ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




คดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลปกครอง

   -ปรึกษากฎหมาย นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

     โทร.085-9604258

   -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์   

   (1) @leenont 

   (2) @peesirilaw  

   (3) 0859604258 เพิ่มด้วยหมายเลขโทรศัพท์

  -Line Official Account : เพิ่มเพื่อน QR CODE

QR CODE 

คดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลปกครอง เพิกถอนการขายทอดตลาด เพิกถอนคำสั่งประเมินภาษีของเจ้าหน้าที่กรมศุลกากร

ข้อ 10. นายแดงประกอบกิจการโรงงานเครื่องไฟฟ้าแต่ประสบภาวะขาดทุน ถูกเจ้าหนี้ฟ้องคดีต่อศาลจังหวัดนนทบุรีให้ชำระหนี้จำนวน 2 ล้านบาท ศาลจังหวัดนนทบุรีพิพากษาให้นายแดง ชำระหนี้จำนวนดังกล่าวแต่นายแดง ไม่มีเงินชำระ เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงได้ยึดที่ดินของนายแดง และขายทอดตลาดทึ่ดินดังกล่าว นายแดง เห็นว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดไม่ถูกต้องตามกฎหมาย นอกจากนี้นายแดง ยังถูกเจ้าหน้าที่กรมศุลกากรประเมินให้ชำระภาษีและเงินเพิ่มย้อนหลังจากการนำวัตถุดิบเข้ามาจากต่างประเทศจำนวน 1 แสนบาท ซึ่งนายแดง ได้ชำระภาษีและเงินเพิ่มแล้ว แต่นายแดง เห็นว่าเจ้าหน้าที่กรมศุลกากรประเมินภาษีไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และได้อุทธรณ์คำสั่งเพื่อขอคืนเงินภาษีและเงินเพิ่มนั้นแล้ว แต่ไม่ได้ผล นายแดง จึงฟ้องคดีต่อศาลปกครองให้เพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีและคำสั่งประเมินภาษีของเจ้าหน้าที่กรมศุลกากร

ให้วินิจฉัยว่า ศาลปกครองมีอำนาจรับคดีนี้ไว้พิจารณาพิพากษาได้หรือไม่

ธงคำตอบ

เจ้าพนักงานบังคับคดีและเจ้าหน้าที่กรมศุลกากรเป็นข้าราชการสังกัดกรมบังคับคดีและกรมศุลกากรซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง จึงเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 อย่างไรก็ตาม การขายทอดตลาดที่ดินตามคำพิพากษาของศาลจังหวัดนนทบุรีนั้นเป็นกระบวนการบังคับคดีซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งได้บัญญัติหลักเกณฑ์ไว้โดยเฉพาะแล้ว

หากนายแดง เห็นว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย นายแดงย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลจังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นศาลที่ออกหมายบังคับคดีให้มีคำสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขกระบวนวิธีการบังคับคดี คำฟ้องจึงไม่เข้าลักษณะเป็นคดีปกครองที่ศาลปกครองจะรับไว้พิจารณาพิพากษาได้ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 (เทียบคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 127/2545)

ในส่วนของการประเมินภาษีอากรนั้น แม้เจ้าหน้าที่กรมศุลกากรจะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐและคำสั่งประเมินภาษีอากรเป็นคำสั่งทางปกครองเนื่องจากเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายที่มีผลกระทบสิทธิหน้าที่ของนายแดง ก็ตาม แต่การฟ้องเพิกถอนคำสั่งประเมินภาษีอากรนั้น เป็นคดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรที่อยู่ในอำนาจของศาลภาษีอากรตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 คดีจึงไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองที่จะรับไว้พิจารณาพิพากษาได้ตามมาตรา 9 วรรคสอง (3) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 (เทียบคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ 48/2548)

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542

มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้

“หน่วยงานทางปกครอง” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ และให้หมายความรวมถึงหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือให้ดำเนินกิจการทางปกครอง

“เจ้าหน้าที่ของรัฐ” หมายความว่า

(1) ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง คณะบุคคล หรือผู้ที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานทางปกครอง

(2) คณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท คณะกรรมการหรือบุคคลซึ่งมีกฎหมายให้อำนาจในการออกกฎ คำสั่ง หรือมติใด ๆ ที่มีผลกระทบต่อบุคคล และ

