทก์ดังกล่าวเบิกความสอดคล้องต้องกันในข้อเท็จจริงอันเป็นสารสำคัญแห่งคดีลงรอยกับเอกสารที่โจทก์อ้าง โดยมีลายมือชื่อที่เชื่อได้ว่าเป็นลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 ลงชื่อไว้ในสัญญากู้หมาย จ.5 และ จ.11 ทั้งนี้โดยอาศัยเปรียบเทียบกับลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 รับเงินตามเช็คหมาย จ.30 และ จ.32 และลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเช็คหมาย จ.14 ถึง จ.22 เป็นค่าดอกเบี้ยให้โจทก์ที่ 1มีลักษณะเป็นลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกันทั้งสัญญาจำนองหมาย จ.6ถึง จ.8 และสัญญาขึ้นเงินจำนองหมาย จ.12 - 13 ก็เป็นเอกสารทางราชการที่เจ้าพนักงานที่ดินทำขึ้น ซึ่งตามสัญญากู้หมาย จ.5 ได้กล่าวระบุถึงเลขที่ดินที่จำเลยจำนองเป็นประกันเงินกู้ไว้ด้วย แสดงว่าได้มีการจำนองที่ดินไว้กับโจทก์ที่ 2 จริง จึงสามารถระบุเลขที่โฉนดลงไว้ในสัญญากู้ได้ เมื่อโจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ และบอกกล่าวบังคับจำนอง จำเลยทั้งสองก็มิได้ตอบปฏิเสธหนี้แต่อย่างใดพยานหลักฐานของโจทก์ฟังได้แน่ชัดว่า จำเลยที่ 1กู้เงินโจทก์ที่ 1 และจำเลยทั้งสองจำนองที่ดินไว้กับโจทก์ที่ 2 เป็นจำนวนเงินตามฟ้องจริง พยานหลักฐานของจำเลยและเหตุผลที่จำเลยกล่าวอ้างมาในฎีกาว่า พยานโจทก์ฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์นั้น ยังไม่มีน้ำหนักให้ศาลชี้ขาดเป็นอย่างอื่น ดังศาลอุทธรณ์ได้ยกขึ้นวินิจฉัยไว้โดยละเอียดแล้วที่จำเลยฎีกาว่า ศาลจะฟังข้อเท็จจริงโดยอาศัยพยานเอกสารดังกล่าวแล้วเป็นพยานหลักฐานไม่ได้นั้น ศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้ข้างต้นแล้วว่า ศาลรับฟังเอกสารนั้น ๆ เป็นพยานเอกสารได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 87(2), 88 และ 90 ที่จำเลยฎีกาต่อไปว่า ศาลรับฟังลายมือชื่อผู้กู้ซึ่งเป็นภาษาอังกฤษ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 46 ว่าเป็นลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 โดยไม่นำผู้เชี่ยวชาญมาสืบพิสูจน์ไม่ได้นั้น ก็เห็นว่า ศาลมีอำนาจตรวจเปรียบเทียบลายมือชื่อในเอกสารและวินิจฉัยว่า น่าจะเป็นลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกันหรือไม่ได้ตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 1333/2494 คดีระหว่าง นายลาน ทองศรี โจทก์ นายเคนสวยรูป จำเลย และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 46มิใช่เป็นบทบัญญัติห้ามมิให้ศาลตรวจเปรียบเทียบลายมือที่เป็นภาษาต่างประเทศแต่อย่างใด ที่จำเลยฎีกาโต้เถียงอีกว่าโจทก์นำสืบรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวนั้น ได้ความจากโจทก์ที่ 2 ว่าได้ให้ทนายโจทก์ส่งหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้และบังคับจำนองถึงจำเลยทั้งสองโดยทางไปรษณีย์ตอบรับและมีผู้รับโดยชอบแล้วตามเอกสารหมาย จ.1 ถึงจ.3 จำเลยมิได้นำสืบปฏิเสธ จึงรับฟังได้ตามที่โจทก์นำสืบ ฎีกาของจำเลยทั้งสองทุกข้อฟังไม่ขึ้น

