ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




เจ้าหนี้ขาดสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้

ถ้าเจ้าหนี้เรียกเอาเบี้ยปรับเป็นอันขาดสิทธิเรียกร้องชำระหนี้อีกต่อไป

ข้อ 2. นายสมชาย ทำหนังสือสัญญาจะขายที่ดินของตนแปลงหนึ่งให้นางสดศรี โดยตกลงว่าหากนายสมชายผิดสัญญาไม่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้นางสดศรี นายสมชายยอมชำระเบี้ยปรับจำนวน 500,000 บาท ให้แก่นางสดศรี หลังจากนั้นปรากฏว่ามีบุคคลอื่นมาเสนอขอซื้อที่ดินนั้นจากนายสมชายในราคาสูงกว่าที่นายสมชาย จะขายให้นางสดศรีมาก นายสมชายจึงไม่ยอมจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้นางสดศรีตามสัญญา แต่ยอมชำระ เบี้ยปรับจำนวน 500,000 บาท ให้นางสดศรี

ให้วินิจฉัยว่า นางสดศรีจะมีสิทธิดำเนินการในการที่นายสมชายไม่ยอมจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ นางสดศรีตามสัญญาอย่างใดบ้าง

ธงคำตอบ

การที่นายสมชายไม่ยอมจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้นางสดศรีตามสัญญาเป็นการที่นายสมชายซึ่งเป็น ลูกหนี้ละเลยเสียไม่ชำระหนี้ของตน ซึ่งนางสดศรีเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้นายสมชายชำระหนี้โดยเฉพาะเจาะจงด้วยการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้นางสดศรีเว้นแต่สภาพแห่งหนี้จะไม่เปิดช่องให้ทำเช่นนั้นได้ ตามประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ มาตรา 213 วรรคหนึ่ง และหากการที่นายสมชายไม่ชำระหนี้เช่นนั้นทำให้นางสดศรีเสียหายอย่างไร นางสดศรีก็มีสิทธิเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การนั้นจากนายสมชายได้ตามมาตรา 215 อีกด้วย

อย่างไรก็ตามข้อสัญญาที่ว่าหากนายสมชายผิดสัญญาไม่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้นางสดศรี นายสมชายยอมชำระเบี้ยปรับจำนวน 500,000 บาท ให้แก่นางสดศรีนั้น เป็นข้อสัญญาที่นายสมชายสัญญาว่าจะให้ เบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้ ซึ่งเมื่อนายสมชายไม่ชำระหนี้ นางสดศรีมีสิทธิที่จะเรียกเอาเบี้ยปรับอันจะพึงริบนั้นแทนการชำระหนี้ได้ แต่ถ้านางสดศรีเรียกเอาเบี้ยปรับเช่นนั้นแล้ว ก็เป็นอันขาดสิทธิเรียกร้องชำระหนี้อีกต่อไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 วรรคหนึ่ง (คำพิพากษาฎีกาที่ 556/2511, 2299/2523) และหากการไม่ชำระหนี้ของนายสมชายทำให้นางสดศรีเสียหายมากกว่าจำนวนเงินที่กำหนดไว้เป็นเบี้ยปรับ นางสดศรีก็มีสิทธิที่จะเรียกค่าเสียหายที่เกินกว่าเบี้ยปรับจากนายสมชายได้อีกด้วยเช่นกัน โดยถือเบี้ยปรับอันจะพึงริบนั้นเป็นจำนวนน้อยที่สุดแห่งค่าเสียหาย ตามมาตรา 380 วรรคสอง

ดังนั้น นางสดศรีมีสิทธิที่จะบังคับชำระหนี้โดยเฉพาะเจาะจงให้นายสมชายจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ตนและหากมีความเสียหาย อันเกิดจากการไม่ชำระหนี้ก็เรียกค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติมจากนายสมชายได้อีก หรือมิฉะนั้นก็ยอมรับเบี้ยปรับจำนวน 500,000 บาท จากนายสมชาย โดยหากมีความเสียหายมากกว่านั้นก็มีสิทธิ เรียกค่าเสียหายเพิ่มเติมจากนายสมชายได้อีก ทั้งนี้ นางสดศรีต้องเลือกบังคับเพียงทางใดทางหนึ่งเท่านั้น

 กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 213 " ถ้าลูกหนี้ละเลยเสียไม่ชำระหนี้ของตนเจ้าหนี้จะร้องขอต่อศาลให้สั่งบังคับชำระหนี้ก็ได้ เว้นแต่สภาพแห่งหนี้จะไม่เปิดช่องให้ทำเช่นนั้นได้

เมื่อสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับชำระหนี้ได้ ถ้าวัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำการอันหนึ่งอันใด เจ้าหนี้จะร้องขอต่อศาลให้สั่งบังคับให้บุคคลภายนอกกระทำการอันนั้นโดยให้ลูกหนี้เสียค่าใช้จ่ายให้ก็ได้ แต่ถ้าวัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำนิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งไซร้ ศาลจะสั่งให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของลูกหนี้ก็ได้

ส่วนหนี้ซึ่งมีวัตถุเป็นอันจะให้งดเว้นการอันใด เจ้าหนี้จะเรียกร้องให้รื้อถอนการที่ได้กระทำลงแล้วนั้นโดยให้ลูกหนี้เสียค่าใช้จ่ายและให้จัดการอันควรเพื่อกาลภายหน้าด้วยก็ได้

อนึ่ง บทบัญญัติในวรรคทั้งหลายที่กล่าวมาก่อนนี้ หากระทบกระทั่งถึงสิทธิที่จะเรียกเอาค่าเสียหายไม่"

มาตรา 215 "เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ไซร้ เจ้าหนี้จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การนั้นก็ได้"

มาตรา 380 "ถ้าลูกหนี้ได้สัญญาไว้ว่าจะให้เบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้เจ้าหนี้จะเรียกเอาเบี้ยปรับอันจะพึงริบนั้นแทนการชำระหนี้ก็ได้ แต่ถ้าเจ้าหนี้แสดงต่อลูกหนี้ว่าจะเรียกเอาเบี้ยปรับฉะนั้นแล้วก็เป็นอันขาดสิทธิเรียกร้องชำระหนี้อีกต่อไป

ถ้าเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อการไม่ชำระหนี้จะเรียกเอาเบี้ยปรับอันจะพึงริบนั้นในฐานเป็นจำนวนน้อยที่สุดแห่งค่าเสียหายก็ได้ การพิสูจน์ค่าเสียหายยิ่งกว่านั้นท่านก็อนุญาตให้พิสูจน์ได้"

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 556/2511

หลังจากจำเลยทำสัญญาจะขายที่พิพาทให้โจทก์แล้ว แต่ยังไม่ถึงวันโอนตามที่กำหนดไว้ในสัญญานั้น โจทก์ได้ทำสัญญาจะขายที่พิพาทให้บุคคลที่สามโดยกำหนดว่าโจทก์จะโอนที่พิพาทให้บุคคลที่สามในวันเดียวกันกับที่จำเลยจะต้องโอนที่พิพาทให้โจทก์ถ้าโจทก์ผิดสัญญาโจทก์ต้องเสียเบี้ยปรับ 40,000 บาท โจทก์ได้แจ้งเรื่องสัญญาและเบี้ยปรับให้จำเลยทราบแล้ว ต่อมาเมื่อถึงกำหนดวันโอน จำเลยไม่ยอมโอนที่พิพาทให้โจทก์ โจทก์ถูกบุคคลที่สามปรับ 40,000บาท จำเลยต้องชำระค่าเสียหาย 40,000 บาทนี้ให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 วรรคสอง

 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับให้จำเลยโอนที่พิพาทให้โจทก์ตามสัญญาจะซื้อขาย และขอให้จำเลยชำระค่าเสียหาย 40,000 บาทที่โจทก์ได้เสียเป็นเบี้ยปรับให้แก่ผู้ที่จะซื้อที่พิพาทนี้ต่อจากโจทก์ เพราะโจทก์ไม่อาจโอนที่พิพาทให้ได้ โดยเหตุที่จำเลยผิดสัญญาไม่โอนที่พิพาทให้โจทก์

จำเลยให้การปฏิเสธความรับผิด

ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี และให้จำเลยชำระค่าเสียหาย 40,000 บาทด้วย

