ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




คำมั่นจะให้เช่า

   -ปรึกษากฎหมาย นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

     โทร.085-9604258

   -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์   

   (1) @leenont 

   (2) @peesirilaw  

   (3) 0859604258 เพิ่มด้วยหมายเลขโทรศัพท์

  -Line Official Account : เพิ่มเพื่อน QR CODE

QR CODE 

ข้อ 4. นายวิชิตให้นายวิชัยเช่าตึกแถวของตนโดยทำสัญญาเช่าฉบับแรกระยะเวลาเช่า 3 ปี และมีข้อตกลงว่าเมื่อครบอายุสัญญาเช่าแล้วนายวิชิตจะให้นายวิชัยเช่าตึกแถวต่อไปในอัตราค่าเช่าเดิม ก่อนครบกำหนด 3 ปี นายวิชัยได้ขอทำสัญญาเช่าฉบับที่สองระยะเวลาเช่าต่อเนื่องจากฉบับแรก โดยสัญญาเช่าฉบับที่สองมีข้อตกลงให้ นายวิชัยเช่าตึกแถวตลอดไปในอัตราค่าเช่าเท่าเดิม ต่อมาอีก 2 ปี หลังจากทำสัญญาเช่าฉบับที่สอง นายวิชิตไม่ประสงค์จะให้นายวิชัยเช่าตึกแถวต่อไป จึงบอกเลิกสัญญาเช่าและฟ้องขับไล่นายวิชัย อ้างว่าการทำสัญญาเช่าตึกแถวสองฉบับดังกล่าวเป็นการทำสัญญาเช่าเกินกว่า 3 ปี เพื่อหลีกเลี่ยงการจดทะเบียนตามกฎหมาย จึงมีผลบังคับได้เพียง 3 ปี ตามสัญญาเช่าฉบับแรกเท่านั้น ทั้งสัญญาเช่าฉบับที่สองไม่มีกำหนดเวลาเช่าตนจึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเมื่อใดก็ได้


ให้วินิจฉัยว่า นายวิชิตมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าและฟ้องขับไล่นายวิชัยได้หรือไม่

ธงคำตอบ

สัญญาเช่าตึกแถวฉบับแรกมีข้อตกลงว่า เมื่อครบอายุสัญญาเช่าแล้วนายวิชิตจะให้นายวิชัยเช่าตึกแถวต่อไป ในอัตราค่าเช่าเดิม เป็นข้อตกลงที่นายวิชิตแสดงเจตนาฝ่ายเดียวคงผูกพันนายวิชิตเท่านั้น โดยนายวิชัยจะตกลงทำสัญญาเช่าต่อไปหรือไม่ยังไม่แน่นอน ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นคำมั่นจะให้เช่า เมื่อนายวิชัยมาขอทำสัญญาเช่า ฉบับที่สองก่อนครบกำหนดเวลาเช่า อันเป็นการตอบสนองคำมั่นโดยชอบ นายวิชิตจึงต้องผูกพันทำสัญญาเช่า ตึกแถวฉบับที่สองกับนายวิชัย และการทำสัญญาเช่าทั้งสองฉบับดังกล่าวไม่ใช่การทำสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ เกินกว่า 3 ปี เพื่อหลีกเลี่ยงการจดทะเบียนตามกฎหมาย สัญญาเช่าฉบับที่สองมีผลบังคับได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ 3761-3765/2533)

สัญญาเช่าฉบับที่สองมีข้อตกลงให้นายวิชัยเช่าตึกแถวได้ตลอดไปในอัตราค่าเช่าเท่าเดิม ถือเป็นข้อตกลง ที่มีกำหนดเวลาเช่าเกินกว่า 3 ปี เมื่อไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 จึงมีผลบังคับได้เพียง 3 ปี (คำพิพากษาฎีกาที่ 554/2524) ไม่ใช่การเช่าโดยไม่มีกำหนดเวลาเช่าซึ่งนายวิชิตหรือนายวิชัยจะบอกเลิกการเช่าเมื่อใดก็ได้ ตามมาตรา 566 เมื่อปรากฏว่าสัญญาเช่าฉบับที่สองมีผล บังคับได้ 3 ปี และระยะเวลาเช่าเพิ่งผ่านพ้นไปเพียง 2 ปี เท่านั้น นายวิชิตจึงบอกเลิกสัญญาเช่าและฟ้องขับไล่ นายวิชัยไม่ได้