(3) บุคคลที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐตาม (1) หรือ (2)

“คณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท” หมายความว่า คณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายที่มีการจัดองค์กรและวิธีพิจารณาสำหรับการวินิจฉัยชี้ขาดสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย

“ตุลาการศาลปกครอง” หมายความว่า ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด และตุลาการในศาลปกครองชั้นต้น

“ก.ศป.” หมายความว่า คณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง

“คู่กรณี” หมายความว่า ผู้ฟ้องคดี ผู้ถูกฟ้องคดี และให้หมายความรวมถึงบุคคล หน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งเข้ามาเป็นคู่กรณีด้วยการร้องสอด ไม่ว่าจะโดยความสมัครใจเอง หรือโดยถูกคำสั่งศาลปกครองเรียกเข้ามาในคดี ทั้งนี้ เนื่องจากเป็นผู้มีส่วนได้เสีย หรืออาจถูกกระทบจากผลแห่งคดีนั้นและเพื่อประโยชน์แห่งการดำเนินกระบวนพิจารณา ให้รวมถึงผู้มีสิทธิกระทำการแทนด้วย

“คำฟ้อง” หมายความว่า การเสนอข้อหาต่อศาลไม่ว่าจะได้เสนอต่อศาลปกครองชั้นต้นหรือศาลปกครองสูงสุด ไม่ว่าจะได้เสนอในขณะที่เริ่มคดีโดยคำฟ้องหรือคำร้องขอ หรือเสนอในภายหลังโดยคำฟ้องเพิ่มเติมหรือแก้ไข หรือฟ้องแย้ง หรือโดยสอดเข้ามาในคดีไม่ว่าด้วยความสมัครใจ หรือถูกบังคับ หรือโดยมีคำขอให้พิจารณาใหม่

“กฎ” หมายความว่า พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวงข้อบัญญัติท้องถิ่น ระเบียบ ข้อบังคับ หรือบทบัญญัติอื่นที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไป โดยไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดหรือบุคคลใดเป็นการเฉพาะ

“สัญญาทางปกครอง” หมายความรวมถึง สัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเป็นบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐ และมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ

“ประโยชน์แก่ส่วนรวม” หมายความว่า ประโยชน์ต่อสาธารณะหรือประโยชน์อันเกิดแก่การจัดทำบริการสาธารณะหรือการจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค หรือประโยชน์อื่นใดที่เกิดจากการดำเนินการหรือการกระทำที่มีลักษณะเป็นการส่งเสริม หรือสนับสนุนแก่ประชาชนเป็นส่วนรวมหรือประชาชนส่วนรวมจะได้รับประโยชน์จากการดำเนินการหรือการกระทำนั้น

มาตรา 9 ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในเรื่องดังต่อไปนี้

(1) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คำสั่งหรือการกระทำอื่นใดเนื่องจากกระทำโดยไม่มีอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น หรือโดยไม่สุจริต หรือมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม หรือมีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็นหรือสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร หรือเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ

(2) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร

(3) คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร

(4) คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง

(5) คดีที่มีกฎหมายกำหนดให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฟ้องคดีต่อศาลเพื่อบังคับให้บุคคลต้องกระทำหรือละเว้นกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด

(6) คดีพิพาทเกี่ยวกับเรื่องที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง

เรื่องดังต่อไปนี้ไม่อยู่ในอำนาจศาลปกครอง

(1) การดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหาร

(2) การดำเนินการของคณะกรรมการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ

(3) คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ศาลล้มละลาย หรือศาลชำนัญพิเศษอื่น