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ได้ทำสัญญาจะขายที่พิพาทให้นายสงุ่น โดยกำหนดจะโอนที่พิพาทให้ในวันเดียวกันกับที่จำเลยสัญญาว่าจะโอนที่พิพาทให้โจทก์ และโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยทราบก่อนกำหนดวันโอนที่พิพาทถึงเรื่องนี้และจำนวนเบี้ยปรับ 40,000 บาทที่โจทก์จะต้องให้แก่นายสงุ่นในกรณีที่โจทก์ผิดสัญญา จำเลยไม่เคยบอกเลิกสัญญากับโจทก์ ครั้นถึงกำหนดวันโอน จำเลยผิดสัญญาไม่ยอมโอนที่พิพาทให้โจทก์ โจทก์ต้องเสียเบี้ยปรับ 40,000 บาทให้แก่นายสงุ่น แล้วศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ค่าเสียหาย 40,000 บาทนี้เป็นค่าเสียหายจากพฤติการณ์พิเศษ การที่โจทก์ได้แจ้งให้จำเลยทราบถึงเรื่องนี้ก่อนวันที่จำเลยสัญญาจะไปโอนที่พิพาทให้โจทก์ตามสัญญา เป็นการให้จำเลยคาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้าตามมาตรา 222 วรรค 2 แล้ว จำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินจำนวนนี้แก่โจทก์ จำเลยหาต้องทราบหรือคาดเห็นถึงพฤติการณ์นี้ก่อนทำสัญญาไม่

พิพากษาแก้

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2299/2523

ทำสัญญาตกลงกันว่าผู้ขายตกลงจะทำถนนผ่านที่ดินในส่วนของผู้ขายหลังจากแบ่งแยกโฉนดขายให้แก่ผู้ซื้อแล้ว หากผิดสัญญายอมให้ผู้ซื้อปรับผู้ขายเป็นเงินห้าหมื่นบาทข้อตกลงดังกล่าวนี้เป็นเรื่องสัญญาว่าจะให้เบี้ยปรับเมื่อไม่ชำระหนี้ เมื่อผู้ซื้อตกลงเรียกเอาเบี้ยปรับแล้ว จึงไม่มีสิทธิเรียกให้ทำถนนอีก

โจทก์ฟ้องว่าจำเลยแบ่งขายที่ดินให้โจทก์โดยจำเลยสัญญาว่าหลังจากแบ่งแยกโฉนดให้โจทก์แล้ว จำเลยจะทำถนนในที่ดินของจำเลยผ่านที่ดินที่ขายให้โจทก์ไปบรรจบกับทางเข้าเดิมซึ่งอยู่ในที่ดินของจำเลยเพื่อให้โจทก์มีถนนออกไปสู่ทางสาธารณะ หากจำเลยผิดสัญญาไม่ทำถนนภายในเวลาที่กำหนดจำเลยยอมใช้เบี้ยปรับให้โจทก์เป็นเงิน 50,000 บาท ต่อมาจำเลยโอนขายที่ดินให้โจทก์ตามสัญญาแล้วแต่ไม่ยอมทำถนนถือว่าจำเลยผิดสัญญา โจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยนำเบี้ยปรับ 50,000 บาทมาชำระหนี้ให้โจทก์ จำเลยรับหนังสือแล้วไม่นำเบี้ยปรับมาชำระ ขอให้บังคับจำเลยทำถนนตามสัญญาหากจำเลยไม่ทำให้โจทก์ทำโดยให้จำเลยออกค่าจ้างในการทำจนครบ และให้จำเลยชำระเบี้ยปรับ50,000 บาทพร้อมทั้งดอกเบี้ยให้โจทก์

จำเลยให้การว่า จำเลยไม่ได้ผิดสัญญา เบี้ยปรับสูงเกินไป เมื่อโจทก์บังคับเอาเบี้ยปรับแล้วโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะบังคับจำเลยให้ชำระหนี้หรือกระทำการอย่างอื่นอีก ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยผิดสัญญา โจทก์ประสงค์เรียกเบี้ยปรับอย่างเดียว จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทำถนนต่อไป พิพากษาให้จำเลยชำระเบี้ยปรับให้โจทก์เป็นเงิน 30,000 บาท พร้อมทั้งดอกเบี้ย