พิพากษาแก้ ให้จำเลยที่ 1 ชำระดอกเบี้ยให้โจทก์ที่ 1 อีก 327,500บาท นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ค่าฤชาธรรมเนียม(รวมค่าทนาย) ในชั้นฎีกาให้เป็นพับ"

 หมายเหตุ

ควรสังเกตมีปัญหาต้องวินิจฉัยต่อไปตามฎีกาของโจทก์ว่า การที่จำลยทั้งสองจำนองที่ดินไว้ต่อโจทก์ที่ 2 เพื่อประกันเงินกู้ที่จำเลยที่ 1 กู้ไปจากโจทก์ที่ 1สัญญาจำนองจะมีผลผูกพันจำเลยทั้งสองหรือไม่ และการที่ศาลล่างทั้งสองยกปัญหาข้อนี้ขึ้นวินิจฉัยโดยจำเลยมิได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การ จะเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้อง นอกประเด็นหรือไม่ โจทก์ฎีกาโต้แย้งว่า ผู้จำนองไม่จำเป็นต้องเป็นลูกหนี้ผู้รับจำนอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 709 ซึ่งบัญญัติว่า "บุคคลคนหนึ่งจะจำนองทรัพย์สินของตนไว้ เพื่อประกันหนี้อันบุคคลอื่นจะต้องชำระก็ให้ทำได้" ศาลฎีกาพิจารณาแล้วมาตรา 709 ที่โจทก์ยกขึ้นอ้างเป็นเพียงกล่าวถึงผู้จำนองว่า อาจจะเป็นบุคคลอื่นไม่ใช่ลูกหนี้ก็ได้เท่านั้น ส่วนผู้รับจำนองมีกล่าวไว้ในมาตรา 702 ซึ่งกำหนดลักษณะของสัญญาจำนองว่าเป็นสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้จำนองเอาทรัพย์สินตราไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้รับจำนองเป็นประกันการชำระหนี้ โดยไม่ส่งทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับจำนอง ผู้รับจำนองชอบที่จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญ เมื่อพิจารณาประกอบกับมาตรา 709แล้ว ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่าผู้รับจำนองจะต้องเป็นเจ้าหนี้ในมูลหนี้ที่มีการจำนองค้ำประกันนั้น ซึ่งอาจเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นในอนาคต หรือหนี้มีเงื่อนไข จะจำนองไว้เพื่อหนี้นั้น อาจเป็นผลได้จริง ก็จำนองได้ ส่วนผู้จำนองจะเป็นลูกหนี้หรือบุคคลอื่นใดก็ได้ไม่จำกัด เมื่อโจทก์ที่ 2 ผู้รับจำนองยังไม่อยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้สัญญาจำนองจึงไม่มีหนี้ที่จำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 2 ที่โจทก์อ้างว่า ตามบันทึกขึ้นเงินจำนองเอกสารหมาย จ.12, 13 ระบุไว้ว่า เป็นการจำนองเพื่อประกันการกู้ยืมเงินของจำเลยที่ 1 กับบริษัทโจทก์ที่ 1โดยนายประหยัด บุญสูง โจทก์ที่ 2 ผู้ค้ำประกันหนี้ต่อเนื่องกับบริษัทโจทก์ที่ 1ผู้เป็นเจ้าหนี้อีกทอดหนึ่ง แสดงว่า โจทก์ที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกัน หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ที่ 1 และย่อมเข้ารับช่วงสิทธิเมื่อได้ชำระหนี้ให้โจทก์ที่ 1 แล้ว โจทก์ที่ 2 จึงมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยทั้งสองด้วยนั้น เห็นว่าโจทก์มิได้ยกขึ้นอ้างในคำฟ้องว่า โจทก์ที่ 2 อยู่ในฐานะเช่นนั้น คงกล่าวอ้างเพียงว่า โจทก์ที่ 2 เป็นผู้รับจำนอง มิได้มีความรับผิดอย่างใดต่อโจทก์ที่ 1 ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยให้ไม่ได้ ปัญหาว่าจำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 2 เพียงใดนั้น ศาลย่อมยกขึ้นวินิจฉัยได้เพราะเป็นประเด็นข้อกล่าวอ้างของโจทก์ในคำฟ้องมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้อง นอกประเด็น ฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