คำสั่งศาลปกครองสูงสุด ที่ 127/2545

ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า ผู้ฟ้องคดีได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีในการขายทอดตลาดที่ดินโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย กล่าวคือ ผู้ฟ้องคดีและนางจำเนียร วงศ์ชินวิทย์ เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดที่เลขที่ 1035 ตำบลวัดเพลง (คลองขนอน) อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี ต่อมา นางจำเนียรตกเป็นจำเลยในคดีแพ่งศาลพิพากษาให้ชำระหนี้เป็นเงิน 240,000 บาท และผู้ถูกฟ้องคดีได้ยึดที่ดินแปลงโฉนดเลขที่ดังกล่าวเพื่อดำเนินการขายทอดตลาดชำระหนี้ตามคำพิพากษาในการดำเนินการขายทอดตลาดรวม 4 ครั้ง เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศราคาประเมินขณะยึด 2,448,000 บาท โดยไม่ประกาศราคาเริ่มต้นในการขาย โจทก์ในคดีแพ่งได้เสนอเข้าสู้ราคาเพียง 400,000 บาท ซึ่งนางจำเนียร จำเลยได้คัดค้านตลอดมา ต่อมา ผู้ถูกฟ้องคดีโดยคณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดราคาทรัพย์มีมติกำหนดราคาให้ขาย ไม่ต่ำกว่า 400,000 บาท โดยที่ผู้ฟ้องคดีและนางจำเนียรไม่ทราบมติดังกล่าวและในวันที่ 23 พฤษภาคม 2544 ได้มีการขายทอดตลาดอีกครั้งหนึ่งโดยโจทก์ในคดีแพ่งซื้อได้ในราคา 400,000 บาท ผู้ฟ้องคดีจึงมีหนังสือถึงผู้ถูกฟ้องคดีให้เยียวยาแก้ไขแต่ไดรับการยืนยันว่าปฏิบัติถูกต้องแล้ว ผู้ฟ้องคดีจึงนำคีดมาฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2544

ศาลปกครองชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่า เหตุแห่งการฟ้องคดีนี้เนื่องจากผู้ถูกฟ้องคดีซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐได้ใช้อำนาจในการขายทอดตลาดที่ดินเพื่อดำเนินการบังคับคดีแพ่งให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลยุติธรรม มิใช่เป็นการใช้อำนาจทางปกครองหรือดำเนินกิจการทางปกครอง คดีจึงไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองที่จะพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่ง ผู้ฟ้องคดีชอบที่จะใช้สิทธิทางศาลต่อศาลยุติธรรม ตามเงื่อนไขและวิธีการที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเท่านั้น

ผู้ฟ้องคดียื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง

ศาลปกครองสูงสุดพิเคราะห์แล้วเห็นว่า กระบวนการดำเนินการบังคับคดีแพ่งเพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลนั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะอยู่แล้ว หากผู้ฟ้องคดีเห็นว่ามีการกระทำใดที่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับหรือคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการขายทอดตลาด ผู้ฟ้องคดีย่อมที่จะร้องคัดค้านต่อศาลจังหวัดราชบุรีซึ่งเป็นศาลที่ออกหมายบังคับคดี คำฟ้องนี้จึงไม่เข้าลักษณะเป็นคดีปกครอง พ.ศ. 2542

จึงมีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นที่ไม่รับคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีไว้พิจารณา

คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ 48/2548

การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ

ศาลแพ่งกรุงเทพใต้โดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 มาตรา 12 วรรคสอง ซึ่งเป็นกรณีที่ศาลหนึ่งไม่รับฟ้อง เพราะเห็นว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจของอีกศาลหนึ่ง เมื่อมีการฟ้องคดีต่ออีกศาลหนึ่งแล้ว ศาลดังกล่าวเห็นว่าคดีนั้นไม่อยู่ในเขตอำนาจเช่นกัน

ข้อเท็จจริงในคดีเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2548 บริษัทไทยเซ่กาอีเล็คตริค จำกัด โจทก์ ยื่นฟ้องกรมศุลกากร เป็นจำเลย ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ เป็นคดีหมายเลขดำที่ 165/2548 ความว่า โจทก์ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานจากกระทรวงอุตสาหกรรมให้ประกอบกิจการผลิตอุปกรณ์สะสมประจุไฟฟ้า ซึ่งเรียกว่า คาปาซิเตอร์ (CAPACITOR) หรือคอนเด็นเซอร์ (CONDENSER) โดยนำเข้าวัตถุดิบและหรือส่วนประกอบคือ พี พี ซิงค์ เมอร์ไทลไลซ์ โพลีโพรพิลีน ฟิล์ม (P.P.ZINC METALLIZED POLYPROPYLENE FILM) ชนิดเคลือบโลหะ และ พี พี โพลีโพรพิลีน ฟิล์ม (P.P. POLYPROPYLENE FILM) ชนิดไม่เคลือบโลหะ มาจากต่างประเทศเพื่อใช้ผลิต โจทก์จึงมีหนังสือสอบถามพร้อมนำวัตถุดิบตัวอย่างที่จะนำเข้าจากต่างประเทศไปให้กองพิธีการและประเมินอากร สังกัดจำเลยเพื่อขอทราบว่า การนำเข้าวัตถุดิบดังกล่าวจะต้องเสียภาษีอากรในพิกัดใด โจทก์ได้รับแจ้งผล การพิจารณาว่าต้องเสียภาษีอากรในพิกัด 8532.90 อัตราร้อยละ 1 ตามประกาศกระทรวงการคลังที่ 4/2537 โจทก์จึงนำสินค้าดังกล่าวเข้ามาโดยเสียภาษีอากรในพิกัดและอัตราดังกล่าวมาตลอด ทั้งนำไปประกอบการคำนวณต้นทุนการผลิตเพื่อสามารถผลิตได้ในราคาที่สามารถแข่งกับสินค้าสำเร็จรูปที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร จึงได้ขยายการผลิต โดยขยายโรงงานและซื้อเครื่องจักรเพิ่มเติมรวมทั้งสั่งสินค้าซึ่งเป็นวัตถุดิบจากต่างประเทศเข้ามาโดยยื่นสำแดงสินค้า และชำระภาษีอากรในอัตราดังกล่าวตลอดมา ซึ่งจำเลยได้ตรวจสอบสินค้าและปล่อยสินค้ามาโดยตลอด และโจทก์ได้จำหน่ายสินค้าโดยคำนวณต้นทุนภาษีในอัตราร้อยละ 1 เป็นต้นทุนและเป็นฐานในการกำหนดราคาขายตลอดมา ต่อมาวันที่ 1 มิถุนายน 2541 โจทก์สั่งและนำเข้าวัตถุดิบดังกล่าวจากประเทศญี่ปุ่นและสำแดงรายการและชำระภาษีอากรเหมือนที่เคยปฏิบัติมา ปรากฏว่า เจ้าหน้าที่ของจำเลยตรวจสอบและแจ้งให้ทราบว่าพิกัดที่สำแดงไม่ถูกต้อง โจทก์จะต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 35 โจทก์ชี้แจงว่าปฏิบัติตามหนังสือที่จำเลยเคยแจ้งให้โจทก์ทราบ แต่เจ้าหน้าที่ของจำเลยแจ้งว่าหนังสือดังกล่าวไม่ถูกต้องและให้โจทก์วางเงินประกัน ต่อมาวันที่ 9 กรกฎาคม 2544 จำเลยประเมินภาษีอากรที่โจทก์นำเข้าสินค้าเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2541 ว่าอยู่ในพิกัดประเภท 39.20 อัตราร้อยละ 35 และให้โจทก์เสียภาษีอากรและเงินเพิ่มเติมเป็นเงิน 1,581,605.58 บาท โจทก์ชำระเงินดังกล่าวให้จำเลยแล้วอุทธรณ์การประเมินภาษีอากรต่อจำเลยเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2544 ปัจจุบันยังไม่มีคำวินิจฉัยจากจำเลยแต่อย่างใด ต่อมาจำเลยกล่าวหาว่าโจทก์สำแดงเท็จและเข้าตรวจสอบโรงงานของโจทก์และยึดเอกสารไปตรวจสอบเป็นจำนวนมากโดยยืนยันว่าใบขนสินค้า 116 ใบ ที่โจทก์นำวัตถุดิบและหรือส่วนประกอบที่นำเข้ามานับจากวันที่ 24 พฤศจิกายน 2537 ถึงวันที่ 1 มิถุนายน 2541 เป็นสินค้าที่ต้องชำระอากรตามพิกัดประเภท 39.20 อัตราร้อยละ 35 การที่จำเลยกลับความเห็นของตนเองและบังคับโจทก์ให้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรเพิ่ม เงินเพิ่มและค่าปรับทั้งที่มิใช่ความผิดของโจทก์นั้น ถือว่าจำเลยได้พิจารณาพิกัดอัตราศุลกากรย้อนหลังเป็นการขัดต่อพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 มาตรา 15 วรรคสอง และขัดต่อข้อกำหนดพิกัดอัตราศุลกากรและประกาศกระทรวงการคลังแก้ไขถึงวันที่ 31 พฤศจิกายน 2535 หมวด 7 ตอน 39 หมายเหตุ 2 (น) ที่บัญญัติว่า ตอนที่ 39 นี้ไม่คลุมถึงของในหมวด 16 (เครื่องจักรและเครื่องใช้กล หรือเครื่องใช้ไฟฟ้า) ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ประกอบกับการที่จำเลยพิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ล่าช้าเกินสมควรเป็นผลให้โจทก์ไม่อาจขยายการผลิตและจำหน่ายต่อไปได้ เพราะมีความสับสนในส่วนต้นทุน การกระทำของจำเลยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายจากการสั่งซื้อเครื่องจักรและขยายโรงงานเป็นเงิน 12,000,000 บาท สูญเสียโอกาสทางการค้าตั้งแต่ปี 2537 – 2541 เป็นเงิน 14,000,000 บาท ค่าเสียหายที่เกิดจากการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลซึ่งบริษัทมีกำไรทุกปีนับจากปี 2537 – 2541 เพราะคิดต้นทุนในส่วนอัตราภาษีอากรขาเข้าร้อยละ 1 แต่ต่อมาจากการประเมินภาษีใหม่ของจำเลยทำให้โจทก์กลับต้องชำระภาษีอากรขาเข้าถึงร้อยละ 35 ค่าเสียหายในส่วนนี้เป็นเงิน 4,000,000 บาท ค่าเสียหายจากการพิจารณาอุทธรณ์ล่าช้าทำให้โจทก์ไม่

