ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก

สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก

ข้อ 2. นายชมซื้อกระจกจากนายชิด โดยให้นายชิด ไปติดตั้งที่อาคารของนายชม คิดราคารวมค่าติดตั้งเป็นเงิน 1,000,000 บาท กำหนดชำระราคาเมื่อติดตั้งเสร็จ ก่อนมีการติดตั้ง นายชม โอนขายอาคารให้นายชอบ ในราคา 10,000,000 บาท นายชอบ ชำระราคาแล้ว 9,000,000 บาท ส่วนที่เหลือตกลงกันให้นายชอบ ชำระแก่นายชิด เมื่อนายชิด ติดตั้งกระจกเสร็จ นายชม มีหนังสือแจ้งข้อตกลงนี้ให้นายชิด ทราบแล้ว ต่อมานายชิด ไปติดตั้งกระจกและส่งมอบงานให้แก่นายชอบ เรียบร้อย แต่นายชอบ ไม่ชำระราคาค่ากระจกแก่นายชิด นายชิด ฟ้องนายชอบ ขอให้ชำระค่ากระจก 1,000,000 บาท นายชอบ ให้การว่านายชอบ ไม่ต้องรับผิดเพราะ ไม่มีนิติสัมพันธ์กับนายชิด ข้อตกลงระหว่างนายชม และนายชอบ ที่ให้นายชอบ ชำระค่ากระจกแก่นายชิด ไม่สมบูรณ์ เพราะไม่ได้ทำเป็นหนังสือ นายชิด จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ขอให้ยกฟ้อง

ให้วินิจฉัยว่า นายชิด จะฟ้องขอให้ นายชอบ ชำระค่ากระจกได้หรือไม่ และข้อต่อสู้ของนายชอบ ฟ้งขึ้นหรือไม่

ธงคำตอบ

ข้อตกลงระหว่างนายชม และนายชอบที่ให้นายชอบ ชำระเงินค่าอาคารที่เหลือ 1,000,000 บาท ซึ่งเท่ากับ ค่ากระจกแก่นายชิด เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกโดยเป็นการทำสัญญตกลงว่าจะชำระหนี้แก่นายชิด ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 นายชิด มีสิทธิเรียกให้นายชอบ ชำระหนี้แก่นายชิด ได้โดยตรง สิทธิของนายชิด ย่อมเกิดขึ้นตั้งแต่เวลาที่นายชิด ไปทำการติดตั้งกระจกและส่งมอบงานแก่นายชอบ อันเป็นการแสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากข้อสัญญานั้น ตามมาตารา 374 วรรคสอง นายชิด จึงมีอำนาจฟ้องให้นายชอบ ชำระค่ากระจกได้

สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกไม่มีบทกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ (เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 3702/2545) แม้ไม่ได้ทำเป็นหนังสือก็สมบูรณ์ ข้อต่อสู้ของนายชอบ ฟังไม่ขึ้น

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 374 ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งทำสัญญาตกลงว่าจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอกไซร้ ท่านว่าบุคคลภายนอกมีสิทธิจะเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้โดยตรงได้

ในกรณีดั่งกล่าวมาในวรรคต้นนั้นสิทธิของบุคคลภายนอกย่อมเกิดมีขึ้นตั้งแต่เวลาที่แสดงเจตนาแก่ลูกหนี้ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3702/2545

ว. มีหนังสือถึงจำเลยมีข้อความแสดงเจตนาแก่จำเลยว่าต้องการให้จำเลยจ่ายเงิน 2,112,450 บาท ให้โจทก์ โดยมีเงื่อนไขว่าจำเลยจะต้องตรวจรับงานติดตั้งกระจกและอะลูมิเนียมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังจากนั้นตัวแทนของจำเลยได้ตรวจรับงานจากโจทก์และจ่ายเงินให้โจทก์ไป 360,000 บาท กับทำบันทึกภายในบริษัทจำเลยยอมรับว่ายังค้างชำระหนี้แก่โจทก์เป็นเงิน 1,752,450 บาท หนังสือของ ว. ย่อมมีลักษณะเป็นคำเสนอ ส่วนการที่จำเลยตรวจรับมอบงานจากโจทก์ จ่ายเงินให้โจทก์ไปบางส่วน และทำบันทึกภายในยอมรับว่าค้างชำระหนี้แก่โจทก์ มีลักษณะเป็นคำสนองด้วยการแสดงเจตนาโดยปริยาย เกิดเป็นสัญญาระหว่าง ว. กับพวกและจำเลย สัญญาเช่นนี้มีลักษณะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกคือโจทก์ โดยจำเลยทำสัญญาตกลงว่าจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์โดยตรงได้ และสัญญาดังกล่าวไม่มีกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ

แม้โจทก์จะตั้งประเด็นมาในคำฟ้องเป็นเรื่องโอนสิทธิเรียกร้องแต่โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องมาเป็นที่เข้าใจได้ว่า ช. ว. และห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. ตกลงให้จำเลยชำระหนี้ค่ากระจกและอะลูมิเนียมแก่โจทก์แล้วหักหนี้ค่าที่ดินและอาคารที่จำเลยซื้อไปเมื่อจำเลยได้รับหนังสือจาก ว. แล้วชำระหนี้ให้โจทก์บางส่วน แสดงว่ามีการตกลงกันระหว่าง ว. กับพวกและจำเลยแล้ว ถือได้ว่าคำฟ้องมีประเด็นในเรื่องสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกด้วย

จำเลยไม่ใช่คู่สัญญากับโจทก์ในการว่าจ้างให้โจทก์ติดตั้งกระจกและอะลูมิเนียมแต่จำเลยเป็นลูกหนี้ของ ช. ว. และห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. โดยยังค้างชำระราคาที่ดินและอาคารที่ซื้อไป มูลหนี้ตามสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ย่อมมีอายุความ 10 ปี อันเป็นข้อที่จำเลยอาจยกขึ้นต่อสู้ผู้ขายได้ เมื่อกรณีเป็นเรื่องสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก จำเลยมีข้อต่อสู้คู่สัญญาเดิมคือผู้ขายที่ดินและอาคารให้แก่จำเลยอยู่อย่างไรจำเลยอาจยกขึ้นต่อสู้โจทก์ได้เพราะเป็นข้อต่อสู้อันเกิดแต่มูลสัญญาที่ทำให้จำเลยตกลงจะชำระหนี้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 376 แต่ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้จำเลยยกเอาข้อต่อสู้อันเกิดแต่มูลสัญญาซื้อขายและติดตั้งสินค้าดังกล่าวของ ช. กับพวกซึ่งเป็นคู่สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ของจำเลยขึ้นต่อสู้กับโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกสัญญาซื้อขายของจำเลยได้ คดีนี้จึงมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 

โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องว่า เมื่อประมาณปี 2535 นายชูศักดิ์ สุบินเกษม นางวิไล สุบินเกษม และห้างหุ้นส่วนจำกัดรังสิตก่อสร้างและขนส่งได้ซื้อวัสดุอุปกรณ์ประเภทกระจกและอะลูมิเนียมจากโจทก์ กับว่าจ้างให้โจทก์ไปทำการติดตั้งที่อาคารฉัตรต่อมานายชูศักดิ์กับพวกได้โอนขายอาคารฉัตรพร้อมที่ดินให้จำเลยและตกลงโอนหนี้ค่าติดตั้งสินค้าข้างต้นซึ่งนายชูศักดิ์กับพวกค้างชำระแก่โจทก์เป็นเงิน 2,112,450 บาทให้จำเลยเป็นผู้ชำระแทนเป็นการหักหนี้ค่าที่ดินและอาคารที่จำเลยซื้อไปดังกล่าว โจทก์ทวงถามแล้วจำเลยชำระให้โจทก์เพียง 360,000 บาท ส่วนที่เหลืออีก 1,752,450 บาทจำเลยไม่ชำระ ขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 2,278,185 บาท แก่โจทก์ พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 1,752,450 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ

จำเลยให้การและแก้ไขคำให้การว่า โจทก์กับนายชูศักดิ์ นางวิไลและห้างหุ้นส่วนจำกัดรังสิตก่อสร้างและขนส่งไม่เคยทำสัญญาซื้อขายวัสดุอุปกรณ์ประเภทกระจกและอะลูมิเนียมมาติดตั้งที่อาคารฉัตรของจำเลย จึงไม่มีความผูกพันตามกฎหมายที่จะต้องชำระหนี้ซึ่งกันและกัน การที่โจทก์รับโอนหนี้จากนายชูศักดิ์กับพวกเป็นการฉ้อฉลจำเลยจึงเป็นโมฆะ แม้จำเลยรับโอนหนี้ค่าสินค้าจากนายชูศักดิ์ก็ไม่มีความผูกพันต้องชำระหนี้ให้โจทก์ คดีโจทก์ขาดอายุความ การโอนสิทธิเรียกร้องไม่สมบูรณ์เพราะไม่ได้ทำเป็นหนังสือระหว่างโจทก์กับนายชูศักดิ์และพวก ทั้งจำเลยไม่ได้ยินยอมในการโอนหนี้ ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้จำเลยชำระเงิน 1,752,450 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2541 จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติได้ว่า โจทก์เป็นผู้ขายและติดตั้งกระจกและอะลูมิเนียมที่อาคารฉัตร ตามคำสั่งซื้อและการว่าจ้างของนายชูศักดิ์ นางวิไล และห้างหุ้นส่วนจำกัดรังสิตก่อสร้างและขนส่งตั้งแต่ปี 2535 ต่อมาในปี 2536 นายชูศักดิ์กับพวกได้โอนขายอาคารฉัตรพร้อมที่ดินให้จำเลย โดยในวันที่ 29 เมษายน 2537 นางวิไลมีหนังสือแจ้งให้จำเลยชำระหนี้ค่าติดตั้งกระจกและอะลูมิเนียมที่ยังค้างชำระอยู่แก่โจทก์ วันที่ 3 มิถุนายน 2537 นางวิไลมีหนังสือถึงจำเลยแจ้งว่า นางวิไลกับพวกขอโอนสิทธิการรับชำระราคาซื้อขายอาคารสำนักงาน 11 ชั้น ตึกฉัตรจากจำเลยบางส่วนเป็นเงิน 2,112,450 บาท ให้แก่โจทก์ โดยมีเงื่อนไขว่าให้โจทก์ติดตั้งกระจกและอะลูมิเนียมรวมทั้งแก้ไขงานที่ชำรุดบกพร่องที่อาคารฉัตรให้เสร็จเรียบร้อย เมื่อจำเลยตรวจสอบจนเป็นที่พอใจและตรวจรับมอบงานแล้วจึงให้จ่ายเงินดังกล่าวได้ ต่อมาโจทก์ทำงานแล้วเสร็จและส่งมอบงานแก่ตัวแทนของจำเลยเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2538 จำเลยชำระเงินให้โจทก์ไปแล้ว 2 ครั้ง เป็นเงิน 360,000 บาท หลังจากนั้นในวันที่ 20 เมษายน 2538 นางสาวศรีวิรัตน์ ฉัตรจุฑามาศ กรรมการบริหารของจำเลยทำบันทึกถึงกรรมการผู้อำนวยการของจำเลยว่ามีหนังสือสัญญาโอนสิทธิการรับชำระหนี้ของโจทก์เป็นเงิน 1,752,450 บาท และในวันที่ 24 เมษายน 2538 นางสาวศรีวิรัตน์ทำหนังสือถึงกรรมการผู้อำนวยการและผู้อำนวยการฝ่ายการเงินของจำเลยอีกฉบับหนึ่งมีข้อความว่าจำเลยจะต้องทำเช็คสั่งจ่ายให้โจทก์เป็นเงิน 1,752,450 บาท

พิเคราะห์แล้ว ที่จำเลยฎีกาข้อแรกว่า การโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างนางวิไลกับพวกให้โจทก์มิได้ทำเป็นหนังสือตามกฎหมาย หนังสือของนางวิไลถึงจำเลยเป็นเพียงหนังสือบอกกล่าวนั้น เห็นว่า นางวิไลมีหนังสือถึงจำเลยมีข้อความแสดงเจตนาแก่จำเลยว่า นางวิไลกับพวกต้องการให้จำเลยจ่ายเงิน 2,112,450 บาท ให้โจทก์โดยมีเงื่อนไขว่าจำเลยจะต้องตรวจรับงานติดตั้งกระจกและอะลูมิเนียมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังจากนั้นตัวแทนของจำเลยได้ตรวจรับงานดังกล่าวจากโจทก์ และจำเลยจ่ายเงินให้โจทก์ไป 360,000 บาท กับทำบันทึกภายในบริษัทจำเลยยอมรับว่ายังค้างชำระหนี้แก่โจทก์เป็นเงิน1,752,450 บาท ดังนี้ หนังสือของนางวิไลย่อมมีลักษณะเป็นคำเสนอ ส่วนการที่จำเลยตรวจรับมอบงานจากโจทก์ จ่ายเงินให้โจทก์ไปบางส่วนและทำบันทึกภายในยอมรับว่าค้างชำระหนี้แก่โจทก์ ย่อมมีลักษณะเป็นคำสนองด้วยการแสดงเจตนาโดยปริยาย เกิดเป็นสัญญาระหว่างนางวิไลกับพวกและจำเลย โดยให้จำเลยรับมอบงานติดตั้งกระจกและอะลูมิเนียมจากโจทก์และจ่ายเงินให้โจทก์แทน เนื่องจากจำเลยยังค้างชำระหนี้ค่าที่ดินและอาคารที่ซื้อจากนางวิไลกับพวกอยู่ สัญญาเช่นนี้มีลักษณะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกคือโจทก์ โดยจำเลยทำสัญญาตกลงว่าจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์โดยตรงได้และสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกเช่นนี้ ไม่มีบทกฎหมายใดบังคับให้ทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่ามีหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างนางวิไลกับพวกในฐานะผู้โอนและโจทก์ในฐานะผู้รับโอนหรือไม่ แม้โจทก์จะตั้งประเด็นมาในคำฟ้องทำนองเป็นเรื่องโอนสิทธิเรียกร้องก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องมาเป็นที่เข้าใจได้ว่านายชูศักดิ์ นางวิไลและห้างหุ้นส่วนจำกัดรังสิตก่อสร้างและขนส่งตกลงให้จำเลยชำระหนี้ค่ากระจกและอะลูมิเนียมแก่โจทก์แล้วหักหนี้ค่าที่ดินและอาคารที่จำเลยซื้อไป เมื่อจำเลยได้รับหนังสือจากนางวิไลแล้วชำระหนี้ให้โจทก์เพียง 360,000 บาท ซึ่งแสดงว่ามีการตกลงกันระหว่างนางวิไลกับพวกและจำเลยแล้ว ข้อเท็จจริงตามคำบรรยายฟ้องจะต้องด้วยบทกฎหมายเรื่องใดเป็นเรื่องที่ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัย ถือได้ว่าคำฟ้องมีประเด็นในเรื่องสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกด้วย ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า นางวิไลทำหนังสือขึ้นตามลำพังไม่ปรากฏว่าทำแทนผู้ใดและไม่มีหนังสือมอบอำนาจ และที่ฎีกาว่ายังมีข้อโต้แย้งในเรื่องจำนวนเงินกันอยู่ ทั้งโจทก์และบุคคลอื่นต้องจัดทำหนังสือค้ำประกันจำนวนเงิน 6,102,352 บาท ก่อนจึงจะรับเงินได้นั้น ฎีกาทั้งสองประเด็นนี้จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ฎีกาข้อนี้ของจำเลยฟังไม่ขึ้น