โจทก์ฎีกาต่อไปว่า การที่โจทก์ไม่นำเช็คล่วงหน้าที่จำเลยที่ 1 ออกให้โจทก์เป็นค่าดอกเบี้ยตามเช็คหมาย จ.14 ถึง 18 รวม 5 ฉบับ ๆ ละ 37,500บาท และเช็คหมาย จ.19 ถึง จ.22 รวม 4 ฉบับ ๆ ละ 35,000 บาท รวมทั้งสิ้นเป็นเงิน 327,500 บาทไปขึ้นเงิน จะถือว่าจำเลยยังค้างชำระดอกเบี้ยตามเช็คทั้งหมดนั้นหรือไม่ เห็นว่า กรณีดังกล่าวต้องปรับด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคท้าย ซึ่งบัญญัติว่า "ถ้าชำระหนี้ด้วยออกด้วยโอน ฤาด้วยสลักหลังตั๋วเงิน ฤาประทวนสินค้า ท่านว่าหนี้นั้นจะระงับสิ้นไปต่อเมื่อตั๋วเงิน ฤาประทวนสินค้านั้นได้ใช้เงินแล้ว" ดังนั้นแม้โจทก์จะไม่นำเช็คค่าดอกเบี้ยจำนวนดังกล่าวไปเบิกเงินจากธนาคารเองจะโดยเหตุผลดังที่โจทก์นำสืบว่า จำเลยขอร้องให้รอไว้ก่อน เพราะไม่มีเงินในบัญชีก็ตาม เช็คเป็นตั๋วเงินชนิดหนึ่งตราบใดที่ยังไม่มีการใช้เงินตามเช็คนั้น หนี้ก็ยังไม่ระงับไป คงเป็นหนี้ค้างชำระอยู่ตามมูลหนี้เดิม จำเลยที่ 1 จึงต้องชำระค่าดอกเบี้ยจำนวนตามเช็คข้างต้นให้โจทก์ด้วย ฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังขึ้น

ว่าศาลไม่รับวินิจฉัยข้ออ้างว่าโจทก์ที่ 2 ค้ำประกันจำเลยต่อโจทก์ที่ 1 จึงไม่มีหนี้ที่โจทก์ที่ 2 จะไล่เบี้ยเอากับจำเลยผู้จำนอง

จิตติ

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4436/2545

การที่จำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทไว้แก่โจทก์นั้น แท้จริงแล้วเป็นการจำนองประกันหนี้ที่จำเลยมีต่อ ล. โจทก์ผู้รับจำนองจึงมิได้เป็นเจ้าหนี้ในมูลหนี้ที่จำเลยจำนองที่ดินเป็นประกัน สัญญาจำนองจึงไม่มีมูลหนี้ที่จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์จึงบังคับจำนองแก่จำเลยมิได้

การที่จำเลยนำสืบพยานบุคคลว่า การจำนองที่ดินตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นการจำนองเพื่อเป็นประกันหนี้ต้นเงินที่จำเลยได้รับมาปล่อยกู้จาก ล. และดอกเบี้ยที่ลูกหนี้ค้างชำระรวมกัน แล้วใช้ชื่อโจทก์เป็นผู้รับจำนอง จำเลยไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องเป็นการนำสืบเพื่ออธิบายถึงที่มาของหนี้ตามสัญญาจำนองว่าไม่สมบูรณ์เพราะไม่มีมูลหนี้ต่อกัน จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคท้ายหาใช่เป็นการนำสืบว่าจำเลยไม่ได้รับเงินตามเอกสารดังกล่าวไม่ จำเลยย่อมมีสิทธินำสืบได้

โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้อง ขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 1,236,750 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงิน 1,020,000 บาท นับแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ หากจำเลยไม่ชำระให้ยึดทรัพย์สินซึ่งจำนองออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์

จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษายืน

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่า จำเลยทำสัญญาจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 28533 ตำบลบ้านควนอำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง ไว้แก่โจทก์เป็นเงิน1,020,000 บาท โดยนายมณเฑียร วรวิทยานนท์ เป็นผู้รับมอบอำนาจทำการจดทะเบียนรับจำนองไว้แทนโจทก์ คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาโจทก์ว่าจำเลยทำสัญญาจำนองที่ดินดังกล่าวประกันหนี้เงินกู้ที่จำเลยกู้ไปจากโจทก์หรือไม่โจทก์มีนายมณเฑียรผู้รับมอบอำนาจโจทก์เป็นพยานเบิกความว่า จำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินดังกล่าวประกันหนี้เงินกู้ โดยพยานได้มอบเงินกู้จำนวน 1,020,000 บาท ให้จำเลยในวันทำสัญญาจำนองเห็นว่า คดีนี้โจทก์มีนายมณเฑียรผู้รับมอบอำนาจโจทก์มาเบิกความเป็นพยานเพียงปากเดียว โดยตัวโจทก์มิได้มาเบิกความถึงรายละเอียดในส่วนสำคัญเป็นต้นว่าโจทก์และจำเลยมีความสัมพันธ์กันอย่างไรมาก่อนการกู้เงินมีข้อตกลงและมีลำดับขั้นตอนเป็นมาอย่างไร เป็นเหตุให้จำเลยไม่มีโอกาสถามค้านตัวโจทก์โดยตรง ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์กับผู้รับมอบอำนาจโจทก์จะมีความสัมพันธ์กันอย่างไร โจทก์จะนำเงินมาจากที่ใดและโจทก์จะนับเงินก่อนส่งมอบแก่ผู้รับมอบอำนาจโจทก์หรือไม่ และจำเลยจะใช้เวลานับเงินที่สำนักงานที่ดินจังหวัดตรังนานหรือไม่ มิใช่ข้อสาระสำคัญแห่งคดี เพราะสาระสำคัญแห่งคดีอยู่ที่ว่าจำเลยได้ทำสัญญาจำนองที่ดินไว้แก่โจทก์ตามเอกสารหมาย จ.3 หรือไม่เท่านั้นเห็นว่า การที่ศาลจะพิจารณาพิพากษาให้ฝ่ายใดชนะคดีนั้น จำต้องวินิจฉัยจากการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานในสำนวนที่คู่ความนำเสนอต่อศาลโดยกอปรด้วยเหตุผลที่น่าเชื่อถือได้ มิใช่ว่าเมื่อคู่ความอ้างพยานบุคคลหรือพยานเอกสารใดมาแล้ว ศาลจะต้องรับฟังเป็นความจริงเช่นนั้นเสมอไปไม่ คู่ความยังมีหน้าที่จะต้องนำสืบให้ศาลเชื่อถือในพยานหลักฐานโดยโจทก์มีหน้าที่จะต้องพิสูจน์ให้สมฟ้องและจำเลยก็ต้องนำสืบให้สมข้อต่อสู้เช่นกันคดีนี้แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำเบิกความของนายมณเฑียรผู้รับมอบอำนาจโจทก์ว่าจำเลยทำสัญญาจำนองที่ดิน ซึ่งมีชื่อโจทก์เป็นผู้รับจำนองจริง แต่เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธมูลหนี้ตามสัญญาจำนองว่ามิใช่การจำนองที่ดินประกันหนี้เงินกู้โจทก์ และไม่เคยรู้จักโจทก์ การชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานจึงไม่อาจอาศัยเพียงถ้อยคำของนายมณเฑียรผู้รับมอบอำนาจโจทก์ปากเดียวมารับฟังว่ามูลหนี้แท้จริงตามสัญญาจำนองคือหนี้เงินกู้ระหว่างโจทก์กับจำเลย โดยที่ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์และจำเลยมีความสัมพันธ์กันอย่างไรมาก่อน รวมทั้งข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์ประกอบอาชีพใดเหตุใดโจทก์จึงตัดสินใจให้เงินจำนวนถึง 1,020,000 บาท ซึ่งนับว่าค่อนข้างสูงให้จำเลยกู้ และโจทก์ได้ทำการตรวจสอบที่ดินที่นำมาจำนองเป็นหลักประกันว่ามีราคาเพียงพอประกันหนี้เงินกู้จำนวนดังกล่าวหรือไม่ อีกทั้งโจทก์มีความสัมพันธ์กับนายมณเฑียรอย่างไรถึงกับยอมมอบเงินจำนวนมากให้นายมณเฑียรไปดำเนินการจดทะเบียนรับจำนองแทนโจทก์โดยลำพัง ข้อเท็จจริงดังกล่าวเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นข้อที่ศาลจำต้องนำมาพิจารณาชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของโจทก์ว่ามีความน่าเชื่อถือเพียงใด