สามารถขยายการผลิตเพราะมีปัญหาการนำเข้าวัสดุและส่วนประกอบทำให้สูญเสียรายได้ไปเป็นจำนวนมาก เป็นเงิน 12,000,000 บาท ค่าเสียหายที่โจทก์ต้องชำระเงินไปก่อนเพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์เป็นเงิน 1,581,605.58 บาท ค่าเสียหายที่เกิดจากภาษีอากรที่เพิ่มขึ้นและค่าปรับตามใบขน 116 ใบ ที่จำเลย
ยึดไปจากโจทก์เป็นจำนวนเงิน 151,951,248 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 197,532,853.58 บาท (ที่ถูกควรเป็น 195,532,853.58 บาท) ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ

จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ

อนึ่ง โจทก์เคยฟ้องคดีเดียวกันนี้ต่อศาลปกครองกลางมาแล้ว แต่ศาลไม่รับฟ้อง

ศาลปกครองกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า ตามคำขอให้เพิกถอนการแจ้งประเมินอากร ขาเข้าภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่มตลอดทั้งคำสั่งที่ให้สินค้าที่ผู้ฟ้องคดี (โจทก์) นำเข้าอยู่ในประเภท 39.20 และ 39.21 เปอร์เซ็นต์ หรือ 8.23 บาท ต่อกิโลกรัมนั้น เป็นคดีซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากร ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 7 (1) ส่วนที่ขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดี (จำเลย) ชดใช้ค่าเสียหายซึ่งเป็นข้อหาเดียวกันกับคดีนี้นั้นก็เห็นว่า เป็นการฟ้องขอให้ผู้ถูกฟ้องคดี (จำเลย) ชดใช้ค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดอันเกิดจากคำสั่งทางปกครอง ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 แต่คำขอดังกล่าวเป็นประเด็นที่สืบเนื่องมาจากคำขอที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลภาษีอากรจึงไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองเช่นเดียวกัน