มาตรา 538 เช่าอสังหาริมทรัพย์นั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ ถ้าเช่ามีกำหนดกว่าสามปีขึ้นไปหรือกำหนดตลอดอายุของผู้เช่าหรือผู้ให้เช่าไซร้ หากมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ท่านว่าการเช่นนั้นจะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้แต่เพียงสามปี

มาตรา 566 ถ้ากำหนดเวลาเช่าไม่ปรากฏในความที่ตกลงกันหรือไม่พึงสันนิษฐานได้ไซร้ ท่านว่าคู่สัญญาฝ่ายใดจะบอกเลิกสัญญาเช่าในขณะเมื่อสุดระยะเวลาอันเป็นกำหนดชำระค่าเช่าก็ได้ทุกระยะ แต่ต้องบอกกล่าวแก่อีกฝ่ายหนึ่งให้รู้ตัวก่อนชั่วกำหนดเวลาชำระค่าเช่าระยะหนึ่งเป็นอย่างน้อยแต่ไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้ากว่าสองเดือน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3761-3765/2533

สัญญาเช่าระบุว่า "เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่า 12 ปีนับแต่วันทำสัญญานี้เป็นต้นไป ต้องให้ผู้เช่ามีสิทธิเช่าต่อไปอีก และทำสัญญากับกรมวิสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการโดยตรงต่อไป" ข้อสัญญานี้เป็นคำมั่นที่ผูกพันโจทก์ผู้ให้เช่าฝ่ายเดียวที่จะต้องให้จำเลยผู้เช่ามีสิทธิเช่าต่อไปเมื่อปรากฏว่าก่อนสัญญาเช่าครบกำหนด จำเลยแจ้งความประสงค์ที่จะเช่าต่อ กรณีย่อมบังคับกันได้ตามสัญญา โจทก์ต้องให้จำเลยมีสิทธิเช่าต่อไป แม้ข้อเท็จจริงได้ความว่ากรรมสิทธิ์ในตึกพิพาทเป็นของโจทก์ และโจทก์ไม่อาจจัดการให้จำเลยเช่ากับกรมวิสามัญศึกษาโดยตรงได้ โจทก์ก็คงผูกพันตามสัญญาที่จะต้องให้จำเลยมีสิทธิเช่าตึกพิพาทต่อไปตามเงื่อนไขและข้อสัญญาเดิมโดยไม่มีกำหนดเวลาเช่า เมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดโจทก์กลับขับไล่จำเลย จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