มิใช่จะอาศัยแต่หนังสือสัญญาจำนองที่ดินและบันทึกต่อท้ายสัญญาจำนองโดยลำพังหาพอไม่ ส่วนจำเลยมีตัวจำเลยอ้างตนเองเป็นพยานเบิกความว่า เมื่อปี 2538 นางลัดดาภริยานายมณเฑียรนำเงินมาให้จำเลยปล่อยกู้แก่บุคคลทั่วไปโดยจำเลยจะได้ค่าตอบแทนจากดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 1ต่อเดือน ครั้งแรกจำเลยจะทำสัญญากู้เงินกับนางลัดดา แต่เนื่องจากนางลัดดารับราชการนางลัดดาจึงให้จำเลยไปทำสัญญากู้เงินไว้กับนางเมื้อนมารดานางลัดดาแทน ในการปล่อยกู้ปีแรกไม่มีปัญหาภายหลังต่อมาจำเลยไม่สามารถเก็บดอกเบี้ยจากผู้กู้ได้ นายมณเฑียรและนางลัดดาขอให้จำเลยคนต้นเงินและดอกเบี้ยที่ผู้กู้ค้างชำระทั้งหมดจำเลยไม่มีเงินให้จึงนำที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนจำนองประกันหนี้ นางลัดดาจึงคืนสัญญากู้เงินให้แก่จำเลยข้อเท็จจริงตามที่จำเลยเบิกความดังกล่าวเจือสมกับที่นายมณเฑียรเบิกความตอบคำถามค้านของทนายจำเลยว่า นางลัดดาเป็นภริยานายมณเฑียรและนางเมื้อนเป็นมารดานางลัดดา นอกจากนี้ปรากฏจากหนังสือสัญญากู้เงินว่า นับตั้งแต่เดือนมกราคม 2539 ถึงเดือนมิถุนายน 2539 ช่วงระยะเวลาเพียง 6 เดือน จำเลยกู้เงินแต่ละครั้งมากบ้างน้อยบ้าง มียอดเงินรวมทั้งสิ้น 527,200 บาท นับว่าค่อนข้างสูง แต่ละสัญญายังไม่ทันครบกำหนดเวลาชำระต้นเงินคืน จำเลยก็ได้ทำหนังสือสัญญากู้เงินฉบับใหม่ต่อเนื่องกันไปถึง 9 ครั้ง อันเป็นการผิดปกติวิสัยที่นางเมื้อนจะให้จำเลยกู้ไปง่ายดายในลักษณะเช่นนี้ และเมื่อพิจารณาประกอบเหตุผลที่จำเลยนำสืบว่า จำเลยเป็นเพื่อนนางลัดดา และจากคำเบิกความของพยานโจทก์ดังกล่าวตอบคำถามค้านของทนายจำเลยว่า นางลัดดารับราชการที่สำนักงานสรรพากรจังหวัดตรัง กับคำเบิกความของนางจิราภรณ์ชูอ่อน พยานจำเลยที่เบิกความว่า พยานเคยไปเป็นเพื่อนจำเลยไปเอาเงินของนางลัดดาและเคยเป็นผู้เขียนสัญญาให้ พยานหลักฐานของจำเลยจึงสอดคล้องเชื่อมโยงกันมีน้ำหนักมากกว่าพยานหลักฐานของโจทก์ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยนำเงินจากนางลัดดามาปล่อยกู้ แต่นางลัดดาเป็นข้าราชการจึงให้จำเลยทำสัญญากู้เงินไว้กับนางเมื้อน ภายหลังจำเลยไม่สามารถเก็บดอกเบี้ยจากผู้กู้มาส่งนางลัดดาได้ นายมณเฑียรและนางลัดดาทวงต้นเงินทั้งหมดและดอกเบี้ยคืน จำเลยไม่มีเงินให้จึงนำที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินแปลงเดียวกันกับที่ระบุเป็นหลักประกันไว้ในหนังสือสัญญากู้เงินมาจดทะเบียนจำนองประกันต้นเงินและดอกเบี้ยไว้แก่โจทก์นางลัดดาจึงยอมคืนสัญญากู้เงินที่จำเลยทำไว้กับนางเมื้อนทั้งหมดให้แก่จำเลย เมื่อการที่จำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทไว้แก่โจทก์ แท้จริงเป็นการจำนองประกันหนี้ที่จำเลยมีต่อนางลัดดา โจทก์ผู้รับจำนองจึงมิได้เป็นเจ้าหนี้ในมูลหนี้ที่จำเลยจำนองที่ดินเป็นประกัน สัญญาจำนองจึงไม่มีมูลหนี้ที่จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ ดังนั้นโจทก์จึงบังคับจำนองแก่จำเลยมิได้ ส่วนที่โจทก์ฎีกาต่อไปว่า หนังสือสัญญาจำนองที่ดินระบุว่าจำเลยได้รับเงินไปจากโจทก์ครบถ้วนแล้ว จำเลยจะนำสืบว่าไม่ได้รับเงินไม่ได้เพราะเป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้น เห็นว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 บัญญัติว่า "เมื่อใดมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังพยานบุคคลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) ขอสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสารเมื่อไม่สามารถนำเอกสารมาแสดง