ที่จำเลยฎีกาข้อสุดท้ายว่า คดีโจทก์ขาดอายุความเพราะมิได้ฟ้องภายใน 2 ปีนับแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2538 อันเป็นวันรับมอบงานนั้น เห็นว่า จำเลยมิใช่คู่สัญญากับโจทก์ในการว่าจ้างให้โจทก์ติดตั้งกระจกและอะลูมิเนียม แต่จำเลยเป็นลูกหนี้ของนายชูศักดิ์ นางวิไลและห้างหุ้นส่วนจำกัดรังสิตก่อสร้างและขนส่ง โดยยังค้างชำระราคาที่ดินและอาคารที่ซื้อไป มูลหนี้ตามสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ย่อมมีอายุความ 10 ปีอันเป็นข้อที่จำเลยอาจยกขึ้นต่อสู้ผู้ขายได้ เมื่อกรณีเป็นเรื่องสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกดังวินิจฉัยไว้ข้างต้นแล้ว จำเลยมีข้อต่อสู้คู่สัญญาเดิมคือผู้ขายที่ดินและอาคารให้แก่จำเลยอยู่อย่างไร จำเลยอาจยกขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ เพราะเป็นข้อต่อสู้อันเกิดแต่มูลสัญญาที่ทำให้จำเลยตกลงว่าจะชำระหนี้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 376 แต่ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้จำเลยยกเอาข้อต่อสู้อันเกิดแต่มูลสัญญาซื้อขายและติดตั้งสินค้าดังกล่าวของนายชูศักดิ์กับพวก ซึ่งเป็นคู่สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ของจำเลยขึ้นต่อสู้กับโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกสัญญาซื้อขายของจำเลยดังกล่าวได้ คดีนี้จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า กรณีเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องกันโดยชอบ คดีมีอายุความ 2 ปี แต่ยังไม่มีการรับมอบงานจึงไม่ขาดอายุความ และพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ให้โจทก์นั้น ศาลฎีกาคงเห็นพ้องด้วยในผล ฎีกาข้อนี้ของจำเลยฟังไม่ขึ้นเช่นกัน"

พิพากษายืน 




การสอบเนติบัณฑิต ภาคหนึ่ง สมัยที่ 61(วิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์)

ผู้เสียหายมีส่วนผิดในการก่อให้เกิดความเสียหาย
การรอนสิทธิ -ทรัพย์สินซึ่งขายชำรุดบกพร่อง
อายุความสะดุดหยุดลงเป็นโทษแก่ผู้ค้ำประกัน
เช็คขีดคร่อมทั่วไปโอนกันได้
ผู้ถือหุ้นฟ้องกรรมการให้รับผิด
เจ้ามรดกไม่มีทายาทโดยธรรมมรดกย่อมตกทอดแก่แผ่นดิน
การซื้อขายตาม INCOTERMS แบบ DDP
ที่งอกริมตลิ่ง- สาธารณสมบัติของแผ่นดิน
เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