 โจทก์ทั้งห้าสำนวนฟ้องว่า โจทก์มีกรรมสิทธิ์ในห้องแถวเลขที่ 169/1, 169/3-4, 169/6, 169/7 และ 169/8 ถนนอุตรดุษฎีดอนตลาดบ้านห้วย ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานีซึ่งปลูกอยู่ในที่ราชพัสดุที่โจทก์เช่ามาจากกรมธนารักษ์ จำเลยที่ 1ได้เช่าห้องเลขที่ 169/1 โดยเช่าช่วงมาจากนายอิกกำ แซ่โค้ว และนายวีระวัฒน์ อิทธิรัตนโกมล จำเลยที่ 2 ได้เช่าห้องเลขที่ 169/3-4โดยเช่าช่วงมาจากนายโอฬาร จิตติเจษฎาภรณ์ จำเลยที่ 3 ได้เช่าห้องเลขที่ 169/6 โดยเช่าช่วงมาจากนางทองใบ ลิ้มไพบูลย์ จำเลยที่ 4ได้เช่าห้องเลขที่ 169/7 และจำเลยที่ 5 ได้เช่าห้องเลขที่ 169/8สัญญาเช่าดังกล่าวมาทั้งหมดครบกำหนดในวันที่ 31 กรกฎาคม 2525โจทก์ไม่ประสงค์ที่จะให้จำเลยทั้งห้าเช่าอีกต่อไป ห้องแถวดังกล่าวอยู่ในทำเลหน้าตลาดสดมีผู้มาตกลงเช่ากับโจทก์ในอัตราค่าเช่าเดือนละ4,500 บาท ต่อห้องขอให้บังคับจำเลยทั้งห้าและบริวารออกจากห้องที่เช่าดังกล่าว ให้จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 จำเลยที่ 4 และจำเลยที่ 5ต่างชดใช้ค่าเสียหายเป็นค่าเช่าให้โจทก์เดือนละ 4,500 บาท ส่วนจำเลยที่ 2 เดือนละ 9,000 บาท นับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2525 เป็นต้นไปจนกว่าจำเลยและบริวารจะออกจากห้องเช่า จำเลยทั้งห้าสำนวนให้การในทำนองเดียวกันว่าสัญญาเช่าที่ดินที่โจทก์เช่าที่ดินราชพัสดุจากกรมธนารักษ์ ได้สิ้นสุดลงแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 กรมธนารักษ์ได้ทักท้วงให้โจทก์ดำเนินการต่ออายุการเช่าที่ดินดังกล่าวตลอดมา แต่โจทก์บ่ายเบี่ยงไม่ยอมต่ออายุการเช่าที่ดินกับกรมธนารักษ์สัญญาเช่าที่ดินระหว่างโจทก์กับกรมธนารักษ์ยังไม่เกิดขึ้น ตึกแถวห้องเลขที่ 169/1, 169/3-4, 169/6, 169/7 และ 169/8 ดังกล่าวโจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าของความจริงโจทก์เป็นเพียงผู้เช่าที่ดินจากทางราชการเพื่อหาประโยชน์จากที่ดินเท่านั้น ซึ่งขณะนั้นยังไม่ปรากฏมีห้องแถวที่พิพาทเกิดขึ้น ผู้เช่าเดิมเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างห้องพิพาททั้งหมด โดยมีข้อตกลงกับโจทก์ว่า โจทก์จะต้องยินยอมให้ผู้เช่าเดิมเช่าห้องดังกล่าวมีกำหนด 12 ปี และเมื่อสัญญาครบกำหนดแล้วมีข้อตกลงต่อไปอีกว่าโจทก์จะยินยอมให้ผู้เช่ามีสิทธิเช่าต่อไปได้อีกโดยทำสัญญาเช่าโดยตรงกับทางราชการ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งห้า จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3มิใช่เป็นผู้เช่าช่วยดังที่โจทก์ฟ้อง แต่เป็นผู้ได้รับโอนสิทธิการเช่ามาจากผู้เช่าคนเดิม จำเลยทั้งห้าจึงมีสิทธิเช่าได้โดยตรงกับทางราชการภายหลังจากสัญญาเช่าที่ทำกับโจทก์สิ้นสุดลง โจทก์มีหน้าที่ต้องจัดให้จำเลยทั้งห้าเช่าโดยตรงกับทางราชการตามข้อตกลง การที่จำเลยทั้งห้ายังคงอยู่ในห้องเช่าไม่ผิดสัญญาเช่าแต่อย่างใดทั้ง ๆ ที่สัญญาเช่ามีข้อตกลงว่าเมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลง โจทก์ยอมให้จำเลยทั้งห้าเช่าต่อไปได้อีก และให้สิทธิจำเลยทั้งห้าเช่าโดยตรงกับทางราชการ โจทก์กลับขัดขวางไม่ยินยอมให้จำเลยทั้งห้าเช่าโดยตรงกับทางราชการ ทั้งยังเรียกร้องเงินกินเปล่าจากจำเลยทั้งห้าอีกห้องละ 200,000 บาท เมื่อจำเลยทั้งห้าไม่ยินยอมกลับหาเหตุฟ้องขับไล่จำเลยทั้งห้า จึงไม่ชอบด้วยข้อตกลง เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องนั้นสูงเกินไป อัตราค่าเช่าไม่เกินเดือนละ 200 บาท ขอให้ยกฟ้องโจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ขับไล่จำเลยทั้งห้ากับให้จำเลยแต่ละคนใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 2,500 บาท เว้นแต่จำเลยที่ 2 ให้ใช้เดือนละ 5,000 บาทนับแต่เดือนสิงหาคม 2525 เป็นต้นไปจนกว่าจำเลยทั้งห้าและบริวารจะออกไปจากห้องแถวพิพาท จำเลยทั้งห้าสำนวนอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องโจทก์ โจทก์ทั้งห้าสำนวนฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่า โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินพิพาทจากกรมวิสามัญศึกษากระทรวงศึกษาธิการ แล้วปลูกสร้างตึกแถวรายพิพาท จำเลยทั้งห้าเป็นผู้เช่าตึกแถวดังกล่าวจากโจทก์โดยช่วยค่าเสียค่าก่อสร้างให้โจทก์ สัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยทั้งห้าครบกำหนดในวันที่ 31กรกฎาคม 2525 รายละเอียดปรากฏตามสัญญาเช่าแนบท้ายฟ้อง ปัญหาวินิจฉัยมีว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งห้าหรือไม่ เห็นว่า ตามข้อ 4 ของสัญญาเพิ่มเติมของสัญญาเช่าดังกล่าวระบุว่า เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่า12 ปี นับแต่วันทำสัญญานี้เป็นต้นไปต้องให้ผู้เช่ามีสิทธิเช่าต่อไปอีก และทำสัญญากับกรมวิสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการโดยตรงต่อไปตามข้อสัญญาดังกล่าวจึงเป็นคำมั่นของโจทก์ที่ผูกพันโจทก์ผู้ให้เช่าฝ่ายเดียวที่จะต้องให้จำเลยทั้งห้าผู้เช่ามีสิทธิเช่าต่อไปอีกเมื่อข้อเท็จจริงได้ความจากคำเบิกความของนางแพมุกดา สายน้อยบุตรของโจทก์ ซึ่งเป็นพยานโจทก์ว่าจำเลยทั้งห้าได้มาพบโจทก์ และจำเลยทั้งห้าจะให้โจทก์ตกลงกับจำเลยทั้งห้าตามสัญญาท้ายฟ้องข้อ 4นายอนุชิต จำเลยที่ 4 และนายเลิศชัย จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพยานจำเลยต่างก็เบิกความว่า ก่อนสัญญาเช่าครบกำหนดพวกจำเลยได้ไปติดต่อกับโจทก์ เพื่อสอบถามโจทก์เรื่องทำสัญญาเช่ากับทางราชการโดยตรงเชื่อว่าฝ่ายจำเลยผู้เช่าแจ้งความประสงค์ในการที่จะเช่าต่อไปอีกตามสัญญาเช่าแก่โจทก์ผู้ให้เช่าแล้ว กรณีย่อมบังคับกันได้ตามสัญญาโจทก์ผู้ให้เช่าไม่มีสิทธิที่จะให้จำเลยทั้งห้าผู้เช่าออกไปจากที่เช่า โจทก์ผู้ให้เช่าต้องให้จำเลยทั้งห้า ผู้เช่ามีสิทธิเช่าต่อไปอีก แม้ข้อเท็จจริงได้ความว่า กรรมสิทธิ์ในตึกพิพาทเป็นของโจทก์และโจทก์ไม่อาจจัดการให้จำเลยทั้งห้าเช่ากับกรมวิสามัญศึกษากระทรวงศึกษาธิการโดยตรงได้ โจทก์ก็คงมีความผูกพันตามสัญญาที่จะต้องให้จำเลยทั้งห้าผู้เช่ามีสิทธิเช่าตึกพิพาทกับโจทก์ต่อไปอีกตามเงื่อนไขและข้อสัญญาเดิมโดยไม่มีกำหนดระยะเวลาการเช่าแต่เมื่อสัญญาเช่าครบกำหนด โจทก์กลับนำคดีมาฟ้องขับไล่จำเลยทั้งห้าจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาข้ออื่นของโจทก์อีกต่อไป ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้นศาลฎีกาเห็นฟ้องด้วย"