ศาลแพ่งกรุงเทพใต้พิจารณาแล้วเห็นว่า มูลพิพาทเกี่ยวกับคดีนี้ โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐว่า จำเลยซึ่งมีหน้าที่โดยตรงในการจัดเก็บภาษีศุลกากร โดยเป็นผู้มีหน้าที่พิจารณาและชี้ขาดว่าสินค้าใดที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรต้องเสียภาษีอากรตามพระราชบัญญัติศุลกากรหรือไม่ และเสียในอัตราเท่าใด ทั้งนี้โดยพิจารณาว่าสินค้าที่นำเข้าจัดอยู่ในพิกัดอัตราภาษีใดตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร รวมทั้งมีหน้าที่ที่จะแจ้งให้ผู้ประกอบธุรกิจทั้งหลายที่จะนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรและประสงค์จะทราบว่าจะต้องเสียภาษีอากรในพิกัดเท่าใด ทั้งนี้เป็นการบริการด้านสาธารณะที่หน่วยงานราชการให้บริการข้อมูลในด้านภาษีเพื่อผู้ประกอบการใช้เป็นฐานในการคำนวณต้นทุนที่แท้จริงว่า สามารถที่จะดำเนินการและแข่งขันกับสินค้าต่างประเทศได้หรือไม่ อันเป็นส่วนหนึ่งที่รัฐมีหน้าที่ว่าด้วยความสะดวกเพื่อแข่งขันและส่งเสริมการลงทุนภายในประเทศและผลิตเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจของรัฐ ซึ่งการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวจักต้องกระทำด้วยความรวดเร็วมีมาตรฐานและมีกฎเกณฑ์เดียวกันเพื่อให้ผู้ประกอบการซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีได้นำเก็บข้อมูลมาประกอบการลงทุน โดยเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2537 จำเลยได้มีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาส่วนประกอบตัวเก็บประจุไฟฟ้าแก่โจทก์ว่าสินค้าดังกล่าวชำระภาษีอากรในพิกัด 8532.90 อัตราร้อยละ 1 ภายหลังจากนั้นโจทก์นำวัตถุดิบเข้ามาโดยเสียภาษีอากรในอัตราร้อยละ 1 มาโดยตลอด จนกระทั่งวันที่ 1 มิถุนายน 2541 โจทก์ได้สั่งและนำเข้าวัตถุดิบดังกล่าวจากต่างประเทศและได้สำแดงรายการและชำระภาษีอากรเหมือนที่เคยปฏิบัติ ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ตรวจสอบและแจ้งว่าพิกัดที่สำแดงไม่ถูกต้อง โจทก์เสียภาษีในอัตราร้อยละ 35 โจทก์ชี้แจงโดยแสดงเอกสารการพิจารณาของจำเลยให้แก่เจ้าหน้าที่ของจำเลย แต่เจ้าหน้าที่ของจำเลยกลับแจ้งว่า เอกสารดังกล่าวไม่ถูกต้องและให้โจทก์วางเงินประกัน มิเช่นนั้นไม่สามารถนำสินค้าดังกล่าวออกได้ โจทก์จึงยอมวางเงินประกัน ต่อมาเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2544 จำเลยกลับแจ้งว่าสินค้าดังกล่าวต้องเสียภาษีอากรในพิกัด 39.20 อัตราร้อยละ 35 ซึ่งถือว่าจำเลยไม่มีมาตรฐานและหรือมีสองมาตรฐานในหน่วยงานเดียวกันซึ่งเป็นการไม่แน่นอน นอกจากนี้ภายหลังจากโจทก์ได้อุทธรณ์คำสั่งประเมินภาษีอากรแก่จำเลยแล้ว ปรากฏว่าจำเลยได้พิจารณาอุทธรณ์ล่าช้าจนถึงปัจจุบันยังไม่พิจารณาอุทธรณ์แต่อย่างใด การกระทำของจำเลยดังกล่าวทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย กรณีดังกล่าวถือได้ว่าเป็นคดีละเมิดอันเกิดจากคำสั่งทางปกครองและจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร คดีจึงอยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครองกลางตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542