แต่ว่าบทบัญญัติแห่งมาตรานี้ มิให้ใช้บังคับในกรณีที่บัญญัติไว้ในอนุมาตรา (2)แห่งมาตรา 93 และมิให้ถือว่าเป็นการตัดสิทธิคู่ความในอันที่จะกล่าวอ้างและนำพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างว่า พยานเอกสารที่แสดงนั้นเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ถูกต้องทั้งหมด หรือแต่บางส่วน หรือสัญญาหรือหนี้อย่างอื่นที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์..."การที่จำเลยนำสืบพยานบุคคลว่า การจำนองที่ดินตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นการจำนองเพื่อเป็นประกันหนี้ต้นเงินที่จำเลยได้รับมาปล่อยกู้จากนางลัดดาและดอกเบี้ยที่ลูกหนี้ค้างชำระรวมกัน แล้วใช้ชื่อโจทก์เป็นผู้รับจำนองจำเลยไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ตามฟ้อง เป็นการนำสืบเพื่ออธิบายถึงที่มาของหนี้ตามสัญญาจำนองว่าไม่สมบูรณ์เพราะไม่มีมูลหนี้ต่อกัน จึงไม่ต้องห้ามตามบทบัญญัติวรรคท้ายของมาตราดังกล่าว หาใช่นำสืบว่าจำเลยไม่ได้รับเงินตามเอกสารดังกล่าวไม่จำเลยจึงย่อมมีสิทธินำสืบได้ ฎีกาโจทก์ฟังไม่ขึ้น"

พิพากษายืน  




การสอบเนติบัณฑิต ภาคหนึ่ง สมัยที่ 60(วิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์)

ผู้รับดูแลผู้เยาว์ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิด
คำมั่นจะให้เช่า
ข้อกำหนดลบล้าง หรือจำกัดความรับผิดต่อผู้ทรง
ยินยอมให้เขาใช้ชื่อตนเป็นชื่อห้างหุ้นส่วน
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร
ความรับผิดของผู้ขนส่ง
หากผู้ทรงสิทธิบัตรได้อนุญาต-ยินยอมให้ผลิต ขายผลิตภัณฑ์แล้วย่อมหมดสิทธิ
เพิกถอนโฉนดที่ออกทับที่ดินครอบครองปรปักษ์
เจ้าหนี้ขาดสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้