พิพากษายืน

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 554/2524

 ฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละสองพันบาท และจำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์หรือยกข้อโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายแห่งข้อความในสัญญาเช่า ซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงแล้ว แม้ฎีกาข้อเท็จจริงนั้นขึ้นมา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

ผู้ให้เช่าทำสัญญาตกลงกับผู้เช่าไว้ว่าจะให้ผู้เช่าเช่าที่พิพาทได้ตลอดไป โดยผู้ให้เช่าจะไม่เป็นฝ่ายเลิกสัญญาเป็นข้อตกลงให้ สัญญาเช่ามีอายุการเช่าเกินกว่าสามปี เมื่อไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 บัญญัติไว้ จึงฟ้องร้องให้บังคับคดีกันได้เพียงสามปีเท่านั้น การเช่าที่เกินกำหนดสามปี เป็นการเช่าที่ไม่มีกำหนดเวลา ผู้รับโอนที่พิพาทจากเจ้าของเดิมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่ากับผู้เช่าได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 566 การที่ผู้เช่ายังอยู่ในที่พิพาทต่อมาเมื่อพ้นกำหนดตามคำบอกกล่าวแล้วจึงเป็นการละเมิด

 ศาลชั้นต้นพิพากษาขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่พิพาทให้จำเลยรื้อถอนห้องแถวออกไป และใช้ค่าเสียหายเดือนละ 1,800 บาท แก่โจทก์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะค่าเสียหายเป็นเดือนละ 150 บาท โจทก์และจำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อกฎหมายว่า "จำเลยฎีกาว่า การซื้อขายที่พิพาทระหว่างนางเนื่องกับโจทก์เป็นนิติกรรมอำพรางเพราะไม่มีการซื้อขายกันจริง โจทก์บอกเลิกสัญญาเช่ากับจำเลยโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะคนที่อ้างว่าเป็นผู้รับหนังสือไม่ได้อยู่ในบ้านจำเลย พิเคราะห์แล้วเห็นว่า ฎีกาของโจทก์จำเลยดังกล่าวเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์มาแล้ว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คดีคงมีปัญหาแต่เฉพาะที่จำเลยฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายว่า ตามสัญญาเช่าที่จำเลยทำไว้กับนางเนื่องเจ้าของเดิม เมื่อนางเนื่องไม่อาจบอกเลิกการเช่ากับจำเลย โจทก์ผู้รับโอนต้องรับผิดสิทธิและหน้าที่ของนางเนื่องไปด้วย จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า จำเลยได้ทำสัญญาเช่าที่พิพาทจากนางเนื่อง เทียนเนียม มีกำหนดสามปี ค่าเช่าเดือนละ150 บาท ได้ทำบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาเช่าว่า เมื่อจำเลยได้ชำระค่าเช่าตามสัญญาแล้วนางเนื่องตกลงให้เช่าที่ดินได้ตลอดไป โดยจะไม่เป็นฝ่ายเลิกสัญญาเช่าและสัญญาเพิ่ม เอกสารหมาย ล.1, ล.2 จำเลยอยู่ในที่ดินตลอดมาจนสิ้นอายุสัญญาเช่า ต่อมาโจทก์ได้ซื้อที่ดินดังกล่าวจากนางเนื่อง โดยทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานที่ดิน หลังจากนั้นโจทก์ได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าไปยังจำเลย คนในบ้านของจำเลยเป็นผู้รับหนังสือไว้แต่จำเลยไม่ยอมออกจากที่เช่า ศาลฎีกาเห็นว่า การที่นางเนื่องทำสัญญาตรงกับจำเลยไว้ว่า จะให้จำเลยเช่าที่พิพาทได้ตลอดไปโดยนางเนื่องจะไม่เป็นฝ่ายเลิกสัญญานั้น เป็นข้อตกลงกันให้สัญญาเช่ามีอายุเช่าเกินกว่าสามปี แต่ปรากฏว่ามิได้นำข้อตกลงนี้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 บัญญัติไว้ ฉะนั้น การเช่าที่มีกำหนดกว่าสามปีจึงฟ้องร้องให้บังคับคดีกันได้เพียงสามปีเท่านั้น เมื่อเกินกำหนดสามปีแล้วจึงเป็นการเช่าที่ไม่มีกำหนดเวลา โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนที่พิพาทจากเจ้าของเดิม จึงมีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาเช่ากับจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 566 การที่จำเลยยังอยู่ในที่พิพาทต่อมาหลังจากที่พ้นกำหนดตามคำบอกกล่าวของโจทก์จึงเป็นการละเมิด โจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้"

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น




การสอบเนติบัณฑิต ภาคหนึ่ง สมัยที่ 60(วิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์)

ผู้รับดูแลผู้เยาว์ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิด
ผู้ค้ำประกันไม่หลุดพ้นจากความรับผิด ผู้รับจำนองต้องเป็นเจ้าหนี้ในมูลหนี้
ข้อกำหนดลบล้าง หรือจำกัดความรับผิดต่อผู้ทรง
ยินยอมให้เขาใช้ชื่อตนเป็นชื่อห้างหุ้นส่วน
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร
ความรับผิดของผู้ขนส่ง
หากผู้ทรงสิทธิบัตรได้อนุญาต-ยินยอมให้ผลิต ขายผลิตภัณฑ์แล้วย่อมหมดสิทธิ
เพิกถอนโฉนดที่ออกทับที่ดินครอบครองปรปักษ์
เจ้าหนี้ขาดสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้