โจทก์อุทธรณ์ขอให้บังคับจำเลยทำถนนและใช้เบี้ยปรับเพิ่มอีก 20,000 บาท

ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์แสดงเจตนาเลิกสัญญากับจำเลย เมื่อโจทก์ใช้สิทธิทางบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญาอีก พิพากษายืน

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาเห็นว่า สำหรับปัญหาเรื่องโจทก์มีสิทธิขอให้บังคับจำเลยทำถนนและเรียกเบี้ยปรับตามสัญญาทั้งสองกรณีหรือไม่ เห็นว่าโจทก์จำเลยตกลงกันไว้ว่า"ผู้จะขายตกลงจะทำถนนผ่านที่ดินในส่วนของผู้จะขายภายหลังจากที่ได้แบ่งแยกโฉนดที่ดินให้แก่ผู้จะซื้อ เมื่อผลแห่งการซื้อขายที่ดินตามสัญญานี้ได้สำเร็จบริบูรณ์แล้ว เพื่อให้เป็นทางเข้าออกของรถยนต์ได้ โดยผู้ขายยินดียกที่ดินส่วนที่เป็นถนนดังกล่าวให้เป็นทางสาธารณะ" และในสัญญาดังกล่าวด้านหลังมีข้อความเพิ่มเติมสัญญาว่า "ผู้จะขายขอรับรองจะปฏิบัติตามสัญญาเดิมกับผู้จะซื้อ ฯลฯ ถ้าหากผู้ขายผิดสัญญาในข้อตกลงอย่างหนึ่งอย่างใดที่ได้ให้กับผู้ซื้อในวันนี้ ผู้ขายยินดียอมให้สัญญากับผู้ซื้อใช้เบี้ยปรับเป็นค่าเสียหายห้าหมื่นบาท" ข้อตกลงดังกล่าวมีความหมายว่า หากจำเลยไม่ทำถนน จำเลยยอมให้โจทก์ปรับจำเลยเป็นเงินห้าหมื่นบาท เป็นเรื่องที่จำเลยสัญญาว่าจะให้เบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้และเมื่อพิเคราะห์ตามฟ้องแล้ว โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อจำเลยไม่ทำถนน จึงให้ทนายความมีหนังสือถึงจำเลยให้นำเบี้ยปรับ 50,000 บาทมาชำระแก่โจทก์เห็นได้ว่าโจทก์เจตนาเรียกเบี้ยปรับ เมื่อโจทก์เรียกเบี้ยปรับแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยทำถนนอีก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380ส่วนข้อที่โจทก์ฎีกาขอให้จำเลยชำระเบี้ยปรับให้เต็มตามสัญญานั้น ศาลฎีกาพิเคราะห์แล้วเห็นว่าจำเลยไม่ทำถนนให้เสร็จตามสัญญา จึงเห็นสมควรให้จำเลยชำระเบี้ยปรับเต็มจำนวน ฎีกาโจทก์ฟังขึ้นบางส่วน

พิพากษาแก้ให้จำเลยชำระเบี้ยปรับให้โจทก์เป็นเงิน 50,000 บาทนอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์




การสอบเนติบัณฑิต ภาคหนึ่ง สมัยที่ 60(วิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์)

ผู้รับดูแลผู้เยาว์ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิด
คำมั่นจะให้เช่า
ผู้ค้ำประกันไม่หลุดพ้นจากความรับผิด ผู้รับจำนองต้องเป็นเจ้าหนี้ในมูลหนี้
ข้อกำหนดลบล้าง หรือจำกัดความรับผิดต่อผู้ทรง
ยินยอมให้เขาใช้ชื่อตนเป็นชื่อห้างหุ้นส่วน
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร
ความรับผิดของผู้ขนส่ง
หากผู้ทรงสิทธิบัตรได้อนุญาต-ยินยอมให้ผลิต ขายผลิตภัณฑ์แล้วย่อมหมดสิทธิ
เพิกถอนโฉนดที่ออกทับที่ดินครอบครองปรปักษ์