คำวินิจฉัย

ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือ ศาลปกครอง

คณะกรรมการพิจารณาแล้ว ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องคดีนี้ สรุปได้ว่า บริษัทไทยเซ่กา อีเล็คตริค จำกัด โจทก์ ประกอบกิจการผลิตอุปกรณ์สะสมประจุไฟฟ้าซึ่งเรียกว่า คาปาซิเตอร์ (CAPACITOR) หรือคอนเด็นเซอร์ (CONDENSER) โดยนำเข้าวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิต คือ พี พี ซิงค์ เมอร์ไทลไลซ์ โพลีโพรพิลีน ฟิล์ม (P.P.ZINC METALLIZED POLYPROPYLENE FILM) ชนิดเคลือบโลหะ และ พี พี โพลีโพรพิลีน ฟิล์ม (P.P. POLYPROPYLENE FILM) ชนิดไม่เคลือบโลหะมาจากต่างประเทศ ก่อนนำเข้าโจทก์ส่งตัวอย่างวัตถุดิบดังกล่าวพร้อมทำหนังสือสอบถามการเสียภาษีอากรต่อกองพิธีการและประเมินอากร ซึ่งเป็นหน่วยงานที่อยู่ในสังกัดจำเลย โดยได้รับแจ้งเป็นหนังสือว่าต้องเสียภาษีอากร ในพิกัด 8532.90 อัตราร้อยละ 1 ตามประกาศกระทรวงการคลังที่ 4/2537 หลังจากนั้นโจทก์ทำการผลิตและขยายการผลิต โดยขยายโรงงาน ซื้อเครื่องจักรเพิ่มและนำเข้าวัตถุดิบโดยยื่นสำแดงสินค้า และชำระภาษีอากรในอัตราดังกล่าวตลอดมา แต่เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2541 โจทก์สั่งและนำเข้าวัตถุดิบดังกล่าวมาอีกและถูกเจ้าหน้าที่ของจำเลยเห็นว่าพิกัดที่สำแดงไม่ถูกต้องจึงประเมินให้โจทก์เสียภาษีในพิกัดใหม่ประเภท 39.20 อัตราร้อยละ 35 พร้อมทั้งทำการประเมินภาษีอากรและเงินเพิ่มย้อนหลังถึงวันแรกที่โจทก์นำเข้าวัตถุดิบดังกล่าว อันเป็นการพิจารณาพิกัดอัตราศุลกากรย้อนหลังขัดต่อพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 มาตรา 15 วรรคสอง และ
ข้อกำหนดพิกัดอัตราศุลกากรและประกาศกระทรวงการคลังแก้ไขถึงวันที่ 31 พฤศจิกายน 2535 หมวด 7 ตอน ๓๙ หมายเหตุ 2 (น) โจทก์นำเงินภาษีอากรและเงินเพิ่มไปชำระแก่จำเลย แล้วอุทธรณ์การประเมินดังกล่าวต่อจำเลยแต่จนกระทั่งปัจจุบัน ก็ยังไม่มีคำวินิจฉัยแต่อย่างใด นอกจากนี้จำเลยยังกล่าวหาว่าโจทก์สำแดงเท็จและเข้าตรวจสอบโรงงานของโจทก์แล้วยึดเอกสารไปด้วย ขอให้ชำระค่าเสียหาย เห็นว่า ตามคำฟ้องคดีนี้เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องว่า เจ้าหน้าที่ของจำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงาน ตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรวินิจฉัยว่าโจทก์เสียภาษีในพิกัดที่ไม่ถูกต้อง แล้วทำการประเมินภาษีอากรที่โจทก์จะต้องเสียใหม่ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 มาตรา 15 วรรคสอง และข้อกำหนดพิกัดอัตราศุลกากรและประกาศกระทรวงการคลังแก้ไข ถึงวันที่ 31 พฤศจิกายน 2535 หมวด 7 ตอน 39 หมายเหตุ 2 (น) จึงเป็นคดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร และแม้คดีนี้โจทก์จะฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำของเจ้าหน้าที่จำเลยก็ตาม แต่ค่าเสียหายดังกล่าว ก็เป็นมูลความที่เกี่ยวเนื่องกัน ทั้งคำขอของโจทก์บางข้อ ก็เป็นการขอคืนเงินภาษีอากรเพิ่มและเงินเพิ่มที่โจทก์ชำระแก่จำเลยไปแล้ว ข้อพิพาทในคดีนี้จึงเป็น คดีภาษีอากร ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 อันอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม

จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดี ระหว่าง บริษัทไทยเซ่กาอีเล็คตริค จำกัด โจทก์ กรมศุลกากร จำเลย เป็นคดีภาษีอากร อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม

 




การสอบเนติบัณฑิต ภาคหนึ่ง สมัยที่ 61 (วิชากฎหมายอาญา)

การเลิกจ้างเพราะเหตุลูกจ้างมีครรภ์
การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
การต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่
ไม่รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด
ความคุ้มกันตามรัฐธรรมนูญ
การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
ความผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จ
การฉกฉวยเอาทรัพย์ไปซึ่งหน้า
ความผิดฐานหมิ่นประมาท